เมื่อธุรกิจขายส่งอาหารต้องปรับตัวเดิมทีธุรกิจขายส่งวัตถุดิบอาหารมักจะเป็นแบบ B2B หรือไม่ก็ B2B2C เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ข้อจำกัดทางด้านระยะเวลาและวิธีการจัดเก็บ หากจัดเก็บหรือคำนวณไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาวัตถุดิบเสียเปล่าและกลายเป็นปัญหาต้นทุนจมในระยะยาวได้ ปัจจุบันก็มีธุรกิจขายส่งวัตถุดิบหลายเจ้าที่หันมาเปิด
ขายส่งอาหารให้กับผู้บริโภคโดยตรงมากขึ้น หรือก็คือรูปแบบ B2C นั่นเอง
การเข้ามาของ E-commerce ที่มีความสะดวกในการใช้งานและมีความรวดเร็วนั้นตอบโจทย์ผู้บริโภคมากกว่าการเดินทางไปซื้อของที่ร้านขายส่งอาหาร ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจ รวมถึงธุรกิจขายส่งวัตถุดิบต้องปรับตัวให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง โดยการหันมาเจาะกลุ่มตลาดออนไลน์ และให้ความสำคัญกับธุรกิจ E-commerce มากยิ่งขึ้น
รูปแบบของธุรกิจขายส่งอาหาร ถึงแม้ว่าจะมีการเข้ามาของ E-commerce ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจก็ตาม แต่ในการทำธุรกิจก็ยังคงมีผู้ซื้อและผู้ขายอยู่เสมอ เพียงแต่รูปแบบการดำเนินธุรกิจนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนไป วันนี้จึงพามาทำความรู้จักธุรกิจทั้งสามแบบในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง แต่ละรูปแบบคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
B2B : การขายระหว่างเจ้าของธุรกิจสู่เจ้าของธุรกิจB2B หรือ Business-to-Business เป็นการทำธุรกิจระหว่างเจ้าของธุรกิจสู่เจ้าของธุรกิจ ทั้งการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อขายให้เจ้าของธุรกิจนำไปใช้ประโยชน์หรือพัฒนาองค์กรต่อโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตสินค้าขายให้กับร้านค้าส่ง บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในสำนักงาน
B2C : การขายระหว่างเจ้าของธุรกิจสู่ผู้บริโภคB2C หรือ Business-to-Customer การขายผลิตภัณฑ์จากเจ้าของธุรกิจสู่ผู้บริโภค มักเป็นการขายสินค้าในรูปแบบร้านค้าออนไลน์ หรือการรับสินค้าจากผู้ผลิตมาวางขายให้ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อ อย่างเช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายสินค้าต่าง ๆ รวมถึงการเปิดร้านค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์
B2B2C : การขายระหว่างเจ้าของธุรกิจสู่เจ้าของธุรกิจและจากเจ้าของธุรกิจขายไปสู่ผู้บริโภคB2B2C หรือ Business-to-Business-to-Customer การทำธุรกิจระหว่างเจ้าของธุรกิจสู่เจ้าของธุรกิจและเอื้อให้เจ้าของธุรกิจขายสินค้าไปสู่ผู้บริโภค หรือก็คือธุรกิจ E-commerce ที่รวมเอาธุรกิจแบบ B2B และ B2C เข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของธุรกิจในการขายให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยธุรกิจผู้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่นำพาเจ้าของกิจการและผู้บริโภคมาเจอกัน ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม Marketplace อย่าง Lazada Shopee และ Amezon ก็จะมีร้านค้าและแบรนด์ต่าง ๆ มาลงขายสินค้า เพื่อให้ลูกค้ามาเลือกซื้อ
สาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าจากร้านขายส่งวัตถุดิบอาหารมากขึ้นการที่ผู้บริโภคทั่วไปเริ่มหันมาซื้อสินค้าจากร้านขายส่งอาหารนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกัน แต่สาเหตุหลักที่ทำให้พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคเปลี่ยนไปนั้นมีอยู่ 3 ข้อ ได้แก่
1. คุณภาพของวัตถุดิบอาหารคุณภาพของวัตถุดิบถือเป็นแกนหลักของอาหาร เพราะวัตถุดิบคุณภาพดีจะส่งผลถึงรสชาติ รสสัมผัส กลิ่น และความปลอดภัย การซื้อจากร้าน
ขายส่งอาหารที่รับสินค้าต่อจากผู้ผลิตมานั้น ก็จะได้วัตถุดิบที่มีความสดใหม่และคุณภาพที่ดี ทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานและมีความปลอดภัย
2. ความหลากหลายแหล่งขายส่งวัตถุดิบอาหารนั้นมักจะมีของสดและวัตถุดิบที่เยอะกว่าร้านค้าปลีก เนื่องจากลูกค้าของร้านขายส่งอาหารนั้นค่อนข้างมีความหลากหลายและมีความต้องการซื้อใหม่ปริมาณที่เยอะ ทางร้านขายส่งวัตถุดิบจึงต้องมีการสต็อกและวางจำหน่ายสินค้าให้พร้อมกับความต้องการของลูกค้าหลาย ๆ ประเภท เป็นการอำนวยความสะดวกกับลูกค้า ให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปยังแหล่งขายส่งวัตถุดิบอาหารต่าง ๆ เพื่อตามหาวัตถุดิบนั้น ๆ
3. ราคาการซื้อวัตถุดิบจากร้านขายส่งวัตถุดิบอาหารนั้นนอกจากจะได้ของสดใหม่และหลากหลายแล้ว ผู้บริโภคยังสามารถซื้อวัตถุดิบในราคาถูกกว่าร้านค้าปลีกได้อีกด้วย เพราะร้านขายส่งวัตถุดิบจะรับสินค้ามาจากผู้ผลิตโดยตรง เนื่องจากต้องทำการวางจำหน่ายในปริมาณมาก การซื้อในปริมาณมากนั้นทำให้ราคาต่อหน่วยนั้นถูกกว่าซื้อแยกทีละน้อย ๆ ยิ่งซื้อกับผู้ผลิตโดยตรง ยิ่งราคาถูก จึงทำให้ร้านขายส่งอาหารสามารถขายได้ในราคาถูก ผู้บริโภคจึงหันมาเลือกซื้อกับร้านขายส่งวัตถุดิบอาหาร เพื่อลดค่าใช้จ่าย
แหล่งขายส่งวัตถุดิบอาหารสำหรับใครที่กำลังมองหาแหล่งขายส่งวัตถุดิบอาหารอยู่นั้น สามารถเข้ามาเลือกชมและเลือกซื้ออาหารสดได้ที่ AEC TRADE CENTER-PANTIP WHOLESALE DESTINATION ศูนย์ค้าส่งรูปแบบใหม่ ใหญ่ที่สุดใจกลางกรุงเมือง ตลาดขายส่งอาหารและของใช้ต่าง ๆ ที่ครบวงจรที่สุดแห่งแรกและแห่งเดียวของไทย มีสินค้าหลากหลายทั้งของสด ของใช้ และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่สดใหม่ ครบครับ พร้อมให้ผู้ค้าทั้งหลายมาแวะชมและเลือกซื้อกันได้ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์