การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น
(GASTROSCOPE,DUODENOSCOPE)
รศ.นพ.อุดม คชินทร
ทางเดินอาหารส่วนต้นซึ่งประกอบด้วยหลอดอาหาร,กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วน ต้น สามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธีการส่องกล้องตรวจ ซึ่งจะสามารถทราบได้ว่ามีความผิดปกติอย่างไร
วัตถุประสงค์ การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น
1.เพื่อวินิจฉัยโรคในหลอดอาหารกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น มีการอักเสบเป็นแผล มีเนื้องอก หรือมีการตีบตันของอวัยวะเหล่านี้
2.เพื่อ รักษาโดยการใส่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆผ่านทางกล้องตรวจ เช่น เครื่องมือขยายหลอดอาหาร อุปกรณ์ฉีดยาหรือรัดหลอดเลือดโป่งพองของหลอดอาหาร และอุปกรณ์สำหรับทำให้เลือดหยุด ในกรณีที่มีแผลเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น
ผู้ใดบ้างที่ควรได้รับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น
ผู้ ที่มีอาการกลืนอาหารลำบาก,กลืนติดหรือกลืนแล้วมีอาการเจ็บ มีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระดำ,มีอาเจียนมากหลังรับประทานอาหาร,มี อาการปวดท้องจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ เป็นๆหายๆอยู่บ่อยๆ หรือ รับประทานยารักษากระเพาะอาหารอักเสบแต่อาการไม่ทุเลาหรือมีน้ำหนักลด ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ
วิธีการตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นด้วยการส่องกล้อง
กล้อง ที่ใช้ตรวจจะมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กปรับโค้งงอได้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ยาว 100 ซม. ที่ปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพและปลายอีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง เพื่อทำการเพื๋อทำการส่งภาพมายังจอภาพ
ขั้นตอนการตรวจด้วยกล้องส่อง
1.ผู้รับการตรวจจะได้รับการพ่นยาชาเฉพาะที่ ภายในลำคอ
2.ผู้รับการตรวจต้องนอนตะแคงซ้าย
3.แพทย์ จะใส่กล้องส่องเข้าทางปากโดยผู้รับการตรวจต้องช่วยกลืนในช่วงแรก ซึ่งจะทำให้การส่องกล้องง่ายขึ้นเมื่อกล้องผ่านเข้ากระเพาะอาหาร แล้วให้หายใจเข้าออกลึกและช้าจะช่วยให้ไม่อึดอัด
การเตรียมก่อนตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น
ผู้ ที่เข้ารับการตรวจควรงดน้ำและอาหาร 6-8 ชม. ก่อนมาตรวจ เป็นการเตรียมกระเพาะอาหารไม่ให้มีเศษอาหาร เพื่อป้องกันการสำลักเศษอาหารลงไปในปอด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปอดอักเสบได้และเพื่อให้ผลการตรวจมีประสิทธิภาพ,ถ้า มีฟันปลอมชนิดถอดได้ควรถอดออกก่อน,ควรมีญาติมาด้วย ถ้ามีโรคประจำตัวหรือแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
การปฏิบัติตัวหลังการส่องกล้องตรวจ
1.นอนพักเพื่อสังเกตอาการผิดปกติประมาณ 1- 2 ชั่วโมง
2.ไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารจนกว่าคอจะหายชา(ประมาณ 45 นาที)
3.สังเกตน้ำลายที่บ้วนออกมาอาจมีเลือดปนเล็กน้อย แต่ถ้ามีเลือดออกมามากผิดปกติให้รีบแจ้งแพทย์หรือพยาบาล
4.หลังจากตรวจอาจมีการเจ็บบริเวณลำคอ
4.1 ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรืออาหารร้อน
4.2 ควรรับประทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อนรสไม่จัด
5.ออกกำลังกายหรือทำงานได้ตามปกติ
6.ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่นมีอาการปวดมากบริเวณ ลำคอ หน้าอก หายใจลำบาก มีไข้สูง ควรรีบไปพบแพทย์
7.ไปพบแพทย์ตามวันและเวลานัด
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาล ธนบุรี โทร 0-24120020 EXT.2005-2007