Author Topic: สิทธิประโยชน์จากกองทุนประสังคมและกองทุนเงินทดแทน  (Read 7129 times)

mr_a

  • Guest
คุ้มครองลูกจ้างกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน 7 กรณี ได้แก่

   1.กรณีเจ็บป่วย

     จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์

     - มีสิทธิเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ

     - มีสิทธิรับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50 % ของค่าจ้าง ตามใบรับรองแพทย์โดยใช้สิทธิลาป่วยกับนายจ้าง        30 วันทำงานต่อปีก่อน

     - มีสิทธิเบิกค่าทันตกรรม (ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน) ครั้งละไม่เกิน 250 บาท ปีละไม่เกิน 500 บาท

     - มีสิทธิเบิกค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ต่างๆ

***เมื่อผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯในกรณีฉุกเฉิน สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่ารักษาฯ ที่เกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่วันเข้ารับการรักษาไม่นับรวมวันหยุดราชการ

    ผู้ป่วยนอก (ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง)

    - ค่ารักษาฯ ไม่เกินครั้งละ 300 บาท

    - ค่าตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการครั้งละไม่เกิน 200 บาท

    - ค่าหัตถการไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง

    ผู้ป่วยใน (ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง)

    - ค่ารักษาฯ ไม่เกินวันละ 2,000 บาท

    - ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท

    - ค่าผ่าตัดใหญ่ไม่เกิน 2 ชม. 8,000 บาท ถ้าเกิน 2 ชม. 14,000 บาทต่อครั้ง

    - ค่ารักษาพยาบาล ICU ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อวัน

    - CT SCAN หรือ MRI ไม่เกิน 4,500 บาท ต่อครั้ง

    อุบัติเหตุ (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)

    - โรงพยาบาลของรัฐ จ่ายค่ารักษาฯไม่เกิน 72 ชม. (ไม่นับรวมวันหยุดราชการ)เท่าที่จ่ายจริง

    - โรงพยาบาลเอกชน จ่ายตามหลักเกณฑ์เดียวกับกรณีฉุดเฉิน

    - เบิกค่าพาหนะกรณีเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่นที่มิใช่สถานพยาบาลตามบัตรฯ

(หมายเหตุ ให้แจ้งสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบโดยเร็วไม่ต้องรอให้ครบ 72 ชม. เพื่อให้สถานพยาบาลตามบัตรฯ รับผิดชอบการรักษาพยาบาลต่อไป)

   2.กรณีคลอดบุตร

    - จ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันคลอด มีสิทธิได้รับคนละ 2 ครั้ง

      ผู้ประกันตนชาย มีสิทธิรับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 12,000 บาทต่อครั้ง

      ผู้ประกันหญิง มีสิทธิรับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 12,000 บาทต่อครั้ง และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่าย ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

   3.กรณีทุพพลภาพ

     จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนดให้เป็นทุพพลภาพ

     - รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงเดือนละไม่เกิน 2,000 บาท

     - รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 บาท ของค่าจ้างตลอดชีวิต

     - ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์

   4.กรณีตาย

    จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือนภายใน 6 เดือน ก่อนวันถึงแก่ความตาย

     - ค่าทำศพ 30,000 บาท แก่ผุ้จัดการศพ

     - เงินสงเคราะห์แก่ทายาท

     5.กรณีสงเคราะห์บุตร

     จ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน รับเงินสงเคราะห์เดือนละ 350 บาท ต่อบุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 2 คน และเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อายุไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์ กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนให้ใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อน หากผู้ประกันตนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ บุตรมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ต่อจนอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์

     6.กรณึชราภาพ

     จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือน จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม มีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

     บำนาญรายเดือน จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน และสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน

     - เดือนละ 15 % ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

     - รับบำนาญแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน ทายาทเป็นผู้รับบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำนาญ

     บำเหน็จชราภาพ จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน และสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน (ออกจากงาน ตาย ทุพพลภาพ)

     - จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จ่ายคืนเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน (เงินสมทบสงเคราะห์บุตรและชราภาพ)

     - จ่ายเงินสมทบ 12 เดือนขึ้นไป จ่ายส่วนของผู้ประกันตนรวมกับส่วนของนายจ้าง พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่กำหนด

     7.กรณีว่างงาน

     - เมื่อตกงานจะได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบเงินทดแทนการขาดรายได้ บริการจัดหางาน และการพัฒนาฝีมือแรงงาน

     - จ่ายเงินสมทบกรณีว่างงานมาแล้ยวไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

     - มีความสามารถในการทำงานและพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้ และไม่ปฎิเสธการฝึกงาน

     - ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ

     - ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39

     - ต้องมีใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

 

                     

 นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนภายใน 30 วัน และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพียงฝ่ายเดียว ปีละ 1 ครั้ง โดยในปีแรกนายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบภายใน 30 วัน สำหรับปีต่อ ๆ ไป จ่ายภายในเดือนมกราคมของทุกปี

    สิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง

     เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ตาย หรือสูญหาย จะได้รับเงินทดแทน ซึ่งประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือนค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ ดังนี้:-

   1.นายจ้างแจ้งการประสบอันตราย ตามแบบ กท.16 ภายใน 15 วัน และใช้แบบ กท.44 ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วนำใบเสร็จมาเบิกค่ารักษาพยาบาล

   2.ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อการเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย 1 ครั้ง หากเกินกว่าสามหมื่นบาท เบิกเพิ่มได้อีกไม่เกิน 5 หมื่นบาท

   3.แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนจำนวน 60 % ของค่าจ้างรายเดือน หากต้องหยุดพักรักษาตัวติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 ปี

