Author Topic: ฤดูต่างๆ ในออสเตรเลีย  (Read 17339 times)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
ฤดูต่างๆ ในออสเตรเลีย
« on: February 28, 2011, 06:01:03 PM »
   
สภาพภูมิอากาศของออสเตรเลียแตกต่างกันในแต่ละรัฐ สภาพอากาศทั่วไปจะเป็นแบบเขตร้อนจนถึงเขตอบอุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดที่ทัสเมเนียประมาณ 11-12 องศาเซลเซียส และร้อนสุดที่มณฑลตอนเหนือประมาณ 34 องศาเซลเซียส
-ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน - พฤศจิกายน อากาศดี ดอกไม้บานสวยงาม
-ฤดูร้อนธันวาคม – กุมภาพันธ์ อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางแห่งร้อนจัด
-ฤดูใบไม้ร่วงมีนาคม – พฤษภาคม อากาศเริ่มเย็นลงตามเมืองชายฝั่งทางตอนใต้และเมืองในเขตป่าฝนจะตกชุก
-ฤดูหนาวมิถุนายน – สิงหาคม อากาศเย็นจัด มีหิมะตกบนเขตภูเขาสูงโดยทั่วไป
ตลอดทั้งปีออสเตรเลียจะมีท้องฟ้าใสและแดดแรง โดยเฉพาะตามเมืองชายทะเลและเมืองในแถบทะเลทราย จึงควรป้องกันการถูกแดดเผาโดยการใส่หมวกปีกกว้างและทาครีมกันแดดเสมอ


ออสเตรเลียเป็นทวีปเกาะขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของประเทศอินโดนีเซียและปาปัวนิวกินี โดยตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก มีความกว้างประมาณ 4,000 กิโลเมตรวัดจากฝั่งตะวันออกถึงตะวันตก และยาวประมาณ 3,200 กิโลเมตรวัดจากเหนือจรดใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่ภายในทวีปเป็นที่ราบ แห้งแล้ง และมีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง ประชากรส่วนใหญ่ อาศัยอยู่บริเวณที่ราบตามแนวชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้อันสมบูรณ์ของประเทศ เนื่องจากออสเตรเลียมีขนาดใหญ่ พื้นที่ต่างๆ จึงมีภูมิอากาศที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก ซึ่งก็หมายความว่า ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งนั้น จะต้องมีซักแห่งในออสเตรเลียที่มีอากาศแจ่มใส
ภูมิอากาศ
เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ในออสเตรเลียตั้งอยู่ในเขตร้อน ส่วนที่เหลือเป็นเขตอบอุ่น บริเวณที่หนาวที่สุดของประเทศ คือมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปและบริเวณรัฐแทนเมเนีย
ฤดูต่างๆ ในออสเตรเลีย
ฤดูร้อน
ธันวาคม – กุมภาพันธ์
ฤดูใบไม้ร่วง
มีนาคม – พฤษภาคม
ฤดูหนาว
มิถุนายน – สิงหาคม
ฤดูใบไม้ผลิ
กันยายน – พฤศจิกายน
กันยายน – พฤศจิกายน
เนื่องจากเป็นทวีปที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ออสเตรเลียจึงแบ่งเขตเวลาไว้ 3 เขต ซึ่งอาจมีการปรับเวลาเพื่อชดเชยชั่วโมงกลางวัน (Daylight saving) ในบางพื้นที่ของออสเตรเลียในช่วงฤดูร้อน
เขตแบ่งเวลาในออสเตรเลีย
เวลามาตรฐานตะวันออกของออสเตรเลีย (AEST)
เวลาเมื่อเทียบกับมาตราฐานกรีนวิซ เร็วกว่า 10 ชั่วโมง
มณฑลนครหลวงออสเตรเลีย รัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐแทนเมเนีย รัฐวิคตอเรีย
เวลามาตรฐานส่วนกลาง (CST)
AEST ลบ 30 นาที
รัฐเซาท์ออสเตรเลีย เขตปกครองตนเองนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี
เวลามาตรฐานตะวันตก (WST)
AEST ลบ 2 ชั่วโมง
รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
เวลาชดเชยชั่วโมงกลางวันของออสเตรเลีย (ADST) ปลายเดือนตุลาคม – ปลายเดือนมีนาคม
AEST บวก 1 ชั่วโมง
มณฑลนครหลวงออสเตรเลีย รัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐแทนเมเนีย รัฐวิคตอเรีย
 
