Author Topic: ต่อทะเบียนรถยนต์ในห้าง  (Read 6652 times)

Ralphbut

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
ต่อทะเบียนรถยนต์ในห้าง
« on: September 12, 2017, 12:04:45 PM »
การชำะภาษี ณ ห้างสรรพสินค้า โครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี ( Shop Thru for Tax ) ปัจจุบันยังเปิดบริการอยู่ครับ 
โดยสามารถชำระได้ในกรณีชำระภาษีล่วงหน้า 3 เดือน หรือรถมีภาษีค้างชำระ ไม่เกิน 3 ปี

1) ห้างบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า (Big C Extra ) เปิดบริการเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์  เปิดให้บริการ 14 สาขา คือ
               1. ลาดพร้าว (เปิดให้บริการเวลา 09.30-17.00 น.)
               2. รามอินทรา (เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น.)
               3. รัชดาภิเษก (เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น.)
               4. บางประกอก (เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น.)
               5. บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า (BigC Extra ) เพชรเกษม ชั้น 1 (เปิดให้บริการเวลา 09.00-16.00 น.)
               6. สุขาภิบาล3 (เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น.)
               7. แจ้งวัฒนะ2 (เปิดให้บริการเวลา 10.00-17.00 น.)
               8. สำโรง (เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น.)
               9. อ่อนนุช (เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น.)
               10. บางใหญ่ (เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น.)
               11. บางบอน (เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น.)
               12. บางนา (เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น.)
               13. สุวินทวงศ์ (เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น.)
               14. ห้างบิ๊กซี สาขาสมุทรปราการ  (เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น.)
               **ส่วนต่างจังหวัด คือ หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช ลพบุรี

2)  ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร (เปิดให้บริการเวลา 10.00-17.00 น.)   
3)  ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ (เปิดให้บริการเวลา 11.00-18.00 น.)
4)  ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว  (เปิดให้บริการเวลา 10.00-17.00 น.)
5)  ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขารามอินทรา
          - เฉพาะวันเสาร์- อาทิตย์
          - เวลา 10.00-17.00 น.
          - สามารถใช้บริการที่บริเวณ ท็อปมาร์เก็ต เซ็นทรัล รามอินทรา

Ralphbut

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
Re: ต่อทะเบียนรถยนต์ในห้าง
« Reply #1 on: September 12, 2017, 12:07:32 PM »
https://finance.rabbit.co.th/blog/where-you-buy-car-taxes-offline

นอกจากเรื่องของ ประกันภัยรถยนต์ แล้ว เรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เรื่องของ การเสียภาษีรถยนต์ ที่เจ้าของรถจะต้องทำเป็นประจำทุกปี เพราะถ้าหากขาดการเสียภาษีรถยนต์เกิน 3ปี รถของท่านจะถูกระงับทะเบียนทันที
และการถูกระงับทะเบียนจะมีผลเสียและจะทำให้เกิดความวุ่นวายตามมาภายหลังได้  ซึ่งการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่เตรียมเอกสารต่างๆให้ครบ แล้วไปยังสถานที่รับบริการเสียภาษี

ประเภทของรถที่รับชำระภาษี ได้แก่– รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
– รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย. 2)
– รถจักรยานยนต์ (รย. 12)
โดยมีหลักฐานที่ใช้ตอนยื่นต่อภาษี คือ ใบคู่มือจดทะเบียนรถ,
ประกันภัยตาม พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535, ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถที่กำหนดให้ผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชนก่อนการชำระภาษี)เอกสารในการต่อภาษีรถยนต์ เล่มทะเบียนรถพร้อมสำเนา[/c]
  • เอกสารประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
  • เอกสารรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถของกรมการขนส่งทางบก หรือเอกชน (ตรอ.)
  • ใบรับรองวิศวกรในกรณีที่รถยนต์ของท่านติดตั่งเชื้อเพลิงแก๊ส
  • หลังจากที่เตรียมเอกสารพร้อมแล้วเราจะมาดูกันว่าในปัจจุบันท่านสามารถไป เสียภาษีรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง ซึ่งในปัจจุบันนี้การต่อภาษีรถยนต์มีความสะดวกสบายกว่าแต่ก่อนมาก เพราะทางกรมขนส่งทางบกได้เพิ่มสถานที่สำหรับการต่อภาษีรถยนต์มากขึ้นทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์
     เสียภาษีรถยนต์สถานที่ต่อภาษีรถยนต์
    กรมขนส่งทางบก

