Author Topic: ก่อนซื้อ LCD ต้องดูอะไรบ้า  (Read 6659 times)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
ก่อนซื้อ LCD ต้องดูอะไรบ้าง (อ่าน 3781/ตอบ 0)
ก่อนซื้อ LCD ต้องดูอะไรบ้าง
LCD มีคุณสมบัติ 2 ประเภทครับ คือที่ระบุเป็นตัวเลขได้  และระบุเป็นตัวเลขไม่ได้
คุณสมบัติที่เป็นตัวเลข - ที่สำคัญ - resolution , contrast ratio , response time
ความละเอียด ( resolution)
ความละเอียด ( resolution) หมายถึงจำนวนจุดของในการแสดงภาพ LCD     
ปัจจุบันขั้นต่ำจะอยู่ที่ 1388X 768  ถ้าต่ำกว่านี้อย่าซื้อครับของตกรุ่นแน่นอน  ยิ่งมากยิ่งแพง  ซึ่งความละเอียดขนาดนี้จะทำให้ใช้กับ HD ได้ที่ 1080i และ 720 P ซึ่งเป็นความละเอียดสูงปานกลาง  สูงกว่า DVD ทั่วไปแต่ต่ำกว่า HD-DVD
หากต้องการความละเอียดสูงสุด ปัจจุบันอยู่ที่ 1920 X 1080 ซึ่งแสดวผลได้แบบละเอียดที่สุดแต่จะต้องใช้กับ  HD-DVD player หรือ Media Player เฉพาะรุ่น  เวลาซื้อ  ไม่ต้องสนใจว่าที่โฆษณา เป็น HD-Ready  Full HD   HD-LCD  Native-HD  ให้ดูตัวเลขเป็นหลัก ครับ  เพราะเคยเจอจอ CRT โฆษณาว่า HD Ready แต่ความละเอียดต่ำก็มีครับ
ข้อคิดในการดูความละเอียด - ตอนนี้คงอยู่ระหว่างจะเอาแบบ 1388 x 768(HD) ดี หรือ 1920X1080 (FULL HD)ดี
ถ้าซื้อ FULL HD - แน่ใจว่าคุณมี source ที่จะดูได้แบบ FULL HD  หากมี FULL HD แต่เอามาเปิดดู TV , DVD ธรรมดา ผมว่าเราไม่ได้ใช้ส่วนที่มันดีขึ้นมาเลยครับ  ใช้ HD ธรรมดาก็เกินพอ
จริงอยู่ภาพที่แสดงอาจจะละเอียดขึ้น  แต่ก็มาจากต้นทางที่มีความหยาบ  เราจึงได้ดูภาพที่หยาบบนจอที่ละเอียดครับในราคาต่างกันเยอะ  เอาไว้ตอนที่มีแผ่น HD เครื่องเล่น HD ออกมามากๆแล้วค่อยซือ  ตอนนั้นราคาก็ถูกลงเยอะแล้ว  ไม่ต้องซื้อรอ HD ครับ สินค้าเทคโนโลยีซื้อมารอก็ขาดทุนสถานเดียว
ในเวลาซัก 2 ปีผมมั่นใจว่าคงกลายเป็นแบบ 1920X1080 หมด ตอนนี้ผู้ผลิตรอให้เกิด critical mass สำหรับ economy of scale แล้วราคาก็จะลดลง

 

