ภาคใต้ (ประเทศไทย)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก ภาคใต้)
แผนที่ภาคใต้ กำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยราชบัณฑิตยสถาน และตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศ ถัดลงไปจากบริเวณภาคตะวันตก (หรือภาคกลางขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งของแต่ละหน่วยงาน) ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง
เนื้อหา
[ซ่อน]
1 ที่ตั้งและอาณาเขต
2 การแบ่งพื้นที่
3 ศูนย์กลางของภาคใต้
4 ภูมิศาสตร์
4.1 สภาพภูมิประเทศภาคใต้
4.2 สภาพภูมิอากาศ
5 ดูเพิ่ม
6 อ้างอิง
7 แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่ทางเหนือสุดของภาคคือ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค (และของประเทศไทย) คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลอันดามัน ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคคือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
[แก้] การแบ่งพื้นที่
ภาคใต้มีทั้งหมด 14 จังหวัด ตามราชบัณฑิตยสถานและตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ [1] ซึ่งจัดแบ่งไว้ตรงกัน ดังนี้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พังงา
พัทลุง
ภูเก็ต
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี
[แก้] ศูนย์กลางของภาคใต้
เมืองหาดใหญ่ เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของภาคใต้ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอันดับที่ 3 รองจาก กรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ หาดใหญ่เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในหลายด้าน เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หาดใหญ่เป็นเมืองศูนย์กลางการค้า เศรษฐกิจ การศึกษา และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคใต้
[แก้] ภูมิศาสตร์
[แก้] สภาพภูมิประเทศภาคใต้
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขากรุงเทพ ทิวเขานครศรีธรรมราช โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ทิวเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสิ้น 1,000 กิโลเมตร
แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำโกลก
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดพัทลุงและจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลภายนอก ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน
[แก้] สภาพภูมิอากาศ
ภาคใต้เป็นภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน และโดยที่ภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรยาวแหลม มีพื้นน้ำขนาบอยู่ทั้งทางด้านตะวันตก และทางด้านตะวันออก จึงทำให้มีฝนตกตลอดปีและเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกมากที่สุดเคยขึ้นสูงสุดที่จังหวัดตรัง 39.7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเคยต่ำสุดที่จังหวัดชุมพร 12.12 องศาเซลเซียส
[แก้] ดูเพิ่ม
จังหวัดภาคใต้เรียงตามพื้นที่
รายชื่อจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด
รายชื่อจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเรียงตามความหนาแน่นของประชากร
[แก้] อ้างอิง
^
http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1378 ราชบัณฑิตยสถาน
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
สมาคมชาวปักษ์ใต้ฯ
โฟกัสภาคใต้
ชมรมคนปักษ์ใต้ฯ แห่งประเทศไทย
[ซ่อน]
ด • พ • ก
เมืองหลวงและจังหวัดของประเทศไทยในปัจจุบัน แบ่งตามเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน
เมืองหลวง
กรุงเทพมหานคร
Map TH provinces by geographic.png
ภาคเหนือ
เชียงราย • เชียงใหม่ • น่าน • พะเยา • แพร่ • แม่ฮ่องสอน • ลำปาง • ลำพูน • อุตรดิตถ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กาฬสินธุ์ • ขอนแก่น • ชัยภูมิ • นครพนม • นครราชสีมา • บุรีรัมย์ • มหาสารคาม • มุกดาหาร • ยโสธร • ร้อยเอ็ด • เลย • ศรีสะเกษ • สกลนคร • สุรินทร์ • หนองคาย • หนองบัวลำภู • อำนาจเจริญ • อุดรธานี • อุบลราชธานี
ภาคกลาง
กำแพงเพชร • ชัยนาท • นครนายก • นครปฐม • นครสวรรค์ • นนทบุรี • ปทุมธานี • พระนครศรีอยุธยา • พิจิตร • พิษณุโลก • เพชรบูรณ์ • ลพบุรี • สมุทรปราการ • สมุทรสงคราม • สมุทรสาคร • สระบุรี • สิงห์บุรี • สุโขทัย • สุพรรณบุรี • อ่างทอง • อุทัยธานี
ภาคตะวันออก
จันทบุรี • ฉะเชิงเทรา • ชลบุรี • ตราด • ปราจีนบุรี • ระยอง • สระแก้ว
ภาคตะวันตก
กาญจนบุรี • ตาก • ประจวบคีรีขันธ์ • เพชรบุรี • ราชบุรี
ภาคใต้
กระบี่ • ชุมพร • ตรัง • นครศรีธรรมราช • นราธิวาส • ปัตตานี • พังงา • พัทลุง • ภูเก็ต • ยะลา • ระนอง • สงขลา • สตูล • สุราษฎร์ธานี
BlankMap Thailand icon.png บทความเกี่ยวกับจังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทยนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้ด้วยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย
หมวดหมู่: ภาคในประเทศไทย | ภาคใต้ | บทความเกี่ยวกับ เขต