Author Topic: รีวิว พนมรุ้ง pantip  (Read 7403 times)

Ralphbut

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
รีวิว พนมรุ้ง pantip
« on: May 16, 2014, 07:29:31 AM »
อาคารนี้เรียกว่า "พลับพลาเปลื้องเครื่อง" ใช้เป็นที่พักจัดเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงในสมัยนั้น ยามเสด็จมาสักการะเทพเจ้าหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนา





ตอนนี้กลับออกมาจากพลับพลาเปลื้องเครื่อง เดินมาตามทางเรื่อยๆ เพื่อขึ้นสู่ตัวปราสาทด้านบน จากในรูปทางที่เรากำลังเดินไปนี้ เรียกว่า "ทางดำเนิน"



ระหว่างสองข้างทางก็จะมีเสาหินทรายยอดคล้ายดอกบัวตูม ขนาบข้างตลอดเส้นทาง มาทราบทีหลังจากการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีทั้งหมด 70 ต้น เสาพวกนี้เรียกว่า "เสานางเรียง"




หันหลังกลับมองทางที่เดินผ่านมาจะเห็น "สะพานนาคราช ชั้นที่ 1" ลักษณะเป็นผังรูปกากบาท ราวสะพานทำเป็นตัวของพญานาค 5 เศียร หันหน้าออกทั้งสี่ทิศ สะพานนาคราช ชั้นที่ 1 นี้มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์



กำลังจากผ่าน "สะพานนาคราช ชั้นที่ 2" เพื่อเข้าสู่ซุ้มประตูและระเบียงชั้นใน




ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นโบราณสถานศิลปะสมัยลพบุรี ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขอมอีกทอดหนึ่ง สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะ เทพเจ้าสุงสุดในศาสนาอินดู ลัทธิไศวนิกาย

กลุ่มปราสาทหินต่างๆ ภายในอุทยานมีช่วงอายุการก่อสร้างราวๆ พุทธศตวรรษที่ 15-18 และในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงมาเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนาในช่วงเวลานั้น




หน้าทางขึ้นสะพานนาคราช ชั้นที่ 2 จะเป็นลานกว้าง มีสระน้ำสี่เหลี่ยมจตุรัสเล็กๆ หรือที่เรียกว่า "บาราย" อยู่ในบริเวณนั้น 4 สระ   


หนึ่งในสระน้ำทั้งสี่ กับซุ้มประตูและระเบียงชั้นใน 




หน้าบันของระเบียงคดด้านหน้าสลักเป็นรูปฤาษี สันนิษฐานว่าหมายถึงพระศิวะในปางผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ



กำลังจะผ่านซุ้มประตูกลางเข้าไปยังส่วนด้านใน ในยามที่เกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์สาดส่องบานประตูทั้ง 15 บานของปราสาทหินพนมรุ้งในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ก็หมายถึงเหล่าบานประตูที่เรากำลังจะก้าวผ่านไปนี่แหละ



เดินเข้ามาถึงปรางค์ประธานกันแล้ว  ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน 







Ralphbut

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
Re: รีวิว พนมรุ้ง pantip
« Reply #1 on: May 16, 2014, 07:36:07 AM »
ด้านในเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด เชื่อว่าน่าจะเป็น "ศิวลึงค์" ซึ่งแทนองค์พระศิวะ



จากฐานศิวลึงค์ จะมีร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวลึงค์หรือพระศิวะ  เป็นรางหินทรายต่อจากใต้ฐานศิวลึงค์  ผ่านประตูด้านทิศเหนือของปรางค์ประธานออกมายังลานด้านนอก   ร่องน้ำมนต์นี้เรียกว่า "ช่องโสมสูตร"



ฝั่งนี้เป็นปรางค์ประธานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มองไปจะเห็นซากปรักหักพังของโบราณสถานบางส่วน ซึ่งตรงจุดนี้เรียกว่า "ปราสาทอิฐ



ปราสาทอิฐ" ถูกสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จึงนับเป็นสถาปัตยกรรมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดบนเขาพนมรุ้ง เนื่องด้วยตัวปรางค์ประธานนั้นมีอายุราวๆ พุทธศตวรรษที่ 16 เท่านั้น แสดงว่าปราสาทอิฐน่าจะอยู่มาก่อนที่จะมีการก่อสร้างปรางค์ประธานด้วยซ้ำ



อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เคยได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยกรมศิลปากร ซึ่งใช้วิธีที่เรียกว่า "อนัสติโลซิส" (Anastylosis) คือ รื้อของเดิมลงมาโดยทำรหัสไว้ จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมากลับไปก่อใหม่ที่เดิม โดยใช้วิทยาการสมัยใหม่เข้าช่วย และได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2531 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน