แพทย์วินิจฉัยอย่างไร
เหตุที่เราจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่เนื่องจาก มีโรค
ทางจิตเวชอื่นหลายโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า โรคทางร่างกายหลายโรคและ
ยาบางตัวก็สามารถก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าได้
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการป่วยเป็นโรคหรือกำลังได้ยาเหล่านี้ จะต้องเป็นสาเหตุของ
โรคซึมเศร้าเสมอไป ผู้ป่วยบางคนอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจากสาเหตุอื่นๆ ก็ได้ การวินิจฉัย
จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และอาศัยทักษะในการตรวจพอสมควร มีพบบ้างเหมือนกันว่าผู้ป่วย
มาด้วยอาการของโรคซึมเศร้า แต่พอรักษาไปได้ระยะหนึ่งเริ่มมีอาการของโรคทางกาย
ให้เห็น พอส่งตรวจเพิ่มเติมก็พบเป็นโรคทางกายต่างๆ
ตารางที่ 3.3 โรคหรือยาที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า
โรค ยา
โรคสมองอักเสบ โรคตับอักเสบ ยาลดความดันเลือด (เช่น
alphamethyldopa, clonidine,
propanolol)
โรคระบบประสาท เนื้องอกในสมอง ยารักษาโรคพาร์กินสัน (เช่น
levodopa, amantadine)
โรคเอส แอล อี (SLE) วัณโรค
โรคเอดส์ ยากลุ่มสเตียรอยด์และฮอร์โมน
(เช่น ยาคุม, เพรดนิโซโลน)
โรคธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ โรคคุชชิ่ง ยารักษามะเร็ง (vincristine,
vinblastine)
โรคขาดไวตามิน (เช่น เพเลกรา
เบอริเบอรี่) ยาอื่นๆ เช่น ไซเมทิดีน,
cyproheptadine
ในการวินิจฉัย โดยทั่วไปแพทย์จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ถามอาการหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เริ่มมีอาการครั้งแรก
ไล่มาตามลำดับจนปัจจุบัน ยิ่งผู้ป่วยเล่าอาการต่างๆ ที่มีได้ละเอียด เล่าปัญหาทาง
จิตใจที่เกิดขึ้นได้มากเท่าไร แพทย์ก็จะยิ่งเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้นเท่านั้น การซักถาม
ในขั้นตอนนี้นอกจากเพื่อดูว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้หรือไม่แล้ว ยังเพื่อพิจารณา
ว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคทางจิตเวชอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการเหล่านี้หรือไม่
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะในราย
ที่อาการไม่ชัดเจน เป็นประสบการณ์และทักษะที่ต้องผ่านการฝึกฝนและการดูแล
ผู้ป่วยมาจำนวนหนึ่ง ถามประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ในอดีต โรคประจำตัว และยา
ที่ใช้ประจำ เพื่อดูว่าอาจเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้หรือไม่ ถามประวัติความ
เจ็บป่วยในญาติสายเลือดเดียวกัน เพราะโรคซึมเศร้าเกี่ยวข้องกับเรื่องกรรมพันธุ์
เหมือนกัน ตรวจร่างกาย และส่งตรวจพิเศษที่จำเป็น ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมี
โรคทางร่างกายอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการต่างๆที่พบ แพทย์อาจซักประวัติ