 Contrast Ratio
ความเปรียบต่าง( Contrast Ratio - ที่เป็นจุดขายที่ sale ท่องไว้ขึ้นใจตอนนี้) หมายถึงอัตราส่วนความต่างระหว่างจุดมืดสุดกับจุดสว่างสุดว่าต่างกันกี่เท่ามีวัดกัน สองแบบคือ   
Typical ,Native : คือวัดโดยไม่ส่นใจ Backlight (เพราะว่า Backlight มีผลกับความสว่างสูงสุด) เพราะปกติความสว่างของจุดภาพนั้นมาจากความสว่างของจุดภาพ+ความสว่างของ Backlight  การวัดแบบนี้คือเอาเฉพาะความสว่างจุดภาพเพียวๆมาคิด
Dynamic : คือวัดจุดมืดสุดเมื่อ Backlight ต่ำสุด และวัดจุดสว่างสุดตอน Backlight สว่างสุด 
ความเปรียบต่างมีผลต่อผู้ชมอย่างไร ตัวอย่างเช่น LCD มี contrast ratio = 500 หมายความว่า  หากคุณดูหนังแบบฟิล์มนัวร์ หรือหนังที่มีเงามืดเยอะ
( หรือถ้านึกไม่ออกก็นี่ครับBatman )  ถ้ามีการเล่นแสงเงา  สมมุติว่าพระเอกส่องดูเพชรในความมืด  จุดที่มืดสุดแน่นอนว่ามีความสว่างเท่ากับ 0 แต่จุดสว่างบริเวณที่เพชรมีแสงประกายออกมานั้นมีความสว่างตั้งแต่ 450 ไล่ไปเรื่อยๆไปจนถึง  700   ถ้าจอมี contrast ต่ำก็จะว่าเพชรมีความสว่างแค่ 450-500 ที่เลยไปกว่านั้นก็จะเห็นเป็นแถบสว่างปื้นเดียวหมือนกันหมด  (saturated)เพราะจอแสดงได้แค่ 500จากเพชรน้ำเอกก็จะกลายเป็นเพชรรัสเซีย  แต่โดยปกติถ้าเป็นหนังทั่วไปอัตราความเปรียบต่างของภาพจะไม่ต่างกันมากขนาดนี้  ทั่วไปอยู่ที่ซัก 300-400  เพราะความเปรียบต่างคือความแตกต่างระหว่างจุดที่สว่างจ้า กับจุดมืดสนิท  มีน้อยมากครับที่ใครจะทำหนังให้มีภาพแบบนี้ไปตลอดเรื่อง  ดูแล้วปวดตา
ข้อคิดในการดู Contrast
สำหรับส่วนตัวผม Native Contrast แค่ 500!  ก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ  อันนี้ต้องดูด้วยตาประกอบด้วย   เพราะตัวเลขนั้นบางที  ปั้นมาหลอกกันได้   ผมเคยเจอจอภาพ  contrast 400  ที่ดูดีกว่า contast  1200 ก็มีครับ  เนื่องจากการดู Contrast นั้นมีองค์ประกอบมากกว่าดูแค่ตัวเลข คือ
1. การปรับ Brightness ของจอในขณะนั้น
2.การปรับ Contast ของจอในขณะนั้น
3.การปรับ Backlight ในขณะนั้น
4.แสงรบกวนรอบข้าง
5.การปรับที่ Source -หนังที่ดู  และ ตัว DVD Player  กรณีที่เอาหนังมาเปิดดู
ดังนั้น จอ 2 จอ หากองค์ประกอบทั้ง 4 ไม่เหมือนกัน  ยาก ที่จะบอกว่าตัวไหนดีกว่าตัวไหน    ถ้าเอาจอมาเทียบกันการปรับเพื่อให้อีกตัวนึงแย่กว่าทำได้ง่ายมาก
