7 สิทธิประโยชน์ของใช้ผู้ประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคม มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ไม่เนื่องจากการทำงาน รวมถึงการคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ซึ่งสิทธิต่าง ๆ นี้ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิในแต่ละกรณี ได้แก่
1.
กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย ไม่เนื่องจากการทำงานผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
- สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล
โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่หากเป็นกรณีฉุกเฉินไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลตามบัตรรับรอง
สิทธิได้ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาได้ที่โรงพยาบาลใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ที่สุด และควรให้ญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้ง
โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ให้รับทราบ โดยด่วน สำหรับค่ารักษาพยาบาลผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงแรก
2.
กรณีทุพพลภาพ อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
- ได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือนร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบตลอดชีวิต
- ได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพทางร่างกาย จิตใจและอาชีพ
ตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นไม่เกิน 40,000 บาท
3.
กรณีตายอันไม่เนื่องจากการทำงาน ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
- ผู้จัดการศพ จะได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท
- ทายาทของผู้ตายจะได้รับเงินสงเคราะห์ ดังนี้
3.1 กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี
ทายาทหรือผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ตายหนึ่งเดือนครึ่ง
3.2 กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปทายาทหรือผู้มีสิทธิจะได้รับเงิน
สงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ตาย 5 เดือน
4.
กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือผู้ประกันตนหญิง
4.1 ได้รับค่าคลอดบุตร 12,000 บาท
4.2 ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเฉลี่ย
เป็นเวลา 90 วัน
ผู้ประกันตนชายที่มีภรรยาไม่ได้เป็นผู้ประกันตน
- ใช้สิทธิได้ 2 ครั้ง โดยจะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายครั้งละ 12,000 บาทแต่ไม่มีสิทธิรับเงิน
สงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา
- ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้คนละ 2 ครั้ง ซึ่งขอแนะนำให้ผู้ประกันตนใช้สิทธิของภรรยาก่อนเนื่อง
จากจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรด้วยนอกเหนือจากค่าคลอดบุตร 12,000 บาท แต่อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตร แล้วไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก
5.
กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 350 บาทต่อบุตร 1 คน สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์เบิกได้คราวละไม่เกิน 2 คน
6.
กรณีชราภาพ ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
- เงินบำนาญชราภาพ
- ได้รับเมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตน
สิ้นสุดลงโดยจะได้รับเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต
- เงินบำเหน็จชราภาพ
- ได้รับเมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้
ประกันตนสิ้นสุดลงหรือเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตายโดยจะได้รับเป็นเงินก้อนครั้งเดียว
7.
กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
- ผู้ประกันตนที่ว่างงานต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานและยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ณ สำนัก
จัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับจากวันแรกที่ว่างงาน
- ได้รับการจัดหางานให้ใหม่ตามความเหมาะสม
- จะได้รับการฝึกฝีมือแรงงานตามความจำเป็นต่องานใหม่ที่จะได้รับแต่อย่างไรก็ตามการเกิดสิทธิ
ประโยชน์ในกรณี ต่าง ๆ ข้างต้นนั้นยังคงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในแต่ละกรณีด้วย ซึ่งจะแตกต่างกันไปสำนักงานประกันสังคมจึงอยากเน้นย้ำผู้ประกันตนควรศึกษาสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนพึงจะได้รับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมเองก็ได้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์อย่างสูงสุดอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกันตนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อทางระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติให้บริการทุกวันตลอด24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรงให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.0019.00 น.หรือดูรายละเอียดได้ที่
www.sso.go.th