รัฐและเขตปกครองต่างๆ ของออสเตรเลีย
คลิกลิงค์ที่ตำแหน่งของรัฐบนแผนที่หรือชื่อด้านล่างนี้ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิประเทศและภูมิอากาศของพื้นที่ดังกล่าว
มณฑลนครหลวงออสเตรเลีย
รัฐนิวเซาธ์เวลส์  
รัฐวิคทอเรีย
รัฐทัสเมเนีย
รัฐควีนสแลนด์
รัฐออสเตรเลียใต้
มณฑลตอนเหนือ
รัฐออสเตรเลียตะวันตก
    

1. ที่ตั้ง  
             อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย และเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้  ระหว่างละติจูดที่ 10 องศา  41 ลิปดาใต้ ถึง 43 องศา 39 ลิปดาใต้ และลองจิจูด 113 องศา 9 ลิปดาตะวันออก ถึง 153 องศา 39 ลิปดาตะวันออก

2. ขนาดพื้นที่  
            ออสเตรเลียเป็นประเทศเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดใหญ่กว่าเกาะกรีนแลนด์ถึง 3.5 เท่า มีรูปร่างคล้ายมงกุฎ มีความยาวจากตะวันออกถึงตะวันตก ประมาณ 3,900 กิโลเมตร มีความกว้างจากเหนือไปใต้ประมาณ 3,200 กิโลเมตร มีพื้นที่ 7,686,848 ตางรางกิโลเมตร ประกอบด้วยรัฐต่างๆ 6 รัฐ กับเขตการปกครองอิสระ อีก 2   เขต  เรียกว่า เทร์ริทอรี (Territory)
                1. รัฐควีนส์แลนด์ มีเมืองบริสเบน เป็นเมืองหลวง
                2. รัฐนิวเซาท์เวลส์ มีเมืองซิดนีย์ เป็นเมืองหลวง
                3. รัฐวิกตอเรีย มีเมืองเมลเบิร์น เป็นเมืองหลวง
                4. รัฐเซาท์ออสเตรเลีย มีเมืองแอดิเลด เป็นเมืองหลวง
                5. รัฐเวสท์เทิร์นออสเตรเลีย มีเมืองเพิร์ท เป็นเมืองหลวง
                6. รัฐแทสมาเนีย มีเมืองโฮบาร์ด เป็นเมืองหลวง
เขตปกครองอิสระ 2 เขต คือ
                7. นอร์เทิร์น เทร์ริทอรี เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน มีประชากรอาศัยอยู่น้อย จัดให้เป็นที่อยู่ของคนพื้นเมืองดั้งเดิม มีเมืองดาร์วิน เป็นเมืองหลวง
                8. ออสเตรเลียแคพิทอลเทร์ริทอรี เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงคือ แคนเบอร์รา เป็นเขตพิเศษไม่อยู่ในรัฐใด

     ออสเตรเลีย  ประกอบด้วย
1. รัฐควีนส์แลนด์
2. รัฐนิวเซาท์เวลส์
3. รัฐวิกตอเรีย
4. รัฐเซาท์ออสเตรเลีย
5. รัฐเวสท์เทิร์นออสเตรเลีย
6. รัฐแทสมาเนีย
7. นอร์เทิร์น เทร์ริทอรี
8. ออสเตรเลียแคพิทอลเทร์ริทอรี
    
1. เมืองบริสเบน เป็นเมืองหลวง
2. เมืองซิดนีย์ เป็นเมืองหลวง
3. เมืองเมลเบิร์น เป็นเมืองหลวง
4. เมืองแอดิเลด เป็นเมืองหลวง
5. เมืองเพิร์ท เป็นเมืองหลวง
6. เมืองโฮบาร์ด เป็นเมืองหลวง
7. เมืองดาร์วิน เป็นเมืองหลวง
8. ที่ตั้งเมืองหลวงคือ แคนเบอร์รา
    เป็นเขตพิเศษไม่อยู่ในรัฐใด