เราควรทำอย่างไรดี
อย่ากังวลกับตัวเลขมาก  ผมเชื่อว่าด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันค่า Contrast ไม่ต่างกันมากนัก   หากอยากซื้อจริงให้เอาแผ่นแนวมืดๆไปลองดู  และลองปรับดูว่า ว่าตอนที่มีฉากมืดๆนั้น ความกลมกลืนของแสงกับรายละเอียดในที่มืดและที่สว่างนั้นเป็นอย่างไร  เช่นผิวเนื้อ  รอยยับของเสื้อผ้า  ถ้ามีของประกอบฉากที่มี texture เช่นเชือก ตาข่าย ผิวไม่  พวกนี้จะช่วยให้ดูง่ายขึ้น ถ้าเป็นปื้นไปหมด   ตัวเลข Contrast สูงเท่าไหร่ก็ไม่ work  สุดท้ายตัดสินด้วยตามากว่าตัวเลขครับ 
โดยทั่วไปการลดปัญหาของ Contrast  Ration ต่ำ ก็คือลด  Brightness ลง เพื่อให้ภาพเข้าไปอยู่ในโซนที่มีการ saturate ให้น้อยที่สุด
ปัญหาอีกประการของ LCDที่กวนใจมากคือ  จุดที่มืดแต่มันไม่มืดมีแสงสว่างเรื่อๆอยู่  อันนี้มีสาเหตุหลักคือ Back Light ครับ  เพราะ LCD บางรุ่น Contrast ไม่มาก
แต่อาศัยเปิด Back light ให้มากเพื่อจะได้ดูสว่างเจิดจ้า   ซึ่งทำให้จุดมืดมันไม่มืด  เพราะความสว่างของจุดภาพนั้นมาจากความสว่างของจุดภาพ+ความสว่างของ Back Light (ที่มันเล็ดลอดออกมา)ดังนั้นหากจุดภาพนั้นมืดสนิท(0) แต่ดันเปิด Back lightไว้(ที่มีแสงเล็ดลอดออกมา)= 20  ภาพทีเห็นก็จะเท่ากับ (0+20) มันเลยไม่ยอมมืด
ให้ลองลด Backlight จนภาพมืดสนิทดี  หลังจากนั้นค่อยเปิดหนังดู  หากรู้สึกว่ามันทึมๆไม่สว่าง   ก็แสดงว่าจอนั้นไม่ Work ครับ
ส่วนสาเหตุอีกอันที่คนมองข้ามคือแผ่นที่เปิดกับเครื่อง DVD ครับ DVD Player บางรุ่นถูกตั้งค่ามาให้สว่าง  พอช่วงที่ภาพมันมืด   DVD ก็ยังส่งสัญญาณภาพมาว่ามีแสงสว่างอยู่นี๊ซซซนึง  ปรับที่จอเท่าไหร่ก็ไม่หาย   เจอบ่อยเสียด้วย
DVD บางแผ่น โดยเฉพาะ concert  โดยส่วนใหญ่ภาพมันไม่มืดจริงครับ  ภาพที่เราเห็นว่ามีแสงเรื่อก็เพราะต้นทางมันมีแสงเรื่อมาตั้งแต่แรก
ถามว่าทำไมดูบน CRT แล้วมันมืดแต่ดูใน LCD แล้วไม่มืด   นั่นก็เป็นเพราะลักษณะการแสดงภาพของจุดภาพ CRT  (โดยย่อ แสงจาก CRT นั้นมีทิศทางพุ่งเข้าสู่ตาเราสูงกว่า LCD ที่แสงมีการกระจายตัว)นั้นมีความสว่างจ้ามากกว่า LCD ครับ  เวลาจุดภาพที่แสดงไกล้กันอีกอันสว่างจ้าจะทำให้อีกจุดภาพที่แสงน้อยกว่ามากจะดูมืดกว่าปกติครับ   ลองมองดูไฟฉายตรงๆสิครับ   หน้ามืดมองอะไรไม่เห็นไปเลย

