Author Topic: ความลับของ Google | Miscellaneous  (Read 9276 times)

mr_a

  • Guest
ความลับของ Google | Miscellaneous
« on: November 01, 2007, 11:23:50 AM »
ความลับของ Google | Miscellaneous   
     
  หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตคงจะไม่อาจมองข้ามเสิร์ชเอนจิน ที่มีชื่อว่า Google ไปได้ แต่ผู้ใช้ส่วน ใหญ่มักจะรู้จักเสิร์ชเอนจินตัวนี้เพียงแค่ผิวเผิน เท่านั้น CHIP จะแสดงให้คุณเห็นถึงอีกด้านหนึ่ง ของ Google ที่คุณไม่เคยรู้จัก
ในยุคที่เศรษฐกิจทรุดตัวลงเป็นผลให้ภาคธุรกิจหลายต่อหลายรายต้องพลิกผันจากจุดสูงสุดมาเข้าสู่ช่วงวิกฤติของการเอาตัวรอดในช่วงมรสุมดังกล่าว แต่หนึ่งในไม่กี่รายที่ไม่ประสบ ปัญหาดังกล่าวได้แก่ Google จากจุดเริ่มต้นที่เป็นเพียงแค่โปรเจ็กต์เล็กๆ ในมหาวิทยาลัยเมื่อ 5 ปีก่อน ปัจจุบัน Google กลายเป็นเสิร์ชเอนจินที่ได้ รับความนิยมสูงสุดชนิดที่เรียกว่าทิ้งคู่แข่งแบบห่างชั้น จากการยืนยันของ Nielsen Netratings โดยใช้การสำรวจจากหน้าอินเทอร์เน็ตที่มีความสำคัญสูงสุด 5 อันดับแรก เฉพาะในประเทศเยอรมนีประเทศเดียวก็มีผู้ใช้บริการ Google ถึง 14 ล้านคนต่อวัน

เคล็ดลับเด็ดๆ สำหรับ Google
แทบจะไม่มีใครที่ใช้งาน Google ได้อย่างเต็มความสามารถ เช่น ความสามารถในการค้นหาที่ละเอียดยิ่งขึ้นโดยการกำหนดตัวแปรต่างๆ ในการค้นหา ยิ่งไปกว่านั้นคือ Google สามารถแปลหน้าเว็บไซต์ได้ แสดงราคาหุ้นได้ และยังสามารถคำนวณโจทย์คณิตศาสตร์ได้อีกด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ดูเรียบง่ายของ Google อาจ จะทำให้คุณคิดไม่ถึงว่าเบื้องหลังหน้าดังกล่าวมี ฟังก์ชันที่ถูกซ่อนเอาไว้มากมายเพียงใด

• ค้นหาโดยระบุคำสั่งพิเศษ
คุณอาจเคยพบเห็นอยู่บ่อยๆ ว่า ในการค้นหาข้อมูลทั่วไปมักจะมีรายการของผลการค้นหาที่ไม่มีประโยชน์ติดมาด้วยเสมอ ซึ่งคุณสามารถที่จะลดจำนวนข้อมูลที่พบได้โดยใช้การค้นหาแบบ Advanced Search (ค้นหาแบบละเอียด) เพื่อบอก ให้ Google จำกัดขอบเขตการค้นหาให้เหลือเฉพาะหน้าเว็บไซต์ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Google ในช่วง 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน ที่ผ่านมาเท่านั้น นอกจากนี้แล้วคุณยังกำหนดรูปแบบเอกสารของผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจงได้อีกด้วย เช่น ต้องการผลเป็นไฟล์ PDF หรือไฟล์ในรูปแบบของ Office และจำกัดการค้นหาหน้าให้อยู่ในประเภทของเว็บไซต์หรือโดเมนที่ต้องการเท่านั้นได้เช่นกัน ซึ่งคุณสามารตรวจสอบ ชนิดของไฟล์ที่ Google สามารถค้นหาให้ได้ที่หน้าเว็บไซต์ www.google.com/help/faq_filetypes.html หรือคุณต้องการให้ Google ช่วยค้นหาสิ่งที่คุณต้องการเป็นพิเศษ ดังเช่น รูปภาพต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน

• ค้นด้วยคำที่มีความหมายเหมือนกัน
บ่อยครั้งที่คำจำกัดความตัวหนึ่งจะให้ผลการค้นหาที่ดีกว่าคำอีกคำหนึ่ง ทั้งๆ ที่ความหมาย ของคำทั้งสองนั้นเหมือนหรือใกล้เคียงกัน แต่ไม่ จำเป็นที่คุณจะต้องมานั่งปวดหัวเพื่อคิดหาศัพท์ คำอื่นมาทดแทนคำที่คุณต้องการ เพราะคุณสามารถปล่อยให้ Google ช่วยคิดแทนคุณได้ โดยให้คุณใส่เครื่องหมาย Tilde (~) หน้าคำที่ต้องการ ค้นหาโดยไม่ต้องเว้นวรรค Google จะค้นหาคำ Synonym ของคำที่คุณค้นหาให้ด้วย

• ใช้ Google ช่วยแปล
แม้ว่า Google จะไม่สามารถทำลายกำแพงในเรื่องของข้อจำกัดด้านภาษาได้ แต่ก็สามารถช่วยให้คุณทำงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ให้คุณคลิกที่ Language Tools (เครื่องมือเกี่ยวกับภาษา) ที่หน้า แรกของ Google เพื่อเปิดการทำงานของตัวแปล ภาษา ซึ่งคุณสามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปเพื่อให้ Google แปลข้อความดังกล่าวให้คุณได้หลากหลายภาษาด้วยกัน เช่น แปลจากภาษาเยอรมนี เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส หรือแปลข้อความจากภาษาอังกฤษไปเป็นภาษาสเปน, โปรตุเกสหรือภาษาอิตาลี และอีกหลายภาษา แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีบริการสำหรับแปลภาษาไทย
ความสามารถที่ยังโดดเด่นไปกว่านั้นก็คือ Google สามารถแปลเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้ โดยคุณสามารถใส่ชื่อ URL ที่คุณต้อง การให้ Google แปลลงในกรอบ Translate the Website ในหน้าของ Language Tools หรือคลิกที่ลิงก์ Translate this Website ของหน้าเว็บไซต์ที่ Google ได้ค้นหาออกมาแล้ว Google จะใช้โปรแกรมในการแปลออกมา ซึ่งบ่อยครั้งที่ข้อความที่แปลออกมาจะฟังดูตลกหรือฟังไม่รื่นหูไปบ้าง แต่หากคุณต้องการผลการแปลที่ดีกว่านี้ควรเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือที่เรียกว่า BabelfishŽ (http://babelfish.altavista.com) แทน ซึ่งตัวแปลภาษา Altavista ตัวนี้ใช้โปรแกรมในการแปลของ Systran ที่ค่อนข้างใหม่กว่าของ Google และมีประสิทธิภาพในการแปลที่ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด ข้อดีอีกข้อหนึ่งก็คือ Babelfish สามารถเข้าใจได้ หลายภาษามากกว่า Google และสามารถแปล ภาษาญี่ปุ่น, เกาหลีและจีนไปเป็นภาษาอังกฤษ ได้อีกด้วย

