Author Topic: ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น  (Read 8537 times)

mr_a

  • Guest
สมัย ไทโช-โชวะ (Taishō-Shōwa Period)

       ญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นยุคที่ประชาธิปไตยเริ่มเบ่งบาน ภายใต้กระแสของลัทธิจักรวรรดินิยมหรือชาตินิยม ด้วยความแรงของกระแสหลังได้ผลักดันให้ญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามเป็นเวลา 15 ปี นับตั้งแต่ตอนต้นของสมัยโชวะหรือตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 หลังจากการพ่ายในสงครามภาคพื้นแปซิฟิกและเป็นประเทศเดียวที่ถูกทิ้งปรมาณู ญี่ปุ่นได้มุ่งพัฒนาประเทศที่มีอิสระและสันติภาพ
ที่ มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
 
สมัยเมจิ (Meiji Period)    PDF    พิมพ์    อีเมล
สมัยเมจิ (Meiji Period)

       เพื่อ พัฒนาประเทศให้เท่าเทียมกับอารยประเทศทางตะวันตก รัฐบาลได้กำหนดนโยบายหลักไว้ 3 ประการ คือ ร่ำรวยเข้มแข็ง สร้างเสริมอุตสาหกรรม อารยธรรมสมัยใหม่ และได้ปฎิบัติตามนโยบายเหล่านี้ เช่น การบัญญัติรัฐธรรมนูญ การจัดตั้งรัฐสภา การแก้สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม การที่ญี่ปุ่นชนะสงครามกันจีนราชวงศ์แมนจูและรัสเซียนั้น ทำให้เกิดการปฎิวัติอุตสาหกรรมภายในประเทศ ระบบทุนนิยมเติบโตขึ้นจนเริ่มเป็นที่จับตามองบนเวทีระหว่างประเทศ วัฒนธรรมสมัยเมจินั้นเป็นวัฒนธรรมที่หลอมรวมวัฒนธรรมพื้นเมืองของญี่ปุ่นกับ วัฒนธรรมตะวันตกซึ่งขัดกันให้เข้ากันไป
ที่มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
 
สมัยเอะโดะ (Eido Period)    PDF    พิมพ์    อีเมล
สมัยเอะโดะ (Eido Period)