   4.กรณีสูญเสียอวัยวะ ได้รับค่าทดแทน 60 % ของค่าจ้างรายเดือนตามประเภทของการสูญเสียอวัยวะ แต่ไม่เกิน 10 ปี และกรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จะได้รับค่าฟื้นฟูเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2 หมื่นบาท และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดไม่เกิน 2 หมื่นบาท

   5.กรณีทุพพลภาพ ได้รับค่าทดแทน 60 % ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี

   6.กรณีตายหรือสูญหาย ได้รับค่าทำศพเป็นเงิน 100 เท่า ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน และค่าทดแทน 60% ของค่าจ้างรายเดือน เป็นเวลา 8 ปี



   ชมคลิปบรรยาย : สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม

   สิทธิประโยชน์ประกันสังคม ปี 2549 (Powerpoint) (589.00 KB)

mr_a

  • Guest
  7 สิทธิประโยชน์ของใช้ผู้ประกันสังคม
 
 
    สำนักงานประกันสังคม มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ไม่เนื่องจากการทำงาน รวมถึงการคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ซึ่งสิทธิต่าง ๆ นี้ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิในแต่ละกรณี ได้แก่
    
1.
กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย ไม่เนื่องจากการทำงานผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
        - สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล
โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่หากเป็นกรณีฉุกเฉินไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลตามบัตรรับรอง
สิทธิได้ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาได้ที่โรงพยาบาลใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ที่สุด และควรให้ญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้ง
โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ให้รับทราบ โดยด่วน สำหรับค่ารักษาพยาบาลผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงแรก
    
2.
กรณีทุพพลภาพ อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
        - ได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือนร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบตลอดชีวิต
- ได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพทางร่างกาย จิตใจและอาชีพ
ตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นไม่เกิน 40,000 บาท
    
3.
กรณีตายอันไม่เนื่องจากการทำงาน ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
        - ผู้จัดการศพ จะได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท
- ทายาทของผู้ตายจะได้รับเงินสงเคราะห์ ดังนี้
        3.1 กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี
ทายาทหรือผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ตายหนึ่งเดือนครึ่ง
        3.2 กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปทายาทหรือผู้มีสิทธิจะได้รับเงิน
สงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ตาย 5 เดือน
    
4.
กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือผู้ประกันตนหญิง
         4.1 ได้รับค่าคลอดบุตร 12,000 บาท
4.2 ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเฉลี่ย
เป็นเวลา 90 วัน
        ผู้ประกันตนชายที่มีภรรยาไม่ได้เป็นผู้ประกันตน
        - ใช้สิทธิได้ 2 ครั้ง โดยจะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายครั้งละ 12,000 บาทแต่ไม่มีสิทธิรับเงิน
สงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา
        - ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้คนละ 2 ครั้ง ซึ่งขอแนะนำให้ผู้ประกันตนใช้สิทธิของภรรยาก่อนเนื่อง
จากจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรด้วยนอกเหนือจากค่าคลอดบุตร 12,000 บาท แต่อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตร แล้วไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก
    
5.
กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
        - ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 350 บาทต่อบุตร 1 คน สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์เบิกได้คราวละไม่เกิน 2 คน
    
6.
กรณีชราภาพ ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
         - เงินบำนาญชราภาพ
- ได้รับเมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตน
สิ้นสุดลงโดยจะได้รับเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต
        - เงินบำเหน็จชราภาพ
- ได้รับเมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้
ประกันตนสิ้นสุดลงหรือเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตายโดยจะได้รับเป็นเงินก้อนครั้งเดียว
    
7.
กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
        - ผู้ประกันตนที่ว่างงานต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานและยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ณ สำนัก
จัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับจากวันแรกที่ว่างงาน
        - ได้รับการจัดหางานให้ใหม่ตามความเหมาะสม
- จะได้รับการฝึกฝีมือแรงงานตามความจำเป็นต่องานใหม่ที่จะได้รับแต่อย่างไรก็ตามการเกิดสิทธิ
ประโยชน์ในกรณี ต่าง ๆ ข้างต้นนั้นยังคงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในแต่ละกรณีด้วย ซึ่งจะแตกต่างกันไปสำนักงานประกันสังคมจึงอยากเน้นย้ำผู้ประกันตนควรศึกษาสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนพึงจะได้รับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมเองก็ได้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์อย่างสูงสุดอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกันตนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อทางระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติให้บริการทุกวันตลอด24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรงให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00–19.00 น.หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.sso.go.th
    

mr_a

  • Guest
นาย เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ว่าสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เตรียมเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนใน 6 เรื่อง ดังนี้

1.เพิ่มค่าคลอดบุตรจากครั้งละ 12,000 บาท เป็น 13,000 บาท
2.เงินสงเคราะห์บุตรจากรายละ 350 บาท เป็น 400 บาท
3.ค่าทันตกรรมจากครั้งละไม่เกิน 250 บาท ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง หรือ 500 บาท เป็นครั้งละ 300 บาท หรือปีละไม่เกิน 600 บาท
4.สิทธิในการให้บริการใส่รากฟันเทียม
5.เพิ่มสิทธิในกรณีรักษาโรคจิต
6.เพิ่มค่ารักษากรณีทุพพลภาพ จากเดือนละไม่เกิน 2,000 บาท เป็น 4,000 บาท
นายเฉลิมชัย กล่าวว่า ได้สั่งการให้ สปส.พยายามทำให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงบริการให้มากที่สุด โดยดำเนินการจัดตั้ง “เคาเตอร์เซอร์วิส” ในสถานประกอบการ และได้ขอความร่วมมือให้ส่งบุคลากรมาร่วมอบรม เพื่อให้