เพิ่มเติมจากญาติหรือผู้ใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ทราบเรื่องราวหรือาการต่างๆ ได้ชัดเจน
ขึ้น เพราะบางครั้งคนรอบข้างอาจสังเกตเห็นอะไรได้ชัดเจนกว่าตัวผู้ที่มีอาการเอง
จะเห็นว่า เกณฑ์การวินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นเพียงแนวทางในเบื้องต้นเท่านั้น เป็น
องค์ประกอบหนึ่งในหลายๆ ขั้นตอนที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัย
การวินิจฉัยที่แน่นอนจึงต้องพบแพทย์เท่านั้น
โรคอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า
ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าจากการปรับตัวไม่ได้กับปัญหาที่มากระทบ เป็นภาวะที่เกิด
จากการปรับตัวไม่ได้กับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามากระทบ เช่น ย้ายบ้าน ตกงาน
เกษียน เป็นต้น โดยจะพบอาการซึมเศร้าร่วมด้วยได้ แต่มักจะไม่รุนแรง ถ้ามี
คนมาพูดคุย ปลอบใจก็จะดีขึ้นบ้าง อาจมีเบื่ออาหารแต่เป็นไม่มาก ยังพอนอน
ได้ เมื่อเวลาผ่านไป ค่อยๆ ปรับตัวได้กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ภาวะอารมณ์
ซึมเศร้าที่มีก็จะทุเลาลง
โรคอารมณ์แปรปรวน ในโรคอารมณ์แปรปรวน ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนกับโรค
ซึมเศร้าอยู่ช่วงหนึ่ง และมีอยู่บางช่วงที่มีอาการออกมาในลักษณะตรงกันข้ามกับ
อาการซึมเศร้า เช่น อารมณ์ดีเบิกบานมากผิดปกติ พูดมาก ขยันมาก เชื่อมั่นตัวเอง
มากกว่าปกติ ใช้เงินเปลือง เป็นต้น ซึ่งทางการแพทย์เรียกระยะนี้ว่า ระยะแมเนีย
ผู้ที่เป็นโรคอารมณ์แปรปรวนบางครั้งจะมีอาการของโรคซึมเศร้า บางครั้งก็มี
อาการของภาวะแมเนีย
โรควิตกกังวล พบบ่อยว่าผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการวิตกกังวล ห่วงโน่น
ห่วงนี่ ซึ่งเป็นอาการหลักของโรควิตกกังวล ที่ต่างกันคือในโรควิตกกังวลนั้น จะ
มีอาการหายใจไม่อิ่ม ใจสั่น สะดุ้ง ตกใจง่าย ร่วมด้วย อาการเบื่ออาหารถึงมีก็
เป็นไม่มาก น้ำหนักไม่ลดลงมากเหมือนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และโรคซึมเศร้านั้น
นอกจากอาการวิตกกังวลแล้วก็จะพบอาการซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่ายชีวิต ร่วม
ด้วยโดยที่อาการอารมณ์เศร้านี้จะเห็นเด่นชัดกว่าอาการวิตกกังวล
สาเหตุ
ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น เชื่อกันว่าสัมพันธ์กับหลายๆ
ปัจจัย ทั้งจากด้านกรรมพันธุ์ การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของ
จิตใจ รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมอง
บางตัวเป็นต้น
ปัจจัยสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคซึมเศร้าได้แก่
1. กรรมพันธุ์ พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะใน
กรณีของผู้ที่มีอาการเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง
2. สารเคมีในสมอง พบว่าระบบสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการ
เปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน โดยมีสารที่สำคัญได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin)
และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ลดต่ำลง รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของ
เซลล์รับสื่อเคมีเหล่านี้ ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วม
กัน มากกว่าเป็นความผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง
ยาแก้เศร้าที่ใช้กันนั้นก็ออกฤทธิ์โดยการไปปรับสมดุลย์ของระบบสารเคมีเหล่านี้
3. บางคนมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ
มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง หรือ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น บุคคล
เหล่านี้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง ถูกทอดทิ้งก็มีแนว
โน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม
อาการอาจมากจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้
โรคซึมเศร้านั้นไม่ได้มีสาเหตุจากแต่เพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเท่านั้น เหมือนกับ
การป่วยเป็นไข้หวัด ก็มักเป็นจากร่างกายอ่อนแอ จากพักผ่อนน้อย ไม่ได้ออก
กำลังกาย ขาดสารอาหาร ถูกฝน อากาศเย็น ร่วมกับการได้รับเชื้อไวรัสที่ทำให้
เกิดไข้หวัด ถ้าเราแข็งแรงดี แม้จะได้รับเชื้อหวัดก็ไม่เป็นอะไร ในทำนองเดียว
กัน ถ้าร่างกายเราอ่อนแอ แต่ไม่ได้รับเชื้อหวัดก็ไม่เกิดอาการ การเริ่มเกิด
อาการของโรคซึมเศร้านั้นมักมีปัจจัยกระตุ้น มากบ้างน้อยบ้าง บางครั้งอาจไม่
มีก็ได้ซึ่งพบได้น้อย อย่างไรก็ตาม การมีสาเหตุที่เห็นชัดว่าเป็นมาจากความกด
ดันด้านจิตใจนี้ มิได้หมายความว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาของคน
เราไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน การพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นผิดปกติ
หรือไม่ เราดูจากการมีอาการต่าง ๆ และความรุนแรงของอาการเป็นหลัก ผู้ที่มี
อาการเข้ากับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้านั้น บ่งถึงภาวะของความผิดปกติที่
จำต้องได้รับการช่วยเหลือ
การรักษา
โรคซึมเศร้านี้หากได้รับการรักษาผู้ที่เป็นจะอาการดีขึ้นมาก อาการซึมเศร้า
ร้องไห้บ่อยๆ หรือรู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ จะกลับมาดีขึ้นจนผู้ที่เป็นบางคนบอก
ว่าไม่เข้าใจว่าตอนนั้นทำใมจึงรู้สึกเศร้าไปได้ถึงขนาดนั้น ข้อแตกต่างระหว่าง
โรคนี้กับโรคจิตที่สำคัญประการหนึ่งคือ ในโรคซึมเศร้าถ้าได้รับการรักษาจนดี
แล้วก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม ขณะที่ในโรคจิตนั้นแม้จะรักษาได้ผลดีผู้ที่
เป็นก็มักจะยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่สามารถทำอะไรได้เต็มที่เหมือน
แต่ก่อน ยิ่งหากมารับการรักษาเร็วเท่าไรก็ยิ่งจะอาการดีขึ้นเร็วเท่านั้น ยิ่งป่วย
