Author Topic: วัดพระศรีรัตนมาธาตุวรมหาวิหาร อีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะไปขึ้นรถรางชมเมืองค่ะ  (Read 15506 times)


Ralphbut

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
ทุกทีที่เริ่มรีวิว โทรศัพท์จะกระหน่ำเป็นร้อยสายตลอดเวลา โอ๊ย..ขออภัยที่รีวิว อืดมากนะคะ
แอบละอายใจ แง๊ ขี้แง

โดยจะมีแพคเกจปกติให้บริการคือพาชมรอบๆเมืองใช้เวลาประมาณ 45 นาที ราคาผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
รอประมาณ 10 คนขึ้นไปถึงจะออกรถนะคะ ถ้ารอนานเกินไปคนไม่เต็มก็จะออกรถเลยไม่รอคนค่ะ

[/size][/font]
[/t][/t][/t][/t][/t]
[size=-3] [/size][/color]
[size=-3] [/size][/color][/t][/t][/t]
[/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table]

Ralphbut

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile

ข้อมูลรถรางท่องเที่ยว เมืองพิษณุโลก[/size][/font]
[/size][/color]

[/font]
[/font]
[/font]
[/font]
[/font][/size][/size][/font]


รถราง[/font]

วัดใหญ่[/font]

ศาลพระนเรศวร[/font]

พระยาจักรี[/font][/size][/size][/font]

[/font]
[/font]
[/font]
[/font][/size][/size][/font]

“รถราง” TRAMWAY มีกำเนิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ. 2430 เป็นประเทศแรกในเอเชีย
• จาก พ.ศ. 2431 จนถึง พ.ศ. 2511 ร้อยกว่าปีที่เริ่มมีและสามสิบกว่าปีที่หมดไป..สำหรับยานที่มีวิ่งเป็นประเทศแรกในเอเชีย
• เมื่อเอ่ยถึง “
รถราง” คนยุคปัจจุบันที่มีอายุไม่เกิน 30 ปี คงจะเคยเห็นกันแค่เท่าที่มีการเก็บรักษาไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ทั้งของราชการและเอกชน แต่สำหรับผู้ที่มีระดับความแก่เกินกว่านั้น โดย เฉพาะพวก 40 ปีขึ้นไปอาจเห็นหรือได้เคยใช้บริการกันอยู่บ้างเมื่อตอนเด็ก ๆ
• “รถราง” หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า “Tramway” มีกำเนิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่สมัย “รัชกาลที่ 5” จากการก่อตั้งของ “ชาวเดนมาร์ค” จัดเดินรถรางขึ้นใน “เมืองบางกอก” ตามการเรียกขานในสมัยนั้น ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2430 เปิดเดิน “รถราง” คันแรกนี้ยังไม่ได้แล่นได้ด้วยตัวของมันเอง แต่จะเคลื่อนที่ไปด้วยการใช้ “ม้าลาก” ซึ่งได้เทียมม้าไว้ด้านหน้ารถ จากนั้นได้มีการเปิดดำเนินกิจการ “รถรางไฟฟ้า” ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2437 หลังจากที่สิ้นสุด “สงครามโลกครั้งที่สอง” ได้แค่สี่ห้าปี สัมปทานการเดินรถก็ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 รัฐบาลก็เข้ามาดำเนินกิจการต่อในนามของ บริษัท การไฟฟ้ากรุงเทพฯ จำกัด ในสังกัดของ “กรมโยธาเทศบาลและกระทรวงมหาดไทย” ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2493 หลังจากที่มีการพัฒนาบ้านเมืองขนานใหญ่เกิดขึ้นในสมัย “จอมพลผ้าคะม้าแดง” พร้อมๆ กับนโยบายที่จะให้ “เลิกเดินรถรางและรถสามล้อถีบ” ในเขต “พระนคร-ธนบุรี” การเดินรถจึงค่อยๆ ลดบทบาทลงโดยการเลิกวิ่งจบสิ้นเด็ดขาดในเขตเมืองหลวงไปเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ที่ได้มี “รถราง” ใช้อยู่ร่วม “80 ปี” พอดี
รถราง[/b] แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ
• แบบแรก.- ที่เป็นตัวถึงไม้เปิดโล่งและผืนผ้าใบที่ม้วนเก็บห้อยไว้กับขอบบนทั้งสองข้างสำหรับกันแดดกันฝุ่น
• แบบที่สอง.- จะเป็นรุ่นที่นิยมเรียกกันว่า “ไอ้โม่ง” ตามรูปทรงของหลังคาที่มีความโค้งอยู่มากและยังจะสร้างตัวถึงด้วยโครงเหล็ก ซึ่งนับว่าทันสมัยมากในยุคนั้น