       โทะ คุงะวะ อิเอะยะสุ (Tokugawa Ieyasu) ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน ค.ศ. 1603 และหลังจากนั้นอีก 260 ปี การปกครองทั้ง
หลายก็ตกอยู่ในอำนาจของตระ กูลโทะคุงะวะ รัฐบาลโทะคุงะวะได้ลิดรอนอำนาจจากจักรพรรดิ เชื้อพระวงศ์ และพระสงฆ์จนหมดสิ้น และปกครองเกษตรกรอันเป็นแรงงานค้ำจุนรัฐบาลอย่างเข้มงวดกวดขันโดยทุกอย่าง เข้าสู่สงบสุขหลังจากปิดประเทศโดยโทะคุงะวะ อิเอะมิทสึ (Tokugawa Iemitsu) โชกุนคนที่ 3 เมื่อต้นศตวรรษที่ 17 อย่างไรก็ตามความสงบภายในประเทศ ได้นำความรุ่งเรืองทางการค้าและอุตสาหกรรมมาให้ญี่ปุ่นก็จริง แต่ในที่สุดได้ทำลายระบบพึ่งตนเองของเกษตรกรไปทีละเล็กละน้อย เมื่อเกษตรกรอันเป็นฐานอำนาจของรัฐบาลโทะคุงะวะยากจนเดือด
ร้อน การปกครองของตระกูลโทะคุงะวะก็เริ่มสั่นคลอนลงตั้งแต่เข้าศตวรรษที่ 19
       ยุค นี้เป็นยุคที่วัฒนธรรมของราษฏรสามัญเจริญจนถึงที่สุด ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 จนถึงต้นศตวรรษที่ 18 เป็นยุคของวัฒนธรรม เก็นโระขุ (Genroku) ซึ่งเป็นของนักรบผสมกับราษฎรสามัญ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ อย่างเกียวโต โอซาก้า เอกลักษณ์คือละครหุ่น ละครคะบุขิและหัตถกรรมต่างๆ มีศิลปินกำเนิดจากราษฎรสามัญมากมาย เช่น นักเขียน อย่าง อิฮะระ ไซคะขุ (Ihara Saikaku) นักกลอนไฮขุ อย่าง มะทสึโอะ บะโช (Matsuo Bashou) นักแต่งบทละครหุ่น ละครคุบุขิ อย่าง ชิคะ มะทสึ มงชะเอะมง (Chikamatsu MonZaemon) จนเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 ศูนย์กลางของวัฒนธรรมได้ย้ายไปอยู่เอะโดะ เป็นยุคของวัฒนธรรม คะเซ (Kasei) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชนชาวเมือง อันได้แก่ นวนิยาย ละครคะบุขิ ภาพอุคิโยะ บุงจิง-งะ เป็นต้น
การศึกษาและวิชาการก็เจริญ รุ่งเรือง ชนชั้นนักรบเล่าเรียนปรัชญาของขงจื้อและหลักคำสอน จูจื่อ (Chu Hsi) ซึ่งเป็นปรัชญาพื้นฐานที่ค้ำจุนการปกครองของรัฐบาลโทะ คุงะวะ
       การศึกษาเกี่ยวกับญี่ปุ่นและดัตซ์ (ฮอลันดา) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา มีการเปิดโรงเรียนตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อลูกหลานของชนชั้นนักรบ ราษฎรสามัญเองก็นิยมส่งลูกหลานไปศึกษาวิชาต่างๆ ที่วัด (terakoya)
ที่มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
 
สมัยอะชุฉิ-โมะโมะยะมะ (Azuchi - Momoyama Period)    PDF    พิมพ์    อีเมล
สมัยอะชุฉิ-โมะโมะยะมะ (Azuchi - Momoyama Period)

       เป็นยุคที่ โชกุนชื่อ โอะดะ โนะบุนะงะ (Oda Nobunaga) และโทะ โยะโทะมิ ฮิเดะโยะชิ (Toyotomi Hideyoshi) ได้ปราบปรามไดเมียวหัว เมืองต่างๆ และรวมศูนย์กลาง
อำนาจไว้ได้แต่เพียงผู้เดียว ความสงบภายในประเทศประกอบกับการติดต่อกับต่างประเทศที่มากขึ้น ทำให้เกิดวัฒนธรรมอันหรูหรา อย่างเช่น วัฒนธรรมโมะโมะยะมะ (Momoyama)
ที่มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
 
สมัยมุโระมะฉิ (Muromachi Period)    PDF    พิมพ์    อีเมล
สมัยมุโระมะฉิ (Muromachi Period)