มานานก็ยิ่งจะรักษายาก
การรักษาที่สำคัญในโรคนี้คือการรักษาด้วยยาแก้เศร้าโดยเฉพาะในรายที่อาการ
มาก ส่วนในรายที่มีอาการไม่มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะการ
มองปัญหาต่างๆ ในมุมมองใหม่ แนวทางในการปรับตัว หรือการหาสิ่งที่ช่วยทำ
ให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง ร่วมกับการให้ยาแก้เศร้าหรือยาคลายกังวล
เสริมในช่วงที่เห็นว่าจำเป็น
การรักษาด้วยยาแก้เศร้า
ยาแก้เศร้ามีส่วนช่วยในการรักษาโรคนี้ แม้ผู้ที่ป่วยบางคนอาจรู้สึกว่าความทุกข์
ใจหรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้นเป็นเรื่องของจิตใจ แต่ดังที่ได้กล่าวมา
แล้วว่า ถ้าเป็นโรคซึมเศร้าแล้วแสดงว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในร่างกาย
ของคนเราจนทำให้เกิดมีอาการต่างๆ เช่น น้ำหนักลด อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
ร่วมอีกหลายๆ อาการ ไม่ใช่มีแต่เพียงอารมณ์เศร้าอย่างเดียว ซึ่งยาจะมีส่วน
ช่วยในการบำบัดอาการต่างๆ เหล่านี้ อีกทั้งยังสามารถทำให้อารมณ์ซึมเศร้า
ความวิตกกังวลใจทุเลาลงได้ด้วย จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า
10 คนหากได้รับการรักษาด้วยยาแก้เศร้าอาการจะดีขึ้นจนหายถึง 8-9 คน ใน
ขณะที่หากไม่รับการรักษานั้นอาการจะดีเองขึ้นเพียง 2-3 คนเท่านั้น (เฉพาะใน
รายที่อาการไม่รุนแรง หากอาการรุนแรงอาจจะกล่าวได้ว่ายากที่จะหายเอง)
ข้อควรทราบเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาแก้เศร้า
อาการของโรคไม่ได้หายทันทีที่กินยา โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า โดยส่วนใหญ่
แล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไปอาการจึงจะดีขึ้นอย่างเห็นชัด แต่ยา
ก็ยังมีส่วนช่วยในระยะแรกๆ โดยทำให้ผู้ป่วยหลับได้ดีขึ้น เจริญอาหารขึ้น เริ่ม
รู้สึกมีเรี่ยวแรงจะทำอะไรมากขึ้น ความรู้สึกกลัดกลุ้มหรือกระสับกระส่ายจะเริ่ม
ลดลง ยาทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นยาแก้
ปวด ยาแก้แพ้ หรือยาระบาย ก็ตาม แม้ว่าโอกาสที่เกิดอาการข้างเคียงจะมาก
น้อย และมีความรุนแรงต่างกันไป การใช้ยาจึงควรใช้ในขนาดและกินตามเวลา
ที่แพทย์สั่งเท่านั้น หากมีความจำเป็นที่ทำให้กินยาตามสั่งไม่ได้ และควรแจ้ง
แพทย์ทุกครั้งหากเกิดอาการใดๆ ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นอาการข้างเคียงหรือไม่
ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่กล้ากินยามากตามที่แพทย์สั่ง แพทย์สั่งกิน 4 เม็ดก็กิน
แค่ 2 เม็ด หรือกินบ้างหยุดกินบ้าง เพราะกลัวว่าจะติดยา หรือกลัวว่ายาจะไปสะสม
อยู่ในร่างกาย แต่ตามจริงแล้วยาแก้เศร้าไม่มีการติดยา ถ้าขาดยาแล้วมีอาการ
ไม่สบาย นั่นเป็นเพราะว่ายังไม่หายจากอาการของโรค การกินๆ หยุดๆ หรือกิน
ไม่ครบขนาดกลับจะยิ่งทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี และรักษายากมากขึ้น ยาแก้
