Author Topic: โรคซึมเศร้า  (Read 10151 times)

thaitoursearch

  • Guest
โรคซึมเศร้า
« on: June 23, 2010, 04:23:50 AM »
โรคซึมเศร้า                 
ข้อมูลจิตเวชและสุขภาพจิตจากรพ.รามาธิบดี
นพ.มาโนช หล่อตระกูล


โรคซึมเศร้าคืออะไร

สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วคำว่าโรคซึมเศร้าฟังดูไม่คุ้นหู ถ้าพูดถึงเรื่องซึมเศร้าเรามักจะนึกกัน
ว่าเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวัง หรือการสูญเสียมากกว่าที่จะเป็น
โรค ซึ่งตามจริงแล้ว ที่เราพบกันในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของอารมณ์ความ
รู้สึกธรรมดาๆ ที่มีกันในชีวิตประจำวัน มากบ้างน้อยบ้าง อย่างไรก็ตามในบางครั้งถ้าอารมณ์
เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอยู่นานโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น หรือเป็นรุนแรง มีอาการต่างๆ ติดตาม
มา เช่น นอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก
ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ก็อาจจะเข้าข่ายของโรคซึมเศร้าแล้ว

คำว่า "โรค"   บ่งว่าเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อ
ให้อาการทุเลา   ต่างจากภาวะอารมณ์เศร้าตามปกติธรรมดาที่ถ้าเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว
คลี่คลายลง หรือมีคนเข้าใจเห็นใจ อารมณ์เศร้านี้ก็อาจหายได้    
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านอกจากมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมกับอาการต่างๆ แล้ว  การทำงานหรือ
การประกอบกิจวัตรประจำวันก็แย่ลงด้วย คนที่เป็นแม่บ้านก็ทำงานบ้านน้อยลงหรือมีงานบ้าน
คั่งค้าง คนที่ทำงานนอกบ้านก็อาจขาดงานบ่อยๆ จนถูกเพ่งเล็ง เรียกว่าตัวโรคทำให้การ
ประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆ บกพร่องลง หากจะเปรียบกับโรคทางร่างกายก็คงคล้ายๆ
กัน เช่น ในโรคหัวใจ ผู้ที่เป็นก็จะมีอาการต่างๆ ร่วมกับการทำอะไรต่างๆ ได้น้อยหรือไม่ดี
เท่าเดิม

ดังนั้น การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นเป็นคนอ่อนแอ คิดมาก หรือเป็นคนไม่
สู้ปัญหา เอาแต่ท้อแท้ ซึมเซา แต่ที่เขาเป็นนั้นเป็นเพราะตัวโรค กล่าวได้ว่าถ้าได้รับการรักษา
ที่ถูกต้องเหมาะสม โรคก็จะทุเลาลง เขาก็จะกลับมาเป็นผู้ทีจิตใจแจ่มใส พร้อมจะทำกิจวัตร
ต่างๆ ดังเดิม

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแปลงหลักๆ
จะเป็นในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม ร่วมกับอาการทางร่างกายต่างๆ ดังจะได้
กล่าวต่อไป


thaitoursearch

  • Guest
Re: โรคซึมเศร้า
« Reply #1 on: June 23, 2010, 04:25:11 AM »
การเปลี่ยนแปลงในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ อาจเป็นแบบค่อย เป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์เลยก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย
 เช่น มีเหตุการณ์มากระทบรุนแรงมากน้อยเพียงได บุคลิกเดิมของเจ้าตัวเป็นอย่างไร มีการ
ช่วยเหลือจากคนรอบข้างมากน้อยเพียงได เป็นต้น และผู้ที่เป็นอาจไม่มีอาการตามนี้ไปทั้ง หมด  แต่อย่างน้อยอาการหลักๆ จะมีคล้ายๆ กัน เช่น รู้สึกเบื่อเศร้า ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า
นอนหลับไม่ดี เป็นต้น


ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป ที่พบบ่อยคือจะกลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้า
ชัดเจนแต่จะบอกว่าจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส ไม่สดชื่นเหมือนเดิม

บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เดิมตนเคยทำแล้วเพลินใจหรือ
สบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำหรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น
บ้างก็รู้สึกเบื่อไปหมดตั้งแต่ตื่นเช้ามา

บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคน
อารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน

2. ความคิดเปลี่ยนไป มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีตก็เห็นแต่ความ
ผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง ชีวิตตอนนี้ก็รู้สึกว่าอะไรๆก็ดูแย่ไปหมด ไม่มีใครช่วย
อะไรได้ ไม่เห็นทางออก มองอนาคตไม่เห็น รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต

บางคนกลายเป็นคนไม่มั่นใจตนเองไป จะตัดสินใจอะไรก็ลังเลไปหมด รู้สึกว่าตนเองไร้ความ
สามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น ทั้งๆ ที่ญาติหรือเพื่อนๆ ก็ยืนยันว่ายินดีช่วยเหลือ  เขา
ไม่เป็นภาระอะไรแต่ก็ยังคงคิดเช่นนั้นอยู่

ความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ความคับข้องใจ ทรมานจิตใจ เหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดถึงเรื่อง
การตายอยู่บ่อยๆ แรกๆ ก็อาจคิดเพียงแค่อยากไปให้พ้นๆ จากสภาพตอนนี้ ต่อมาเริ่มคิด
อยากตายแต่ก็ไม่ได้คิดถึงแผนการณ์อะไรที่แน่นอน เมื่ออารมณ์เศร้าหรือความรู้สึกหมด
หวังมีมากขึ้น ก็จะเริ่มคิดเป็นเรื่องเป็นราวว่าจะทำอย่างไร ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มา
กระทบกระเทือนจิตใจก็อาจเกิดการทำร้ายตนเองขึ้นได้จากอารมณ์ชั่ววูบ

3. สมาธิความจำแย่ลง จะหลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ  วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไร
ไม่ได้นานเนื่องจากสมาธิไม่มี ดูโทรทัศน์นานๆ จะไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือก็ได้ไม่ถึงหน้า
ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานผิดๆถูกๆ

4. มีอาการทางร่างกายต่างๆ ร่วม ที่พบบ่อยคือจะรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งเมื่อพบ
ร่วมกับอารมณ์รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร  ก็จะทำให้คนอื่นดูว่าเป็นคนขี้เกียจ ปัญหา
ด้านการนอนก็พบบ่อยเช่นกัน มักจะหลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ บางคนตื่นแต่เช้ามืด
แล้วนอนต่อไม่ได้

ส่วนใหญ่จะรู้สึกเบื่ออาหาร ไม่เจริญอาหารเหมือนเดิม น้ำหนักลดลงมาก บางคนลดลง
หลายกิโลกรัมภายใน 1 เดือน นอกจากนี้ยังอาจมีอาการท้องผูก อืด แน่นท้อง ปากคอแห้ง
บางคนอาจมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว

5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป ดังกล่าวบ้างแล้วข้างต้น    ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะดู
ซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร  บางคนอาจ
กลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย  ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป
บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม แม่บ้านอาจทนที่ลูกๆ ซนไม่ได้ หรือมีปากเสียงระหว่าง
คู่ครองบ่อยๆ

6. การงานแย่ลง ความรับผิดชอบต่อการงานก็ลดลง ถ้าเป็นแม่บ้านงานบ้านก็ไม่ได้ทำ
หรือทำลวกๆ เพียงให้ผ่านๆ ไป คนที่ทำงานสำนักงานก็จะทำงานที่ละเอียดไม่ได้เพราะ
สมาธิไม่มี ในช่วงแรกๆ ผู้ที่เป็นอาจจะพอฝืนใจตัวเองให้ทำได้ แต่พอเป็นมากๆ ขึ้นก็จะ
หมดพลังที่จะต่อสู้ เริ่มลางานขาดงานบ่อยๆ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้าใจหรือให้การช่วยเหลือ
ก็มักจะถูกให้ออกจากงาน

7. อาการโรคจิต จะพบในรายที่เป็นรุนแรงซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้ามากแล้ว
จะยังพบว่ามีอาการของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือ ประสาทหลอนร่วมด้วย ที่พบบ่อย
คือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุย
ด้วย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์
เศร้าดีขึ้น อาการโรคจิตก็มักทุเลาตาม


จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้หรือเปล่า
บางคนที่อ่านถึงตอนนี้อาจรู้สึกว่าตนเองก็มีอะไรหลายๆ อย่างเข้ากันได้กับโรคซึมเศร้าที่ว่า
แต่ก็มีหลายๆ อย่างที่ไม่เหมือนทีเดียวนัก ทำให้อาจสงสัยว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองเป็น
หรือเปล่า

อาการซึมเศร้านั้นมีด้วยกันหลายระดับตั้งแต่น้อยๆ ที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันไปจนเริ่มมี
ผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และบางคนอาจเป็นถึงระดับของโรคซึมเศร้า อาการที่
พบร่วมอาจเริ่มตั้งแต่รู้สึกเบื่อหน่าย ไปจนพบอาการต่างๆ มากมาย ดังได้กล่าวในบทต้นๆ

เป็นแบบสอบถามทีใช้เพื่อช่วยในการประเมินว่าผู้ตอบมีมีภาวะซึมเศร้าหรือไม่ รุนแรงมากน้อย
เพียงใด เป็นมากจนถึงระดับที่ไม่ควรจะปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ แบบสอบถามนี้ไม่ได้บอกว่าเป็น
โรคอะไร เพียงแต่ช่วยบอกว่าภาวะซึมเศร้าที่มีอยู่ในระดับไหนเท่านั้น ในการวินิจฉัยว่าเป็น
โรคซึมเศร้าหรือไม่นั้น ผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้ายังต้องมีอาการที่เข้าตามเกณฑ์การวินิจฉัย
ข้อดีอย่างหนึ่งของแบบสอบถามนี้คือสามารถใช้ช่วยในการประเมินระดับความรุนแรงของ
อาการได้ ว่าแต่ละขณะเป็นอย่างไร อาการดีขึ้นหรือเลวลง การรักษาได้ผลหรือไม่ ผู้ป่วยอาจ
ทำและจดบันทึกไว้ทุก 1-2 สัปดาห์ โดยถ้าการรักษาได้ผลดีก็จะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่
ดีขึ้นโดยมีค่าคะแนนลดลงตามลำดับ


thaitoursearch

  • Guest
Re: โรคซึมเศร้า
« Reply #2 on: June 23, 2010, 04:25:25 AM »