 

Response time - เวลาทีจุดภาพใช้ในการปิด-เปิดให้แสงผ่าน
    
LCD แสดงผลโดยอาศัยการบิดตัวของผลึกเหลว  ที่จะให้แสงผ่านมาก-น้อยตามองศาการบิด คล้ายกับม่านที่ใช้ใน office ที่ มีม่านเป็นแถบ(Blind)แล้วบิดเพื่อบังตาได้ครับ    
ซึ่งในการบิดตัวนั้นแต่ละครังก็จะต้องใช้เวลาอยู่ค่านึง  ค่านี้เรียกว่า response timeค่านี้จะเป็นตัวที่บอกว่า  จุดภาพจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันกับความเคลื่อนไหวของภาพหรือไม่
เช่นพระเอกจุดเทียนอยู่ในความมืด (อีกแล้วครับท่าน) พอดีผีกำลังมาเลยมีลมกรรโชกทำให้เทียนดับอย่างฉับพลัน(ถ้าเป็นในโรงจะทำให้แฟนคุณตกใจสะดุ้งโผเข้าหาคุณ ทันทีคุณอาจใช้จังหวะนี้หอมแก้มเธอได้ 1 ครั้ง)  แต่ภาพในจอมันไม่ดับทันทีครับ  ยังมีเงารางๆของเปลวเทียนอยู่ (เพราะว่าจุดภาพที่แสดงเปลวเทียน
มันบิดตัวไม่ทัน  ในระหว่างทีมันบิดตัวอยู่ก็ทำให้มันมีแสงลอดออกมาได้)  ค่านี้สำคัญเพราะว่าเวลาคุณดูหนังภาพมันจะเปลี่ยนตลอดเวลา  หาก Response Time สูงก็มักจะมีเงารางๆของภาพเดิมปรากฏอยู่เรื่อยๆที่เรียกว่า ghosting ดูแล้วจะรำคาญมาก   
ให้สังเกตุง่ายในการดูกีฬาเช่นเทนนิส หรือฟุตบอล  หาก response time สูง ลูกเทนนิสเวลาเคลื่อนที่มักจะเเป็นแถบขาวไล่หลัง(tailing) แต่ต้องดูเทียบกับเครื่องอื่นด้วยนะครับ
เพราะบางทีภาพมันยืดมาจากสถานีหรือ DVD ก็มี   โดยส่วนตัวผมไม่สามารถอดทนดูได้เลยครับ  ที่ทำงานผมมี Plasma 42. รุ่น 2 ปีที่แล้ว ที่ดูเทนนิสทีไรปวดหัวตลอดก็เพราะเจ้า response time นี่แหละ
ค่า response time ยิ่งต่ำยิ่งดี   แต่ถ้า response time ตั้งแต่ 12 ms ลงมา  ตาผมไม่สามารถแยกแยะได้เลยครับ  คือ 12 ms กับ 5 ms ผมก็ไม่เห็นเงาปรากฎเหมือนกัน  สำหรับผมถ้าจอที่ response time แค่ 6 ms แต่แพงกว่าจอ 10 ms ผมก็ซื้อ10 ms ครับเพราะผมมองไม่ออก ไม่รู้จ่ายแพงทำไม
อย่างที่ผมบอกสุดท้ายตัดสินด้วยตาครับ เอาแผ่นที่มีการเคลื่อนที่เร็วและมีความเปลี่ยนแปลงความสว่างเร็ว เช่นติดดับในทันที  จะมองเห็นชัดครับ  อย่าลืมว่าตัวเลขปั้นได้

 

คุณสมบัติที่ไม่เป็นตัวเลข
    
LCD มีคุณสมบัติหลายอย่างที่เป็นเชิงคุณภาพ (Qualitative) ไม่สามารถนับเป็นตัวเลขได้ ที่สำคัญได้แก่   
การลดสัญญาณรบกวน (Noise Reduction)
เนื่องจาก LCD มีความละเอียดสูงกว่า TVทั่วไปประมาณ 4 เท่า  ดังนั้นเวลาแสดงผลจึงขยายสัญญาณรบกวนออกไป 4 เท่าด้วยในสัดส่วนที่เท่ากัน  แต่ทีนี้มนุษย์เรามีความอดทนต่อ Noiseจำกัด  เช่น Noise 100 จุดก็เฉยๆเพราะไม่มีนัยสำคัญ  แจ่ถ้า Noise มากกว่า 300 จุด  อาจจะรู้สึกรำคาญและทนไม่ได้  เพราะมันเริ่มเห็นชัดขึ้นโดยไม่คำนึงว่าภาพนั้นจะใหญ่หรือเล็ก
ปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนมีผลน้อยมากกับการดู DVD (ผ่านช่อง Component หรือ HDMI) เพราะไม่ค่อยมี Noise ซึ่งเมื่อขยายแล้วก็ยังถือว่าน้อยแต่จะเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับการรับชม TV  เพราะสัญญาณ TV นั้น Noise เยอะอยู่แล้วพอมาโดนขยายเข้าเลยยิ่งแย่ไปอีก  ใครเอา LCD  ไปดู TV แล้วหวังว่าจะเนียนเหมือน DVD เลยผิดหวังมากมากๆๆๆๆๆๆ
โดยทั่วไป TV ทุกยี่ห้อก็มีเรื่อง Noise Reduction มาด้วย  ดีบ้าง  ธรรมดาบ้าง  แต่ที่ผมเคยเห็นว่าดีมากๆคือ Pixel Plus ของ PHILIPS ครับ  เขาชำนาญมาตั้งแต่สมัยจอ CRTภาพชัดกิ๊ก Noise แทบไม่มี  ตอนเป็น CRT ก็ราคาแพงมากกครับ 29" สมัยก่อนผมซื้อมา 69900 ถ้วน  แต่คุ้มครับปัจจับันยังไม่เห็นว่ารุ่นไหนกินกันลง เข้าใจว่า LCDของเขาปัจจุบันรุ่นแพงก็น่าจะมีเทคโนโลยีนี้ด้วย
ถ้าซื้อไปดู TVเป็นหลัก ตัวนี้สำคัญมากครับเพราะเป็นตัวกระตุ้นต่อมรำคาญที่มีประสิทธิภาพมาก  อันนี้เวลาซื้อให้ลองดูแล้วเทียบกันครับ   แต่ในห้างบางที่ถ้าตอนที่ทดสอบสัญญาณโทรทัศน์มันไม่ดีมาก  เช่นภาพล้มหรือ Noise เยอะเกินไป   ให้ Noise Reduction ดียังไงก็ดูไม่ออกครับ  เพราะผลออกมาห่วยพอกัน  เลยไม่รู้ว่ายี่ห้อไหนดีกว่า
ผมเคยลองซื้อ TV reciever ที่ให้ Output ออกมาเป็น DB-15 ที่ ความละเอียดสูงแล้วส่งเข้า LCD ผลออกมาภาพดีขึ้น  เนียนขึ้นเยอะ Noise ก็หายไป  แต่สีไม่สวยครับ  เลยถอดออกใช้ภาครับของ LCD เหมือนเดิม
ข้อแนะนำสำหรับคนที่นำไปดู TV คือ เนื่องจาก LCD ไวกับ Noise เป็นพิเศษ  เราอาจจะต้องช่วยมันหน่อย โดยการทำความสะอาดขั้วต่อสายอากาศทั้งหลายก่อนเข้าเครื่อง  หรือใช้บูสเตอร์ขยายสัญญาณโทรทัศน์ให้สูงขึ้นกว่า Noise มากๆ   Noise ก็จะลดลงได้มากพอสมควร

 