เศร้ามีอยู่เป็นสิบขนาน จากการศึกษาไม่พบว่าตัวไหนดีกว่าตัวไหนอย่างชัดเจน
เรียกว่าผู้ป่วยคนไหนจะถูกกับยาตัวไหนเป็นเรื่องเฉพาะตัว หรือ ลางเนื้อชอบลาง
ยา ซึ่งโดยรวมแล้วก็มักจะรักษาได้ผลทุกตัว การใช้ยาขึ้นอยู่กับว่าแพทย์มีความ
ชำนาญ คุ้นเคยกับการใช้ยาขนานไหน และผู้ป่วยมีโรคทางกายหรือกำลังกินยา
อื่นๆ ที่ทำให้ใช้ยาบางตัวไม่ได้หรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะตอบสนองต่อยาแก้
เศร้าตัวแรกที่ให้ หากอาการยังไม่ดีในระยะแรกๆ อาจเป็นเพราะยังปรับยาไม่ได้
ขนาด หรือยังไม่ได้ระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์ได้เต็มที่เสียมากกว่า ถ้าแพทย์รักษา
ไประยะหนึ่งแล้ว และเห็นว่าให้ยาในขนาดที่พอเพียงแล้วผู้ป่วยยังอาการดีขึ้นไม่
มาก ก็อาจเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นต่อไป ยาที่ใช้ในการรักษา
สมัยหลายสิบปีก่อนยาแก้เศร้ามีอยู่เพียง 4-5 ขนาน แม้ว่ายารุ่นก่อนจะมีประสิทธิ
ภาพในการรักษาที่ดี (ยาที่มีใช้ในช่วงหลังๆ มีแต่ดีเท่าหรือด้อยกว่ายารุ่นเก่า)
การใช้ยามักจะมีข้อจำกัดด้วยเหตุว่าผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงจากยาบ่อย แม้
ว่าส่วนใหญ่จะไม่ใช่อาการที่รุนแรง แต่ผู้ป่วยบางคนก็ไวต่ออาการข้างเคียงมาก
ทำให้การปรับเพิ่มขนาดยาทำได้ลำบาก ปัจจุบันมียาใหม่มากขึ้นซึ่งมีอาการข้าง
เคียงน้อยกว่ายาเก่า ทำให้การใช้สะดวกขึ้น ปัญหาคือยาเหล่านี้ราคาค่อนข้างแพง
แพทย์จึงจะเลือกใช้ในกรณีที่เห็นว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นที่ทำให้ใช้ยารุ่นเก่าไม่ได้
ในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางโรค ยาที่ใช้มักจะมีขนาดต่ำ
กว่าขนาดที่ใช้กับคนปกติทั่วไป ยาบางตัวอาจมีปฏิกิริยากับยาแก้เศร้าที่กิน
ดังนั้นผู้ป่วยที่กินยาอื่นๆ จึงควรแจ้งแพทย์ทุกครั้ง
ยาที่เราใช้กันจะมีชื่ออยู่ 2 แบบ ได้แก่ชื่อสามัญ และชื่อการค้า ชื่อสามัญคือชื่อ
ที่บอกองค์ประกอบหรือลักษณะยา
ส่วนชื่อการค้าคือชื่อที่แต่ละบริษัทตั้งขึ้นเพื่อให้รู้ว่าผลิตจากบริษัทของตน
ยาชื่อสามัญตัวเดียวอาจมีชื่อการค้าได้หลายๆ ชื่อถ้ามีผู้ผลิตหลายบริษัท เช่น
ยาแก้ปวดชนิดหนึ่งมีชื่อสามัญว่า พาราเซตามอล และมีชื่อการค้าหลายชื่อเช่น
คาปอล เซตามอล เป็นต้น ซึ่งทุกยาทุกชื่อก็ได้ผลเช่นเดียวกันเพราะเป็นยาตัว
เดียวกัน
อาการข้างเคียงที่พบได้ในยาแก้เศร้ากลุ่มเก่า
ง่วง เพลีย ซึมๆ ยาแต่ละตัวมีฤทธิ์ทำให้ง่วงมากน้อยแตกต่างกัน ยาที่พบบ่อย
ได้แก่ อะมิทริปไทลีน และด็อกเซปิน แพทย์จึงมักให้ยาเหล่านี้กินตอนเย็นหรือ
ก่อนนอน ซึ่งก็เหมาะกับโรค เพราะโรคนี้ผู้ที่เป็นมักจะนอนหลับไม่ดีอยู่แล้ว ยา
จึงช่วยให้หลับได้โดยไม่ต้องใช้ยานอนหลับ ในช่วงแรกของการรักษาห้ามขับ
รถและควรหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักร เนื่องจากการง่วงซึมแม้จะมี
เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้การตัดสินใจ หรือการเคลื่อนไหวที่ต้องการความรวด