• ค้นหาเฉพาะกลุ่ม
โดยแท้จริงแล้วต้องถือว่าประสิทธิภาพของ เสิร์ชเอนจินทั่วไปไม่ดีเท่าที่ควรเพราะข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับคำที่คุณค้นหาจะถูกรวบรวมเข้า ไว้ด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมากเกินความจำเป็นและไม่เกี่ยวข้องกับที่คุณต้องการ วิธีที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้คือค้นหาคำที่ต้องการโดยกำหนด ขอบเขตของหัวข้อเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะทำให้การค้นหาถูกจำกัดวงให้แคบลง โดย Google ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในส่วนที่เรียกว่า Special Google Searches ซึ่งในขณะนี้มีหัวข้อให้เลือกใน การค้นหาอยู่ 6 หัวข้อ ดังเช่น การค้นหาจากหน้าเว็บไซต์ของ US (เว็บไซต์ที่มีโดเมนเป็น .us, .gov และ .mil) หรือการค้นหาเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวกับไมโครซอฟท์ ลินุกซ์ ยูนิกซ์ หรือแอปเปิลก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน นอกเหนือไปจากนั้นยังมี University Search ที่ ช่วยค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับสถานศึกษาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกว่า 1,000 หน้าเว็บไซต์ให้เลือก
การค้นหาโดยใช้ Special Google Searches ดังกล่าวนี้จะช่วยประหยัดเวลาให้คุณได้เป็นอย่างมาก เช่น หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ DVD Writer สำหรับเครื่อง Apple แล้วคุณก็สามารถพิมพ์คำว่า Apple DVD Writer ลงไปแล้วทำการค้นหา ตามปกติคุณจะได้รับลิสต์รายการแสดงผลการค้นหากว่า 41,000 หน้าซึ่งประกอบด้วยหน้าเว็บไซต์โฆษณาขายสินค้าดังกล่าวนับไม่ถ้วน แต่หากคุณใช้การค้นหาผ่าน Special Google Searches โดยใช้เพียงคำว่า DVD-Writer ในกลุ่มของแอปเปิลคุณจะได้ ผลการค้นหาเพียง 1,500 หน้าเท่านั้น ซึ่งจะประกอบไปด้วยข่าวคราวความเคลื่อนไหว ทิป ผลการทดสอบ รวมไปถึงส่วนแบ่งตลาด เท่านั้นคุณสามารถใช้บริการ Special Google Searches ได้ตามลิงก์ www.google.com/options/special searches.html

• Google Toolbar
Google Toolbar เป็นปลั๊กอินตัวหนึ่งสำหรับเว็บบราวเซอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้งาน Google ได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปที่หน้าโฮมเพจของ Google ก่อน ปัจจุบัน Google Toolbar ถูกพัฒนา ขึ้นมาถึงเวอร์ชันที่ 2 แล้ว ข้อดีของ Google Toolbar คือความสามารถพิเศษในการแสดงระดับความนิยม (Page Rank) ของหน้าอินเทอร์เน็ตหน้าต่างๆ ที่คุณกำลังเปิดใช้งานอยู่ในขณะ นั้นหรือหากคุณไม่ต้องการก็สามารถติดตั้งทูลบาร์ดังกล่าวโดยไม่ติดตั้ง Page Rank Bar ลงไปด้วยก็ได้ ซึ่งทูลบาร์ที่ว่านี้สามารถทำงานได้เฉพาะใน Internet Explorer 5.0 ขึ้นไปเท่านั้น แต่ หากคุณใช้ Netscape หรือ Internet Explorer เวอร์ชันก่อนหน้านี้คุณก็สามารถติดตั้ง Browser Button ของ Google ซึ่งจะมีฟังก์ชันบางตัวของ Google Toolbar อยู่เข้าไปในบราวเซอร์เพื่อใช้แทน ได้ (www.google.com/options/buttons.html) และพิเศษสำหรับผู้ใช้เว็บบราวเซอร์ Mozilla โดยเฉพาะ ในหน้าอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ http://google barl10n.mozdev.org/installation.html คุณสามารถพบกับทูลบาร์ของ Google ที่มีชื่อเรียกว่า Googlebar ซึ่งถูกสร้างมาเป็นพิเศษสำหรับใช้กับ Mozilla โดยเฉพาะด้วย

