Author Topic: การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง Allergy Skin Testing  (Read 31605 times)

mr_a

  • Guest
การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง
Allergy Skin Testing


การ วินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้นั้น  นอกจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว  ยังควรทำการทดสอบภูมิแพ้  เพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยแพ้สารชนิดใดด้วย  ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจเลือด  การทดสอบทางจมูก  (ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้)  หรือการทดสอบทางผิวหนัง  โดยทั่วไปแล้วนิยมวิธีการทดสอบทางผิวหนัง  เพราะทำได้ง่ายรวดเร็ว  ให้ผลทันทีและสิ้นเปลืองน้อยกว่า

ประโยชน์ของการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง


หลักการดูแลรักษาผู้ ป่วยโรคภูมิแพ้นั้น  สิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากการใช้ยา  คือ  การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้  แต่เนื่องจากรอบตัวคนเรานั้น   มีสารก่อภูมิแพ้อยู่มากมาย  การที่จะหลีกเลี่ยงให้หมดทุกอย่าง  คงทำได้ยาก  แต่ถ้าเราทราบว่าเราแพ้สารใดแล้วหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นๆโดยตรง  ก็จะทำให้ผลการรักษาโรคดีขึ้น   นอกจากนั้นในผู้ป่วยที่ต้องทำการรักษาโดยการฉีดวัคซีนภูมิ แพ้ทุกราย  จำเป็นต้องได้รับการทดสอบภูมิแพ้ก่อนว่าแพ้สารใดเพื่อจะได้รักษาด้วยน้ำยา ที่ตรงกับสารที่ผู้ป่วยแพ้ด้วย

ทดสอบได้ตั้งแต่อายุเท่าไร


โดยทั่วไปสามารถทดสอบ ได้ทุกเพศทุกวัย  แต่ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนและในผู้สูงอายุ  อาจให้ผลลบลวง  ได้เพราะความไวของผิวหนังน้อย

การเตรียมตัวก่อนการทดสอบ

1.งดยาแก้แพ้ก่อนมารับการทดสอบ 7 วัน
2. ยาบางชนิดอาจมีส่วนผสมของยาแก้แพ้  เช่น  ยาแก้หวัด  ยาลดน้ำมูก  ยาแก้คัน  ต้องงดก่อนมาทดสอบประมาณ  7 วัน
3. ผู้ ป่วยที่มีโรคหัวใจ  โรคความดันโลหิตสูง  ต้องแจ้งชื่อยาที่รับประทานอยู่ให้แพทย์ที่จะทำการทดสอบทราบด้วย  เพราะยาบางชนิดต้องงดก่อนทำการทดสอบ
4. ยาสเตียรอยด์ชนิดทาผิวหนัง  ก็มีผลกดปฏิกิริยาการทดสอบ  ควรงดก่อนเช่นกัน
5. ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนมาทดสอบ 
   
น้ำยาที่ใช้ในการทดสอบ

เป็น สารสกัดจากสารก่อภูมิแพ้มาทำให้บริสุทธิ์  ซึ่งมีหลายชนิด  ตัวอย่างเช่น  สารสกัดจากไรฝุ่น  ขนและรังแคของสัตว์  เช่น  สุนัข   แมว  ม้า  กระต่าย  เป็ด  ไก่  ห่าน  นก  เศษซากของแมลงที่อยู่ในบ้าน  เช่น  แมลงสาบ  แมลงวัน  เชื้อราชนิดต่างๆ  เกสรพืช  เช่น  วัชพืช  เฟิร์น  ไม้ยืนต้น   หญ้าต่างๆ  อาหาร  เช่น  นมวัว  ไข่  ถั่ว  เนื้อสัตว์  อาหารทะเล  ผักและผลไม้บางชนิด  โดยต้องเป็นน้ำยาที่มีขั้นตอนการผลิตที่ได้มาตรฐาน   แยกแต่ละสารออกจากกันเป็นขวดๆ  จึงจะให้ผลในการทดสอบที่เชื่อถือได้  ซึ่งในการทดสอบนั้นไม่จำเป็นต้องทดสอบการแพ้ต่อทุกๆสาร  แพทย์อาจใช้ชนิดของน้ำยามากน้อยต่างกัน  แล้วแต่อายุและประวัติอาการของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย

วิธีทดสอบมี  2 วิธี  คือ

1. วิธีสะกิด  (Skin  prick test . SPT)