เร็วนั้น เชื่องช้าลงได้มาก หากสังเกตว่ากินยาแล้วง่วงมาก ซึมแทบทั้งวัน ควร
แจ้งแพทย์เพื่อจะได้พิจารณาปรับยา แต่พบว่าบางครั้งพอกินยาไปนานๆ เข้า
กลับไม่มีง่วงเหมือนเดิมอีกก็มี
อาการปากคอแห้ง เป็นอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย แก้โดยให้จิบน้าบ่อยๆ
ตามัว มองเห็นไม่ชัด อาการพวกนี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง ไม่ต้องตัดแว่นใหม่
ท้องผูก กินอาหารจำพวกผัก ผลไม้ที่มีกากมากๆ หรืออาจกินมะขามเปียก
ช่วยในการระบาย เวียนศีรษะ หน้ามืด จากยาไปทำให้หลอดเลือดขยายตัว
เลือดจึงค้างอยู่ในร่างกายมาก ไปเลี้ยงสมองน้อย อาการนี้มักเป็นเวลา
เปลี่ยนอิริยาบท เช่น นอนนานๆ นั่งนานๆ แล้วลุกกระทันหัน หากมีอาการ
บ่อยๆ อาจแก้โดยรับประทานของเค็มๆ บ่อยขึ้น เพื่อทำให้ความดันเลือด
เพิ่มมากขึ้น (ผู้ที่เป็นโรคความดันสูงอยู่ไม่ควรใช้วิธีนี้) การเปลี่ยนท่าทาง
ต้องค่อยๆทำ หากจะลุกจากตื่นนอน ให้ลุกนั่งสักพักหนึ่ง ขยับแขนขาไปมา
ให้เลือดไหลเวียนดี แล้วจึงค่อยๆ ลุกขึ้น หากมีอาการเวียนศีรษะขณะยืนอยู่
ให้รีบนั่งพิงพนักหรือนอนทันที ถ้ายิ่งนอนในท่าที่ส่วนศีรษะต่ำกว่าส่วนลำตัว
และยกขาสูงได้ก็ยิ่งดี หากมีอาการเช่นนี้บ่อยๆ แก้ไขแล้วยังไม่ดีขึ้น ควร
แจ้งแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจปรับลดยาลงหรือเปลี่ยนยา
อาการข้างเคียงที่พบได้ในยาแก้เศร้ากลุ่มใหม่
ยาแก้เศร้ากลุ่มใหม่นี้ กล่าวโดยรวมแล้วมีอาการข้างเคียงน้อยกว่ายากลุ่ม
เก่า โดยเฉพาะอาการปากคอแห้ง ท้องผูก หรืออาการหน้ามืด เวียนศีรษะ
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะยากลุ่มใหม่ที่ออกฤทธิ์เฉพาะระบบซีโรโตนิน (กลุ่ม
ที่มีเครื่องหมาย * ในตาราง) เนื่องจากมียาหลายขนาน ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์
ในการรักษาโดยไปปรับสารเคมีในสมองเฉพาะระบบซีโรโตนิน ยาแต่ละ
ขนานจะมีอาการข้างเคียงต่อไปนี้มากน้อยต่างกัน
กระวนกระวาย บางคนกินยาแล้วมีอาการกระวนกระวาย ซึ่งพบได้กับยา
แก้เศร้ากลุ่มใหม่ขนานอื่นบางตัวเหมือนกัน ถ้ากินยาแล้วรู้สึกว่าตนเอง
หงุดหงิดง่ายขึ้น กระวนกระวาย รู้สึกเหมือนอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ให้
บอกแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจให้ยาคลายกังวลร่วม ลดขนาดยาลง หรือเปลี่ยนไป
ใช้ยาขนานอื่น นอนไม่หลับ ข้อดีของยาเหล่านี้คือไม่ทำให้ง่วงนอน แพทย์
จึงมักนิยมให้ตอนเช้า หากกินก่อนนอนแล้วอาจจะทำให้หลับไม่ดีได้ คลื่น
ไส้ บางคนกินยาแล้วมีอาการพะอืดพะอม คลื่นไส้ จุก แน่นท้อง ส่วนใหญ่มัก
จะเป็นช่วงสั้นๆ หลังกินยา ถ้ามีอาการให้ลองเปลี่ยนมากินยาตอนท้องว่าง
(ก่อนกินอาหาร) ถ้าเป็นมื้อเช้าก็คือ ตื่นมาสักครู่ก็กินยาเลย ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้
แจ้งแพทย์ ปวดหัว มักเป็นไม่นาน ดีขึ้นเอง
ยารักษาโรคซึมเศร้า
ในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าแบ่งออกได้หลายกลุ่มตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการ
ออกฤทธิ์ คือ
- กลุ่ม tricyclic (คือยาที่มีโครงสร้างทางเคมีสามวง)
- กลุ่ม monoamine oxidase inhibitors เรียกย่อๆ ว่า MAOI
- กลุ่มสุดท้ายคือยากลุ่มใหม่ชื่อ SSRI (serotonin-specific reuptake inhibitor) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีข้อดีข้อเสียต่างกันแต่ประสิทธิภาพการรักษาเท่าเทียมกันแพทย์อาจเริ่มจ่ายยา
กลุ่มใดแก่ผู้ป่วย ก่อนก็ได้เพื่อดูผลตอบสนองเนื่องจากเราไม่อาจทราบก่อนได้เลยว่าผู้ป่วย
คนใดจะ "ถูก"กับยาชนิดใด แล้วแพทย์จะค่อยๆปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับอาการต่อไป
ยารักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์โดยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุลย์เป็นการรักษาโรคโดยตรง
มิใช่เป็นเพียงยาที่ทำให้ง่วงหลับจะได้ไม่ต้องคิดมากเช่นที่คนมักเข้าใจผิดกัน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักต้องการหยุดกินยาเร็วกว่าที่ควรเป็นข้อสำคัญและพึงปฏิบัติที่สุดก็คือ
การกินยาอย่างต่อเนื่องจนกว่าแพทย์จะบอกให้ท่านหยุด ถึงแม้ว่าจะรู้สึกดึขึ้นแล้วก็ตาม
ยาบางตัวต้องค่อยๆลดขนาดลง เพื่อให้โอกาสร่างกายปรับตัว
ไม่ต้องกังวลว่า ยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่กินแล้วติดหยุดยาไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ก็เช่นเดียวกับการรักษาโรคอื่นๆแพทย์อาจให้ตรวจวัดระดับยาให้ถูกต้องกับ
อาการเป็นระยะๆ
สิ่งที่คุณหลีกเลี่ยงก็คือ การซื้อยากินเองจากร้านขายยา ยืมยาจากเพื่อน หรือกินยาจากแพทย์
ท่านอื่นปนกับโรคซึมเศร้า โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน เช่นเดียวกับแพทย์คนอื่น
หรือหมอฟันด้วยว่า ท่านกำลังกินยารักษาโรคซึมเศร้าอยู่อย่าวางใจว่า เป็นแค่ยาพื้นบ้าน
ธรรมดา คงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอะไรร้ายแรงการดื่มอัลกอฮอล์จากเหล้า เบียร์ หรือไวน์
จะลดประสิทธิภาพของยาลง
ยานอนหลับหรือยาลดความกังวล ไม่ใช่ยาที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้โดยลำพังอย่างที่
กล่าวแล้ว แม้ว่าบางครั้งแพทย์จะสั่งใช้ยาชนิดนี้ควบคู่ไปกับยารักษาโรคซึมเศร้าเพื่อบรรเทา
อาการกังวลในระยะต้นของการรักษา และไม่ควรใช้ยากระตุ้นประสาทหรือยาม้าเพื่อหวังผล
ให้หายเพลียเพียงชั่วครั้งชั่วคราว
ควรถามแพทย์ทุกครั้งที่ท่านมีปัญหาที่เกิดจากยา หรือเกิดปัญหาที่คิดว่าอาจเกิดจากยา
แพทย์รักษาอย่างไร
หลังจากแพทย์ประเมินอาการจนค่อนข้างแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
โดยไม่มีสาเหตุมาจากโรคทางร่างกายอื่นๆ ก็จะเริ่มให้การรักษาโดยให้ยา
ขนาดต่ำก่อน นัดติดตามการรักษาอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อมา ถ้าผู้ป่วยไม่
มีอาการข้างเคียงอะไรก็จะค่อยๆ ปรับยาขึ้นไปทุกๆ 1-2 สัปดาห์จนได้ขนาด