สภาพภายในตัวเมืองพิษณุโลก[/b]
• นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติที่สวยงามแล้ว สภาพในเขตเทศบาลนคร ยังมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่สวยงามน่าสนใจไม่แพ้กัน มีการผสมผสานเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม ความเป็นมาของเมืองในอดีต เช่น พิพิธภัณฑ์ชาวแพ, โคมไฟรายทาง, คูเมือง, สะพานเอกาทศรสเป็นต้น ทุกๆ ที่ในจังหวัดจึงสมควรที่น่าเที่ยวชมเพื่อทัศนศึกษาและพักผ่อนหย่อนใน เป็นอย่างยิ่ง
• เส้นทางที่ “รถรางท่องเที่ยว” วิ่งผ่านล้วนเป็นเส้นทางที่กำหนดไว้อย่างครอบคลุม มีทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สถานที่น่าสนใจและทัศนียภาพอันสวยงาม ใช้เวลาในการเดินทาง 40-50 นาที ผู้ที่มาเที่ยวชมก็จะได้เดินทางสัมผัสความงดงามต่างๆ ด้วยยานพาหนะโดยสารที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 100 ปี
ข้อมูลสถานที่สำคัญต่างๆ[/b]
•
สถานีรถไฟ[/b].- จะพบหัวรถจักรที่มีความเก่าแก่ใช้ขับเคลื่อนขบวนรถไฟเมื่อครั้งในอดีตและเป็นชุมทางคมนาคมที่สำคัญ
•
พระบรมราชานุสาวรีย์เจ้าพระยาจักรี.- เดิมเรียกว่า “เนินดินอะแซหวุ่นกี้” เป็นที่อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าบุกล้อมเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้ต่อสู้อย่างเต็มที่ จนอะแซหวุ่นกี้ต้องขอดูตัวแม่ทัพไทยผู้เก่งกล้า เจ้าพระยาจักรีได้ออกมายืนบนเนินดินนี้ และอะแซหวุ่นกี้ได้ทำนายว่า พระยาจักรีจะได้เป็นกษัตริย์ของไทยต่อไป ภายหลังปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ท่านก็ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ คือ “สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ปฐมกษัตริย์แหงพระบรมจักรีวงศ์
•
ตะแลงแกง.- เดินเป็นสถานที่ประหารชีวิตนักโทษประหารด้วยวิธีตัดคอโดยเพชรฆาตลงดาบ ปัจจุบันเทศบาลนครได้สร้างเป็นลานอเนกประสงค์ในกิจกรรมต่างๆ และเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำน่าน, สวนชมน่าน, สถานนเรศวรและสะพานเอกาทศรส ฯลฯ
•
กำแพงคูเมือง.- เคยเป็นที่ป้องกันมิให้ข้าศึกเข้าจู่โจมโดยง่ายและยังใช้เพื่อการระบายน้ำออกจากเมือง การอุปโภค บริโภค สัญจรเพื่อการค้าขาย ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปัจจุบันได้ประดับตกแต่งบริเวณคูเมืองนี้ให้มีความสวยงาม โดยเฉพาะเวลากลางคืนจะมีแสงจากโคมไฟรายทาง จึงเป็นถนนที่น่าชมอีกเส้นหนึ่ง
•
จวนผู้ว่าราชการจังหวัด.- และศาลากลางจังหวัดศูนย์กลางส่วนราชการต่างๆ
•
วัดวิหารทอง.- มีเจดีย์ขนาดใหญ่มาก และเสาศิลาแลงขนาดใหญ่ประมาณ 7 ต้น เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระอัฎฐารส ซึ่งปัจจุบันอยู่วัดสระเกศ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยที่สวยงามและประณีตมาก
•
ศาลสมเด็จพระนเรศวร, พระราชวังจันทน์.- ตั้งอยู่ในเขต ร.ร. พิษณุโลกพิทยาคม ซึ่งเดิมเป็นพระราชวังจันทน์ เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร ในอนาคตอันใกล้สถานที่แห่งนี้จะได้รับการจัดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ พระราชวังจันทน์อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อเป็นแหล่งโบรณสถานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
•
วัดพระศรีมหาธาตุ (วัดใหญ่).- เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินราช พระพุทธรูป ซึ่งมีความงดงามที่สุดในโลก สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัย พร้อบกับสร้างเมืองสองแคว ในปี พ.ศ. 1900 ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยวิหารและระเบียงคตที่มีรูปทรงสวยงาม บานประตูวิหารเป็นบานไม้แกะสลักประดับมุกและอกเลาลวดลายวิจิตรสวยงามมาก
•
สวนชมน่าน.- ซึ่งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองสองแคว ทั้งเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวแพ ที่จำลองเอาสภาพเรือนแพในอดีตขึ้นมาไว้บนบกได้อย่างสวยงาม และลงตัว
•
ไนท์บาซ่าร์.- ที่ทางเทศบาลนครจัดทำได้เป็นสัดส่วน และสวยงามยังสามารถช่วยเป็นเขื่อนป้องกันน้ำได้อีกทางหนึ่ง มีสินค้าต่างๆ มากมาย มีอาหารหลากหลายชนิดให้เลือกชิมอย่างจุใจ
เส้นทางเดินรถรางท่องเที่ยว[/b]
• เริ่มต้นที่ วัดใหญ่-สวนชมน่าน-พิพิธภัณฑ์ชาวแพ-สถานีรถไฟ-หอนาฬิกา-พระบรมราชานุสาวรีย์เจ้าพระยาจักรี-สะพานเอกาทศรถ-ตะแลงแกง-คูเมือง-ร.ร. จ่านกร้อง-ศาลากลางจังหวัด-วัดวิหารทอง-ศาลสมเด็จพระนเรศวร(พระราชวังจันทน์)-ศาลหลักเมือง-วัดใหญ่
ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 15.00 น.
• อัตราค่าโดยสาร : เด็ก,นักเรียน 10 บาท, ผู้ใหญ่ 20 บาท
(เส้นทางและ อัตราค่าโดยสารอาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)
สอบถามได้ที่[/b]
• การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือเขต 3 209/7 ถ.บรมไตรโลกนารถ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร. 0-5525-2742, 0-5525-9907
หรือ บริษัท พิษณุโลกบริการ จำกัด “รถเมล์บ้านเรา” โทร. 0-5525-2258, 0-5528-4144[/font][/size][/size][/font]