แพทย์วินิจฉัยอย่างไร
เหตุที่เราจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่เนื่องจาก มีโรค
ทางจิตเวชอื่นหลายโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า โรคทางร่างกายหลายโรคและ
ยาบางตัวก็สามารถก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าได้
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการป่วยเป็นโรคหรือกำลังได้ยาเหล่านี้ จะต้องเป็นสาเหตุของ
โรคซึมเศร้าเสมอไป ผู้ป่วยบางคนอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจากสาเหตุอื่นๆ ก็ได้ การวินิจฉัย
จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และอาศัยทักษะในการตรวจพอสมควร มีพบบ้างเหมือนกันว่าผู้ป่วย
มาด้วยอาการของโรคซึมเศร้า แต่พอรักษาไปได้ระยะหนึ่งเริ่มมีอาการของโรคทางกาย
ให้เห็น พอส่งตรวจเพิ่มเติมก็พบเป็นโรคทางกายต่างๆ

ตารางที่ 3.3 โรคหรือยาที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า
โรค    ยา
โรคสมองอักเสบ โรคตับอักเสบ    ยาลดความดันเลือด (เช่น
alphamethyldopa, clonidine,
propanolol)
โรคระบบประสาท เนื้องอกในสมอง    ยารักษาโรคพาร์กินสัน (เช่น
levodopa, amantadine)
โรคเอส แอล อี (SLE) วัณโรค
โรคเอดส์     ยากลุ่มสเตียรอยด์และฮอร์โมน
(เช่น ยาคุม, เพรดนิโซโลน)
โรคธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ โรคคุชชิ่ง     ยารักษามะเร็ง (vincristine,
vinblastine)
โรคขาดไวตามิน (เช่น เพเลกรา
เบอริเบอรี่)     ยาอื่นๆ เช่น ไซเมทิดีน,
cyproheptadine


ในการวินิจฉัย โดยทั่วไปแพทย์จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

ถามอาการหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เริ่มมีอาการครั้งแรก
ไล่มาตามลำดับจนปัจจุบัน  ยิ่งผู้ป่วยเล่าอาการต่างๆ ที่มีได้ละเอียด เล่าปัญหาทาง
จิตใจที่เกิดขึ้นได้มากเท่าไร แพทย์ก็จะยิ่งเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้นเท่านั้น    การซักถาม
ในขั้นตอนนี้นอกจากเพื่อดูว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้หรือไม่แล้ว ยังเพื่อพิจารณา
ว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคทางจิตเวชอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการเหล่านี้หรือไม่
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย  โดยเฉพาะในราย
ที่อาการไม่ชัดเจน เป็นประสบการณ์และทักษะที่ต้องผ่านการฝึกฝนและการดูแล
ผู้ป่วยมาจำนวนหนึ่ง ถามประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ในอดีต โรคประจำตัว  และยา
ที่ใช้ประจำ เพื่อดูว่าอาจเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้หรือไม่   ถามประวัติความ
เจ็บป่วยในญาติสายเลือดเดียวกัน เพราะโรคซึมเศร้าเกี่ยวข้องกับเรื่องกรรมพันธุ์
เหมือนกัน ตรวจร่างกาย และส่งตรวจพิเศษที่จำเป็น ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมี
โรคทางร่างกายอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการต่างๆที่พบ แพทย์อาจซักประวัติ
เพิ่มเติมจากญาติหรือผู้ใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ทราบเรื่องราวหรือาการต่างๆ ได้ชัดเจน
ขึ้น เพราะบางครั้งคนรอบข้างอาจสังเกตเห็นอะไรได้ชัดเจนกว่าตัวผู้ที่มีอาการเอง

จะเห็นว่า เกณฑ์การวินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นเพียงแนวทางในเบื้องต้นเท่านั้น   เป็น
องค์ประกอบหนึ่งในหลายๆ ขั้นตอนที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัย
การวินิจฉัยที่แน่นอนจึงต้องพบแพทย์เท่านั้น



โรคอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า
ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าจากการปรับตัวไม่ได้กับปัญหาที่มากระทบ เป็นภาวะที่เกิด
จากการปรับตัวไม่ได้กับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามากระทบ  เช่น  ย้ายบ้าน  ตกงาน
เกษียน เป็นต้น โดยจะพบอาการซึมเศร้าร่วมด้วยได้ แต่มักจะไม่รุนแรง ถ้ามี
คนมาพูดคุย ปลอบใจก็จะดีขึ้นบ้าง อาจมีเบื่ออาหารแต่เป็นไม่มาก ยังพอนอน
ได้ เมื่อเวลาผ่านไป ค่อยๆ ปรับตัวได้กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ภาวะอารมณ์
ซึมเศร้าที่มีก็จะทุเลาลง

โรคอารมณ์แปรปรวน ในโรคอารมณ์แปรปรวน ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนกับโรค
ซึมเศร้าอยู่ช่วงหนึ่ง และมีอยู่บางช่วงที่มีอาการออกมาในลักษณะตรงกันข้ามกับ
อาการซึมเศร้า เช่น อารมณ์ดีเบิกบานมากผิดปกติ พูดมาก ขยันมาก เชื่อมั่นตัวเอง
มากกว่าปกติ ใช้เงินเปลือง เป็นต้น ซึ่งทางการแพทย์เรียกระยะนี้ว่า ระยะแมเนีย 
ผู้ที่เป็นโรคอารมณ์แปรปรวนบางครั้งจะมีอาการของโรคซึมเศร้า บางครั้งก็มี
อาการของภาวะแมเนีย

โรควิตกกังวล พบบ่อยว่าผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการวิตกกังวล ห่วงโน่น
ห่วงนี่ ซึ่งเป็นอาการหลักของโรควิตกกังวล ที่ต่างกันคือในโรควิตกกังวลนั้น จะ
มีอาการหายใจไม่อิ่ม ใจสั่น สะดุ้ง ตกใจง่าย ร่วมด้วย อาการเบื่ออาหารถึงมีก็
เป็นไม่มาก น้ำหนักไม่ลดลงมากเหมือนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และโรคซึมเศร้านั้น
นอกจากอาการวิตกกังวลแล้วก็จะพบอาการซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่ายชีวิต ร่วม
ด้วยโดยที่อาการอารมณ์เศร้านี้จะเห็นเด่นชัดกว่าอาการวิตกกังวล



สาเหตุ
ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น เชื่อกันว่าสัมพันธ์กับหลายๆ
ปัจจัย ทั้งจากด้านกรรมพันธุ์ การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของ
จิตใจ รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมอง
บางตัวเป็นต้น

ปัจจัยสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคซึมเศร้าได้แก่
1. กรรมพันธุ์ พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะใน
กรณีของผู้ที่มีอาการเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง

2. สารเคมีในสมอง พบว่าระบบสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการ
เปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน โดยมีสารที่สำคัญได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin)
และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ลดต่ำลง รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของ
เซลล์รับสื่อเคมีเหล่านี้ ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วม
กัน มากกว่าเป็นความผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง
ยาแก้เศร้าที่ใช้กันนั้นก็ออกฤทธิ์โดยการไปปรับสมดุลย์ของระบบสารเคมีเหล่านี้

3. บางคนมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ
มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง หรือ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น บุคคล
เหล่านี้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง ถูกทอดทิ้งก็มีแนว
โน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย      ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม
อาการอาจมากจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้



โรคซึมเศร้านั้นไม่ได้มีสาเหตุจากแต่เพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเท่านั้น เหมือนกับ
การป่วยเป็นไข้หวัด ก็มักเป็นจากร่างกายอ่อนแอ จากพักผ่อนน้อย ไม่ได้ออก
กำลังกาย ขาดสารอาหาร ถูกฝน อากาศเย็น ร่วมกับการได้รับเชื้อไวรัสที่ทำให้
เกิดไข้หวัด ถ้าเราแข็งแรงดี แม้จะได้รับเชื้อหวัดก็ไม่เป็นอะไร ในทำนองเดียว
กัน ถ้าร่างกายเราอ่อนแอ แต่ไม่ได้รับเชื้อหวัดก็ไม่เกิดอาการ การเริ่มเกิด
อาการของโรคซึมเศร้านั้นมักมีปัจจัยกระตุ้น มากบ้างน้อยบ้าง บางครั้งอาจไม่
มีก็ได้ซึ่งพบได้น้อย อย่างไรก็ตาม การมีสาเหตุที่เห็นชัดว่าเป็นมาจากความกด
ดันด้านจิตใจนี้ มิได้หมายความว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาของคน
เราไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน การพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นผิดปกติ
หรือไม่ เราดูจากการมีอาการต่าง ๆ และความรุนแรงของอาการเป็นหลัก ผู้ที่มี
อาการเข้ากับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้านั้น บ่งถึงภาวะของความผิดปกติที่
จำต้องได้รับการช่วยเหลือ




การรักษา
โรคซึมเศร้านี้หากได้รับการรักษาผู้ที่เป็นจะอาการดีขึ้นมาก อาการซึมเศร้า
ร้องไห้บ่อยๆ หรือรู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ จะกลับมาดีขึ้นจนผู้ที่เป็นบางคนบอก
ว่าไม่เข้าใจว่าตอนนั้นทำใมจึงรู้สึกเศร้าไปได้ถึงขนาดนั้น ข้อแตกต่างระหว่าง
โรคนี้กับโรคจิตที่สำคัญประการหนึ่งคือ ในโรคซึมเศร้าถ้าได้รับการรักษาจนดี
แล้วก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม ขณะที่ในโรคจิตนั้นแม้จะรักษาได้ผลดีผู้ที่
เป็นก็มักจะยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่สามารถทำอะไรได้เต็มที่เหมือน
แต่ก่อน ยิ่งหากมารับการรักษาเร็วเท่าไรก็ยิ่งจะอาการดีขึ้นเร็วเท่านั้น ยิ่งป่วย
มานานก็ยิ่งจะรักษายาก

