Author Topic: ถามเรื่องยา rabeprazole ชื่อการค้า pariet  (Read 13101 times)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
Rabeprazole เป็นยาในกลุ่ม Proton pump inhibitors มีชื่อการค้า Pariet®ยาอื่นๆ ในกลุ่มนี้ เช่น Omeprazole, Lansoprazole, Pantoprazole เป็นต้น ซึ่งยาในกลุ่มนี้มีกลไกการออกฤทธิ์ คือ ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ H+/K+ ATPase (proton pump) ซึ่งอยู่ที่เมมเบรนของ parietal cell เอนไซม์นี้ทำหน้าที่ผลิตกรดสู่ ลูเมนกระเพาะอาหาร การยับยั้งเอนไซม์จึงเป็นการยับยั้งการหลั่งกรด(1) Rabeprazole ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2542 (2)
Rabeprazole VS. Omeprazole
มีข้อบ่งใช้ที่เหมือนกัน คือ ใช้สำหรับรักษาโรค duodenal ulcer, gastroesophageal reflux disease, hypersecretory conditions, H.pylori eradication นอกจากนั้น Omeprazole ยังมีข้อบ่งใช้ที่ต่างจาก Rabeprazole คือ ใช้สำหรับรักษาโรค gastric ulcer, erosive esophagitis, frequent heartburn (1) แม้ Rabeprazole ไม่มีข้อบ่งใช้สำหรับ gastric ulcer แต่ก็มีงานวิจัยของ Horn (3) ซึ่งได้ทำการรวบรวมการศึกษาเพื่อนำมาเปรียบเทียบและประเมินผลการรักษาของยา ในกลุ่ม Proton pump inhibitors พบว่า มีการศึกษาหนึ่งจากงานวิจัยนี้ที่แสดงว่า การรักษา gastric ulcer ด้วย Rabeprazole 20 mg มีประสิทธิภาพในการรักษาพอๆ กับการใช้ Omeprazole 20 mg และยังพบว่าการใช้ Rabeprazole ในผู้ป่วยบางรายทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นมากกว่าการใช้ Omeprazole
การสั่ง Rabeprazole มาจ่ายแทน Omeprazole คุ้มค่าแค่ไหน
จากการสอบถามราคาจากร้านยาในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาโดยเลือกเปรียบเทียบราคายาทั้งสองตัวที่เป็นยา Original คือ Omeprazole 20 mg ชื่อการค้า Losec® จำนวน 14 เม็ด ราคา 900 บาท (เม็ดละ 64.3บาท) ส่วน Rabeprazole 20 mg ชื่อการค้า Pariet® จำนวน 14 เม็ด ราคา 850 บาท (เม็ดละ 60.7บาท)
หากลองเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่อคอร์สการรักษา duodenal ulcer พบว่า Omeprazole ต้องใช้ 20 mg OD เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์( 1) ดังนั้นค่าใช้จ่ายหากใช้ยา Omeprazole คือ (64.3x28) ถึง (64.3x56) นั่นคือเท่ากับ 1,800 ถึง 3,600 บาทต่อคอร์สการรักษา ส่วน Rabeprazole ต้องใช้ 20 mg OD เป็นเวลา 4 สัปดาห์(1) ดังนั้นค่าใช้จ่ายหากใช้ยา Rabeprazole คือ (60.7x28) นั่นคือเท่ากับ 1,700 บาทต่อคอร์สการรักษา
และเมื่อลองเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่อคอร์สการรักษา gastroesophageal reflux disease พบว่า Omeprazole ต้องใช้ 20 mg OD เป็นเวลา 4 สัปดาห์ขึ้นไป(1) ดังนั้นค่าใช้จ่ายหากใช้ยา Omeprazole คือ (64.3x28) นั่นคือมากกว่า 1,800 บาทต่อคอร์สการรักษา ส่วน Rabeprazole ต้องใช้ 20 mg OD เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์(1) ดังนั้นค่าใช้จ่ายหากใช้ยา Rabeprazole คือ (60.7x28) ถึง (60.7x56) นั่นคือเท่ากับ 1,700 ถึง 3,400 บาทต่อคอร์สการรักษา
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการใช้ Rabeprazole มีค่าใช้จ่ายต่อคอร์สการรักษาที่ต่ำกว่าการใช้ Omeprazole ในขณะที่มีการศึกษาที่สนับสนุนว่าการใช้ Rabeprazole มีประสิทธิภาพในการรักษาพอๆ กับการใช้ Omeprazole(2,3,4,5) แต่อย่างไรก็ตาม หากคิดราคายา Omeprazole ที่เป็น local made ราคาจะถูกกว่าของ original มาก เช่น Miracid® จำนวน 14 เม็ด ราคา 100 บาท และ Omeprazole เป็นยาเก่าที่เราใช้มานานระยะหนึ่งซึ่งทำให้รู้อาการข้างจากยาได้ดีกว่ายา ใหม่ การจะพิจารณาเลือกใช้ยาใดก็ต้องแล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จ่ายยาและความยอมรับ ของผู้ป่วย