ยกตัวอย่าง เช่น
กรมขนส่งทางบกหมอชิต จะมีจุดบริการต่อภาษีแบบเลื่อนล้อต่อภาษีหรือ Drive – through เพียงสองนาทีคุณก็จะได้ป้ายติดกระจกพร้อมใบเสร็จรับเงินและสมุดเล่มทะเบียนคืนมา โดยจุดบริการต่อภาษีแบบเลื่อนล้อ จะเปิดบริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7:30 – 15:30 น.ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งทุกสาขาในกรุงเทพมหานคร
การชำระภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ สามารถติดต่อได้ที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในกรุงเทพฯ แต่การต่อภาษีรถยนต์ที่ธนาคารพาณิชย์นั้นมีเงื่อนไข ดังนี้
 
ต่อได้เฉพาะรถยนต์ที่จดทะเบียนในเขต กุงเทพฯ และไม่มีภาษีค้างชำระ โดยต้องติดต่อขอชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียภาษีรถยนต์เสียภาษีรถยนต์แบบขับรถที่กรมขนส่ง สำนักงานเขตทุกเขตในกรุงเทพมหานคร
การชำระภาษีรถยนต์ผ่านที่สำนักงานเขตสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานเขตทุกเขตใน กรุงเทพฯ และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยมีเงื่อนไขในการรับชำระภาษี เหมือนกับการเสียภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ทุกประการ
นอกจากนี้เจ้าของรถที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถจะขอชำระภาษีประจำปี ณ ส่วนทะเบียนรถยนต์ สำนักทะเบียนและภาษีรถ หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ได้ทุกแห่งในเขตกรุงเทพมหานครที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ
สำหรับการชำระภาษีรถยนต์ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ สามารถติดต่อได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ โดยมีเงื่อนไขในการรับชำระภาษีเหมือนกับการเสียภาษีที่ธนาคารภาณิชย์และสำนักงานเขตทุกเขตภายในกรุงเทพมหานครทุกอย่าง
ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำในประเทศ
ในปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกได้ขยายพื้นที่ให้บริการในการเสียภาษีรถยนต์ เพิ่มขึ้นตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รถ ดังนี้
1.ห้าง Big C
ห้าง Big C ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งหมด 13 สาขาด้วยกัน คือ  สาขาลาดพร้าว, สาขารามอินทรา, สาขาบางบอน, สาขาสุขาภิบาล3, สาขาแจ้งวัฒนะ, สาขาบางประกอก, สาขารัชดาภิเษก, สาขาเพชรเกษม, สาขาศรีนครินทร์, สาขาบางนา, สาขาอ่อนนุช, สาขาสำโรง, สาขาสุวินทวงศ์ และ สาขาบางใหญ่ โดยจะเปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 9:00 น. – 17.00 น.
2.ห้างสรรพสินค้า Central
สำหรับที่ห้างสรรพสินค้า Central จะมีให้บริการ 2 สาขา คือ
เซ็นทรัลสาขารามอินทรา บริเวณท้อปส์ ชั้นใต้ดิน โดยจะเปิดให้บริการเวลา 10.00 น. – 17.00 น.
Central World โดยจะเปิดให้บริการเวลา 11:00 น. – 18:00 น.
3.ศูนย์การค้า Paradise Park  สาขาศรีนครินทร์ จะเปิดให้บริการเวลา 10.00 น. – 17.00 น.ทางอินเตอร์เน็ต
สำหรับการชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกโดยตรง ซึ่งการเสียภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นทำได้ง่ายมากๆ คือ
1.เข้าเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก >>
https://www.dlte-serv.in.th/dltWeb/ 
2.กรอกรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับรถของท่าน
3.กรอกหลักฐานการเอาประกันตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
4.กรอกหลักฐานหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบฯ กรณีเป็นรถใช้ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG)
5.เลือกวิธีชำระเงินหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ)
  • ชำระด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (ต้องเป็นผู้ถือ บัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA , MASTER )
  • พิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระ ณ เคาน์เตอร์หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
  • หลังจากที่เลือกวิธีชำระเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบก จะส่งใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และ กรมธรรม์ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์และ ท่านเจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปบันทึกได้ ณ หน่วยงานทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ทั่วประเทศ
    โดยสถานที่ทุกที่ตามที่กล่าวมารับต่อทะเบียนรถยนต์ทั่วประเทศไม่ว่ารถยนต์ของท่านนั้นจะทำการจดทะเบียนไว้ที่จังหวัดไหนก็ตาม เพียงเท่านี้การเสียภาษีรถยนต์ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากรบกวนเวลาอีกต่อไปค่ะ[/l]