• ใช้ Google ช่วยในการคำนวณ
นอกเหนือจากเป็นเสิร์ชเอนจินแล้ว Google ยังกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของเครื่องคิดเลขที่คุณเคยใช้งานอีกด้วย สิ่งหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครรู้ คือ ฟังก์ชันในการคำนวณของ Google จะช่วยในการค้นหาผลลัพธ์ของสมการทางคณิตศาสตร์ให้ด้วย หากคุณพิมพ์โจทย์ปัญหา เช่น 365+12*8 ลงในช่องสำหรับการป้อนข้อมูลการค้นหาตามปกติแล้วเริ่มทำการค้นหาคุณจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 461 แทนที่จะได้รายการแสดงหน้าอินเทอร์เน็ตที่ค้นพบ นอกจากสมการง่ายๆ ดังกล่าว Google ยังสามารถคำนวณสมการที่ซับซ้อนยิ่งกว่านั้นได้อีกด้วย เช่น การพิมพ์คำ ว่า sqr จะเป็นการคำนวณค่ารากที่สองของเลขที่อยู่ถัดมา หรือเมื่อคุณต้องการคำนวณค่า 252 (25 ยกกำลัง 2) ก็สามารถทำได้โดยพิมพ์ว่า 25^2 ลงไป แม้กระทั่งฟังก์ชันตรีโกณมิติก็สามารถคำนวณได้โดยใช้ตัวย่อ sin, cos และ tan หรือการคำนวณฟังก์ชันลอกการิทึมโดยใช้เครื่องหมาย ln, lg และ lb ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติและความสามารถของ Google Calculator นี้คุณสามารถดู ได้ที่หน้า www.google.com/help/calculator.html
นอกจากนี้แล้วการได้ลองเล่นเองก็น่าสนุกอยู่ไม่น้อย ดังเช่นที่ทีมงานได้ค้นพบบางสิ่งที่ ยังไม่ได้มีการบันทึกไว้ในหน้าเว็บไซต์ดังกล่าว คือ Google รู้จักค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์หลายต่อหลายตัว เช่น ค่าพาย (ฆ), ค่าความเร็วแสง (c), ค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลก (G) และอื่นๆ อีกมาก หากคุณใส่สัญลักษณ์สากลของค่าคงที่ลงไป Google จะแสดงค่าดังกล่าวออกมาเป็นตัวเลข แต่คุณก็สามารถใช้ค่าคงที่ในสมการต่างๆ ได้เช่นกัน
นอกเหนือไปจากการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน Google ก็สามารถแสดงการคำนวณพื้นฐาน ในเรื่องการเปลี่ยนหน่วยให้คุณได้ เช่น เปลี่ยนหน่วยไมล์ (Miles) หรือนิ้ว (Inches) เป็นกิโลเมตร, เมตรหรือเซนติเมตร หรือเปลี่ยนจากแคลอรีเป็นกิโลจูล หรือจากกิโลกรัมเป็นปอนด์ก็ได้เช่นเดียวกัน เพียงแค่คุณพิมพ์ง่ายๆ ดังเช่นว่า "25 miles in kilometer" หรือ "50 pounds in kilogram" ซึ่งการคำนวณดังที่กล่าวมาแล้วนี้สามารถทำ ได้ในหน้าเว็บไซต์ของ Google ทุกๆ หน้า เพียงแต่คุณต้องพิมพ์ข้อความทั้งหมดในรูปแบบของภาษาอังกฤษ

• ชอปปิ้งด้วย Google : Froogle
Google มีบริการพิเศษสำหรับนักชอปออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกบริการนี้กันว่า Froogle ซึ่งเป็นการนำคำว่า Google มาผสมกับคำว่า FrugalŽ ซึ่งแปลว่าประหยัด โดยเครือข่ายของ Froogle จะมีความสามารถในการค้นหาสินค้าต่างๆ ในร้านค้าออนไลน์โดยเฉพาะ (http://froogle.goo gle.com) การค้นหาสามารถทำได้โดยใส่ชื่อผลิตภัณฑ์ที่คุณต้องการโดยตรง (เช่น "Panasonic DVD S75") หรือหากคุณยังไม่ได้ตัดสินใจชี้ชัดลงไป ก็สามารถดูไปเรื่อยๆ และทำการค้นหาใน แคตาล็อกของแต่ละกลุ่มสินค้า เช่น "Art & Entertainment", "Home & Garden" หรือ "Toys & Games" และคุณสามารถเรียงผลการค้นหาที่ได้จากทั้งสองวิธีนี้ตามราคา หรือเรียงเว็บไซต์ตามจำนวนสินค้าที่เสนอ แต่ปัจจุบัน Froogle ยังคงอยู่เพียงแค่ช่วงเวอร์ชัน Beta ของการพัฒนาเท่านั้น อีกทั้งยังมีเฉพาะเวอร์ชันภาษาอังกฤษเท่านั้น ยกเว้นผลการค้นหาที่เป็นสากลนั่น คือ Froogle สามารถหาหน้าเว็บไซต์ที่ให้บริการดังกล่าวได้ทั่วโลกเหมือนการ Search ทั่วไป