       ครึ่ง หลังของศตวรรษที่ 14 อะชิคะงะ โยะชิมิทสึ ได้ปราบปรามชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบ และตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นอีกครั้งที่เกียวโต ซึ่งรัฐบาลโชกุนนี้ได้ปกครองญี่ปุ่นต่อมาเป็น
เวลานานถึงสองศตวรรษเศษอัน เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบก็ได้กลืน วัฒนธรรมของชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนของตระกูลอะชิคะงะ เกิดจากการรวมตัวของขุนศึกสำคัญๆ ตามหัวเมืองต่างๆ เข้าด้วยกัน จึงเป็นธรรมดาที่การรวบรวมอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพนั้นเป็นไปได้อย่าง ลำบาก ดังนั้นในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 15
เป็นต้นมา ขุนศึกตามหัวเมืองต่างๆ จึงเริ่มทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน จนทั้งประเทศญี่ปุ่นตกเข้าสู่ยุคสงครามภายในยุคนี้เป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมี อำนาจเหนือเกษตรกรและมีกรรมสิทธิเหนือ
ที่ดินจึงเป็นการปกครองระบบ ศักดินาโดยสมบูรณ์ ด้านเศรษฐกิจก็เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากทำการค้ากับจีนสมัยหมิง
       ด้านวัฒนธรรม ลัทธิเซนเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองและชนชั้นนักรบ ซึ่งเห็นรูปแบบได้จากตำหนักทอง (Kinkaku) ในปลายศตวรรษที่ 14 อันเป็นตัว
แทนของวัฒนธรรมคิตะยะมะ (Kitayama) และ ตำหนักเงิน (Ginkaku) ในปลายศตวรรษที่ 15 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ (Higashiyama) การละคร อย่างเช่น โน เคียวเง็น และการต่อเพลง ก็เริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนภายนอก ศิลปะวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นอย่างเช่น พิธีชงชา การจัดดอกไม้ ก็เริ่มมีรากฐานมาจากยุคนี้ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 พวกฝรั่ง เช่น ชาติโปรตุเกสและสเปนก็ได้นำอาวุธปืนยาวและศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ที่ ญี่ปุ่น
ที่มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

mr_a

  • Guest
Re: ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
« Reply #1 on: June 03, 2010, 12:13:59 PM »
สมัย ราชวงศ์เหนือใต้ (Ashikaga Takauji and Yoshino)

       แม้ว่าจักรพรรดิ โกะไดโกะ (Godaigo) จะเป็นผู้โค่นล้มรัฐบาลโชกุนคะมะคุระได้ก็ตามที แต่ก็ได้แตกหักกับแม่ทัพของตน คือ อะชิคะงะ ทะคะอุจิ (Ashikaga Takauji) ซึ่งเป็นต้นเหตุของการแยกราชบัลลังก์เป็นราชวงศ์เหนือที่เกียวโต และราชวงศ์ใต้ ที่โยะชิโนะ (Yoshino) (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดนะระ) ซึ่งเป็นสาเหตุให้นักรบเชื้อพระวงศ์ที่ฝักใฝ่อยู่กับแต่ละฝ่ายรบพุ่งกันมา ตลอด ก่อให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชาชนเพื่อหนีภัยสงคราม จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่นอันแตกต่างกันระหว่างญี่ปุ่น ตะวันออกและญี่ปุ่นตะวันตกหลอมรวมเข้ากันเป็นหนึ่งเดียว
ที่มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
 
สมัยคะมะคุระ หรือ คามาคุระ (Kamakura Period)    PDF    พิมพ์    อีเมล
สมัยคะมะคุระ หรือ คามาคุระ (Kamakura Period)