ในการรักษา
ยาที่ใช้ในการรักษา
สมัยหลายสิบปีก่อนยาแก้เศร้ามีอยู่เพียง 4-5ขนานแม้ว่ายารุ่นก่อนจะมีประสิทธิภาพในการ
รักษาที่ดี (ยาที่มีใช้ในช่วงหลังๆ มีแต่ดีเท่าหรือด้อยกว่ายารุ่นเก่า) การใช้ยามักจะมีข้อจำกัด
ด้วยเหตุว่าผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงจากยาบ่อย แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่ใช่อาการที่รุนแรง
แต่ผู้ป่วยบางคนก็ไวต่ออาการข้างเคียงมาก ทำให้การปรับเพิ่มขนาดยาทำได้ลำบากปัจจุบัน
มียาใหม่มากขึ้นซึ่งมีอาการข้างเคียงน้อยกว่ายาเก่า ทำให้การใช้สะดวกขึ้น
ปัญหาคือยาเหล่านี้ราคาค่อนข้างแพงแพทย์จึงจะเลือกใช้ในกรณีที่เห็นว่าผู้ป่วยมีความจำเป็น
ที่ทำให้ใช้ยารุ่นเก่าไม่ได้
ในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางโรค ยาที่ใช้มักจะมีขนาดต่ำกว่าขนาดที่ใช้
กับคนปกติทั่วไป ยาบางตัวอาจมีปฏิกิริยากับยาแก้เศร้าที่กิน ดังนั้นผู้ป่วยที่กินยาอื่นๆ จึงควร
แจ้งแพทย์ทุกครั้ง
ยาที่เราใช้กันจะมีชื่ออยู่ 2 แบบ ได้แก่ชื่อสามัญ และชื่อการค้า
ชื่อสามัญคือชื่อที่บอกองค์ประกอบหรือลักษณะยา
ส่วนชื่อการค้าคือชื่อที่แต่ละบริษัทตั้งขึ้นเพื่อให้รู้ว่าผลิตจากบริษัทของตน ยาชื่อสามัญตัวเดียวอาจมีชื่อการค้าได้หลายๆ ชื่อถ้ามีผู้ผลิตหลายบริษัท เช่น ยาแก้ปวดชนิด
หนึ่งมีชื่อสามัญว่า พาราเซตามอล และมีชื่อการค้าหลายชื่อเช่น คาปอล เซตามอล เป็นต้น
ซึ่งทุกยาทุกชื่อก็ได้ผลเช่นเดียวกันเพราะเป็นยาตัวเดียวกัน
ชือสามัญ (ไทย) ชือสามัญ (อังกฤษ) ชื่อการค้า ขนาดเม็ดละ
(มิลลิกรัม)
ขนาดในการ
รักษา อาการข้างเคียง
ที่อาจพบได้
อะมิทริปไทลีน
นอร์ทริปไทลีน
อิมิพรามีน
ด็อกเซปิน
โคลมิพรามีน
แมโพรทิลีน
amitriptyline
nortriptyline
imipramine
doxepin
clompiramine
maprotiline
-
-
-
sinequan
anafranil
ludiomil
10, 25, 50
10, 25, 50
25
25
10, 25
25
75-150
75-150
75-150
75-150
75-150
75-150
ง่วงซึม ปากคอแห้ง ท้องผูก
ทราโซโดน trazodone desyrel
50
150-300 ง่วงซึม มึนศีรษะ
ไมแอนเซอรีน mianserine tolvon
10, 30
60-90 ง่วงซึม ปวดศีรษะ
อะมิเนปทีน amineptine servector
100
100-200 นอนไม่หลับ กระวนกระวาย
มอโคลเบไมด์ moclobemide aurorix
100, 150
150-450 คลื่นไส้ กระวนกระวาย นอนไม่หลับ
ฟลูออกเซตีน*
ฟลูวอกซามีน*
พารอกเซตีน*
ซิตาโลแพรม*
เซอร์ทราลีน*
fluoxetine
fluvoxamine
paroxetine
citalopram
sertraline
prozac
faverine
seroxat
cipram
zoloft
20
50, 100, 150
20
20
50
20-40
100-300
20-40
20-40
50-100
กระวนกระวาย คลื่นไส้ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
เวนลาแฟกซีน venlafaxine effexor
75, 150
150-300 กระวนกระวาย คลื่นไส้
เมอร์ทาเซปีน mirtazepine remeron
30
15-45 ง่วงซึม ปากคอแห้ง
ไทอะเนปทีน tianeptine stablon
12.5
25-50 กระวนกระวาย คลื่นไส้
เนฟาโซโดน nefazodone serzzone
100, 150
300-500 ง่วงซึม คลื่นไส้ ปากคอแห้ง