• ตรวจสอบราคาหุ้น
Google.com สามารถแสดงให้คุณทราบถึงสถานภาพของหุ้นต่างๆ ที่คุณต้องการทราบได้ โดยมีข้อแม้เพียงข้อเดียวคือ หุ้นของบริษัทดังกล่าวต้อง อยู่ในตลาดหุ้นของอเมริกาวิธีการก็คือ ให้คุณใส่ชื่อของบริษัทที่คุณต้องการสำรวจราคาหุ้นลงในช่องสำหรับป้อนข้อมูลการค้นหา เช่น หากคุณพิมพ์คำว่า Microsoft ลงไป Google จะแสดงที่บรรทัดสุดท้ายของผลการค้นหาว่า "Stock Quotes: MSFT" เมื่อคุณคลิกที่บรรทัดดังกล่าว จะเป็นการนำคุณไปสู่หน้า Yahoo Finance Site ซึ่งมีข้อมูลหุ้นขณะปัจจุบันของไมโครซอฟท์แสดงอยู่ หรือในกรณีที่คุณรู้ชื่อย่อของแต่ละบริษัท (เช่น Microsoft ใช้ MSFT) ก็เพียงพอเพราะคุณสามารถเลือกที่สัญลักษณ์ "Stock Quote" ซึ่งอยู่บริเวณด้านบนของรายการต่างๆ ได้โดยตรง เพื่อนำคุณเข้าไปสู่หน้า Yahoo-Finance ได้เช่นเดียวกัน

• คำตอบจาก Google
มีไม่กี่ครั้งที่ Google ไม่สามารถค้นหาข้อมูลให้คุณได้ตามต้องการ แต่บ่อยครั้งที่ข้อมูลที่ได้ ไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของคุณ นั่นก็เพราะว่า Google เป็นเพียงแค่เครื่องจักรธรรมดาเท่านั้น ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าข้อมูลใดคือ ข้อมูลที่คุณต้องการ ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบเครื่องจักรมีชีวิตขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิด ขึ้น ซึ่งถูกเรียกว่า Human Search Machine โดยคุณสามารถใช้บริการนี้ได้ที่หน้า http://answers. google.com ซึ่งมีวิธีดำเนินการคือ หากคุณมีคำถามซึ่งคุณพร้อมที่จะจ่ายเงินเป็นค่าคำตอบตั้งแต่ 2 ถึง 200 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาแล้ว ให้เรียบเรียงคำถามของคุณและรอให้ Google หาผู้เชี่ยวชาญที่สามารถตอบคำถามของคุณได้ เมื่อคุณได้รับคำตอบคุณก็จะถูกเก็บเงินตามราคาที่คุณได้ตั้งเอาไว้ ในการใช้บริการดังกล่าว จำเป็นที่คุณจะต้องลงทะเบียนด้วยอีเมล์ของคุณ ส่วนการจ่ายค่าบริการจะต้องจ่ายผ่านทางบัตรเครดิต จุดเด่นของบริการนี้คือคำถามทั้งหมดที่ถูกตอบไปเรียบร้อยแล้วจะถูกเก็บเอาไว้ ซึ่งสมาชิกที่ลงทะเบียนทั้งหมดจะสามารถดูคำตอบเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องเสียเงินซ้ำอีก ถ้าคุณโชคดีอาจจะมีคำตอบอื่นที่คุณต้องการรวมอยู่ในนั้นด้วยก็ได้

วิธีการทำงานของ Google
นับได้ว่าวิธีการจัดลำดับความสำคัญของเว็บไซต์หรือ Page Rank เป็นจุดสำคัญที่สร้างความสำเร็จ ให้กับ Google ได้อย่างมากมาย ก่อนที่ Google จะสามารถแสดงผลการค้นหาออกมาให้คุณเห็นได้นั้นจำเป็นที่จะต้องมีการทำงานที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน
"Crawler", "Spider" หรือ "Robots" เป็นชื่อ ของโปรแกรมที่ถูกส่งออกไปจากเสิร์ชเอนจินเพื่อ ตรวจดูความเปลี่ยนแปลงในอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับหน้าเว็บใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ข้อมูลหรือลิงก์ใหม่ รวมถึงหน้าเว็บไซต์ที่ออฟไลน์ไปแล้วและลิงก์ที่ใช้การไม่ได้
ในการทำงานจริง "Robots" ไม่ได้เคลื่อนที่ไปเองตามอินเทอร์เน็ต เพียงแค่สอบถามข้อมูล ที่ต้องการไปยังหน้าอินเทอร์เน็ตต่างๆ ในเวลากลางคืนที่การจราจรในเว็บเริ่มเบาบางลง หน้าเว็บไซต์ที่พบจะถูกประมวลผลในหลายรูปแบบ เริ่มด้วยข้อมูลพื้นฐาน (Basis Info) ที่ได้จาก Title-Tag, HTML-Head และ Meta-Tag ซึ่งเจ้าของหน้าเว็บไซต์สร้างไว้ในรูป HTML-Code สำหรับ เสิร์ชเอนจินโดยเฉพาะ