ความกลมกลืนของของสีทั่วทั้งจอภาพ
อันนี้ต้องดูเวลาจอภาพแสดงสีใดสีหนึ่งทั้งจอแล้วสีมันสม่ำเสมอหรือเปล่า    ลองดูที่ สีขาวเป็นหลักก่อนครับ  ถ้าบางที่ขาว  บางที่เทา   อันนี้มีปัญหาครับ   
ความกลมกลืนของสี
ดูว่าเวลาไล่สีนั้นกลมกลืนหรือไม่  เพราะบางทีการตอบสนองของสีไม่เป็นเชิงเส้น  แทนที่สีจะค่อยๆเข้ม  แต่สีกระโดดออกมาเข้มมากกว่าปกติเป็นบางช่วง เอาหนังที่มีฉากคุ้นตาไปทดสอบดูจะช่วยได้ครับ
ความคมชัดของภาพ
อันนี้จะขึ้นอยู่กับการประมวลผลภาพก่อนที่จะฉายขึ้นจอด้วย Digital Processing (ง่ายๆ ก็นึกถึงโปรแกรม photoshop)  ว่าจะให้คมจะให้สว่าง  ลบรอยตีนกา  ทำจั๊กกะแร้ให้ขาว ก็ขึ้นอยู่กับความชอบแต่ละยี่ห้อก็มีเทคนิคของตัวเองให้ภาพดูดึงดูดใจผู้ซื้อ
คุณภาพของภาพหลังจากผ่านการขยาย
ถ้าคุณไม่ได้ใช้ Source ของสัญญาณที่เป็น HD จริงๆ  ภาพที่แสดงจะเป็นภาพผ่านการขยายทั้งสิ้น เพราะทั้ง DVD และ TV ต่างก็มีความละเอียดต่ำกว่า LCD และมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน ดังนั้นขึ้นอยู่กับกับตัวประมวลผลในการขยาย ภาพของ LCD ว่าจะทำได้ดีหรือไม่ ถ้าทำแบบทื่อๆเลย  ภาพก็จะเป็นหยักๆ  โดยเฉพาะเส้นโค้งต่างๆ   แต่ถ้าตัวประมวลผลดีก็จะมีการเกลี่ยสีให้ดูกลมกลืน
แต่..... ที่สำคัญ  DVD Player ก็มีส่วนสำคัญครับเพราะDVD บางตัวให้ภาพที่มีรอยหยักมาตั้งแต่ต้น    ซึ่งกรณีนี้ Processcor ใน LCD ก็ช่วยไม่ได้  ขอเน้นเป็นพิเศษว่าเวลาทดสอบดูพยายามเลือก DVD รุ่นที่ดีที่สุดมาลองดูครับ  จะได้ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง 
ส่วนจะลองยังไงได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านว่าจะอำนวยความสะดวกคุณหรือเปล่า   บางที่เขาก็รำคาญเอาได้

 

สิ่งที่น่าจะดูอีกอย่างนึงคือเรื่อง Input ของภาพที่รับได้ครับ
ดังที่ทราบกันว่าสัญญาณภาพแบบ HD นั้นแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ   
720p คือ สัญญาณภาพความละเอียด 1280x720 แบบ Progressive
1080i คือ สัญญาณภาพความละเอียด 1920x1080 แบบ Interlace
1080p คือ สัญญาณภาพความละเอียด 1920x1080 แบบ Progressive
ซึ่งมาตรฐานของภาพใน Format รุ่นใหม่ คือ HDDVD และ Blue-ray disc
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ส่งสัญญาณภาพได้สูงถึง 1080p
ในขณะที่ LCD TV บางรุ่น ถึงแม้ว่าจะมีความละเอียดเป็น 1920x1080
แต่ก็ไม่สามารถรับภาพแบบ 1080p โดยตรงได้ รับได้สูงสุดแค่ 1080i
ทำให้สูญเสียโอกาสในการรับชมภาพที่ดีกว่า
จึงควรศึกษาให้แน่ชัดก่อนว่า LCD TV เครื่องนั้น สามารถรับภาพแบบ 1080p โดนตรงได้หรือไม่ครับ
อย่างไรก็ตาม หากท่านไปถามคนขายว่า LCD (ที่เป็น 1920x1080) รุ่นนี้รับ 1080p ได้หรือเปล่า
เขาก็จะตอบว่ารับได้ครับ ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะทีวีบางยี่ห้อ โฆษณาว่าตัวเองเป็น 1080p
ในที่นี้คือแสดงภาพแบบ 1080p ครับ
ต้องเรียนให้ทราบก่อนว่า ระบบการแสดงภาพของ LCD มันเป็นแบบ Progressive อยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นถ้าท่าน Input ภาพแบบ 1080i เข้าไป มันก็จะแสดงภาพแบบ 1080p
ซึ่งเป็นจากการ Upscale ไม่ใช่จาก Native ของภาพครับ
วิธีการที่ดีที่สุดจึงควรทดลองครับ โดยการต่อกับ DVD ที่สามารถ Upscale ได้ถึง 1080p
แต่ DVD ดังกล่าวก็ค่อนข้่างหาได้ยาก การหาความรู้จากในเนตเอาก็ง่ายดีครับ