เอกสารอ้างอิง
1. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug Information Handbook International. 13th ed. Ohio: Lexi-Comp Inc; 2005.1169-70, 1364-5.
2. Burnharn TH. Drug fact and comparison. 58th ed. Missouri: Fact and comparison; 2005.1374-81.
3. Horn J. The proton-pump inhibitor: similarities and differences. Clinical therapeutics. 2000;22:266-80.
4. Ando Takashi, Kato Haruki, Sugimoto Naohito, Nagoa Yasuyuki, Seto Nobuyuki, Hono Hitoshi,et al. A comparative study on endoscopic ulcer healing of omeprazolr versus rabeprazole with respect to CYP2C19 genotypic differences. Digestive Disease and Sciences. September 2005;50:1625-31.
5. Thjodeifsson B, Beker JN, Dekkers C, Bjaaland T, Finnegan V, Humphries TH. Rabeprazole versus omeprazole in preventing relapse of erosive or ulcerative gastroesophageal reflux disease a double-blind, multicerter, European trial. Digestive Disease and Sciences. May2005;45:845-53.

ยา Rabeprazole หรือ Pariet® เป็นยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารชนิดใหม่ในกลุ่ม proton-pump inhibitors (PPIs) ซึ่งเป็นยากลุ่มเดียวกับ omeprazole, esomeprazole, pantoprazole, lansoprazole เป็นต้น ต่อไปนี้จะเป็นการเปรียบเทียบ rabeprazole กับ omeprazole ในแง่ต่างๆ
1. ข้อบ่งใช้ที่ USFDA ยอมรับ (1)
Indication ที่เหมือนกัน
- Gastric hypersecretion
- Gastroesophageal reflux disease, Erosive or ulcerative, maintenance, treatment
- Helicobacter pylori gastrointestinal tract infection - Peptic ulcer disease, Triple therapy
Indication ที่ USFDA รับรองเฉพาะ omeprazole
- Active Duodenal ulcer disease, prophylaxis for recurrent Duodenal ulcer disease
- Prophylaxis for stress ulcer

2. เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรักษา จากการสืบค้นในฐานข้อมูล cochrane library โดยใช้
key word: Rabeprazole พบ 2 meta-analysis ที่เกี่ยวข้องคือ
2.1 Caro J J, Salas M และ Ward A. (2001) ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ในการรักษาและป้องกันการกลับเป็นโรค GERD ซ้ำระหว่างยาในกลุ่ม newer PPIs (lansoprazole, rabeprazole และ pantoprazole) กับยา omeprazole, ranitidine และ placebo โดยรวบรวมจาก RCTs จำนวน 41 งานวิจัย ผลจากการศึกษาพบว่ายาในกลุ่ม newer PPIs มีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการ heartburn, healing rate และ relapse rate เท่าเทียมกับ omeprazole แต่สูงกว่าการรักษาด้วย ranitidine หรือ placebo
2.2 Gisbert J P, Khorrami S, Calvet X, Pajares J M. (2003) ทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพในการใช้ rebeprazole-based treatment เปรียบเทียบกับการใช้ยาในกลุ่ม PPIs ชนิดอื่นในการฆ่าเชื้อ H. pylori โดยรวบรวมจาก 7 การศึกษาที่ใช้ rabeprazole+antibiotic 1 ชนิด และ 37 การศึกษาที่ใช้ rabeprazole+antibiotic 2 ชนิด ผลจากการศีกษาพบว่าการใช้ rabeprazole ร่วมกับยาปฏิชีวนะในการกำจัดเชื้อ H.pylori มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ omeprazole และ lansoprazole [OR 1.16 (95%CI: 0.94-1.43)] และการใช้ low-dose rabeprazole (10 mg BID) อาจมีฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อ H.pylori ได้

3. เปรียบเทียบในแง่ของ cost-effectiveness จากการสืบค้นฐานข้อมูล Pubmed โดยใช้
key word:Rabeprazole and cost-effectiveness พบ 3 articles ที่เกี่ยวข้องคือ
3.1 Remak E และคณะ (2005) ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบในแง่ของ cost-effectiveness ในการรักษา Gestro-oesophageal reflux disease (GORD) ระหว่างยาชนิดต่างๆในกลุ่ม PPIs โดยติดตามผลในการรักษาเป็นระยะเวลา 1 ปี ผลการศึกษาพบว่าการใช้ generic omeprazole และ rabeprazole ให้ความคุ้มค่าในการรักษาสูงกว่า PPIs ชนิดอื่น (ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าแต่ทำให้ผู้ป่วยมีช่วงเวลาที่ไม่มีอาการและ quality-adjusted life-years: QALY สูงกว่า) และพบว่า rabeprazole มี cost-effectiveness ในการรักษา GORD สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ generic omeprazole(4)
3.2 Hughes DA และคณะ (2005) ได้ศึกษาเชิงเภสัชเศรษฐศาสตร์ของการใช้ยา PPIs เพื่อรักษาภาวะ non-erosive reflux disease (NERD) โดยติดตามผลในการรักษาเป็นระยะเวลา 1 ปี ทำการตรวจวัดค่าใช้จ่ายในการรักษาประจำปี และประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับจากการรักษา (utilities gained per patient) ผลการศึกษาพบว่า PPIs ชนิดต่างกันให้ผลการรักษาเท่าเทียมกัน แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อปีมีความแตกต่างดันอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าค่าใช้จ่ายต่อปีในการใช้ยา rabeprazole ในการรักษา NERD ต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับยาชนิดอื่นๆ(rabeprazole10mg ค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อปีเท่ากับ 123 euro และ utilities gained = 0.89) (5)