• Page Rank Algorithm : Google มีสิ่งที่รายอื่นไม่มี
Robots มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลได้มากมายมหาศาล แต่จากข้อมูลที่รวบรวม มาทั้งหมดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงเล็ก น้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีการหาวิธีลดขยะที่ไม่จำเป็นออกไป โดยเสิร์ชเอนจินทั่วไปสามารถ แยกข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ออกไปได้กว่า 95% โดยใช้ IndexerŽ โดยเทคนิคที่ใช้คือ การลบสัญลักษณ์พิเศษ คำพหูพจน์และคำเชื่อมออก ไป รวมไปถึงรายการจากหน้าเว็บไซต์ข้อมูล เกี่ยวกับสแปมอีกด้วย ส่วนที่เหลือจึงมีเพียงคำ ที่คุณต้องการและลิงก์ซึ่งจะถูกเก็บไว้รวมกับชื่อ เว็บไซต์และนำเข้าไปไว้ในฐานข้อมูลแล้วแสดง ออกมาในเป็นรายการของ Internet Search Engine
เสิร์ชเอนจินทุกตัว เช่น Alltheweb, Alta-vista หรือ Google ต่างก็มีหลักการทำงานดังที่กล่าวมานี้คล้ายๆ กัน สิ่งที่ต่างกันอยู่ที่การนำผลการค้นหาที่ได้มาแสดงเป็นรายการให้คุณเห็น ซึ่งตรงจุดนี้เป็นความลับที่ทำให้ Google ประสบความสำเร็จได้ดังที่เห็น นั่นคือวิธีการจัดลำดับความสำคัญของหน้าอินเทอร์เน็ต โดยความคิดนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว โดยนักศึกษาภาควิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัย Stanford ในแคลิฟอร์เนีย 2 คน ที่ชื่อว่า Sergey Brin และ Lawrance Page เกิดความคิดที่จะสร้าง Search Engine ที่ใช้หลักการทำงาน โดยการแยกหน้าอินเทอร์เน็ตที่มีความสำคัญและไม่มีความสำคัญออกจากกัน และเรียกระบบ ดังกล่าวว่า Google ซึ่งมาจากคำว่า Googol ที่แสดงถึงเลข 10100 ซึ่งการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน ดังกล่าวจะใช้ค่าที่แสดงถึงคุณภาพมาตรฐานของหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้า จึงได้มีการตั้งค่าลำดับความสำคัญหรือ Page Rank ขึ้นมา และสร้างวิธีการที่สามารถคำนวณหาค่าความสำคัญ ของหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ได้ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับสมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่า Page Rank นี้รวมถึงที่มาและวิธีการคิด มีอธิบายไว้ในหน้าเว็บไซต์ www.db.stanford.edu/pub/papers/google.pdf
หลังจากที่ได้เริ่มมีการใช้ PageRank นี้ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบอินเทอร์เน็ต สมการที่ใช้ในการคิดคำนวณหาค่า Page Rank ได้ถูกพัฒนาขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลอื่นนอกเหนือไปจากนี้ไม่ได้รับการเปิดเผยออกมาอีกความลับทุกอย่างเกี่ยวกับหัวใจของการทำงานของ Google ไม่ได้รับการแพร่งพราย เหมือนกับที่บริษัท Coca Cola ไม่ยอมเปิดเผยสูตรน้ำอัดลม ออกมาให้บริษัทอื่นได้รับรู้
นอกจากนี้ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่เป็นเสมือนตัวกลางในการทำงานของ Google ได้แก่ การอัพเดต Google Index ประจำเดือนที่เรียกกันว่า Google-DanceŽ ซึ่งชื่อดังกล่าวมาจากในยุคหนึ่งที่หน้าเว็บไซต์ของ Google จะเกิดปัญหาขึ้นในช่วงของการอัพเดตหน้า Index ซึ่งเป็นผล ให้ผู้ใช้เกิดความสับสนเป็นเวลาหลายชั่วโมง อันดับของรายการที่ค้นพบมีการเปลี่ยนแปลงสลับกัน หรือผลการค้นหาที่ได้แตกต่างกันโดย สิ้นเชิงทั้งๆ ที่ใช้เวลาในการค้นหาต่างกันเพียง แค่ไม่กี่วินาที เหมือนกับว่าข้อมูลแต่ละตัวมีขาเต้นไปได้เรื่อยๆ ไม่อยู่กับที่
สาเหตุของความยุ่งเหยิงวุ่นวายนี้สามารถอธิบายได้ง่ายๆ คือ Google มีศูนย์กลางการควบคุมอยู่ทั้งหมด 10 แห่ง โดยแต่ละแห่งมี Index ที่ใช้ประจำที่อยู่ เมื่อ Google ทำการค้นหาใดๆ ก็จะถูกแบ่งไปยังศูนย์กลางแต่ละแห่งตามแต่ความหนาแน่นของผู้ใช้ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าการค้นหาข้อมูลในระยะเวลาที่ห่างกันไม่ถึงนาที จะเกิดจากการทำงานของเซิร์ฟเวอร์คนละตัว ในช่วงเวลาของการอัพเดตข้อมูลของ Index ใหม่ที่จะถูกเปลี่ยนแปลงลงในเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวจะเกิดไม่พร้อมกัน จึงเป็นผลให้เกิดคามแตกต่างอย่างรุนแรงของรายการที่ค้นพบช่วงระยะเวลาหนึ่ง นั่นคือ Index "dance"
ในหน้าเว็บไซต์ http://googledance.seochat .com มีเครื่องมือที่สามารถแสดงผลการค้นหาจากเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวของ Google ได้ ซึ่งในช่วง Google-DanceŽ โปรแกรมดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่ารายการที่ค้นพบของเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวแตกต่างกัน สำหรับผู้ที่อยากทดสอบการใช้งานเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวโดยเฉพาะก็สามารถเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการได้ด้วยตัวเอง โดยคุณต้องป้อนชื่อเรียกให้ถูกต้อง เช่น www-fi.google.com หรือ www-va.google.com เป็นต้น