ทดสอบ โดยการหยดน้ำยาที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ลงบน ผิวหนังของผู้ป่วยใช้เข็มสะกิดเบาๆ  ผ่านหยดสารและให้อยู่ในชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น  โดยไม่ให้มีเลือดออก  หลังจากนั้นจึงเช็ดน้ำยาออก  รออ่านผล 15 นาที  ถ้าผู้ป่วยแพ้สารใดก็จะเกิดปฎิกิริยาเป็นตุ่มนูนแดงที่ผิวหนังตรงตำแหน่งที่ ทดสอบต่อสารนั้นๆ  ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่นำมาใช้แทนการใช้เข็มสะกิดเป็นแท่งพลาสติกปลายแหลม (Duotip)  ปลายเป็นง่ามคล้ายส้อม  ใช้จุ่มน้ำยาที่จะทดสอบแล้วนำมาสะกิดที่ผิวหนังของผู้ป่วย โดยไม่ต้องหยดน้ำยาลงบนผิวหนังก่อน  ทำให้สะดวกในการทดสอบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยเด็กเพราะเด็กจะให้ความร่วมมือมากกว่า  การใช้เข็มจริงวิธีสะกิด (SPT)   นี้  เป็นวิธีการทดสอบทางผิวหนังที่เป็นที่ยอมรับและแนะนำให้ใช้เป็นวิธีแรกที่ใน การตรวจวินิจฉัยโรคภูมิแพ้โดยทั่วไป  เนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัย  มีโอกาสเกิดปฏิกิริยาการแพ้ที่รุนแรงน้อย  ทำได้ง่าย  ใช้เวลาน้อย  น้ำยาที่ใช้ไม่ต้องนำมาเจือจางก่อน    จึงทำให้น้ำยามีความคงทนดีกว่า  และมีความสัมพันธ์กับอาการทางคลินิกมากกว่าการตรวจด้วยวิธีฉีดเข้าชั้นผิว หนัง (Intradermal skin test)

2. วิธีฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal skin test)  ทดสอบโดยการฉีดน้ำยาที่เป็นสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ชั้นผิวหนัง  รออ่านผล  15  นาที  ข้อเสียของวิธีนี้  คือ  ผู้ป่วยโดยเฉพาะเด็ก  ให้ความร่วมมือในการทดสอบน้อย  เพราะเจ็บกว่าวิธีสะกิด  นอกจากนั้นอาจเกิดปฎิกิริยาการแพ้ที่รุนแรงได้บ่อยกว่า  โดยเฉพระถ้าฉีดสารหลายๆอย่างเข้าไปพร้อมๆกัน
ผลข้างเคียงของการทดสอบ  อาจเกิดอาการแพ้รุนแรงได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่กำลังได้รับยาบาง ชนิดอยู่  แต่โดยทั่วไปพบน้อยมาก( < 1%) อย่างไรก็ตามไม่ควรทำการทดสอบในผู้ป่วยที่กำลังมีอาการอยู่มากๆ  เช่น มีอาการหอบหืดรุนแรง  ส่วนอาการคันตรงบริเวณที่ทดสอบเกิดขึ้นได้บ่อยซึ่งอาจหายเอง  หรือใช้ยาแก้แพ้ก็ได้ 

mr_a

  • Guest
เปาโล 1500
http://www.paolohealthcare.com/new_paolo/Program15.html

คลินิกโรคภูมิแพ้โรงพยาบาลมิชชั่น



บริการตรวจรักษาโรคภูมิแพ้
โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ และวิทยาภูมิคุ้มกัน
และทีมงานที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยภูมิแพ้ โรคหอบหืด
และโรคที่สัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่



บริการให้คำปรึกษา
เพื่อการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องในการป้องกันการเกิดโรค
การลดสิ่งก่อกระตุ้นภูมิแพ้ การปฏิบัติขณะเกิดอาการ และการควบคุมโรค ผู้ป่วยจะได้รับความรู้
คำปรึกษาและตอบข้อสงสัยจนเป็นที่พอใจ และร่วมกันวางแผนรักษากับแพทย์เพื่อให้เหมาะสมและได้ผลดีที่สุด



การทดสอบภูมิแพ้และการรักษาโรคภูมิแพ้ (Allergic Test and Treatment)

เมื่อไรจึงจะต้องทดสอบภูมิแพ้?
เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด แพ้อากาศ เป็นหวัดง่ายหายยาก แพ้อาหารทุกชนิด แพ้ยา หรือมีผื่นคัน
เพื่อให้ทราบว่าแพ้อะไร จะได้หลีกเลี่ยงสารนั้นๆ
เพื่อนำสารนั้นๆมาทำวัคซีนภูมิแพ้


ก่อนมาทดสอบภูมิแพ้ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
ควรงดยาแก้แพ้ แก้คัน ยาลดน้ำมูก ยาเสริมภูมิ ยารักษาภูมิแพ้ และยาต้านโรคซึมเศร้าบางตัว 7 วันก่อนมาตรวจ
ควรเป็นช่วงที่หายจากอาการหอบหืด ไม่มีไข้ หรือผื่นทั่วตัว และอาการป่วยหนักอื่นๆ ประมาณ 7 วัน
ควรใส่เสื้อที่พับแขนเสื้อได้หรือเป็นเสื้อแขนสั้น
ควรมีอายุมากกว่า 2 ปี (หากมีอาการแพ้มากอาจทดสอบก่อนอายุ 2 ปีได้)