3. อาณาเขต
                ทิศเหนือ ติดต่อกับทะเลติมอร์ ในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอาราฟูรา ในมหาสมุทรแปซิฟิก
                ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลคอรัลและทะเลแทสมันในมหาสมุทรแปซิฟิก
                ทิศใต้ ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย
                ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย

4. ลักษณะภูมิประเทศ   แบ่งออกเป็น 3 เขต
                1. เขตที่สูงทางภาคตะวันออก (Eastern  Highland) เป็นเขตที่มีเทือกเขาสูงวางตัวจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ขนานกับชายฝั่งตะวันออก ตั้งแต่แหลมยอร์กไปจนถึงช่องแคบบาสส์ เรียกว่า เทือกเขาเกรตดิไวดิง (Great Dividing Range) เทือกเขาแอลป์ออสเตรเลียมียอดเขาสูงสุด คือ ยอดเขาคอสซิอัสโก (Kosciusko) สูงประมาณ 2,198 เมตร เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเมอร์รีย์-ดาร์ลิง ทางชายฝั่งตะวันออกของรัฐควีนส์แลนด์มีแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ที่วางตัวขนานกับชายฝั่งเรียกว่า เกรดแบริเออร์ รีริฟ (Great Barrier Reef) วางตัวขนานและห่างจากชายฝั่งประมาณ  40-200  กิโลเมิตร และยาวประมาณ  2,000  กิโลเมตร

 

                2. เขตที่ราบภาคกลาง (Central Plain) มีอาณาบริเวณตั้งแต่อ่าวคาร์เปนตาเรียนทางตอนเหนือ ลงมาถึงอ่าวสเปนเซอร์และเกรตออสเตรเลียนไบต์ มีลักษณะเป็นที่ราบต่ำ มีพื้นที่ ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ และเป็นแหล่งที่มีน้ำบาดาลมาที่สุดของประเทศ  แบ่งออกเป็น 4 เขต
                        2.1 เขตที่ราบอ่าวเกรตออสเตรเลียไบต์ (Great Australina Bight Plan) เป็นที่ราบที่มีอากาศแห้งแล้งกันดาร เรียกว่า ที่ราบนัลลาบอร์ (Nullabor Plain)  ภาษาพื้นเมือง แปลว่า ที่ราบที่ไม่มีต้นอยู่เลย
                        2.2 ที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอร์รีย์และดาร์ลิง (Murray and Dariong Basin) มีแม่น้ำดาร์ลิง เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของออสเตรเลีย ประมาณ 3,700 กิโลเมตรและแม่น้ำเมอร์รีย์และไหลผ่าน ไหลลงสู่อ่าวเอนเคาน์เตอร์ และเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศ
                        2.3 ที่ราบรอบทะเลสาบแอร์ (Lake Ayre  Basin) เป็นเขตพื้นที่ราบรอบทะเลแอร์ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในทวีปออสเตรเลีย และเป็นที่ราบแล้งแห้งเป็นทะเลทราย  เช่น  ทะเลทรายซิมป์สันและทะเลทรายสจ๊วด
                        2.4 ที่ราบรอบอ่าวคาร์เปนตาเรีย (Gulf of Carpentaria Plain)  เป็นที่ราบชายฝั่งแคบๆ ทางตอนเหนือของประเทศ
                3. เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก (Western Plateau) เป็นเขตที่สูงภาคตะวันตก ซึ่งมีพื้นที่มากกว่าครึ่งทวีป ประกอบด้วยที่ราบชายฝั่งแคบๆ และที่สูงเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ ลักษณะพื้นที่ทางด้านตะวันตกและลาดเทไปทางตะวันออก ซึ่งเป็นดินแดนภายในทวีป มีเทือกเขาที่สำคัญ เช่น เทือกเขาโรบินสัน เทือกเขาดาร์ลิง เทือกเขาแม็กโนนัลล์   เทือกเขามัสเกรฟ  เทือกเขาคิมเบอร์เลย์  นอกจากนี้ยังมีภูมิประเทศที่เป็นเขตทะเลทรายอยู่หลายแห่ง  เช่น  ทะเลทรายเกรตแซนดี  ทะเลทรายกิบสัน  ทะเลทรายเกรตวิกตอเรีย