       เมื่อ มิ นะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ตั้งบะคุฟุ (Bakufu : ที่ว่าราชการรัฐบาลโชกุน) ขึ้นที่คะมะคุระในปลายศตวรรษที่ 12 การปกครองประเทศโดยชนชั้นทหารได้เริ่มมาแต่นั้นมาจนถึงประมาณ 150 ปี โดยช่วงเวลานี้รัฐบาลทหารซึ่งมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ทางฝั่งตะวันออกของ ญี่ปุ่น ได้ทำการต่อสู้กับฝ่ายอำนาจเก่า คือ ราชวงศ์จักรพรรดิและเชื้อพระวงศ์ อันกุมอำนาจอยู่บริเวณภาคตะวันตกอยู่เนืองๆ และได้เริ่มวางรากฐานของระบบศักดินาในญี่ปุ่นขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งในครึ่งหลังศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกลได้รุกรานสู่ญี่ปุ่นโดยเข้าโจมตีภาคเหนือของเกาะคิวชู กองทัพทหารได้ทำการต่อสู้ป้องกันอย่างเข้มแข็ง ประกอบกับภัยธรรมชาติเป็นส่วนช่วยเหลือ ญี่ปุ่นจึงรอดพ้นจากอันตรายมาได้ แต่นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเสื่อมอำนาจในการ
ควบคุมชนชั้นนักรบของ รัฐบาลทหาร
        ส่วนความเจริญทางด้านวัฒนธรรมนั้น วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบได้ก่อกำเนิดขึ้นโดยมีวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองเป็น รากฐาน แต่ยังคงเอกลักษณ์ของชนชั้นนักรบไว้ อัน
ได้แก่ ความมีพลวัตร และการสะท้อน ความเป็นจริงอย่างเรียบง่าย ในด้านศาสนา พุทธศาสนาแบบคะมะคุระก็ได้กำเนิดขึ้นโดยพระเถระผู้มีชื่อเสียง อย่าง โฮ เน็น (Hounen) ชินรัน (Shinran) และ นิฉิเรน (Nichiren) เป็นต้น นักรบฝั่งที่ราบคันโตจะนับถือศาสนาเซนอันได้รับการถ่ายทอดจากจีนแผ่นดินใหญ่ ช้องในศตวรรษที่ 12 เป็นหลัก รูปแบบศิลปะใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ อย่างเช่น ปฎิมากรรมสมัยคะมะคุระตอนต้นนั้น จะมีลายในเส้นที่หนักแน่นมีพลังเหมือนของจริง และแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์ วรรณศิลป์ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ชนชั้นนักรบนิยม เช่น เฮเคะ โมะโนะงะตะริ (Heike Monogatari) ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 13 เป็นผลงานที่ดีที่สุดในจำนวนนิยายเกี่ยวกับการสู้รบ และก็ยังมีหนังสือรวบรวมบทเรียงความเรื่อง โฮโจขิ
(Houjouki) ซิ่งแต่งในศตวรรษที่ 13 และ ทสิเระซุเระงุสะ (Tsurezuregusa) ซึ่งแต่งในศตวรรษที่ 14
ที่มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
 
สมัยเฮอัน (Heian Period)    PDF    พิมพ์    อีเมล
สมัยเฮอัน (Heian Period) ค.ศ.794-1185