การรักษาที่สำคัญในโรคนี้คือการรักษาด้วยยาแก้เศร้าโดยเฉพาะในรายที่อาการ
มาก ส่วนในรายที่มีอาการไม่มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะการ
มองปัญหาต่างๆ ในมุมมองใหม่ แนวทางในการปรับตัว หรือการหาสิ่งที่ช่วยทำ
ให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง ร่วมกับการให้ยาแก้เศร้าหรือยาคลายกังวล
เสริมในช่วงที่เห็นว่าจำเป็น

การรักษาด้วยยาแก้เศร้า
ยาแก้เศร้ามีส่วนช่วยในการรักษาโรคนี้ แม้ผู้ที่ป่วยบางคนอาจรู้สึกว่าความทุกข์
ใจหรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้นเป็นเรื่องของจิตใจ แต่ดังที่ได้กล่าวมา
แล้วว่า ถ้าเป็นโรคซึมเศร้าแล้วแสดงว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในร่างกาย
ของคนเราจนทำให้เกิดมีอาการต่างๆ เช่น น้ำหนักลด อ่อนเพลีย  นอนไม่หลับ
ร่วมอีกหลายๆ อาการ ไม่ใช่มีแต่เพียงอารมณ์เศร้าอย่างเดียว   ซึ่งยาจะมีส่วน
ช่วยในการบำบัดอาการต่างๆ เหล่านี้ อีกทั้งยังสามารถทำให้อารมณ์ซึมเศร้า
ความวิตกกังวลใจทุเลาลงได้ด้วย จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า
10 คนหากได้รับการรักษาด้วยยาแก้เศร้าอาการจะดีขึ้นจนหายถึง 8-9 คน ใน
ขณะที่หากไม่รับการรักษานั้นอาการจะดีเองขึ้นเพียง 2-3 คนเท่านั้น (เฉพาะใน
รายที่อาการไม่รุนแรง หากอาการรุนแรงอาจจะกล่าวได้ว่ายากที่จะหายเอง)

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาแก้เศร้า
อาการของโรคไม่ได้หายทันทีที่กินยา โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า โดยส่วนใหญ่
แล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไปอาการจึงจะดีขึ้นอย่างเห็นชัด แต่ยา
ก็ยังมีส่วนช่วยในระยะแรกๆ โดยทำให้ผู้ป่วยหลับได้ดีขึ้น เจริญอาหารขึ้น เริ่ม
รู้สึกมีเรี่ยวแรงจะทำอะไรมากขึ้น ความรู้สึกกลัดกลุ้มหรือกระสับกระส่ายจะเริ่ม
ลดลง ยาทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นยาแก้
ปวด ยาแก้แพ้ หรือยาระบาย ก็ตาม แม้ว่าโอกาสที่เกิดอาการข้างเคียงจะมาก
น้อย และมีความรุนแรงต่างกันไป การใช้ยาจึงควรใช้ในขนาดและกินตามเวลา
ที่แพทย์สั่งเท่านั้น หากมีความจำเป็นที่ทำให้กินยาตามสั่งไม่ได้ และควรแจ้ง
แพทย์ทุกครั้งหากเกิดอาการใดๆ ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นอาการข้างเคียงหรือไม่
ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่กล้ากินยามากตามที่แพทย์สั่ง แพทย์สั่งกิน 4 เม็ดก็กิน
แค่ 2 เม็ด หรือกินบ้างหยุดกินบ้าง เพราะกลัวว่าจะติดยา หรือกลัวว่ายาจะไปสะสม
อยู่ในร่างกาย แต่ตามจริงแล้วยาแก้เศร้าไม่มีการติดยา ถ้าขาดยาแล้วมีอาการ
ไม่สบาย นั่นเป็นเพราะว่ายังไม่หายจากอาการของโรค การกินๆ หยุดๆ หรือกิน
ไม่ครบขนาดกลับจะยิ่งทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี และรักษายากมากขึ้น ยาแก้
เศร้ามีอยู่เป็นสิบขนาน จากการศึกษาไม่พบว่าตัวไหนดีกว่าตัวไหนอย่างชัดเจน
เรียกว่าผู้ป่วยคนไหนจะถูกกับยาตัวไหนเป็นเรื่องเฉพาะตัว หรือ ลางเนื้อชอบลาง
ยา ซึ่งโดยรวมแล้วก็มักจะรักษาได้ผลทุกตัว การใช้ยาขึ้นอยู่กับว่าแพทย์มีความ
ชำนาญ คุ้นเคยกับการใช้ยาขนานไหน และผู้ป่วยมีโรคทางกายหรือกำลังกินยา
อื่นๆ ที่ทำให้ใช้ยาบางตัวไม่ได้หรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะตอบสนองต่อยาแก้
เศร้าตัวแรกที่ให้ หากอาการยังไม่ดีในระยะแรกๆ อาจเป็นเพราะยังปรับยาไม่ได้
ขนาด หรือยังไม่ได้ระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์ได้เต็มที่เสียมากกว่า ถ้าแพทย์รักษา
ไประยะหนึ่งแล้ว และเห็นว่าให้ยาในขนาดที่พอเพียงแล้วผู้ป่วยยังอาการดีขึ้นไม่
มาก ก็อาจเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นต่อไป ยาที่ใช้ในการรักษา

สมัยหลายสิบปีก่อนยาแก้เศร้ามีอยู่เพียง 4-5 ขนาน แม้ว่ายารุ่นก่อนจะมีประสิทธิ
ภาพในการรักษาที่ดี (ยาที่มีใช้ในช่วงหลังๆ มีแต่ดีเท่าหรือด้อยกว่ายารุ่นเก่า)
การใช้ยามักจะมีข้อจำกัดด้วยเหตุว่าผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงจากยาบ่อย แม้
ว่าส่วนใหญ่จะไม่ใช่อาการที่รุนแรง แต่ผู้ป่วยบางคนก็ไวต่ออาการข้างเคียงมาก
ทำให้การปรับเพิ่มขนาดยาทำได้ลำบาก ปัจจุบันมียาใหม่มากขึ้นซึ่งมีอาการข้าง
เคียงน้อยกว่ายาเก่า ทำให้การใช้สะดวกขึ้น ปัญหาคือยาเหล่านี้ราคาค่อนข้างแพง
 แพทย์จึงจะเลือกใช้ในกรณีที่เห็นว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นที่ทำให้ใช้ยารุ่นเก่าไม่ได้

ในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางโรค ยาที่ใช้มักจะมีขนาดต่ำ
กว่าขนาดที่ใช้กับคนปกติทั่วไป ยาบางตัวอาจมีปฏิกิริยากับยาแก้เศร้าที่กิน
ดังนั้นผู้ป่วยที่กินยาอื่นๆ จึงควรแจ้งแพทย์ทุกครั้ง

ยาที่เราใช้กันจะมีชื่ออยู่ 2 แบบ ได้แก่ชื่อสามัญ และชื่อการค้า ชื่อสามัญคือชื่อ
ที่บอกองค์ประกอบหรือลักษณะยา
ส่วนชื่อการค้าคือชื่อที่แต่ละบริษัทตั้งขึ้นเพื่อให้รู้ว่าผลิตจากบริษัทของตน
ยาชื่อสามัญตัวเดียวอาจมีชื่อการค้าได้หลายๆ ชื่อถ้ามีผู้ผลิตหลายบริษัท เช่น
ยาแก้ปวดชนิดหนึ่งมีชื่อสามัญว่า พาราเซตามอล และมีชื่อการค้าหลายชื่อเช่น
คาปอล เซตามอล เป็นต้น ซึ่งทุกยาทุกชื่อก็ได้ผลเช่นเดียวกันเพราะเป็นยาตัว
เดียวกัน

อาการข้างเคียงที่พบได้ในยาแก้เศร้ากลุ่มเก่า

ง่วง เพลีย ซึมๆ ยาแต่ละตัวมีฤทธิ์ทำให้ง่วงมากน้อยแตกต่างกัน ยาที่พบบ่อย
ได้แก่ อะมิทริปไทลีน และด็อกเซปิน แพทย์จึงมักให้ยาเหล่านี้กินตอนเย็นหรือ
ก่อนนอน ซึ่งก็เหมาะกับโรค เพราะโรคนี้ผู้ที่เป็นมักจะนอนหลับไม่ดีอยู่แล้ว ยา
จึงช่วยให้หลับได้โดยไม่ต้องใช้ยานอนหลับ ในช่วงแรกของการรักษาห้ามขับ
รถและควรหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักร เนื่องจากการง่วงซึมแม้จะมี
เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้การตัดสินใจ หรือการเคลื่อนไหวที่ต้องการความรวด
เร็วนั้น เชื่องช้าลงได้มาก หากสังเกตว่ากินยาแล้วง่วงมาก ซึมแทบทั้งวัน ควร
แจ้งแพทย์เพื่อจะได้พิจารณาปรับยา แต่พบว่าบางครั้งพอกินยาไปนานๆ เข้า
กลับไม่มีง่วงเหมือนเดิมอีกก็มี