5. ลักษณะภูมิอากาศ
            ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของออสเตรเลีย
                1. ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยมีเส้นทรอออฟแคปริคอร์นลากผ่านกลางของประเทศ ทางตอนเหนือมีอากาศร้อน และทางตอนใต้มีอากาศอบอุ่น
                2. ทิศทางลม
                        - ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าสู่ฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียตลอดทั้งปี ทำให้มีฝนตกชุกตามบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออก ไม่มีฤดูแล้ง
                        - ลมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรอินเดีย ทำให้มีฝนตกในฤดูหนาว และแห้งแล้งในฤดูร้อน
                        - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดจากทะเลติมอร์และทะเลอาราฟูราเข้าสู่ชายฝั่งทางตอนเหนือ มีความชุ่มชื่นและแห้งแล้งในฤดูหนาว
                3. ลักษณะภูมิประเทศ ทางตะวันตก มีที่ราบสูงและภูเขาวางตัวขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นจากทะเล ทางตะวันออกมีแนวเทือกเขาเกรตดิไวดิง เป็นกำแพงขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นจากทะเลทางตะวันออก ทำให้ดินแดนภายในตอนกลางประเทศมีอากาศแห้งแล้ง4. ความใกล้ไกลจากทะเล เนื่องจากออสเตรเลียมีพื้นที่กว้างมาก ทำให้พื้นที่ภายในอยู่ห่างไกลจากทะเลมาก อิทธิพลจากความชื้นจากทะเลเข้าไปไม่ถึง ทำให้อากาศแห้งแล้ง
                5. กระแสน้ำ มีกระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตกไหลเลียบทางฝั่งชายตะวันตก ขึ้นไปทางเหนือ ทำให้ชายฝั่งทางตอนเหนือมีอุณหภูมิร้อนลดลง
            เขตอากาศของออสเตรเลีย แบ่งออกเป็น 7 เขต

 

                1. เขตอากาศแบบร้อนชื้นชายฝั่งทะเล (Tropical Maritime Climate) ได้แก่พื้นที่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ของรัฐควีนส์แลนด์ มีอุณหภูมิสูง และฝนตกชุกในฤดูร้อน พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตร้อน
                2. เขตอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna Climate) ได้แก่พื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ มีอากาศร้อนและฝนตกปานกลางในฤดูร้อน และแห้งแล้งในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าเรียกว่า ทุ่งหญ้าสะวันนา และป่าโปร่ง
                3. เขตอากาศแบบกึ่งทะเลทราย (Semi-desert Climate) ได้แก่ ดินแดนรอบๆ ทะเลทราย ทั้งทางเหนือ ตะวันออกและทางใต้ พืชพรรณเป็นทุ่งหญ้าสั้นๆ เรียกว่า ทุ่งหญ้าสเตปป์
                4. เขตอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ตอนกลางของประเทศครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศ ได้แก่ ทะเลทรายเกรตแซนดี  ทะเลทรายกิบสัน  ทะเลทรายเกรตวิกตอเรีย และทะเลทรายซิมป์สัน
                5. เขตอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) ได้แก่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้และชายฝั่งตะวันออกของอ่าวเกรตออสเตรเลียไบต์ มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น ในฤดูหนาวและร้อนแห้งแล้งในฤดูร้อน
                6. เขตอากาศอบอุ่นชื้น  เป็นเขตที่มีอากาศอบอุ่น ฝนตกตลอดปี ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐควีนส์แลนด์และบางส่วนของรัฐนิวเซาท์เวลส์ พืชพรรณธรรมชาติ ป่าไม้ผลัดใบ
                7. เขตอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก เป็นเขตที่อากาศอบอุ่น ฤดูหนาวมีอากาศค่อนข้างหนาว มีฝนตกตลอดปี ได้แก่ ชายฝั่งตอนใต้ของนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิตอเรีย และเกาะแทสมาเนีย พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าผสม ระหว่างป่าไม้ผลัดใบกับป่าสน

6. ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
        การปกครอง
                ออสเตรเลีย เป็นประเทศเครือจักรภพอังกฤษ มีสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชอาณาจักรเป็นประมุขออสเตรเลีย ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยแบบสมาพันธรัฐ ที่มีทั้งรัฐบาลกลาง และรัฐบาลของรัฐต่างๆ รัฐบาลกลางมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร  ฝ่ายนิติบัญญัติ มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาสูง มาจากการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี   และสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากรัฐจากและดินแดนอิสระ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี
         ประชากร
            1. เชื้อชาติ แบ่งออกเป็น 2 พวก
                1.1 ชนผิวขาว เป็นประชากรส่วนใหญ่ของออสเตรเลีย ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นใหญ่เป็นชาวอังกฤษ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และกรีซ อาศัยอยู่ทางตะวันออก ทางใต้และทางตะวันตกของประเทศ
                1.2 ชนพื้นเมือง เป็นประชากรดั้งเดิมของออสเตรเลีย เรียกว่า อะบอริจินิส หรือ ออสเตรลอยด์ อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ คือ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ซึ่งดินแดนที่รัฐบาลออสเตรเลียสงวนไว้ให้กับชาวพื้นเมือง
            2. ภาษา ออสเตรเลียใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันทุกเชื้อชาติ
            3. ศาสนา การที่ชาวยุโรปได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐาน ได้นำเอาศาสนาคริสต์เข้าไปด้วย ส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิก
            4. ประชากร ออสเตรเลียมีประชากรประมาณ 18.7 ล้านคน (2541) เฉลี่ยความหนาแน่นประมาณ 2.4 คนต่อตารางกิโลเมตร บริเวณที่มีประชากรหนาแน่นอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้และทางใต้ของประเทศ ส่วนบริเวณที่มีประชากรเบาบาง ได้แก่บริเวณตอนกลางของประเทศ เพราะมีอากาศแห้งแล้งเป็นกึ่งทะเลทรายและทะเลทราย
            5. เมืองสำคัญ
                    - ซิดนีย์ เป็นเมืองเก่าและใหญ่ที่สุด และเป็นเมืองหลวงของรัฐนิวเซาท์เวสต์ เป็นศูนย์กลางทางการค้าและอุตสาหกรรม
                    - แคนเบอร์รา เป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในดินแดนอิสระคือ ออสเตรเลียนแคพิคอลเทร์ริทอรี อยู่ในรัฐนิวเซาท์เวสต์ เป็นที่ทำการรัฐบาลกลางและสถาฑูตของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
                    - เมลเบิร์น เป็นเมืองหลวงของรัฐวิกตอรี เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางอุตสาหกรรมใหญ่รองจากซิดนีย์
                    - โฮบาร์ด เป็นเมืองหลวงของรัฐแทสเมเนีย เป็นเมืองท่าน้ำลึกของออสเตรเลีย