       ใน ปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอันเคียว (Heiankyou) หรือ เมืองเกียวโตในปัจจุบัน และมีความพยายามจะนำระบบริทสึเรียว
(Ritsuryou) กลับมาใช้แต่เนื่องจากระบบโคฉิโคมินเสื่อมลง ทำให้บ้านเมืองขาดแคลนเงินทอง จนไม่สามารถส่งฑูตไปจีนได้อีกภายหลังจากที่ส่งไปครั้งสุดท้าย เมื่อปี ค.ศ. 894 ซึ่งเป็นผลให้การรับวัฒนธรรมจากแผ่นดินใหญ่ยุติลงไปด้วย
       ตระกูลฟุ จิวะระ (Fujiwara) เป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจปกครองที่ญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 10-11 และนำเอาระบบการจัดสรรปันส่วนที่ดิน โดยมีการยกเว้นภาษีที่ดินแก่คนบางกลุ่ม (Shoen) มาใช้ แต่การดูแลหัวเมืองในภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงเกิดการจราจรแยกตัวออกไปก่อตั้งตระกูลทหารขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 11 ตระกูลฟุจิวะระถูกขัดขวางโดยฝ่าย อินเซ (Insei : จักรพรรดิผู้ที่ทรงสละราชบัลลังก์แล้วแต่ยังทรงกุมอำนาจอยู่) ขณะที่ทหารเริ่มเข้ามามีบทบาทในการปกครองมากขึ้น
       วัฒนธรรมที่เป็น รูปแบบของญี่ปุ่น โดดเด่นมากในสมัยเฮอันในศตวรรษที่ 9 ญี่ปุ่นยังคงรับวัฒนธรรมของราชวงศ์ถังอยู่ พุทธศาสนานิกายมิคเคียว (Mikkyou) กับการเขียนรูปประโยคแบบจีนแพร่หลายมากพอเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 10 หลังจากที่ญี่ปุ่นไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับภาคพื้นทวีปแล้ว ได้เกิดวัฒนธรรมชั้นสูงที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะของญี่ปุ่นเอง วรรณกรรมที่เด่นในเวลานี้ อาทิ โคะคินวะคะชู (Kokinwakashuu) เป็นหนังสือรวมกวีนิพนธ์เล่มแรกตามพระราชโองการของจักรพรรดิ(ในต้นศตวรรษที่ 11) เกนจิ โมะโนะงะตะริ (Genji Monogatari)
นวนิยาย เรื่องยาวที่เก่าแก่ที่สุดในโลก (ประมาณต้นศตวรรษที่ 11) และ มะคุ ระโนะ โซชิ (makura no soshi) หนังสือข้างหมอน (ประมาณ ค.ศ. 1000) วรรณกรรมเหล่านี้เขียนด้วยตัวอักษร คะนะ (kana) ซึ่งคนญี่ปุ่นคิดประดิษฐ์จากตัวอักษรคันจิ และสามารถใช้เขียนคำศัพท์ญี่ปุ่น เพื่อสื่อความรู้สึกของชาวญี่ปุ่นได้เป็นครั้งแรก อีกทั้งยังนำไปสู่โลกวรรณกรรมสตรีอีกด้วย
        ตั้งแต่ช่วงหลังศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา พุทธศาสนานิกายโจโดะ (Joudo) ซึ่งมุ่งหวังความสุขในชาติหน้าเป็นที่นับถืออย่างแพร่หลาย เช่นเดียวกับนิกายมิคเคียว ที่หวังผล
ประโยชน์เฉพาะในชาตินี้ และเราจะเห็นถึงความมีเอกลักษณ์แบบญี่ปุ่นปรากฎอยู่ในวรรณกรรมกับงานศิลปะ เช่น สถาปัตยกรรม การเขียนภาพ การแกะสลัก เป็นต้น       เมื่อปี ค.ศ. 710 ขณะที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยหลักกฏหมายและจริยธรรม (ritsuryou) ก็ได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ เฮโจเคียว (Heijoukyou) หรือเมืองนะระและบริเวณใกล้เคียงในปัจจุบัน แต่ในเวลาต่อมาก็เริ่มเกิดความวุ่นวายเมื่อระบบโคฉิโคมิน (Kochi-koumin : ระบบที่รัฐบาลกลางครอบครองที่ดินทั้งหมดและปันส่วนให้ขุนนางกับชาวนา โดยที่ชาวนาต้องเสียภาษีที่ดิน) เสื่อมลงเนื่องจากมีที่ดินได้รับยกเว้น ภาษี (Shoen) อยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงความยากจนไร้ที่อยู่อาศัยของชาวนาในสมัยนี้ศาสนาพุทธได้รับการทำนุ บำรุงอย่างดี ทำให้วัฒนธรรมหรือศิลปะทางพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากเริ่มจากวัฒนธรรมอะ สุขะ (Asuka) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมพุทธศาสนาอันดับแรกของญี่ปุ่นในต้น ศตวรรษที่ 7 หรือวัฒนธรรมฮะคุโร (Kakuhou) ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 7 ที่แสดงให้เห็นความทุกข์ยากของมนุษย์จนถึงวัฒนธรรม เท็มเปียว (Tenpyou) ในกลางศตวรรษที่ 8 ที่แสดงถึงความรู้สึกของ
มนุษย์ ที่สมบูรณ์ตามที่เป็นจริง ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ถัง
       มัน โยชู (Man'youshuu) คือ งานชิ้นเอกแห่งยุคซึ่งเป็นการรวบรวมบทกวีของคนทุกระดับชั้นตั้งแต่สามัญชนจน ถึงจักรพรรดิไว้ประมาณ 4.500 บท โดยใช้เวลารวบรวมจนถึงกลางศตวรรษที่ 8 รวมเป็นเวลาถึง 400 ปี ใน มันโยซุ ได้บรรยายความรู้สึกของการใช้ชีวิตอย่างสมถะของคนญี่ปุ่นในสมัยโบราณได้ อย่างตรงไปตรงมา และยังคงเป็นที่ประทับใจของคนญี่ปุ่น
จำนวนมากใน ปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ ยังมี โคะจิขิ(Kojiki) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลาฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ. 712) นิ ฮงโชะชิ (Nihonshoki) ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลาฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ.720) และหนังสือรวมบทกวี ไคฟูโซ (Kaifuusou) ฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ. 751) ซึ่งเป็นครั้งแรกของการรวมบทกวีของนักกวีญี่ปุ่น
ที่ มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
 