แบ่งการทดสอบเป็น 2 วิธีใหญ่ๆคือ
1. การทดสอบในร่างกาย (INVIVO TEST) เป็นการนำสารมาทดสอบกับร่างกายเรา แบ่งย่อยๆได้ดังนี้
     ทดสอบทางผิวหนัง (Skin Test) จากการศึกษาจำนวนมากสรุปได้ว่าวิธีสะกิดผิวหนัง (Skin Prick Test) จะสัมพันธ์กับสารก่อภูมิแพ้และอาการป่วยดีกว่าวิธีอื่นๆ ใช้เวลาเพียง 15-30 นาที สามารถทำได้ครั้งละหลายชนิด ราคาไม่แพง (ประมาณ 1600 บาท/12สาร/ครั้ง)
     ทดสอบโดยการท้าทาย (Challenge Test) เป็นการนำสารมาในปริมาณเพียงเล็กน้อยตามที่คำนวณได้ มาทดสอบโดยการรับประทาน ฉีด หรือทา แล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณ แต่จะต้องทำในโรงพยาบาลและมีผู้ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
2. ทดสอบนอกร่างกาย (IN VITRO TEST) เช่นการเจาะเลือดไปตรวจ ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถหยุดยาได้แต่ราคาแพงมาก ใช้เวลานาน เสียเลือดเจ็บและตัวมาก ส่วนผลไม่ไวเท่าวิธีแรก


มีวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้อย่างไรบ้าง?
หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
หากยังมีอาการต้องใช้ยา/วัคซีนภูมิแพ้ช่วยในการรักษา


ควรจะฉีดวัคซีนโรคภูมิแพ้เมื่อไร?
เมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นๆแล้วอาการไม่ดีขึ้น ดีขึ้นไม่มาก หรืออาการทรุดหนัก หรือมีอาการร่วมหลายระบบเช่น หอบหืด และแพ้อากาศ
ต้องการสร้างภูมิด้วยตัวเองและเปลี่ยนแปลงการดำเนินโรคได้
ไม่อยากใช้ยาหลายตัวหรือใช้ยานานๆ


มีวิธีการฉีดยาภูมิแพ้อย่างไร?
เริ่มฉีดจากการเตรียมสารก่อภูมิแพ้ชนิดเจือจางมากๆ ฉีดให้ผู้ป่วยครั้งละน้อยๆ แล้วค่อยๆเพิ่มความเข้มข้นและปริมาณขึ้นจนถึงระดับที่ต้องการ ในช่วงแรกจะฉีดทุกสัปดาห์ เมื่อถึงระดับที่ต้องการแล้วจะฉีดห่างขึ้นๆเป็นเดือนละครั้ง


ต้องฉีดนานเท่าไร? ได้ผลดีหรือไม่?
นับตั้งแต่เริ่มฉีดไปประมาณ 6-12 เดือน วัคซีนภูมิแพ้ก็จะออกฤทธิ์เต็มที่ซึ่งได้ผลประมาณ 70-90 % ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นและสามารถลดยาได้ ในบางรายอาจหยุดยาได้หมด


ค่าใช้จ่ายสูงหรือไม่?
หากมองระยะยาวแล้วราคาวัคซีนจะถูกมาก (ประมาณ 1500 บาท/ขวด) 1 ขวดฉีดได้ 10 ครั้ง นั้นคือ เดือนละ 150 บาท (ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการอื่นๆ) แต่ในระยะแรกจะต้องเปลี่ยนขวดตามความเข้มข้นของวัคซีนที่เพิ่มขึ้น 5 ครั้ง/ขวด


ต้องเตรียมตัวอย่างไรในการฉีดวัคซีนภูมิแพ้?
หากไม่สบาย หอบหืดกำเริบ อดนอน เพลียมาก ป่วยหนัก ควรแจ้งแพทย์ก่อนฉีด เพื่อแพทย์จะพิจารณางดการฉีด ฉีดเท่าเดิม หรือเพิ่มความเข้มข้น
หลังฉีด ควรนั่งพักรอสังเกตอาการประมาณ 30 นาที
ไม่ควรออกกำลังกายภายใน 2 ชั่วโมงหลังฉีด


