Author Topic: การตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน  (Read 30551 times)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น
 

                               

                                         การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น

                 

                              (GASTROSCOPE,DUODENOSCOPE)

 

                                                                        รศ.นพ.อุดม คชินทร

 

              ทางเดินอาหารส่วนต้นซึ่งประกอบด้วยหลอดอาหาร,กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วน ต้น สามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธีการส่องกล้องตรวจ ซึ่งจะสามารถทราบได้ว่ามีความผิดปกติอย่างไร

 

วัตถุประสงค์ การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น

 

1.เพื่อวินิจฉัยโรคในหลอดอาหารกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น มีการอักเสบเป็นแผล มีเนื้องอก หรือมีการตีบตันของอวัยวะเหล่านี้

 

2.เพื่อ รักษาโดยการใส่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆผ่านทางกล้องตรวจ เช่น เครื่องมือขยายหลอดอาหาร อุปกรณ์ฉีดยาหรือรัดหลอดเลือดโป่งพองของหลอดอาหาร และอุปกรณ์สำหรับทำให้เลือดหยุด ในกรณีที่มีแผลเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น

 

ผู้ใดบ้างที่ควรได้รับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น

 

ผู้ ที่มีอาการกลืนอาหารลำบาก,กลืนติดหรือกลืนแล้วมีอาการเจ็บ มีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระดำ,มีอาเจียนมากหลังรับประทานอาหาร,มี อาการปวดท้องจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ เป็นๆหายๆอยู่บ่อยๆ หรือ รับประทานยารักษากระเพาะอาหารอักเสบแต่อาการไม่ทุเลาหรือมีน้ำหนักลด ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ

 

วิธีการตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นด้วยการส่องกล้อง

 

กล้อง ที่ใช้ตรวจจะมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กปรับโค้งงอได้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ยาว 100 ซม. ที่ปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพและปลายอีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง เพื่อทำการเพื๋อทำการส่งภาพมายังจอภาพ

 

ขั้นตอนการตรวจด้วยกล้องส่อง

 

1.ผู้รับการตรวจจะได้รับการพ่นยาชาเฉพาะที่ ภายในลำคอ

 

2.ผู้รับการตรวจต้องนอนตะแคงซ้าย

 

3.แพทย์ จะใส่กล้องส่องเข้าทางปากโดยผู้รับการตรวจต้องช่วยกลืนในช่วงแรก ซึ่งจะทำให้การส่องกล้องง่ายขึ้นเมื่อกล้องผ่านเข้ากระเพาะอาหาร แล้วให้หายใจเข้าออกลึกและช้าจะช่วยให้ไม่อึดอัด

 

การเตรียมก่อนตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น

 

ผู้ ที่เข้ารับการตรวจควรงดน้ำและอาหาร 6-8 ชม. ก่อนมาตรวจ เป็นการเตรียมกระเพาะอาหารไม่ให้มีเศษอาหาร เพื่อป้องกันการสำลักเศษอาหารลงไปในปอด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปอดอักเสบได้และเพื่อให้ผลการตรวจมีประสิทธิภาพ,ถ้า มีฟันปลอมชนิดถอดได้ควรถอดออกก่อน,ควรมีญาติมาด้วย ถ้ามีโรคประจำตัวหรือแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ

 

การปฏิบัติตัวหลังการส่องกล้องตรวจ

 

1.นอนพักเพื่อสังเกตอาการผิดปกติประมาณ 1- 2 ชั่วโมง

 

2.ไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารจนกว่าคอจะหายชา(ประมาณ 45 นาที)

 

3.สังเกตน้ำลายที่บ้วนออกมาอาจมีเลือดปนเล็กน้อย แต่ถ้ามีเลือดออกมามากผิดปกติให้รีบแจ้งแพทย์หรือพยาบาล

 

4.หลังจากตรวจอาจมีการเจ็บบริเวณลำคอ

    4.1 ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรืออาหารร้อน

    4.2 ควรรับประทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อนรสไม่จัด

 

5.ออกกำลังกายหรือทำงานได้ตามปกติ

 

6.ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่นมีอาการปวดมากบริเวณ ลำคอ หน้าอก หายใจลำบาก มีไข้สูง ควรรีบไปพบแพทย์

 

7.ไปพบแพทย์ตามวันและเวลานัด

 

 

     

           ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาล ธนบุรี  โทร 0-24120020 EXT.2005-2007                                     

                           

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
ารส่องกล้อง เพื่อตรวจทางเดินอาหารส่วนบนหมายถึงการตรวจโดยใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อ ยาวโค้งงอได้ส่องตรวจตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้ส่วนต้นและสามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติส่งตรวจทางพยาธิวิทยา โดยไม่ต้องผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนส่องกล้อง
      1. งดอาหารและน้ำทุกชนิด
          -  กรณีส่องช่วงเช้าต้องงดอาหารและน้ำดื่มทุกชนิดหลังเที่ยงคืน ( ยกเว้นน้ำได้ไม่เกินครึ่งแก้ว )
          -  กรณีส่องช่วงเย็นต้องงดอาหารและน้ำดื่มทุกชนิดหลัง 10 โมงเช้า ( ยกเว้นน้ำเปล่าได้ไม่เกินครึ่งแก้ว )
     2. ต้องถอดฟันปลอมออกก่อนทำการส่องกล้อง ( ถ้ามี )

การปฏิบัติตัวขณะส่องกล้อง
      ผู้ป่วยต้องนอนตะแคงซ้าย แพทย์จะสอดกล้องผ่านปากขณะที่กล้องผ่านคอ และโดยผู้ป่วยช่วยกลืน เมื่อกล้องผ่านบริเวณคอลงไปในหลอดอาหารแล้ว ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออก ลึกๆ ช้าๆ หากมีน้ำลายในปากจำนวนมากให้ผู้ป่วยปล่อยไหลมาบนผ้ายางที่รองไว้

การปฏิบัติตัวหลังส่องกล้อง
      งดน้ำ และอาหาร หลังตรวจประมาณ 1-2 ชั่วโมง ให้เริ่มจิบน้ำ ถ้าไม่สำลักให้รับประทานอาหารได้

อาการผิดปกติหลังส่องกล้องที่ควรมาพบแพทย์
     - มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจหอบ
     - มีอาการกลืนเจ็บแน่นหน้าอก ขณะกลืนอาหาร
     - มีอาการปวดท้องมาก
     - มีอาเจียนเป็นเลือด
     - มีไข้สูงหลังส่องกล้องตรวจ

ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

 

     1.เพื่อดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ว่ามีลักษณะผิดปกติอะไรหรือไม่ เช่น ตีบ อุดตัน เป็นแผล อักเสบ เนื้องอก มะเร็ง จุดเลือดออก เส้นเลือดแตก
      2.ถ้าพบลักษณะแผล เนื้องอก มะเร็ง แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจพิสูจน์ต่อไป ว่าเป็นแผลธรรมดาเป็นมะเร็ง หรือมีเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหารหรือไม่
      3. ถ้าพบจุดเลือดออก อาจฉีดยาห้ามเลือด หรือใช้ความร้อน กระแสไฟฟ้าห้ามเลือด หรือใช้ hemoclip ซึ่งมีลักษณะคล้ายเข็มเย็บกระดาษ ช่วยหยุดเลือด
     4. หากมีการตีบตัน เช่นเนื่องมาจากมะเร็งของหลอดอาหาร หรือหลอดอาหารตีบเนื่องจากกรดหรือด่าง ก็จะใช้กล้องส่องกระเพาะช่วยขยายได้บางส่วน
     5. ในกรณีที่มีเส้นเลือดดำโป่งพองที่ส่วนปลายหลอดอาหาร ซึ่งพบในผู้ป่วยตับแข็ง มีอาการอาเจียนเป็นเลือด สามารถรัดเส้นเลือดดำที่แตกนี้ได้ โดยรัดผ่านกล้องส่องตรวจกระเพาะอาหาร
     6. ใช้คีบสิ่งแปลกปลอมที่ตกลงไปในช่องทางเดินอาหาร เช่น ก้าง กระดูก สตางค์ เป็นต้น
     7. เพื่อติดตามผลการรักษาด้วยยา ว่าแผลหายดีหรือไม่     

 

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
แพคเกจการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินอาหารและตับ ภัยคุกคามที่ไม่ควรมองข้าม
วันนี้คุณสามารถ สังเกตอาการที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารและตับอย่างง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง หากคุณสังเกตพบว่ามีอาการบ่งชี้ใด ๆ ดังต่อไปนี้ อย่านอนใจ

    * มีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบน อาเจียนเป็นเลือด
    * ปวดจุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี่ ใต้ชายโครงด้านซ้ายเหนือสะดือ เป็น ๆ หาย ๆ
    * ปวดท้องส่วนบนที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแล้วแต่ยังไม่หาย
    * เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
    * ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
    * กลืนอาหารลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
    * อาเจียนบ่อย หรืออาเจียนติดต่อกันโดยไม่ทราบสาเหตุ
    * ซีด มีภาวะโลหิตจาง
    * ถ่ายอุจจาระมีมูก หรืออุจจาระมีสีดำ
    * ถ่ายอุจจาระผิดปกติ บางครั้งท้องผูก บางครั้งท้องเสีย

อาการต่างๆ เหล่านี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรค
ศูนย์โรคทาง เดินอาหารและตับ รพ.กรุงเทพจันทบุรี ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ล้ำหน้า ได้จัดทำแพ็คเกจส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อคุณผู้ห่วงใยสุขภาพ โปรดพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที โดยนำเสนอราคาแพ็คเกจ ดังนี้
แพคเกจ
   
ราคาเริ่มต้น
ส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscope)    
6,000
ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscope)    
12,000
ส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Nasogastroscope) ด้วยกล้องขนาดเล็ก    
6,000

หมายเหตุ

    * สิทธิดังกล่าว สำหรับการส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยโรค ไม่รวมการทำหัตถการเพื่อการวินิจฉัยโรค ด้วยวิธีการส่องกล้อง
    * สงวนสิทธิการเปลี่ยนแปลงราคาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
      ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ รพ. กรุงเทพจันทบุรี

เรามารู้จักการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารกันเถอะ..

GASTROSCOPE
การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารคืออะไร?

คือ การส่องกล้อง ซึ่งเป็นสายเล็กๆ นิ่มๆ เข้าทางปาก เพื่อตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะ
อาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยแสดงภาพออกทางจอโทรทัศน์ สามารถบันทึกภาพและถ่ายภาพออกมาดูได้

ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

   1. เพื่อการวินิจฉัย ดูว่ามีลักษณะผิดปกติ อะไร หรือไม่ เช่น ตีบ อุดตัน เป็นแผลอักเสบ เลือดออก เส้นเลือดแตก
   2. เพื่อส่งตรวจพิสูจน์ สามารถตัดชิ้นเนื้องอก, มะเร็งหรือตัดชิ้นเนื้อจากส่วนล่างของกระเพาะอาหาร ว่ามีเชื้อแบคทีเรีย H. pxilori ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหาร
   3. เพื่อการรักษา เช่น ถ้าพบจุดเลือดออก อาจฉีดยาห้ามเลือด หรือใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า จี้จุดเลือดออก เน้นให้หยุดได้ ในกรณีเส้นเลือดดำโป่งพองที่ส่วนปลายของหลอดอาหาร ซึ่งพบในผู้ป่วยตับแข็ง สามารถรัดเส้นเลือด ผ่านกล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารได้
   4. เพื่อติดตามผลการรักษาด้วยยา ว่าแผลหายดี หรือไม่

อาการที่ควรตรวจวินิจฉัยด้วย Gastroscope
ปวดจุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี่ ใต้ชายโครงซ้าย เหนือสะดือ เสียดท้อง แสบท้อง นานเกิน 2 สัปดาห์ หรือเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ อาหารไม่ย่อย กลืนลำบาก กลืนอาหารเจ็บ น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร อาเจียนบ่อย ซีด มีภาวะโลหิตจาง อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ

ควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้างก่อนมาตรวจ

   1. ห้ามรับประทาน และดื่มน้ำทุกชนิดก่อนมารับการตรวจ อย่างน้อย 6 ช.ม. ก่อนการ ตรวจ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่ากระเพาะอาหารว่างเปล่า เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการสำลักอาหารและนำเข้าไปในหลอดลมขณะที่ กลืนกล้องลงสู่ลำคอ
   2. ผู้ป่วยควรมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมตัวให้พร้อม
   3. ในรายที่มีฟันปลอมถอดได้ ต้องถอดออก
   4. ถ้ามีโรคประจำตัว หรือแพ้ยาต่าง ๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
   5. ควรนำญาติมาด้วย ถ้าผู้ป่วยกลัวและวิตกกังวล

อะไรจะเกิดขึ้นบ้างกับตัวท่าน ขณะได้รับการตรวจ
เจ้าหน้าที่จะนำท่านไปที่ห้องส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เปลี่ยนเป็นชุดโรงพยาบาล
ขั้นตอนต่อมาคือทำให้คอผู้ป่วยชา โดยให้กลืนยาชาและพ่นยาชาที่คอ ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาชาต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อน เมื่อคอชาจะรู้สึกกลืนไม่ลง แพทย์จะใส่กล้องซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาว ๆ นิ่มๆ เข้าทางปาก ใช้เวลาการตรวจสั้นๆ ประมาณ 10 นาที แต่ถ้าผู้ป่วยรู้สึกกลัวหรือกังวล อาจตรวจในขณะที่ผู้ป่วยหลับ โดยการฉีดยานอนหลับให้ ภาพการส่องกล้องจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งสามารถบันทึกภาพลงในแผ่น CD ให้ผู้ป่วยนำกลับเป็นหลักฐานการตรวจได้ แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อและส่งตรวจละเอียดต่อไป

เมื่อตรวจเสร็จ ผู้ป่วยจะยังรู้สึกชาที่คอและกลืนลำบากอีกประมาณ 30 นาที เพราะฤทธิ์ยาชา ห้ามขากหรือกลืนน้ำลาย เพราะอาจทำให้สำลักได้ ให้บ้วนทิ้ง เมื่อคอหายชาจึงเริ่มดื่มน้ำและ รับประทานอาหารได้ โดยเริ่มรับประทานทีละน้อย ใช้เวลาในการตรวจรวมทั้งสิ้นประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง

ผลข้างเคียงของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

   1. เลือดออกหรือทะลุ พบได้น้อยกว่า 1 ใน 1,000 ราย มักพบในรายที่จี้ตัดเนื้องอก
      หรือตัดชิ้นเนื้อหลาย ๆ แห่ง
   2. การสำลัก เกิดปอดอักเสบได้ แต่พบได้น้อย
   3. การติดเชื้อ พบได้น้อยเช่นกัน
   4. อาจมีอาการเจ็บระคายคอ การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยได้

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี
โทรศัพท์ 039-319888
e-mail: callcenter@bangkokchanthaburi.com

 

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
ค่าใช้จ่ายในการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ราคาเหมาจ่าย 5,500 บาท
ค่าใช้จ่ายในการตรวจกระเพาะอาหารราคาเหมาจ่าย 5,500 บาท
อัตราค่าบริการนี้เฉพาะที่ โรงพยาบาลศรีวิชัย 2 (หนองแขม) นะครับ

galvin

  • Guest
ค่าใช่จ่ายในการตรวจสุขภาพแต่ละปี ๆ เนี้ยะเยอะอยู่เหมือนกันน่ะครับ ถ้าจะเอาแบบ full option จริงๆ แต่อย่างว่าแหละครับ สุขภาพของตัวเราเอง เราต้องดูแล ใครจะมาดูแลให้หละครับ ลงทุนกับมันห่นอย เพื่อสุขภาพที่ดี และแข็งแรง