อาการปากคอแห้ง เป็นอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย แก้โดยให้จิบน้าบ่อยๆ
ตามัว มองเห็นไม่ชัด อาการพวกนี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง ไม่ต้องตัดแว่นใหม่
ท้องผูก กินอาหารจำพวกผัก ผลไม้ที่มีกากมากๆ หรืออาจกินมะขามเปียก
ช่วยในการระบาย เวียนศีรษะ หน้ามืด จากยาไปทำให้หลอดเลือดขยายตัว
เลือดจึงค้างอยู่ในร่างกายมาก ไปเลี้ยงสมองน้อย อาการนี้มักเป็นเวลา
เปลี่ยนอิริยาบท เช่น นอนนานๆ นั่งนานๆ แล้วลุกกระทันหัน หากมีอาการ
บ่อยๆ อาจแก้โดยรับประทานของเค็มๆ บ่อยขึ้น เพื่อทำให้ความดันเลือด
เพิ่มมากขึ้น (ผู้ที่เป็นโรคความดันสูงอยู่ไม่ควรใช้วิธีนี้) การเปลี่ยนท่าทาง
ต้องค่อยๆทำ หากจะลุกจากตื่นนอน ให้ลุกนั่งสักพักหนึ่ง ขยับแขนขาไปมา
ให้เลือดไหลเวียนดี แล้วจึงค่อยๆ ลุกขึ้น หากมีอาการเวียนศีรษะขณะยืนอยู่
ให้รีบนั่งพิงพนักหรือนอนทันที ถ้ายิ่งนอนในท่าที่ส่วนศีรษะต่ำกว่าส่วนลำตัว
และยกขาสูงได้ก็ยิ่งดี หากมีอาการเช่นนี้บ่อยๆ แก้ไขแล้วยังไม่ดีขึ้น  ควร
แจ้งแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจปรับลดยาลงหรือเปลี่ยนยา


อาการข้างเคียงที่พบได้ในยาแก้เศร้ากลุ่มใหม่
ยาแก้เศร้ากลุ่มใหม่นี้ กล่าวโดยรวมแล้วมีอาการข้างเคียงน้อยกว่ายากลุ่ม
เก่า โดยเฉพาะอาการปากคอแห้ง ท้องผูก หรืออาการหน้ามืด เวียนศีรษะ
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะยากลุ่มใหม่ที่ออกฤทธิ์เฉพาะระบบซีโรโตนิน (กลุ่ม
ที่มีเครื่องหมาย * ในตาราง) เนื่องจากมียาหลายขนาน ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์
ในการรักษาโดยไปปรับสารเคมีในสมองเฉพาะระบบซีโรโตนิน ยาแต่ละ
ขนานจะมีอาการข้างเคียงต่อไปนี้มากน้อยต่างกัน

กระวนกระวาย บางคนกินยาแล้วมีอาการกระวนกระวาย ซึ่งพบได้กับยา
แก้เศร้ากลุ่มใหม่ขนานอื่นบางตัวเหมือนกัน  ถ้ากินยาแล้วรู้สึกว่าตนเอง
หงุดหงิดง่ายขึ้น กระวนกระวาย รู้สึกเหมือนอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ให้
บอกแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจให้ยาคลายกังวลร่วม ลดขนาดยาลง หรือเปลี่ยนไป
ใช้ยาขนานอื่น นอนไม่หลับ ข้อดีของยาเหล่านี้คือไม่ทำให้ง่วงนอน แพทย์
จึงมักนิยมให้ตอนเช้า หากกินก่อนนอนแล้วอาจจะทำให้หลับไม่ดีได้ คลื่น
ไส้ บางคนกินยาแล้วมีอาการพะอืดพะอม คลื่นไส้ จุก แน่นท้อง ส่วนใหญ่มัก
จะเป็นช่วงสั้นๆ หลังกินยา ถ้ามีอาการให้ลองเปลี่ยนมากินยาตอนท้องว่าง
(ก่อนกินอาหาร) ถ้าเป็นมื้อเช้าก็คือ ตื่นมาสักครู่ก็กินยาเลย ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้
แจ้งแพทย์ ปวดหัว มักเป็นไม่นาน ดีขึ้นเอง

ยารักษาโรคซึมเศร้า

ในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าแบ่งออกได้หลายกลุ่มตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการ
ออกฤทธิ์ คือ
- กลุ่ม tricyclic (คือยาที่มีโครงสร้างทางเคมีสามวง)
- กลุ่ม monoamine oxidase inhibitors เรียกย่อๆ ว่า MAOI
- กลุ่มสุดท้ายคือยากลุ่มใหม่ชื่อ SSRI (serotonin-specific reuptake inhibitor) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีข้อดีข้อเสียต่างกันแต่ประสิทธิภาพการรักษาเท่าเทียมกันแพทย์อาจเริ่มจ่ายยา
กลุ่มใดแก่ผู้ป่วย ก่อนก็ได้เพื่อดูผลตอบสนองเนื่องจากเราไม่อาจทราบก่อนได้เลยว่าผู้ป่วย
คนใดจะ "ถูก"กับยาชนิดใด แล้วแพทย์จะค่อยๆปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับอาการต่อไป

ยารักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์โดยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุลย์เป็นการรักษาโรคโดยตรง
มิใช่เป็นเพียงยาที่ทำให้ง่วงหลับจะได้ไม่ต้องคิดมากเช่นที่คนมักเข้าใจผิดกัน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักต้องการหยุดกินยาเร็วกว่าที่ควรเป็นข้อสำคัญและพึงปฏิบัติที่สุดก็คือ
การกินยาอย่างต่อเนื่องจนกว่าแพทย์จะบอกให้ท่านหยุด ถึงแม้ว่าจะรู้สึกดึขึ้นแล้วก็ตาม
ยาบางตัวต้องค่อยๆลดขนาดลง เพื่อให้โอกาสร่างกายปรับตัว

ไม่ต้องกังวลว่า ยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่กินแล้วติดหยุดยาไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ก็เช่นเดียวกับการรักษาโรคอื่นๆแพทย์อาจให้ตรวจวัดระดับยาให้ถูกต้องกับ
อาการเป็นระยะๆ

สิ่งที่คุณหลีกเลี่ยงก็คือ การซื้อยากินเองจากร้านขายยา ยืมยาจากเพื่อน หรือกินยาจากแพทย์
ท่านอื่นปนกับโรคซึมเศร้า โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน เช่นเดียวกับแพทย์คนอื่น
หรือหมอฟันด้วยว่า ท่านกำลังกินยารักษาโรคซึมเศร้าอยู่อย่าวางใจว่า เป็นแค่ยาพื้นบ้าน
ธรรมดา คงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอะไรร้ายแรงการดื่มอัลกอฮอล์จากเหล้า เบียร์ หรือไวน์
จะลดประสิทธิภาพของยาลง

ยานอนหลับหรือยาลดความกังวล ไม่ใช่ยาที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้โดยลำพังอย่างที่
กล่าวแล้ว แม้ว่าบางครั้งแพทย์จะสั่งใช้ยาชนิดนี้ควบคู่ไปกับยารักษาโรคซึมเศร้าเพื่อบรรเทา
อาการกังวลในระยะต้นของการรักษา และไม่ควรใช้ยากระตุ้นประสาทหรือยาม้าเพื่อหวังผล
ให้หายเพลียเพียงชั่วครั้งชั่วคราว

ควรถามแพทย์ทุกครั้งที่ท่านมีปัญหาที่เกิดจากยา หรือเกิดปัญหาที่คิดว่าอาจเกิดจากยา



แพทย์รักษาอย่างไร
หลังจากแพทย์ประเมินอาการจนค่อนข้างแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
โดยไม่มีสาเหตุมาจากโรคทางร่างกายอื่นๆ ก็จะเริ่มให้การรักษาโดยให้ยา
ขนาดต่ำก่อน นัดติดตามการรักษาอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อมา ถ้าผู้ป่วยไม่
มีอาการข้างเคียงอะไรก็จะค่อยๆ ปรับยาขึ้นไปทุกๆ 1-2 สัปดาห์จนได้ขนาด
ในการรักษา
ยาที่ใช้ในการรักษา

สมัยหลายสิบปีก่อนยาแก้เศร้ามีอยู่เพียง 4-5ขนานแม้ว่ายารุ่นก่อนจะมีประสิทธิภาพในการ
รักษาที่ดี (ยาที่มีใช้ในช่วงหลังๆ มีแต่ดีเท่าหรือด้อยกว่ายารุ่นเก่า) การใช้ยามักจะมีข้อจำกัด
ด้วยเหตุว่าผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงจากยาบ่อย แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่ใช่อาการที่รุนแรง
แต่ผู้ป่วยบางคนก็ไวต่ออาการข้างเคียงมาก ทำให้การปรับเพิ่มขนาดยาทำได้ลำบากปัจจุบัน
มียาใหม่มากขึ้นซึ่งมีอาการข้างเคียงน้อยกว่ายาเก่า ทำให้การใช้สะดวกขึ้น
ปัญหาคือยาเหล่านี้ราคาค่อนข้างแพงแพทย์จึงจะเลือกใช้ในกรณีที่เห็นว่าผู้ป่วยมีความจำเป็น
ที่ทำให้ใช้ยารุ่นเก่าไม่ได้

ในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางโรค ยาที่ใช้มักจะมีขนาดต่ำกว่าขนาดที่ใช้
กับคนปกติทั่วไป ยาบางตัวอาจมีปฏิกิริยากับยาแก้เศร้าที่กิน ดังนั้นผู้ป่วยที่กินยาอื่นๆ จึงควร
แจ้งแพทย์ทุกครั้ง

ยาที่เราใช้กันจะมีชื่ออยู่ 2 แบบ ได้แก่ชื่อสามัญ และชื่อการค้า
ชื่อสามัญคือชื่อที่บอกองค์ประกอบหรือลักษณะยา
ส่วนชื่อการค้าคือชื่อที่แต่ละบริษัทตั้งขึ้นเพื่อให้รู้ว่าผลิตจากบริษัทของตน ยาชื่อสามัญตัวเดียวอาจมีชื่อการค้าได้หลายๆ ชื่อถ้ามีผู้ผลิตหลายบริษัท เช่น ยาแก้ปวดชนิด
หนึ่งมีชื่อสามัญว่า พาราเซตามอล และมีชื่อการค้าหลายชื่อเช่น คาปอล เซตามอล เป็นต้น
ซึ่งทุกยาทุกชื่อก็ได้ผลเช่นเดียวกันเพราะเป็นยาตัวเดียวกัน
ชือสามัญ (ไทย)    ชือสามัญ (อังกฤษ)    ชื่อการค้า    ขนาดเม็ดละ