ผลข้างเคียงของวัคซีนภูมิแพ้มีอะไรบ้าง?
โดยทั่วไปจะมีอาการเจ็บๆคันๆเป็นเม็ดคล้ายๆลมพิษเล็กๆบริเวณที่ฉีด แต่ในบางรายหากป่วยหนัก พักผ่อนน้อยหรือมีอาการหอบหืดอยู่ อาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น เช่น ลมพิษทั้งตัว บวมในคอ หายใจดังหวี๊ด เป็นลมหรือช๊อค ซึ่งพบได้น้อยมาก(ในประสบการณ์ของผู้เขียนไม่เคยพบเลย เนื่องจากทำการตรวจร่างกายของผู้ป่วยก่อนฉีดวัคซีนภูมิแพ้ก่อนทุกครั้ง)



อนุเคราะห์ข้อมูลโดย นพ.วิชาญ บุญสวรรค์ส่ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกัน

mr_a

  • Guest
เคยไปตรวจที่ รพ. เวชศาสตร์เขตร้อนค่ะ เป็นโรงพยาบาลรัฐบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล เวลาตรวจหมอ จะให้กรอกข้อมูลการแพ้ก่อน แล้วค่อยสะกิดเลือด พร้อมเชื้อลงบนแขนค่ะ แต่ไม่เจ็บนะคะ แค่รู้สึกคันๆ เท่านั้น ทิ้งไว้ประมาณ ครึ่งช.ม. ก็พบแพทย์ได้เลยค่ะ ไม่ต้องรอนาน ค่าใช้จ่ายสำหรับการเทสแขนข้างละ 250 บาท ถือว่าถูกมากนะคะ

เปาโล พหลโยธินทดสอบภูมิแพ้ 1500 บาท 8 รายการ
ไม่รวมค่าแพทย์และบริการค่ะ

เราหาหมอที่เปาโล เลือกเจาะเลือดก่อน พอผลเป็น negative ค่อยมาทำ skin test ตามผลว่าแพ้อะไรบ้าง ดูชัดๆๆอีกทีค่ะ

แบบลูกเรา  ผล negative มา 8 ตัว ก็มาจิ้ม skin test 8 อย่าง แล้วผลออกมาแพ้ 2

นี้ ทำเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ 2 เดือนก่อนไปเจาะเลือดอีกที หาว่าหายแพ้หรือยัง เดียวนี้ผลเลือดออกมาบอกเปอร์เซนต์เลยค่ะ ลูกเราแพ้นมวัว 0.6 แปลว่า เกือบหายแล้ว ถ้าต่ำกว่า 0.3 แปลว่าหายสนิทค่ะ ผลค่านข้างแม่นเลยค่ะ

จากผลเลือดเดียวนี้

ตอนลูกเรา เจาะเลือด น่าจะแค่ 800-900บาท ยังไม่รวมค่าหมอ ค่าบริการ ไม่เกิน 1,200 บาท

ส่วน skin test จำไม่ได้ น่จะ สองพันน่ะค่ะ ลืมแล้วค่ะ

เคยตรวจตอนลูกอายุ 6 เดือนกว่า ๆ ค่ะ เพราะตอนนั้นแพ้ผลไม้หลายอย่าง

ที่ รพ.พระรามเก้า ค่าตรวจรวมทุกอย่างแล้ว 2,xxx ตรวจแบบ skin test

คุณ หมอเอาแท่งพลาสติกมาสะกิดผิวแผ่นหลัง ทำทีเดียวเลยนะคะ ประมาณสิบกว่ารอย  แล้วหมอจะมีแผ่นชาร์ตของหมอว่าจุดที่หนึ่ง คือ อะไร เช่น มะม่วง แอปเปิ้ล ไข่ ฯลฯ

แล้วก็เอาสิ่งที่เราทดสอบว่าแพ้มั๊ยมาป้าย ๆ  แล้วก็รอผลค่ะ ประมาณสิบนาที ถ้าแพ้ก็จะขึ้นผื่น ไม่แพ้ก็จะปกติ

หมอบอก ว่าเทสเองที่บ้านก็ได้ โดยเอาส้อมสะกิดที่ผิวแผ่นหลังน้องเบา ๆ แต่ไม่เบามากนะคะ ให้มีรอยแดงนิด ๆ แล้วก็เอาของที่จะเทสมาป้าย ๆ  เหมือนหมอทำ จะได้ไม่ต้องเสียตังค์

ของเราหมอไม่ตรวจเลือดให้ค่ะ  ถึงแม้จะแพ้ผลไม้บางอย่างและไข่ค่อนข้างหนัก  หมอบอกว่าหลังขวบลองให้น้องกิน แตะ ๆ ดูอีกทีก่อน ถ้าไม่หายค่อยเจาะเลือดตรวจ  โชคดีหลังขวบนึงลูกเราหายค่ะ ไม่แพ้แล้ว

เราตรวจที่ รพ. B.Care ค่ะ

ตรวจ 15 อย่าง 1500 บาท รวมค่าหมอและบริการ รพ.

หมอมาทุกวันเสาร์ที่สอง และ สี่ ของเดือนคะ (ช่วงบ่ายโมงเป็นต้นไป)