        อาชีพและทรัพยากร
                พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรส่วนใหญ่มีอากาศแห้งแล้ง จึงเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์มากกว่าการเพาะปลูก และการที่พื้นที่ทางเกษตรมีอากาศแห้งแล้ง ทำให้มีการขุดบ่อบาดาล มาใช้อย่างกว้างขวาง และแหล่งที่มีการนำน้ำบาดาลมาใช้ คือ แอ่งแผ่นดินเกรตอาร์ทีเชียน ในรัฐควีสแลนด์ แอ่งแผ่นดินเมอร์รีย์ในรัฐนิวเซาท์เวสต์และแอ่งแผ่นดินแอเดเลดเพลนในรัฐวิกตอเรีย
                1.1 การเพาะปลูก
                        - ข้าวสาลี เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ที่สำคัญที่สุดของออสเตรเลีย มีเนื้อที่เพาะปลูกประมาณ 2 ใน 3 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ แหล่งปลูกข้าวสาลีมากที่สุด คือ บริเวณลุ่มน้ำเมอร์รีย์-ดาร์ลิง และทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐนิวเซาท์เวสต์
                        - ข้าวเจ้า แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ รัฐนิวเซาท์เวสต์ ปลูกโดยใช้การชลประทานเข้าช่วย รัฐเวสเทริน์ออสเตรเลีย นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี การปลูกอาศัยน้ำฝนธรรมชาติ
                        - กล้วย อ้อย สับปะรด ฝ้ายและยาสูบ ปลูกมากทางชายฝั่งตะวันออกของรัฐควีนสแลนด์ ทางตอนเหนือของรัฐนิวเซาท์เวสต์
                        - องุ่น และส้ม เป็นพืชในอากาศเมดิเตอร์เรเนียน ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ ทางตะวันออกของอ่าวเกรตออสเตรเลียไบต์และเกาะแทสเมเนีย
                1.2 การเลี้ยงสัตว์ เป็นกิจกรรมเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของออสเตรเลีย สัตว์เลี้ยงที่สำคัญคือ แกะและโค- แกะ ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีการเลี้ยงแกะมากที่สุดในโลก ได้แก่ บริเวณรัฐนิวเซาท์เวสต์   ควีนสแลนด์ และเวสเทิร์นออสเตรเลีย พันธุ์ที่เลี้ยงมากที่สุด คือ พันธุ์เมอริโน เลี้ยงไว้เพื่อใช้ขนเป็นสินค้าออก ซึ่งส่งออกมาที่สุดในโลก
                        - โค ส่วนใหญ่เป็นโคเนื้อ เลี้ยงมากในบริเวณทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนเหนือ ส่วนโคนม เลี้ยงในเขตอบอุ่นทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ
                1.3 อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมทางการเกษตร การผลิตรถยนต์ การต่อเรือ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า การกลั่นน้ำมัน การทอผ้า ฯลฯ แหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ได้แก่ รัฐนิวเซาท์เวสต์ วิกตอเรีย แทสเมเนีย และเซาท์ออสเตรเลีย
                1.4 การประมง แหล่งประมงส่วนใหญ่อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศ เพราะเป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงหอยมุก ทำมากในบริเวณเกาะเทอร์สเตย์ ทางเหนือสุดของคาบสมุทรยอร์ก
                1.5 การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศ เพราะมีอากาศชื้น ส่วนใหญ่เป็นไม้ยูคาลิปตัส และไม้อะเคเซีย(ไม้ตระกูลกระถิน)
                1.6 การทำเหมืองแร่
                        - เหล็ก พบมากที่เมืองยัมปิซาวด์ ในเขตเทือกเขาแฮมเมอร์สเลย์ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
                        - ถ่านหิน พบมากทางชายฝั่งตะวันออกในนิวเซาท์เวสต์และควีนสแลนด์ โดยเฉพาะที่เมืองซิดนีย์ นิวคาสเซิล และวูลลองกอง เป็นแหล่งถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
                        - ทองคำ อยู่ในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย เหมืองใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองคาลกูร์ลี
                        - ตะกั่ว สังกะสี เงิน ในรัฐนิวเซาท์เวสต์ เมือง โบรกเคนฮิล
                        - ดีบุก ใ นรัฐควีนสแลนด์ ที่เมือง เฮอร์นเบอร์ตัน และเมืองสแตนทอร์ป
                        - บอกไซต์ ในรัฐควีนสแลนด์บริเวณคาบสมุทรยอร์ก
                        - น้ำมัน ในรัฐควีนสแลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย
                1.7 การคมนาคมขนส่ง
                        - ทางรถยนต์ ออสเตรเลียมีทางรถยนต์ยาวประมาณ 900,000 กิโลเมตร
                        - ทางรถไฟ ออสเตรเลียมีทางรถยนต์ยาวประมาณ 40,000 กิโลเมตร มีอยู่หนาแน่นทางภาคตะวันออกของประเทศ และมีทางรถไฟข้ามประเทศจากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกถึงชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียเชื่อมระหว่างเมืองเพิร์ทกับเมืองซิดนีย์ เรียกว่า ทางรถไฟสายทรานส์ออสเตรเลียน
                        - ทางน้ำ ออสเตรเลียมีท่าเรือติดต่อทวีปยุโรป เอเชียและอเมริกา ได้แก่ เมืองท่าเพิร์ท เมืองท่าบริสเบน เมืองท่าซิดนีย์ เมืองท่าเมลเบิร์น
                        - ทางอากาศ มีสายการบินใช้ติดต่อระหว่างประเทศและในประเทศ เรียกว่า สายการบินแควนตัส (Qantas)
« Last Edit: April 05, 2011, 04:42:24 PM by webdesign »