(มิลลิกรัม)
   ขนาดในการ
รักษา    อาการข้างเคียง
ที่อาจพบได้
อะมิทริปไทลีน

นอร์ทริปไทลีน

อิมิพรามีน

ด็อกเซปิน

โคลมิพรามีน

แมโพรทิลีน
   amitriptyline

nortriptyline

imipramine

doxepin

clompiramine

maprotiline
   -

-

-

sinequan

anafranil

ludiomil
   

10, 25, 50

10, 25, 50

25

25

10, 25

25
   75-150

75-150

75-150

75-150

75-150

75-150
   

 

ง่วงซึม ปากคอแห้ง ท้องผูก
ทราโซโดน    trazodone    desyrel    

50
   150-300    ง่วงซึม มึนศีรษะ
ไมแอนเซอรีน    mianserine    tolvon    

10, 30
   60-90    ง่วงซึม ปวดศีรษะ
อะมิเนปทีน    amineptine    servector    

100
   100-200    นอนไม่หลับ กระวนกระวาย
มอโคลเบไมด์    moclobemide    aurorix    

100, 150
   150-450    คลื่นไส้ กระวนกระวาย นอนไม่หลับ
ฟลูออกเซตีน*

ฟลูวอกซามีน*

พารอกเซตีน*

ซิตาโลแพรม*

เซอร์ทราลีน*
   fluoxetine

fluvoxamine

paroxetine

citalopram

sertraline
   prozac

faverine

seroxat

cipram

zoloft
   

20

50, 100, 150

20

20

50
   20-40

100-300

20-40

20-40

50-100
   

กระวนกระวาย คลื่นไส้ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
เวนลาแฟกซีน    venlafaxine    effexor    

75, 150
   150-300    กระวนกระวาย คลื่นไส้
เมอร์ทาเซปีน    mirtazepine    remeron    

30
   15-45    ง่วงซึม ปากคอแห้ง
ไทอะเนปทีน    tianeptine    stablon    

12.5
   25-50    กระวนกระวาย คลื่นไส้
เนฟาโซโดน    nefazodone    serzzone    

100, 150
   300-500    ง่วงซึม คลื่นไส้ ปากคอแห้ง


thaitoursearch

  • Guest
Re: โรคซึมเศร้า
« Reply #3 on: June 23, 2010, 04:25:44 AM »

หากญาติมีความเข้าใจผู้ที่เป็น โรคซึมเศร้า มองว่าเขากำลังไม่สบาย ความคาด
หวังในตัวเขาก็จะลดลง ความหงุดหงิด คับข้องใจก็ลดลง เรามักจะให้อภัยคนที่
กำลังไม่สบาย มีข้อยกเว้นให้บางอย่าง เพราะเราทราบดีว่าเขาไม่ได้แกล้งทำ
ไม่มีใครอยากป่วย

บางครั้งผู้ป่วยดูเงียบขรึม บอกไม่อยากพูดกับใคร ก็อาจต้องตามเขาบ้าง แต่ใน
ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่จะปล่อยเขาไปหมด หากสังเกตว่าช่วงไหนเขาพอมีอารมณ์
แจ่มใสขึ้นมาบ้างก็ควรชวนเขาพูดคุยถึงเรื่องที่เขาเคยชอบ เคยสนใจ อาจเริ่ม
ด้วยการคุยเล็กๆ น้อยๆ ไม่สนทนานานๆ เพราะเขายังไม่มีสมาธิพอที่จะติดตาม
เรื่องยาวๆ ได้นาน และยังเบื่อง่ายอยู่ การที่ญาติมีท่าทีสบายๆ ใจเย็น พร้อมที่จะ
ช่วย และในขณะเดียวก็ไม่กระตุ้นหรือคะยั้นคะยอเกินไปเมื่อสังเกตว่าเขายังไม่
พร้อม จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายลง ไม่เครียดไปตามญาติ หรือรู้สึกว่าตนเอง
แย่ที่ไม่สามารถทำตามที่ญาติคาดหวังได้










ผู้ที่กำลังซึมเศร้าบางครั้งอาจเกิดความรู้สึกท้อแท้ ไม่เห็นหนทางแก้ปัญหา
อาจรู้สึกอยากตายได้ ผู้ที่มีความรู้สึกเช่นนี้แม้ว่าบางคนจะไม่บอกใคร แต่
ส่วนใหญ่ก็มักจะบอกคนใกล้ชิดเป็นนัยๆ ญาติควรใส่ใจ หากผู้ป่วยพูดจาใน
ทำนองสั่งเสีย ล่ำลา หรือพูดเหมือนกับจะไม่อยากมีชีวิตอยู่ โดยเฉพะถ้าเขา
ไม่เคยมีท่าทีทำนองนี้มาก่อน ผู้ป่วยบางคนไม่รู้ว่าจะบอกคนอื่นอย่างไรถึงเรื่อง
อยากตายของตน รู้สึกสองจิตสองใจ ใจหนึ่งอยากตาย ใจหนึ่งเป็นห่วงคนใกล้ตัว
 จะปรึกษาใครก็กลัวคนว่าคิดเหลวไหล การบอกเป็นนัยๆ นี้แสดงว่าจิตใจเขาตอน
นั้นกำลังต้องการความช่วยเหลือ ต้องการคนเข้าใจอย่างมาก

เรื่องหนึ่งที่มักเข้าใจผิดกันคือ คนมักไม่ค่อยกล้าถามผู้ป่วยถึงเรื่องความคิด
อยากตาย เพราะเกรงว่าจะเป็นการไปชี้โพรงให้กระรอก แต่จริงๆ แล้วๆ ไม่
เป็นเช่นนั้น ความคิดอยากตายมักเกิดจากการครุ่นคิดของผู้ป่วยจากมุมมอง
ต่อปัญหาที่บิดเบนไปมากกว่า ไม่ได้เป็นเพราะคำถามเรื่องนี้ ในทางตรงกัน
ข้าม การถามกลับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก ความตึง
เครียด คับข้องใจลดลง

หากผู้ป่วยพูดถึงเรื่องอยากตาย อย่าบอกว่า "อย่าคิดมาก" "ให้เลิกคิด" หรือ
"อย่าสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น" คำพูดทำนองนี้อาจทำให้เขารู้สึกว่าญาติ
ไม่สนใจรับรู้ปัญหา เห็นว่าเขาเหลวไหล ญาติควรให้ความสนใจ เปิดโอกาส
ให้เขาได้พูดถึงความคับข้องใจ จากประสบการณ์การเป็นแพทย์ของผู้เขียน
พบว่า ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ไม่มีโอกาส หรือไม่ได้พูดความคับข้องใจหรือ
ปัญหาของตนเองให้คนใกล้ชิด เพราะมีความรู้สึกว่า "เขาคงไม่สนใจ"
"ไม่อยากรบกวนเขา" "ไม่รู้ว่าจะเล่าให้เขาฟังตอนไหน" ในช่วงภาวะวิกฤติ
นั้นสิ่งที่ผู้ที่ทุกข์ใจต้องการมากคือผู้ที่พร้อมจะรับฟังปัญหาของเขาด้วยความ
เข้าใจ อย่าเพิ่งรีบไปให้คำแนะนำโดยที่เขายังไม่ได้พูดอะไร การที่เขาได้พูด
ระบายออกมาเป็นการเปิดโอกาสให้ญาติได้เห็นชัดเจนขึ้นว่าปัญหา หรือสิ่งที่
ผู้ป่วยเห็นว่าสำคัญคืออะไร ซึ่งอาจจะแตกต่างจากที่ญาติเคยคิดมาก่อนก็ได้

เมื่อผู้ป่วยได้พูดระบายความคับข้องใจออกมา จิตใจจะผ่อนคลายลง สภาพจิต
ใจตอนนี้เริ่มจะเปิดกว้างพร้อมที่จะรับฟังผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่เขาเกิดความไว้
วางใจ ซึ่งก็คือผู้ที่รับฟังปัญหาของเขายามที่เขาทุกข์ใจมากที่สุดนั่นเอง ณ จุด
นี้ ญาติจะสามารถชี้ให้ผู้ป่วยได้มองปัญหาจากแง่มุมอื่นๆ ได้เห็นทางเลือกอื่นๆ
ในการแก้ปัญหา หากได้พูดคุยแล้วเห็นว่าผู้ป่วยยังมีความรู้สึกท้อแท้อยู่สูง มี
ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากก็อย่าได้ไว้วางใจ ควรพาไปพบแพทย์

thaitoursearch

  • Guest
Re: โรคซึมเศร้า
« Reply #4 on: June 23, 2010, 04:25:56 AM »


แพทย์จะรับไว้ในโรงพยาบาลเมื่อ
ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ไม่กินอาหารเลย อยู่นิ่งๆ ตลอดวัน
คิดอยากตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย แพทย์ต้องการตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด เพื่อการ
วินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง แพทย์เห็นว่าการรักษาด้วยยาต้องดูแลใกล้ชิด เช่น ผู้ป่วยที่มี
โรคทางกาย ผู้ป่วยสูงอายุ เป็นต้น


ระยะเวลาในการรักษา
หลังจากที่รักษาจนผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้ว แพทย์จะให้ยาในขนาดใกล้เคียงกับ
ขนาดเดิมต่อไปอีกนาน 4-6 เดือน เนื่องจากพบว่าในช่วงนี้ผู้ป่วยที่หยุดยาไปกลับ
เกิดอาการกำเริบขึ้นมาอีกสูง เมื่อให้ยาไปจนครบ 6 เดือนโดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการ
เลยในระหว่างนี้ แพทย์จึงจะค่อยๆ ลดยาลงโดยใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนจน
หยุดยาในที่สุดแม้ว่าจะหายจากการป่วยในครั้งนี้แล้ว ยังพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง
ที่มีโอกาสเกิดกลับมาป่วยซ้ำอีก โดยพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ป่วยครั้ง
แรกมีโอกาสที่จะเกิดป่วยซ้ำอีกได้ บางคนหายปี 2-3 ปีแล้วกลับเป็นใหม่ ในขณะ
ที่บางคนหายไปเป็น 5-7 ปีก็มี ซึ่งบอกยากว่าใครจะกลับมาเป็นอีกและจะเป็นเมื่อ
ไร หลักการโดยทั่วๆ ไปคือ ถ้าเป็นครั้งที่สอง โอกาสเกิดเป็นครั้งที่สามก็สูงขึ้นและ
ถ้าเป็นครั้งที่สาม โอกาสเป็นครั้งที่สี่ก็ยิ่งสูงขึ้นไปอีก และการกำเริบในครั้งต่อๆ ไป
จะกระชั้นเข้า ดังนั้นถ้าป่วย 3 ครั้งแล้วจำเป็นต้องกินยากันไม่ให้กลับเป็นซ้ำ
ไปนานเป็นปีๆ แต่ถ้าเป็น 2 ครั้งและมีลักษณะต่างๆ ที่แพทย์เห็นว่ามีความเสี่ยง
ก็อาจให้ยาป้องกันเช่นกัน


คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักรู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า ไม่มีใครสนใจ ต้องรับความกดดัน
ต่างๆแต่ผู้เดียว รู้สึกสิ้นหวัง ไม่อยากจะสู้ปัญหาอะไรๆ อีกแล้ว

แต่ขอให้ความมั่นใจว่าความรู้สึกเช่นนี้ไม่ได้เป็นอยู่ตลอดไป โรคนี้รักษาให้หาย
ขาดได้ เมื่ออาการของโรคดีขึ้น มุมมองต่อสิ่งต่างๆ ในแง่ลบจะเปลี่ยนไป ความ
มั่นใจในตนเองจะมีเพิ่มขึ้น มองเห็นปัญหาต่างๆ ในมุมมองอื่นๆ ที่แตกต่างออก
ไปจากเดิมมากขึ้น

ในขณะที่คุณกำลังซึมเศร้าอยู่นั้น มีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
- การออกกำลังกาย การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยทางร่างกายแล้ว จิตใจ
ก็ยังจะดีขึ้นด้วย โดยในผู้ที่มีอาการซึมเศร้าไม่มาก จะรู้สึกว่าจิตใจคลายความ
เศร้า และแจ่มใสขึ้นได้ การออกกำลังกายที่ดีจะเป็นการออกกำลังแบบแอโรบิก
เช่น วิ่ง เดิน ว่ายน้ำ ซึ่งจะช่วยให้หลับได้ดีขึ้น การกินอาหารดีขึ้น การขับถ่ายดีขึ้น
ถ้าได้ออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่นด้วยก็จะยิ่งช่วยเพิ่มการเข้าสังคม ไม่รู้สึกว่าตน
เองโดดเดี่ยว
- อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงานและการปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป ช่วงนี้เป็นช่วง
เวลาที่เรายังต้องการการพักผ่อน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การกระตุ้นตนเอง
มากไปกลับยิ่งจะทำให้ตัวเองรู้สึกแย่ที่ทำไม่ได้อย่างที่หวัง
- เลือกกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีๆ โดยมักจะเป็นสิ่งที่เราเคยชอบ เช่น
ไปเที่ยวสวนสาธารณะ ไปเที่ยวชายทะเล ชวนเพื่อนมาที่บ้าน
- พยายามทำกิจกรรมที่ทำร่วมกับคนอื่นมากกว่าที่จะอยู่คนเดียว
หลักการเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกอย่างหนึ่งก็คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้จะไม่คง
อยู่ตลอดไป แต่จะขึ้นๆ ลงๆ ในแต่ละช่วง คนที่มีความโศกเศร้ามักจะรู้สึกหมด
หวัง คิดว่าความรู้สึกนี้จะคงอยู่กับตนเองตลอดเวลา ในความเป็นจริงแล้วจะมี
อยู่บางช่วงที่อารมณ์เศร้านี้เบาบางลง ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ให้เราเริ่มกิจกรรมที่
สร้างสรรค์ เพื่อให้มีความรู้สึกที่ดีขึ้น
- อย่าตัดสินใจเรื่องที่สำคัญต่อชีวิต เช่นการหย่า การลาออกจากงาน ณ ขณะที่
เรากำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้านี้การมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบอาจทำให้การตัดสินใจ
ผิดพลาดไปได้ ควรเลื่อนการตัดสินใจไปก่อน หากจำเป็นหรือเห็นว่าปัญหานั้นๆ
เป็นสิ่งที่กดดันเราทำให้อะไรๆ แย่ลวงจริงๆ ก็ควรปรึกษาผู้ใกล้ชิดหลายๆ คน
ให้ช่วยคิด
- การมองปัญหาโดยไม่แยกแยะจะทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ ไม่รู้จะทำอย่าง
ไร การแก้ปัญหาให้แยกแยะปัญหาให้เป็นส่วนย่อยๆ จัดเรียงลำดับความสำคัญ
ว่าเรื่องไหนควรทำก่อนหลังแล้วลงมือทำไปตามลำดับโดยทิ้งปัญหาย่อยอื่นๆ ไว้
ก่อน วิธีนี้จะพอช่วยให้รู้สึกว่าตนเองยังทำอะไรได้อยู่



คำแนะนำสำหรับญาติ
ญาติมักจะรู้สึกห่วงผู้ที่เป็น ไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงได้ซึมเศร้ามากขนาดนี้ ทั้งๆ
ที่เรื่องที่มากระทบก็ดูไม่หนักหนานก ทำให้บางคนพาลรู้สึกโกรธ ขุ่นเคือง เห็น
ว่าผู้ป่วยเป็นคนอ่อนแอ เป็นคน "ไม่สู้" ทำไมเรื่องแค่นี้ถึงต้องเศร้าเสียใจขนาดนี้
ท่าทีเช่นนี้กลับยิ่งทำให้ผู้ที่เป็นรู้สึกว่าตัวเองยิ่งแย่ขึ้นไปอีก เกิดความรู้สึกว่าตน
เองเป็นภาระแก่ผู้อื่น ทำให้จิตใจยิ่งตกอยู่ในความทุกข์

แต่ทั้งนี้ ภาวะที่เขาเป็นนี้ไม่ใช่อารมณ์เศร้าธรรมดา หรือเป็นจากจิตใจอ่อนแอ
หากแต่เป็นภาวะของความผิดปกติ เขากำลัง "เจ็บป่วย" อยู่ หากจะเปรียบกับ
โรคทางกายเช่น โรคปอดบวม อาจจะทำให้พอเห็นภาพชัดขึ้น คนเป็นโรคปอด
บวมจะมีการอักเสบของปอด เสมหะเหนียวอุดตันตามหลอดลม ทำให้มีอาการ
หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก มีไข้ สิ่งที่เขาเป็นนั้นเขาไม่ได้แกล้งทำ หากแต่เป็น
เพราะมีความผิดปกติอยู่ภายในร่างกาย เขากำลังเจ็บป่วยอยู่ กับโรคซึมเศร้าก็
เป็นเช่นเดียวกัน ความกดดันภายนอกที่รุมเร้าร่วมกับปัจจัยเสี่ยงหลายๆ อย่าง
ในตัวเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีและ
ระบบฮอร์โมนต่างๆ ในสมอง เกิดมีอาการต่างๆ ตามมาทั้งทางกายและใจ
นอกเหนือไปจากความเศร้าโศก ณ ขณะนั้น นอกจากอารมณ์ที่เปลี่ยนไปแล้ว
ยังพบมีอาการทางร่างกาย ต่างๆ นาๆ รวมด้วย ความคิดเห็น มุมมองต่อสิ่งต่างๆ
ก็เปลี่ยนไปด้วย การมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบ ก็กลับจะยิ่งไปส่งเสริมให้จิตใจเศร้า
หมอง กลัดกลุ้มมากขึ้นไปอีก เขาห้ามให้ตัวเองไม่เศร้าไม่ได้
ทั้งหมดนี้เป็นปรากฏการณ์ของความเจ็บป่วย ซึ่งเมื่อได้รับการรักษาหายแล้ว
อารมณ์เศร้าหมองก็จะดีขึ้น จิตใจแจ่มใสขึ้น การมองสิ่งรอบตัวก็จะเปลี่ยนไป
อาการต่างๆ จะค่อยๆ หายไป


ในช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้ามากนั้น หากเขายังทำอะไรไม่ได้ก็ควรจะให้
พักผ่อนไปจะดีกว่าการไปบังคับให้เขาทำโดยที่ยังไม่พร้อม หากอาการเริ่มดีขึ้น
ก็อาจค่อยๆ ให้งานหรือชวนให้เขาร่วมกิจกรรมที่พอทำได้บ้าง เป็นงานที่ไม่ต้อง
อาศัยสมาธิมากนัก หากเป็นงานที่มีการเคลื่อนไหว เคลื่อนที่จะดีกว่างานที่ผู้ป่วย
นั่งอยู่เฉยๆ เพราะการมีกิจกรรมจะทำให้ความคิดฟุ้งซ่าน การอยู่กับตนเองลดลง


ข้อควรทราบ
โรคนี้ไม่ได้อาการดีขึ้นทันทีที่กินยา การรักษาต้องใช้เวลาบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็น
สัปดาห์ อาการจึงจะดีขึ้นอย่างเห็นชัด จึงไม่ควรคาดหวังจากผู้ป่วยมากเกินไป
การรักษาด้วยยามีความสำคัญ ควรช่วยดูแลเรื่องการกินยา โดยเฉพาะในช่วง
แรกที่ผู้ป่วยยังซึมเศร้ามาก หรืออาจมีความคิดอยากตาย การตัดสินใจในช่วงนี้
จะยังไม่ดี ควรให้ผู้ป่วยเลี่ยงการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ไปก่อนจนกว่าจะเห็น
ว่าอาการเขาดีขึ้นมากแล้ว