• ระบบแห่งอนาคต: Google Lab
ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้ร่วมกำหนดด้วยว่าฟังก์ชันใดบ้างที่ควรจะเป็นฟังก์ชันมาตรฐานของ Google ในอนาคต ปัจจุบันนี้ได้มีการทดลองใช้ฟังก์ชันหลายๆ ตัวที่กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาสำหรับอนาคตใน Goolge Lab และยิ่งกว่าไปนั้นยังมีการทดลองผ่านทางโทรศัพท์อีกด้วย
แผนกพัฒนาประสิทธิภาพในบริษัทหลายแห่งถือได้ว่าเป็นส่วนที่ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยระดับสูง สำหรับ Google ก็เช่นเดียวกัน ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จะถูกเก็บไว้เป็น ความลับ แต่อย่างไรก็ตาม Google ก็ยังเผยความ คืบหน้ามาให้เห็นได้ในหน้า Google-Labs (http://labs.google.com) ซึ่งวิศวกรซอฟต์แวร์ของ Google จะแสดงแนวคิดออกมาให้คนทั่วไปได้รับ ทราบ และมีการทดสอบหรือทดลองแนวความคิดดังกล่าว และที่หน้านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่ในการทดสอบเท่านั้นคุณยังสามารถที่จะได้ทดลองใช้งานฟังก์ชันใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นมา และวิจารณ์ได้อีกด้วย เพื่อให้ทีมงานที่พัฒนาระบบจะได้ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าแนวความคิดดังกล่าวเหมาะที่จะนำมาใช้ใน Search Engine เพียงใด
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน Google โดยใช้ชอร์ตคัตในการทำงานแทนการใช้เมาส์เหมือนดังเช่นปกติ สามารถดูข้อมูลดังกล่าวได้ในหน้า http://labs.google.com/keys หรือในทางตรงกันข้าม สำหรับพวกที่ขี้เกียจหรือต้องการความสะดวกสบายในการค้นหาก็สามารถใช้ Google Viewer ช่วยได้ (http://labs.google.com/gvie wer.html) โดย Google Viewer จะแสดงรายการหน้าเว็บไซต์ที่หาพบในรูปของสไลด์โชว์ แต่ฟังก์ชันดังกล่าวก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ถึงเรื่อง ความคุ้มค่าและผลประโยชน์โดยแท้จริง แต่หลายๆ คนในทีมงานของ Google Lab ยังให้ความเห็นว่า แม้ว่า Google จะถูกพัฒนาให้มีประโยชน์ สูงสุดเพียงใด แต่สำหรับผู้ใช้บางคนเพียงแค่ความสนุกสนานเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้รับก็นับได้ว่า คุ้มค่ากับการใช้งานแล้ว
Google-Glossar เป็นอีกฟังก์ชันหนึ่งที่ช่วยให้ การทำงานง่ายขึ้น (http://labs.google.com/glos sary) ซึ่งคุณสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของตัวย่อหรือคำจำกัดความต่างๆ ได้ เช่น ในการค้นหาคำว่า U.N.Ž แสดงให้คุณรู้ว่าเป็นตัว ย่อของ United Nations, เป็นองค์กรที่ถูกตั้งขึ้น เมื่อปี 1945 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพ ความมั่นคงปลอดภัย และดำรงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชน

• ไปด้วยกัน : Google รู้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร
ยอดเยี่ยมยิ่งไปกว่าฟังก์ชันอื่นๆ คงต้องเป็น Google Sets (http://labs.google.com/sets) ที่มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลโดยอัตโนมัติ เช่น หากคุณต้องการค้นหารายชื่อประธานาธิบดีของอเมริกาทั้งหมด สิ่งที่คุณต้องทำมีเพียง ใส่ชื่อของ George W. Bush หรือ Bill Clinton ลงไป แล้วคลิกที่ "Large Set" จากนั้นรายชื่อของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทั้งหมดในอดีตจนถึงปัจจุบันก็จะถูกแสดงออกมาให้คุณเห็น ซึ่งเมื่อคุณคลิกที่ชื่อแต่ละชื่อก็จะเป็นการค้นหาตามรายชื่อนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง ยิ่งคุณใส่ชื่อตั้งต้นไว้มาก เท่าใด (คุณสามารถใส่ได้มากที่สุด 5 ชื่อ) ผลการ ค้นหาที่ออกมาก็จะดีขึ้นเท่านั้น
นอกเหนือไปจากนั้น ยังมีฟังก์ชันน้องใหม่อีกสองตัวที่อยู่ในห้องทดลองของ Google อีกด้วยคือ "Google News Alert" และ "Google Search by Location" โดย Google News Alert มีความสามารถในการรวบรวมข่าวสารของ Google News ในอเมริกาและส่งไปยังอีเมล์ของผู้ที่สนใจ ต่อไป เพียงแค่คุณใส่ชื่อหัวข้อเรื่องที่คุณต้องการได้รับข่าวสารไว้ก่อนเท่านั้น (เช่น "Iraq")
สำหรับฟังก์ชัน Google Search by Location อาจจะไม่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้ทั่วไปเท่าใดนัก เพราะฟังก์ชันดังกล่าวเป็นการค้นหาคำจำกัดความต่างๆ ในระดับท้องถิ่น (Local Level) แต่ทำ ได้เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น Google ยังได้เตรียมฟังก์ชันใหม่ๆ เอาไว้อีกหลายอย่าง เช่น ความสามารถในการคำนวณค่าเงินตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา รายงานสภาพอากาศของท้องถิ่นต่างๆ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางและอื่นๆ อีกมาก โฆษกของทางบริษัทได้กล่าวถึงความตั้งใจทั่วไปว่า เราต้องการที่จะทำให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถได้รับข้อมูลตามที่ต้องการŽ ซึ่งการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องกลั่นกรองผลการค้นหาให้เรียบร้อยที่สุด และไม่ปล่อยให้มี สแปมหลุดรอดเข้ามาอยู่ในผลที่ค้นหาได้   
   
   
 สนับสนุนโดย: chipthailand.com 
 

hermes

  • Guest
Re: ความลับของ Google | Miscellaneous
« Reply #1 on: August 29, 2008, 07:57:26 PM »
ยอดมากครับ  ;D