4. เปรียบเทียบในแง่ของการเกิด dug inteaction
4.1 Korwin JD และคณะ (2004) ทำการศึกษาถึงข้อเด่นและข้อด้อยเปรียบเทียบกันระหว่าง older PPIs (omeprazole, lansoprazole, pantoprazole) และ newer PPIs (esomeprazole, rabeprazole) พบว่ายา older PPIs สามารถเกิด drug-interaction ได้กับยาหลายชนิด แต่ยา newer PPIs มีข้อได้เปรียบทางด้าน pharmacokinetic กว่าในรุ่นเก่าคือ การถูก oxidative hepatic metabolism ผ่าน CYP 2C19 ได้ต่ำกว่า จึงทำให้เกิด drug interaction ได้น้อยกว่า (6)
โดยสรุป ข้อมูลข้างต้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้ยา rabeprazole ในการรักษา, ในแง่ของ cost-effectiveness จะเห็นได้ว่าการใช้ยา rebeprazole มีประสิทธิภาพในการรักษาเท่าเทียมยา omeprazole ในขณะที่ใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ต่ำกว่า รวมทั้ง rabeprazole ยังมีโอกาสเกิด drug-drug interaction ได้ต่ำกว่ายา omeprazole ดังนั้นการที่จะตัดสินใจนำ rebeprazole มาใช้ในการรักษาแทน omeprazole จึงมีความคุ้มค่าในระดับหนึ่ง แต่พบว่าในประเทศไทยมียา omeprazole ชนิด generic จำหน่ายด้วยราคาที่ถูกกว่า omeprazole ชนิด brand name หลายชนิด ในขณะที่มี rabeprazole จำหน่ายเฉพาะชนิด brand name เท่านั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากราคาของยาทั้งสองชนิดจะพบว่า
- ราคายา omepazole 20 mg แบบ band name ต่อแคปซูลคือ 63.13 บาท (Losec®;)
- ราคายา omepazole 20 mg แบบ generic ต่อแคปซูลคือ 1.02 บาท (Miacid ®;)
- ราคายา rabepazole 20 mg แบบ band name ต่อแคปซูลคือ 43.87 บาท (Paiet® )7
เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะ Gastroesophageal reflux disease, Erosive or ulcerative ของยาทั้ง 2 ชนิดจะได้ว่า1
- Rabeprazole: Gastroesophageal reflux disease, Erosive or ulcerative, treatment: 20 mg ORALLY once daily for 4 to 8 wks ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อคอร์สคือ 43.87 บาท x 7 วัน x 4 สัปดาห์ = 1228.36 บาท ถึง 43.87 บาท x 7 วัน x 8 สัปดาห์ = 2456.72 บาท
- Omepazole: Erosive esophagitis - Gastroesophageal reflux disease: treatment, 20 mg ORALLY once daily for 4-8 weeks ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อคอร์สแบบ band name คือ 63.13 บาท x 7 วัน x 4 สัปดาห์ = 1768.48 บาท ถึง 63.13 บาท x 7 วัน x 8 สัปดาห์ = 3 536.96 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อคอร์สของ omeprazole แบบ gerneric คือ 1.02 บาท x 7 วัน x 4 สัปดาห์ = 28.56 บาท ถึง 1.02บาท x 7 วัน x 8 สัปดาห์ = 57.12 บาท
เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกันจะพบว่าราคาต่อคอร์สในการรักษาโรค GERD ของยา omeprazole ชนิด generic มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการรักษาด้วยยา omeprazole แบบ brand name และ rabeprazole มาก ดังนั้นการที่จะพิจารณานำยาชนิดใดมาใช้ในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของผู้ทำการรักษาและผู้ป่วยด้วยเช่นเดีวกัน


เอกสารอ้างอิง
1. Adams T, Amerson A, Bachenheimer B, Bainbridge J, Biberdorf J, Biberdorf R, et al. eds. Rabeprazole. In: Micromedex® Healthcare Series; 2006
2. Caro J J, Salas M and Ward A. Healing and relapse rate in gastroesophageal reflux disease treated with the newer proton-pump inhibitors lansoprazole, rabeprazole, and pantoprazole compared with
omeprazole ranitidine and placebo: evidence from randomized clinical trials. Clinical Therapeutics. 2001; 998-1017
3. Gisbert JP, Khorrami S, Calvet X, Pajares JM. Systematic review: rabeprazole-based therapies in Helicobacter pylori eradication. Alimentary Pharmacology and Therapeutics. 2003; 17(6): 751-764
4. Remak E, Brown RE, Yuen C, Robinson A. Cost-effectiveness comparison of current proton-pump inhibitors to treat gastro-oesophageal reflux disease in the UK. Curr Med Res Opin. 2005 Oct; 21(10): 1505-17
5. Hughes DA, Bodger K, Bytzer P, de Herdt D, Dubois D. Economic analysis of on-demand maintenance therapy with proton pump inhibitors in patients with non-erosive reflux disease. Pharmacoeconomics. 2005; 23(10): 1031-41
6. Korwin JD, Ducrotte P, Vallot T. New-generation proton pump inhibitors: progress in the treatment of peptic acid diseases?. Presse Med. 2004 June 19; 33(11): 746-54
7. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. ราคายาอ้างอิงจัดซื้อ. 2549: Available at:
URL: http://dmsic.moph.go.th/price/prepare.php?data=rabeprazole&method=drug&name=RABEPRA ZOLE %20FILM-COAT%20TB%2020%20MG

ระยะเวลาในการสืบค้น : 3ชั่วโมง
Keywords : Rabeprazole/ Rabeprazole and cost-effectiveness

http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=7546&gid=1