คำถาม โรคนี้เป็นกรรมพันธุ์ไหม จะมีลูกได้ไหม
คำตอบ
จากการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีญาติป่วยเช่นเดียวกันโดยเฉพาะกับญาติ
ใกล้ชิด โดยญาติใกล้ชิดสายเลือดเดียวกันของผู้ป่วย (ได้แก่ พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง)
มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วๆ ไป 2-3 เท่า แต่บางครั้งโรคนี้ก็เป็นขึ้นมาเองได้เหมือนกันเหมือนกับโรคเบาหวาน โรคความดันเลือดสูง
แต่การป่วยเป็นโรคนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะต้องเป็นโรคนี้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะแม้แต่
พ่อและแม่เป็นทั้งคู่ ลูกก็ยังไม่ได้ป่วยไปทุกครอบครัว และเนื่องจากโรคนี้ไม่ได้มีความบกพร่องที่รุนแรงมาก สามารถรักษาได้ การป่วยเป็นโรค
นี้จึงไม่เป็นข้อห้ามต่อการมีลูก
คำถาม โรคนี้คือโรคจิตใช่หรือไม่
คำตอบ ไม่ใช่ โรคจิตหมายถึงโรคที่มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน เป็นอาการเด่นและมัก
จะเป็นเรื้อรัง ส่วนในโรคซึมเศร้านั้น อาการสำคัญคืออารมณ์จะเปลี่ยนไปจากปกติ โดยจะ
ซึมเศร้า นอนไม่หลับ กินไม่ได้ ในบางครั้งถ้ารุนแรงมากๆ อาจมีอาการหลงผิดประสาท
หลอนได้แต่ก็พบไม่บ่อยและเมื่ออาการซึมเศร้าดีขึ้นอาการหลงผิดนี้ก็จะหายไปหากจะเรียก
ให้ถูกอาจเรียกว่าเป็นโรคทางอารมณ์
คำถาม โรคนี้รักษาแล้วหายขาดไหม
คำตอบ การรักษาโรคนี้เป็นการรักษาการกำเริบของโรค เมื่อหายแล้ว ก็อาจเป็นขึ้นมา
ใหม่ได้เหมือนกัน ประมาณกันว่าร้อยละ 50- 75 ของผู้ป่วยเป็นมากกว่าหนึ่งครั้ง
ยิ่งกลับมากำเริบก็ยิ่งมีโอกาสเป็นอีกในครั้งต่อไปมากขึ้น ในผู้ป่วยที่เป็นมากกว่า 2
ครั้งอาจต้องกินยาป้องกันไประยะยาวหลายๆ ปี
คำถาม กินยาแล้วไม่เห็นดีขึ้นเลย จะเพิ่มยาได้ใหม
คำตอบ ยาแก้เศร้าไม่ได้กินแล้วเห็นผลทันตาเหมือนกับยาแก้ปวด ต้องให้เวลาเพื่อยา
ไปปรับระบบสารเคมีต่างๆ ในร่างกายระยะหนึ่ง อาการซึมเศร้าจึงจะดีขึ้น อาจใช้เวลา
1-2 สัปดาห์ ในระยะระหว่างนี้แม้จะกินยามากก็ไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้นเร็ว แต่กลับจะยิ่ง
ทำให้มีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงมากขึ้น
คำถาม กินยามานานแล้วยาจะสะสมในร่างกายไหม
คำตอบ ยานี้ไม่มีการสะสมในร่างกาย เมื่อกินเข้าไปแล้วจะถูกขับออกจากร่างกายทาง
อุจจาระหรือปัสสาวะ ส่วนใหญ่แล้วประมาณ 12-24 ชั่วโมงระดับยาในร่างกายหลังกิน
จะลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง แพทย์จึงต้องให้กินยาวันละ 1-3 ครั้ง ตามแต่ว่ายาตัวไหนถูก
ขับออกจากร่างกายเร็วหรือช้า เพื่อให้ระดับยาในเลือดคงที่ตลอดการรักษาจึงจะได้
ผลดี
คำถาม ยาแก้เศร้านี้ กินแล้วจะติดยาไหม เพราะสังเกตว่าถ้าไม่กินยาจะนอนไม่หลับ
คำตอบ ยาแก้เศร้านี้ ไม่มีการติดยา การติดยาหมายถึงขาดยาไม่ได้ ต้องกินยาอยู่
เรื่อยๆ ถ้าขาดก็จะรู้สึกระวนกระวาย อยากได้ยามาก และถ้าจะต้องเพิ่มขนาดยาขึ้น
เรื่อยๆ เพราะเกิดการดื้อยา อย่างไรก็ตามหากกินยาไประยะหนึ่งแล้ว (นานกว่า 3 เดือน)
ถ้าจะหยุดยาจะต้องค่อยๆ ลดยาลงทีละน้อย โดยเฉพาะหากกินวันละหลายเม็ด ถ้าหยุด
ยาเลยอาจทำให้มีอาการกระวนกระวาย คลื่นไส้ นอนไม่หลับ ได้ในช่วงแรกๆ (โดยเฉพาะ
ยารุ่นเก่า) ซึ่งเป็นเพราะร่างกายยังปรับตัวไม่ทัน

ผู้ป่วยหลายคนกลัวติดยาจึงกินยาน้อยกว่าที่สั่ง กินๆ หยุดๆหรือจะกินต่อเมื่อมีอาการ
มาก การทำเช่นนี้นอกจากจะทำให้มีโอกาสเกิดอาการกำเริบใหม่ได้ง่ายแล้ว การรักษาจะ
ยุ่งยากไปด้วย
 
คำถาม ผู้ป่วยบางคนไม่ยอมกินยา จะฉีดยาได้ไหม ผู้ป่วยที่อาการหนักจะฉีดยาได้ไหม
คำตอบ ยาแก้เศร้าชนิดฉีดไม่เป็นที่นิยมใช้ในโรคนี้ เพราะดังที่กล่าวแล้วว่าการหายของ
โรคนี้ต้องใช้เวลา การฉีดยาไม่ได้ช่วยให้หายเร็วขึ้น และแม้อาการหนักถึงฉีดยาก็ไม่ได้
ทุเลาทันที กล่าวโดยสรุปคือยาฉีดไม่ได้มีผลดีเหนือกว่ายากิน มีแต่เจ็บตัวเปล่าๆ
ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมกินยาคงต้องอาศัยการชี้แจงให้เขาเห็นความสำคัญของการรักษา
ถ้าไม่กินยาเพพราะอาการหนักก็อาจต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล ญาติควรแจ้ง
แพทย์เรื่องนี้เพื่อที่แพทย์จะได้ไม่เข้าใจผิดว่าผู้ป่วยกินยาตามขนาดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
คำถาม ตอนนี้กำลังกินยารักษาโรคอยู่ จะตั้งท้องได้ไหม
คำตอบ โดยทั่วไปแพทย์จะยังไม่ให้ผู้ป่วยมีลูกจนกว่าจะแน่ใจว่าผู้ป่วยหายมาดีแล้วระยะหนึ่ง
เพราะช่วงหลังคลอดใหม่ๆ มีหลายคนเกิดกลับเป็นใหม่ขึ้นมาอีก และในสามเดือนแรก
ของการตั้งครรภ์ยาที่ให้ก็อาจมีผลต่อเด็กในครรภ์ได้เหมือนกัน แม้จะพบได้น้อยมาก
ดังนั้น ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็ควรรอจนหายดีแล้วดีกว่า
คำถาม การรักษาด้วยไฟฟ้าเป็นอย่างไร
คำตอบ
การรักษาด้วยไฟฟ้าเป็นการรักษาโดยใช้กระแสไฟฟ้าขนาดต่ำมาก () โดยวางขั้วไฟฟ้า
ที่เหนือจุดกึ่งกลางระหว่างหูและหางตาขึ้นไปเมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านจะเกิดการเปลี่ยน
แปลงในสมองเหมือนกับที่พบในผู้ป่วยที่มีอาการลมชัก ในการรักษาจะทำวันเว้นวัน
(จันทร์-พุธ-ศุกร์) ประมาณ 6-8 ครั้ง จะรักษาด้วยวิธีนี้ในผู้ที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง ผู้ป่วยที่มีอาการโรคจิตร่วม หรือผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อ
การรักษาด้วยยา หลังทำอาจมีอาการหลงลืมง่าย ซึ่งจะค่อยๆ กลับคืนมาเป็นปกติใน
เวลาไม่นาน

thaitoursearch

  • Guest
Re: โรคซึมเศร้า
« Reply #5 on: June 23, 2010, 04:28:12 AM »
โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าอาจจะ เกิดในคนที่มีการสูญเสีย หรือโรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีโรคประจำตัวหรือเกิดในคนปกติทัวๆไป มีการประเมินว่าในระยะเวลา 1 ปีจะมีประชาชนร้อยละ9จะเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจประเมินมากมาย แต่สูญเสียคุณภาพชีวิตรวมทั้งความทุกข์ที่เกิดกับผู้ป่วยจะประเมินมิได้ โรคซึมเศร้าจะทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงและเกิดความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแล บางครั้งอาจจะทำให้ครอบครัวแตกแยก

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และไม่ได้รับการรักษาทั้งที่ปัจจุบันมียาและวิธีการรักษาที่ได้ผลดี ความนี้จะเป็นแนวทางในการวินิจฉัย หากพบว่าคนที่รู้จักมีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้ารีบแนะนำให้เขาไปพบจิตแพทย์
โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้าเป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน
โรคซึมเศร้ามีกี่ชนิด

   1. Major depression ผู้ป่วยจะมีอาการ(ดังอาการข้างล่าง)ซึ่งจะรบกวนการทำงาน การรับประทานอาหาร การนอน การเรียน การทำงาน และอารมสุนทรีย์ อาการดังกล่าวจะเกิดเป็นครั้งๆแล้วหายไปแต่สามารถเกิดได้บ่อยๆ
   2. dysthymia เป็นภาวะที่รุนแรงและเป็นเรื้อรังซึ่งจะทำให้คนสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดี
   3. bipolar disorder หรือ ที่เรียกว่า manic-depressive illness ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดมาก  กระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิต

อาการของโรคซึมเศร้า

ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจจะไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกอย่างบางคนก็มีบางอย่างเท่านั้น
อาการซึมเศร้า depression

   1. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้แก่

    * รู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา
    * หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย
    * อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย

   2.