สมัยนะระ หรือ นารา (Nara Period)    PDF    พิมพ์    อีเมล
สมัยนะระ หรือ นารา (Nara Period) ค.ศ. 710 - 794

       เมื่อปี ค.ศ. 710 ขณะที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยหลักกฏหมายและจริยธรรม (ritsuryou) ก็ได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ เฮโจเคียว (Heijoukyou) หรือเมืองนะระและบริเวณใกล้เคียงในปัจจุบัน แต่ในเวลาต่อมาก็เริ่มเกิดความวุ่นวายเมื่อระบบโคฉิโคมิน (Kochi-koumin : ระบบที่รัฐบาลกลางครอบครองที่ดินทั้งหมดและปันส่วนให้ขุนนางกับชาวนา โดยที่ชาวนาต้องเสียภาษีที่ดิน) เสื่อมลงเนื่องจากมีที่ดินได้รับยกเว้น ภาษี (Shoen) อยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงความยากจนไร้ที่อยู่อาศัยของชาวนาในสมัยนี้ศาสนาพุทธได้รับการทำนุ บำรุงอย่างดี ทำให้วัฒนธรรมหรือศิลปะทางพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากเริ่มจากวัฒนธรรมอะ สุขะ (Asuka) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมพุทธศาสนาอันดับแรกของญี่ปุ่นในต้น ศตวรรษที่ 7 หรือวัฒนธรรมฮะคุโร (Kakuhou) ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 7 ที่แสดงให้เห็นความทุกข์ยากของมนุษย์จนถึงวัฒนธรรม เท็มเปียว (Tenpyou) ในกลางศตวรรษที่ 8 ที่แสดงถึงความรู้สึกของ
มนุษย์ ที่สมบูรณ์ตามที่เป็นจริง ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ถัง
       มัน โยชู (Man'youshuu) คือ งานชิ้นเอกแห่งยุคซึ่งเป็นการรวบรวมบทกวีของคนทุกระดับชั้นตั้งแต่สามัญชนจน ถึงจักรพรรดิไว้ประมาณ 4.500 บท โดยใช้เวลารวบรวมจนถึงกลางศตวรรษที่ 8 รวมเป็นเวลาถึง 400 ปี ใน มันโยซุ ได้บรรยายความรู้สึกของการใช้ชีวิตอย่างสมถะของคนญี่ปุ่นในสมัยโบราณได้ อย่างตรงไปตรงมา และยังคงเป็นที่ประทับใจของคนญี่ปุ่น
จำนวนมากใน ปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ ยังมี โคะจิขิ(Kojiki) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลาฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ. 712) นิ ฮงโชะชิ (Nihonshoki) ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลาฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ.720) และหนังสือรวมบทกวี ไคฟูโซ (Kaifuusou) ฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ. 751) ซึ่งเป็นครั้งแรกของการรวมบทกวีของนักกวีญี่ปุ่น
ที่ มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
 
สมัยสุสานโบราณ (Kofun Period)    PDF    พิมพ์    อีเมล
สมัยสุสานโบราณ (Kofun Period) ค.ศ. 300-700

       เมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 4 ชนเผ่าอิสระกลุ่มต่างๆ ได้ถูกรวบรวมโดยชนเผ่า ยะมะโตะ (Yamato) ขณะ เดียวกันสุสานที่มีลักษณะพิเศษเป็นรูปกุญแจก็ถูกสร้างขั้นทั่วไป ความรู้ และวิทยาการต่างๆ จากจีนได้หลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากในสมัยนี้ ในศควรรษที่ 4 ชนเผ่ายะมะโตะได้ขึ้นไปคาบสมุทรเกาหลีและรับเอาวัฒนธรรมการผลิดเครื่องใช้ ของภาคพื้นทวีปมา ต่ามาในศตวรรษที่ 5 ชาวเกาหลีได้นำวิทยาการต่างๆ เข้ามาเช่น การผลิตเครื่องโลหะ เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า การถลุงเหล็ก และวิศวกรรมโยธา รวมทั้งมีการเริ่มใช้อักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรของจีนด้วย และเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 6 ลัทธิขงจื้อ กับศาสนาพุทธก็ได้แพร่หลายเข้ามาในญี่ปุ่นเช่นกัน
       ในศตวรรษที่ 7 เจ้าชายโชโทะคะ (Shoutoku) จัดวางระบบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ จักรพรรดิตามแบบราชวงศ์สุยกับราชวงศ์ถึงของจีนได้สำเร็จเมื่อครั้งปฏิรูปการ
ปกครองไท ขะ (Taika) และมีการส่งฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรีจนถึงปลายศตวรรษที่ 9 ถึงสิบกว่าครั้ง
ที่มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

mr_a

  • Guest
Re: ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
« Reply #2 on: June 03, 2010, 12:14:29 PM »
สมัยยะโยะอิ (Yayoi Period) 300 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 300

       เมื่อ ประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล การปลูกข้าวกับวิทยาการการใช้เครื่องใช้โลหะได้ถูกนำเข้ามาทางตอนเหนือของ คิวชู โดยผ่านคาบสมุทรเกาหลี สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคม เช่น การเพิ่มผลผลิต ความแตกต่างระหว่างคนรวยคนจน การแบ่งชนชั้น การปรับกลุ่มชาวนาให้เป็นกลุ่มนักปกครอง เป็นต้น ความเชื่อระเบียบแบบแผนธรรมเนียมปฎิบัติของชาวนาแพร่หลายออกไป จนกลายเป็นต้นแบบทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นสืบไป วัฒนธรรมสมัยยะโยะอิมีความรุ่งเรืองต่อเนื่องจนถึงราวๆ ปี ค.ศ. 300 และในช่วงปลายก็ได้แพร่ขยายจนถึงภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นด้วย
ที่มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
 
สมัยโจมน (Joumon Period)    PDF    พิมพ์    อีเมล
สมัยโจมน (Joumon Period) 8,000 - 300 ปีก่อนคริสตกาล

       ที่ หมุ่เกาะญี่ปุ่นมีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยยุคหินเก่า แต่ก็เชื่อว่าชนชาติญี่ปุ่น และต้นกำเนิดของภาษาญี่ปุ่นได้เกิดขึ้นมาในสมัยโจมน คือ เมื่อประมาณหนึ่งหมื่นปีก่อนจนถึง 300
ปี ก่อนคริศตกาล กล่าวกันว่า ผู้คนในยุคนั้นจะขุดหลุมเป็นบ้าน และอาศัยอยู่กันหลังละเกือบสิบคน ยังชีพโดยการล่าสัตว์ จับปลาหาอาหาร อีกทั้งไม่มีความจนความรวยความเหลื่อมล้ำของชนชั้น
ในสังคมยุคนี้ อย่างไรก็ตามการขุดพบซากหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่ ซันไน มะรุยะมะ (Sannai Maruyama) ในจังหวัดอะโอะโมะริ (Aomori) ทำให้ผู้คนหันมาสนใจในแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ใหม่
ที่มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)