      การเปลี่ยนแปลงทางความคิด

    * รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย
    * รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา
    * มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดถึงความตาย พยายามทำร้ายตัวเอง

   3.

      การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้หรือการทำงาน

    * ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุกรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ
    * รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน การทำงานช้าลง การงานแย่ลง
    * ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง

   4.

      การเปลี่ยนปลงทางพฤติกรรม

    * นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป
    * บางคนเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด บางคนรับประทานอาหารมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม
    * มีอาการทางกายรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หายเช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง
    * ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง

อาการ Mania

    * มีอาการร่าเริงเกินเหตุ
    * หงุดหงิดง่าย
    * นอนน้อยลง
    * หลงผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองใหญ่
    * พูดมาก
    * มีความคิดชอบแข่งขัน
    * ความต้องการทางเพศเพิ่ม
    * มีพลังงานมาก
    * ตัดสินใจไม่ดี
    * มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

   1. พันธุ์กรรม พบว่าโรคซึมเศร้าชนิด bipolar disorder มักจะเป็นในครอบครัวและต้องมีสิ่งที่กระตุ้น เช่นความเครียด
   2. มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองหรือสารเคมีในสมองการเปลี่ยนแปลงของสมดุลของสารเคมี ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าของคน (โดยเฉพาะสารสีโรโทนิน นอร์เอปิเนพริม และโดปามีน)
   3. ผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
   4. โรคทางกายก็สามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่นโรคหัวใจ อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยมาสนใจดูแลตัวเองโรคจะหายช้า
   5. มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในเลือด เช่นวัยทอง หรือหลังคลอดก็สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
   6. ความเครียดที่เกิดจากสาเหตุต่างเช่น การสูญเสีย การเงิน การงาน ปัญหาในครอบครัวก็สามารถเป็นเหตุให้เกิดโรงซึมเศร้า
   7. ผู้ที่เก็บกดไม่สามารถแสดงอารมณ์ออมา เช่นดีใจ เสียใจหรืออารมณ์โกรธ
   8. ผู้ที่ด้อยทักษะต้องพึ่งพาผู้อื่น

โรคซึมเศร้าในผู้หญิง

ผู้หญิงจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 2 เท่าเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การแท้ง ภาวะหลังคลอด วัยทอง เป็นต้น นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดจากความเครียดที่ต้องรับผิดชอบทั้งในบ้านและงานนอกบ้าน การรักษาให้ญาติเข้าใจภาวะของผู้ป่วยและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย
โรคซึมเศร้าในผู้ชาย

แม้ว่าโรคซึมเศร้าในผู้ชายจะพบน้อยกว่าผู้หญิงแต่อัตราการฆ่าตัวตายจะสูงกว่าผู้หญิง โรคซึมเศร้าในผู้ชายจะเกิดโรคทางกายพบว่าอัตราการเกิดโรคหัวใจจะสูงมาก ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะใช้ยาเสพติดและสุราเป็นตัวแก้ไข บางคนก็มุ่งทำงานหนัก ผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกสิ้นหวังหรือท้อแท้แต่จะหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะวินิจฉัยโรคนี้ แม้ว่าจะรู้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าผู้ป่วยก็มักจะปฏิเสธการรักษา
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าโรคซึมเศร้าเป็นภาวะปกติของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการทางกาย นอกจากนั้นอาการต่างๆอาจจะเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาโรค หากสามารถวิเคราะห์ว่าเป็นโรคซึมเศร้าจริงและให้การรักษาจะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข
โรคซึมเศร้าในเด็ก

เด็กๆก็เป็นโรคซึมเศร้าเหมือนกับผู้ใหญ่โดยจะมีอาการ แกล้งป่าย ไม่ไปโรงเรียน ติดพ่อแม่ กังวลว่าพ่อแม่จะเสียชีวิต  ส่วนเด็กโตจะนิ่งไม่พูด มีปัญหาที่โรงเรียน มองโลกในแง่ร้าย แต่เนื่องจากพฤติกรรมของเด็กมีความผันผวนดังนั้นการวินิจฉัยจึงยาก หากพ่อแม่หรือคุณครูพบว่าพฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไป กุมารแพทย์จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาการรักษา
การวินิจฉัย

แพทย์ทั่วไปจะตรวจร่างกายเพื่อจะหาสาเหตุทางกาย เช่นโรคติดเชื้อไวรัส หรือยาที่ผู้ป่วยรับประทาน ประวัติการดื่มสุรา ยาเสพติด ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย หากสงสัยว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าจิตแพทย์ก็จะประเมินสภาวะจิตใจของผู้ป่วย
การรักษา

   1. การช้อคไฟฟ้า Electroconvulsive therapy (ECT) เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นรุนแรง หรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานยา๖นโทมนัส หรือใช้ยาแล้วไม่ได้ผล
   2. การใช้ยาต้านโทมนัส ยาที่ใช้รักษามีด้วยกันหลายกลุ่มได้แก่

    * selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
    * tricyclics
    * monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) ผู้ที่รับประทานยากลุ่มนี้จะต้องระวังอาหารที่มีส่วนผสมของ tyramine ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูง อาหารดังกล่าวได้แก่ cheeses, wines,  pickles, ยาลดน้ำมูก

แพทย์อาจจะเลือกใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งหรือใช้ยาหลายชนิดรวมกัน โดยมากจะเริ่มเห็นผลใน 2-3 สัปดาห์และให้รับประทานต่อไปประมาณ 1 เดือนยาจะออกฤทธิ์เต็มที่เมื่อรับยาไปแล้ว 8 สัปดาห์ ช่วงแรกของการรับประทานยาอาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาก่อนจะเห็นผลดีให้รับประทานต่อ เมื่ออาการดีขึ้นอย่าเพิ่งหยุดยาจนกระทั่งไปทำงานได้โดยจะต้องรับประทาน 4-9 เดือน โดยแพทย์จะค่อยๆหยุดยาเพื่อให้ร่างกายปรับตัว
ผลข้างเคียงของยา

ผลข้างเคียงพบได้ไม่รุนแรงหายเองได้ แต่หากเกิดผลข้างเคียงที่รบกวนคุณภาพชีวิตให้ปรึกษาแพทย์ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ

    * ปากแห้ง แก้โดยการเคี้ยวหมากฝรั่งหรือดื่มน้ำมากๆ
    * ท้องผูก แก้โดยการรับประทานผลไม้ให้มาก
    * ปัสสาวะไม่พุ่งหรือปัสสาวะลำบาก
    * ตามัว
    * เวียนศีรษะ
    * ง่วงนอน

ผลข้างเคียงของยากลุ่มใหม่

    * ปวดศีรษะ อาการนี้จะหายไปเอง
    * คลื่นไส้อาเจียนซึ่งเป็นชั่วคราว
    * นอนไม่หลับและหงุดหงิด
    * ปัญหาทางเพศสัมพันธ์
    * กระวนกระวาย

การดูแลตัวเอง

ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะท้อถอย สิ้นหวัง ไม่มีค่า ทำให้ผู้ป่วยยอมแพ้ โปรดจำไว้ว่าความรู้สึกและความจริงไม่เหมือนกัน

    * ให้ดำเนินชีวิตตามตารางงาน
    * รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
    * ให้ค่อยๆเพิ่มรับผิดชอบงานที่ได้รับ
    * ตั้งเป้าหมายให้สามารถทำได้ อย่าให้เกินความสามารถของตัวเอง
    * อย่าทำงานใหญ่เกินตัว แบ่งงานเป็นโครงการเล็กๆ ให้จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของงาน
    * ให้มีสังคมกับผู้อื่นเพราะการอยู่คนเดียวจะทำให้อาการเป็นมากขึ้น
    * ให้มีกิจกรรมที่ชอบเช่น การเล่นกีฬา ดูหนัง ฟังเพลง
    * อารมณ์จะค่อยๆดีขึ้นอย่างช้าๆหลังการรักษา
    * หากจะต้องมีการตัดสินใจสำคัญ เช่น การแต่งงาน การเปลี่ยนงาน ให้เลื่อนไปก่อนจนกระทั่งอาการซึมเศร้าดีขึ้น
    * นอนพักอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    * ก่อนรับประทานยาใหญ่ให้ปรึกษากับแพทย์ถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น

ลองตรวจสอบตัวท่านหรือคนใกล้เคียงว่ามีใครเป็นโรคซึมเศร้าบ้าง

ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่าน

    * รู้สึกกลุ้มใจ ซึมเศร้า ทุกๆ วัน หรือทั้งวัน หรือไม่
    * รู้สึกเบื่อทุกๆ สิ่งหรือไม่
    * เบื่ออาหารหรือไม่
    * มีปัญหาในการนอนหลับหรือไม่
    * รู้สึกกระวนกระวาย (หรือซึมๆ เนือยๆ) หรือไม่
    * รู้สึกเพลีย เหนื่อยง่าย หรือไม่
    * รู้สึกผิด ไร้ค่า ไร้ความสามารถ หรือไม่
    * รู้สึกใจลอย ไม่มีสมาธิ หรือไม่
    * รู้สึกเบื่อชีวิต คิดอยากฆ่าตัวตาย หรือไม่

ถ้าท่านมีอารมณ์เศร้า เบื่อทุกๆ อย่าง นานกว่า 2 สัปดาห์ และมีอาการต่อไปนี้อีกอย่างน้อย 4 ข้อ ท่านอาจเป็นโรคซึมเศร้า

    * เบื่ออาหาร ผอมลง
    * นอนไม่หลับ
    * กระวนกระวาย หรือซึมๆ เนือยๆ
    * อ่อนเพลียง่าย
    * รู้สึกผิด ไร้ค่า
    * ขาดสมาธิ
    * คิดอยากตาย

โรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยของจิตใจ ผู้ป่วยร้อยละ 70-80 รักษาได้ด้วยยาแก้ซึมเศร้า หากท่านหรือญาติพี่น้องหรือเพื่อนร่วมงานของท่านมีอาการซึมเศร้า โปรดติดต่อแพทย์ของท่านหรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช