ารปฏิบัติทางด้านกฎหมายเมื่อมาถึงญี่ปุ่น
ขั้น ตอนด้านกฎหมาย
เมื่อมา ถึงญี่ปุ่น ทำบัตรประจำตัวคนต่างชาติ (ภายใน 90 วัน นับจากวันที่มาถึงญี่ปุ่น ณ ที่ว่าการเขต)
เมื่อ อยู่ครบ 6 เดือน ยื่นใบคำร้องขอต่ออายุ วีซ่า (ที่สำนักกองครวจคนเข้าเมือง)
ทำบัตรประจำตัวคนต่างชาติ (ภายใน 14 วัน หลังต่ออายุวีซ่าแล้ว ณ ที่ว่าการเขตหรือเทศบาล)
กรณีที่เรียนต่อ ยื่นใบคำร้องขอเปลี่ยประเภทวีซ่า (ที่สำนักกองตรวจคนเข้าเมือง)
ยื่นใบคำร้องขอต่อวีซ่า (ที่สำนักกองตรวจคนเข้าเมือง)
ทำบัตรประจำตัวคนต่างชาติใหม่ (ภายใน 14 วัน หลังเปลี่ยนหรือต่อวีซ่าแล้ว ณ ที่ว่าการเขตหรือเทศบาล)
กรณีจะทำ งานพิเศษ ยิ่นใบคำร้องขออนุญาตทำงานพิเศษ (ที่สำนักกองตรวจคนเข้าเมือง)
กรณีย้ายที่อยู่ ทำบัตรประจำตัวสำหรับคนต่างชาติใหม่ (ภายใน 14 วันหลังย้ายที่อยู่ ณ ที่ว่าการเขตหรือเทศบาล)
กรณีขอกลับประเทศชั่ว คราว ยื่นใบคำร้องขอเข้าเมืองใหม่ (ที่สำนักกองตรวจคนเข้าเมือง)
กรณีจะทำงาน
ยื่นใบคำร้องขอเปลี่ยนประเภทวีซ่า (ที่สำนักกองตรวจคนเข้าเมือง)
ยื่นใบคำร้องขอต่อวีซ่า (ที่สำนักกองตรวจคนเข้าเมือง)
ทำบัตรประจำตัวคนต่างชาติใหม่ (ภายใน 14 วันหลังย้ายที่อยู่ ณ ที่ว่าการเขตหรือเทศบาล)
กรณีจะกลับประเทศ คืนบัตรประจำตัวคนต่างชาติ (ที่สนามบินหรือท่าเรือที่จะเดินทางออกญี่ปุ่น)
การ ดำเนินการขอลงทะเบียนคนต่างชาติ
คนต่างชาติที่พำนักในญี่ปุ่นเกิน 90 วัน จะต้องลงทะเบียนคนต่างชาติ เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วที่ว่าการเขตจะออกบัตรประจำตัวคนต่างชาติรับรอง การลงทะเบียนให้ บัตรประจำตัวคนต่างชาตินี้เป็นเอกสารที่จำเป็นต้องให้ชในโอกาสต่างๆและถือ เป็นหน้าที่ที่จะต้องพกติดตัวตลอดเวลา
การลงทะเบียนคนตางชาติ จะทำ ณ ที่ว่าการเขตที่เราอาศัยอยู่
การ ลงทะเบียนครั้งแรกเมื่อมาถึงญี่ปุ่น
ระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้อง-ภายใน 90 วัน นับจากวันที่มาถึง สิ่งที่ต้องนำไป - พาสปอร์ตและรูป 2 ใบ บัตรจะเสร็จหลังจากที่ยื่นเรื่องประมาณ 2 สัปดาห์ ในการรับบัตรต้องนำพาสปอร์ตไปแสดงด้วย
การ ต่ออายุบัตรประจำตัวคนต่างชาติ
ช่องสีแดงในบัตรประจำตัวคนต่างชาติ จะบอกระยะเวลาที่ต้องต่ออายุบัตรไว้ เมื่อถือช่วงนั้นจะต้องยื่นเรื่อง เพื่อขอต่ออายุบัตรระยะเวลาที่ต้องยื่นเรื่อง - ภายในระยะเวลาเขียนไว้บนบัตร สิ่งที่ต้องนำไป - บัตรประจำตัวคนต่างชาติ พาสปอร์ดและรูป 2 ใบ
** รูปถ่าย ** ขนาด 4.5 x 3.5 ซม. รูปเดี่ยว ถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก และเป็นรูปที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน เป็นรุปที่ชัด จะเป็นสีหรือขาวดำก็ได้ เราสามารถถ่ายรูปที่กองตรวจคนเข้าเมือง หรือสำนักงานสาขาของกองตรวจคนเข้าเมืองได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
การเปลี่ยนประเภทหรือต่ออายุวีซ่า
เมื่อได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนประเภท หรือต่ออายุวีซ่าจากสำนักกองตรวจคนเข้าเมืองจะต้องแจ้งต่อที่ว่าการเขต ระยะเวลา - ภายใน 14 วันหลังได้รับอนุญาตจากสำนักกองตรวจคนเข้าเมือง สิ่งที่ต้องนำไป - พาสปอร์ตหรือใบรับรองจากสำนักกองตรวจคนเข้าเมือง สิ่งที่ต้องนำไป - พาสปอร์ตหรือใบรับรองจากสำนักกองตรวจคนเข้าเมือง บัตรประจำตัวคนต่างชาติ
เมื่อข้อมูลที่ ให้ไว้ในการลงทะเบียนคนต่างชาติมีการเปลี่ยนแปลง
เมื่อเปลี่ยนแปลงที่อยู่
แจ้งต่อที่ว่าการเขตของที่อยู่ใหม่ แม้ว่าที่อยู่ใหม่จะอยู่ในเขตเดิม ก็ต้องแจ้งเช่นกัน ระยะเวลา-ภายใน 14 วันหลังย้ายเข้าที่อยู่ใหม่สิ่งที่ต้องนำไป-บัตรประจำตัวคนต่างชาติ
เมื่อเปลี่ยนอาชีพหรือเปลี่ยนที่ทำงาน
ระยะเวลา-ภายใน 14 วันหลังเปลี่ยนอาชีพหรือเปลี่ยนที่ทำงาน สิ่งที่ต้องนำไป - ใบรับรองจากบริษัทใหม่ซึ่งระบุชื่อและที่อยู่ของบริษัทใหม่ไว้ด้วยและบัตร ประจำตัวคนต่างชาติ
นอกจากนี้หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือที่อยู่ในประเทศของตน หรือเมื่อได้รับพาสปอร์ตเล่มใหม่ก็ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลง ณ ที่ว่าการเขตด้วยเพื่อเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ไว้
เมื่อ ต้องการหนังสือรับรองการลงทะเบียนคนต่างชาติ
หนังสือรับรองการลงทะเบียนคนต่างชาติเป็นหนังสือแสดงรายละเอียดที่ลง ทะเบียนเอาไว้ บางครั้งอาจต้องใช้ยื่นแสดงต่อสถานศึกษาหรือสำนักกองตรวจคนเข้าเมือง สิ่งที่ต้องใช้ในการขอ - บัตรลงทะเบียนคนต่างชาติ ในกรณีที่ให้ผู้อื่นไปทำเรื่องแทน ผู้ที่ไปทำเรื่องแทนต้องนำใบมอบฉันทะและบัตรแสดงตนของผู้ขอไปด้วย ค่าธรรมเนียม - ฉบับละ 200 เยน
เมื่อจะ ออกนอกประเทศ
เมื่อจะออกจากประเทศญี่ปุ่นจะต้องคืนบัตรประจำตัวคนต่างชาติที่สนาม บินหรือท่าเรือที่จะออก แต่กรณีที่จะออกไปชั่วคราวแล้วจะกลับเข้ามาใหม่ให้นำติดตัวไปด้วยแต่กรณีนี้ จะ
ต้องไม่ลืมทำเรื่องขอกลับเข้ามาใหม่ (Re-entry) ก่อนเดินทาง
ข้อปฎิบัติเรื่องวีซ่า
การขอต่ออายุวีซ่า
เมื่อประสงค์จะอยู่ญี่ปุ่นต่อระยะเวลายื่นเรื่อง - ก่อนวันที่วีซ่าหมดอายุเดือน 2 จนถึงวันหมดอายุ ค่าธรรมเนียม 4000 เยน
การขอเปลี่ยนประเภทวีซ่า
คือการยื่นเรื่องขอเปลี่ยนจุดประสงค์ในการพำนักที่ญี่ปุ่น เช่น เรียนต่อ หรือทำงาน เป็นต้น ค่าธรรมเนียม 4000 เยน
การ ขอทำงานพิเศษ
คือการขื่นเรื่องขอทำกิจกรรมเสริมนอกเหนือจากกิจกรรมที่ขอไว้ในวีซ่า เพื่อหารายได้พิเศษ เช่น การที่นักเรียนต่างชาติทำงานพิเศษ ค่าธรรมเนียม ฟรี
การยื่นขอเข้าประเทศอีก ครั้ง(Re-entry)
คือการยื่นเรื่องขอออกจากประเทศญี่ปุ่นชั่วคราวแล้วกลับเข้ามาใหม่ หากไม่ยื่นเรื่องไว้ก่อนออกจากญี่ปุ่น จะต้องทำเรื่องเข้าประเทศใหม่ตั้งแต่เริ่มแรกอีกครั้ง จึงต้องระวังให้ดี ค่าธรรมเนียม - เข้าออกปีละ 1 ครั้ง 3000 เยน ปีละหลายครั้ง 6000 เยน เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นเรื่อง ได้แก่ พาสปอร์ต บัตรประจำตัวคนต่างชาติ เป็นต้น แต่เอกสารที่จำเป็นจะแตกต่างกันไปตามประเภทของวีซ่า ดังนั้นควรสอบถามที่สำนักกองตรวจคนเข้าเมือง
เสียก่อน
ที่มา : หน้าต่างสู่โลกกว้างญี่ปุ่น โดย บริษัท สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง จำกัด
วิธีการใช้เครื่อง ATM ในญี่ปุ่น PDF พิมพ์ อีเมล
วิธีการใช้เครื่อง ATM
หลาย ๆ ท่านคงสงสัย และ อยากรู้ว่า ถ้าเรามีบัตรเอทีเอ็ม ( ATM ) เราจะใช้อย่างไร? ยากไหม? ความจริงแล้วตู้เอทีเอ็มส่วนมากจะมีเมนูที่เป็นภาษาอังกฤษอยู่ ดังนั้นเวลาใช้ ให้เลือกเมนูเป็นภาษาอังกฤษ การใช้งานก็คล้ายๆ บ้านเรา แต่ ตอนแรกให้กดเลือกภาษา และ ถอนเงินก่อน จึงค่อยนำบัตรเอทีเอ็มเข้าที่เครื่องถอน แล้วจึงกดรหัสลับ จำนวนเงิน และขั้นตอนรับเงิน รวมทั้งสลิป เก็บไว้เป็นหลักฐาน (เป็นบางธนาคาร โปรดศึกษารายละเอียดของแต่ละธนาคารให้แน่ใจอีกครั้ง ) เอทีเอ็มที่ญี่ปุ่น ในบางสาขาสามารถถอนเหรียญออกมาได้ด้วย
Tags วิธี การใช้เครื่อง ATM - japan
อ่านเพิ่มเติม... [วิธีการใช้เครื่อง ATM ในญี่ปุ่น]
อาหารญี่ปุ่น PDF พิมพ์ อีเมล
อาหารญี่ปุ่น
ปลาซาบะย่างซีอิ๊ว
อาหาร ญี่ปุ่นคงเป็นเมนูที่หลายคนชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นรสชาติของอาหาร หรือแม้กระทั่งการตกแต่ง ความสวยงามน่ารักของอาหาร ที่มีการประดิษฐ์ประดอยให้มีน่าตาน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น
Tags อาหาร ญี่ปุ่น
อ่านเพิ่มเติม... [อาหารญี่ปุ่น]
เตรียมตัวก่อนเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่น PDF พิมพ์ อีเมล
เมื่อเราจะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นแล้ว เราก็น่าที่จะรู้ข้อมูลต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่น เช่น การขอพาสปอร์ตและวีซ่า ข้อมูลการท่องเที่ยวภายในญี่ปุ่น ข้อมูลที่พัก การศึกษาวัฒนธรรม ประเพณีของญี่ปุ่น อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา และอื่น ๆ
ข้อมูลเหล่านี้เราสามารถหาได้ทั้งในอินเตอร์เน็ต หนังสือ และ แหล่งที่แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น เราจะไปประเทศญี่ปุ่น ก็อาจไปหาข้อมูลได้ที่องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น หรือทางเว็บไซด์
http://www.yokosojapan.org/Tags เตรียม ตัวไปญี่ปุ่น - ขอ วีซ่า - ขอ พาสปอร์ต - แหล่ง ท่องเที่ยว - องค์การ ส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น
อ่านเพิ่มเติม... [เตรียมตัวก่อนเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่น]
ความเป็นมาของวัฒนธรรมญี่ปุ่น PDF พิมพ์ อีเมล
ความเป็นมาของวัฒนธรรมญี่ปุ่น
วัฒนธรรม ป่าเขตอบอุ่น
วัฒนธรรมโจมน อันเป็นรากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้น มีร่องรอยของทั้งวัฒนธรรมตอนเหนือบริเวณไซบีเรียและวัฒนธรรมตอนใต้บริเวณ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เนื่องจาก
หลักฐานทางโบราณคดีของวัฒนธรรมตอน เหนือที่ชัดเจนยังมีไม่มากนัก แม้มีการขุดพบโบราณวัตถุ ซึ่งแสดงถึงร่องรอยของวัฒนธรรมตอนเหนือจากแหล่งซันใน มะรุยะมะ ในจังหวัดอะโอะโมะริ ขึ้นมาบ้างแล้วก็ตาม ในทางตรงกันข้าม ร่องรอยของวัฒนธรรมตอนใต้ในวัฒนธรรมโจมนั้น ถูกพิสูจน์อย่างชัดเจนแล้วจากการสำรวจภาคพื้นสนามที่กว้างขวางในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยคณะสำรวจอันประกอบด้วยนักพฤกษสรีระวิทยา นักโบราณคดี นักมานุษยวิทยา ภายใต้การนำของนักพฤกษศาสตร์ ชื่อนายนะคะโอะ สะสุเคะ คุณะสำรวจนี้ได้ค้นพบความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมของภาคพื้นแถบเอเชียตอนใต้ และได้ขนานนามวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์นี้ว่า วัฒนธรรมป่าเขตอบอุ่น ปาเขตอบอุ่นประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ผลัดใบ ที่มีใบหนา สีเขียว
เข้ม เป็นมัน เช่น โอ๊ค การบูร ดอกชา ป่าชนิดนี้อยู่บริเวณตอนเหนือของป่าดิบเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่า ขยายจากมณฑลยูนนานของประเทศจีนตะวันออกครอบคลุมไปถึงชายฝั่ง
ทางตอนใต้ ของจีนจนถึงญี่ปุ่น
ลักษณะทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน
ชน เผ่าที่อาศัยอยู่บริเวณป่าเขตอบอุ่นนี้เป็นสายพันธุ์มองโกลอยด์ ประกอบกับลักษณะภูมิอากาศที่คล้ายๆ กัน จึงเป็นสาเหตุให้วัฒนธรรมของผู้คนที่อาศัยอยู่แถบนี้มีส่วนที่เหมือนกัน
ผู้ คนบริเวณนี้เริ่มจากการเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย ปลูกธัญพืชประเภื ช้าวฟ่าง ลูกเดือย โซบะ ถั่วเหลือง จนในที่สุดได้พัฒนามาจนเป็นการปลูกข้าวธัญญาหารเหล่านี้จะถูกแช่น้ำ กระเทาะเปลือก ซาว และนำไปทุบจนเป็นผง จากนั้นนำไปต้มหรือนึ่ง ปั้นเป็นก้อนแล้วจึงรับประทาน ดังนั้น จึงพบเครื่องใช้ในการทุบ เช่น ครกตำ สาก หรือเครื่องปั้นดินเผาเพื่อใช้ในการต้มนึ่งที่คล้ายคลึงกันทั่วภูมิภาค
เครื่อง ดื่มและอาหาร เช่น ชา คนเนียะขุ (ทำจากหัวบุก) และใบชิโสะ ซึ่งเป็นผลผลิตพื้นเมือง ก็เป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคนี้ และการทำอาหารประเภทถั่วหมัก ก็ทำกันเฉพาะใน
ภูมิภาคนี้เท่านั้น นอกจากสิ่งบริโภคแล้ว สิ่งที่เห็นได้อย่างกว้างขวางในภูมิภาคนี้ตั้งแต่มณฑลยูนนานไปจนถึงเวียดนาม และจากชายฝั่งทะเลตอนใต้ของจีนจนถึงญี่ปุ่น ก็คือการใช้เครื่องเขิน และผ้าไหมที่ได้จากการเลี้ยงตัวหม่อน และการประมงโดยใช้นกกาน้ำช่วย
ตำนาน หรือนิทานพื้นบ้านของท้องถื่นก็มีหลายเรื่องที่พ้องกัน อย่างเช่น เทพนิยายที่เกี่ยวกับสุริยคราสหรือเทพนิยายที่ว่า จากศพของเทพยดาจะกำเนิดเป็นพืชพันธุ์ธัญญาหารนานา
ชนิด ที่ญี่ปุ่นเองเห็นร่องรอยได้จากตำนานสุริยุปราคา Ame no iwayakei หรือ ตำนานเทพจุติ Shitaikaseikei ที่ถูกรวบรวมไว้ใน บันทึก ดึกดำบรรพ์ (Kojiki) หรือ พงศาวดารญี่ปุ่น (Nihonshoki) แม้แต่ในเรื่องความเชื่อหรือประเพณีก็มีความคล้ายคลึงกัน เช่น ความเชื่อที่ว่า คนตายแล้ววิญญาณจะกลับไปอยู่บนยอดเขานั้น ฟังได้ทั่วไปจาชนเผ่าที่ทำไร่เลื่อนลอย ประเพณีที่ชายหญิงจะสื่อรักกันด้วยการร้องรำทำเพลง หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่า อุตะงะขิ (Utagaki) หรือการที่ชายไปมาหาสู่ฝ่ายหญิงนั้นพบเห็นได้ เป็นส่วนใหญ่
ที่มา : กระจกส่องญี่ปุ่น โดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
Tags วัฒนธรรม ญี่ปุ่น
การอาบน้ำรวมในที่อาบน้ำ "เซ็นโต" PDF พิมพ์ อีเมล
คนญี่ปุ่นแก้ผ้า อาบน้ำกันหรือ
คนญี่ปุ่นชอบแก้ผ้าอาบนํ้าด้วยกันจริงหรือ เขาไม่อายกันบ้างหรือไง .... หลายๆคนที่ไปญี่ปุ่นคงเคยเจอประสบการณ์อย่างนั้นกันบ้างแล้วไม่มากก็น้อย ถ้าใครเช่าห้องพักถูกๆแบบไม่มีห้องนํ้าในห้อง... คงได้เจอทุกวัน
ที่ อาบนํ้ารวมสาธารณะภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า เซ็นโต ถ้าบอกว่าสาธารณะบางคนอาจจะคิดว่าใช้ฟรีเหมือนห้องนํ้าสาธารณะ แต่...เซ็นโตไม่ฟรี ต้องเสียเงินเข้า ราคาก็ประมาณไอติม 2-3 แท่ง แล้วอย่างที่ทุกคนทราบญี่ปุ่นเป็นประเทศเกาะ บ้านก็เล็ก ที่ดินก็น้อย สมัยก่อนถ้าจะสร้างบ้านที่มีห้องอาบนํ้า อ่างอาบนํ้านี่เป็นเรื่องยาก เพราะค่าใช้จ่ายสูง อีกอย่างเนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศหนาวเวลาอาบนํ้าคนญี่ปุ่นชอบแช่ในอ่าง นํ้าร้อนหรือที่เราเรียกกันว่า โอฟุโระ ก่อนจะเขัาก็ต้องก่อไฟต้มนํ้ากันให้วุ่น
ด้วยเหตุผลทํานองนี้ ก็เลยมีธุรกิจขายบริการที่อาบนํ้าเกิดขึ้นมา สําหรับคนที่ไม่มีอ่างอาบนํ้าในบ้านตนเอง หรือ คนที่ขี้เกียจก่อฟืน และเพื่อที่จะให้คนเข้าได้ครั้งละมากๆ โอฟุโระในเซ็นโตจึงออกแบบให้มีขนาดใหญ่ การอาบนํ้ารวมจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ของคนญี่ปุ่นในสมัยนั้น
ใน ภาษาญี่ปุ่น มีคําๆนึง เรียกว่า ฮาดาขะ โนะ สึคิอัย
ฮา ดาขะ แปลว่า เปลือย
สึคิอัย แปลว่า การคบกัน
แปล ตรงตัวก็คือ การได้พูดคุยกัน พบปะกัน ในสภาพที่เปลือย หรือพูดสั้นๆว่า แก้ผ้าคุยกัน ก็ทํานองว่า คนมากกว่าสองคนมาคุยกันแบบเปิดอก ไม่มีอะไรต้องปิดบังกัน พูดกันได้ทุกเรื่อง อยู่ในที่ทํางานไม่ได้คุยกันอย่างเปิดอกซักที มีอะไรเก็บเอาไว้ ก็มาแก้ผ้าเปิดอกพูดซะ ไม่ต้องกล้ว ไม่ต้องอายที่จะพูด ขนาดแก้ผ้ายังไม่อาย ...และสถานที่หนึ่งที่สร้างโอกาสแบบนี้ขึ้นมาก็คือ เซ็นโต ก็เป็นวัฒนธรรมที่ไม่เลว
คนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ลองอ่านนี่ดู แล้วอาจจะอยากลองเข้าซักครั้งก็เป็นได้
วิธีการอาบนํ้าในเซ็น โต
1.
ก่อน ออกจากบ้านก็เตรียมเงิน เสื้อผ้าที่จะเปลี่ยน ผ้าเช็ดตัว นํ้ายาสระผม สบู่ ถ้าเป็นผู้ชายอย่าลืมเตรียมผ้าเช็ดตัวผืนเล็กๆ ไปด้วย ผู้หญิงก็อาจจะใหญ่หน่อย
2.
ทาง เข้ามีสองทาง ตัดสินใจดีๆว่าจะเข้าของผู้ชายหรือผู้หญิง อย่าลังเลที่จะเข้าให้ถูกช่อง
3.
พอ เปิดประตูเข้าไป ก็จะมีคุณลุงหรือไม่ก็คุณป้านั่งอยู่บนแท่นคอยเก็บเงิน จ่ายเงินตรงนี้ แต่อย่าริอาจมองข้ามไปอีกฟาก เพราะจะมองเห็นแต่คนชรา
4.
หาล็อคเกอร์ แล้วเริ่มแก้ผ้า ตอนนี้ผ้าเช็ดตัวผืนเล็กๆที่เตรียมไว้จะเริ่มมีประโยชน์
5.
ก่อนเข้าไปอาบนํ้า ของที่เตรียมมาเอาใส่ไว้ในล็อกเกอร์ แล้วอย่าลืมเอากุญแจติดตัวเข้าไปด้วย
6.
หาที่นั่งที่ชอบ นั่งมองกระจกซักครู่ พิจารณาความหล่อความสวยของตัวเอง
7.
ชุบ ผ้าเช็ดตัวผืนเล็กที่นํามาด้วยให้เปียก แล้วเอาวางไว้ที่เข่า เอาสบู่ขัดกับผ้าที่เปียกซัก 1 นาที เพื่อให้สบู่เกาะผ้า
8.
ใช้ผ้าผืนนั้นขัดตัว เนื่องจากเป็นผ้า การถูหลังให้สะอาดจึงทําได้ง่ายมาก
9.
เมื่อ ถูตัวสะอาดแล้วล้างตัวด้วยนํ้าอุ่นอีกที
10.
ขั้น ต่อไป ช่วงเวลาระทึก ใครที่ไม่กลัวนํ้าร้อนลวกตาย อยากแช่อ่างนํ้าร้อน ลงไปเลย มีทั้งอ่างที่ร้อนพอประมาณ ร้อนมาก แล้วก็โ_ตรร้อน ใครที่ยังไม่เคยเข้าแนะนําให้ใช้มือเช็คความร้อนก่อน เวลาลงก็ค่อยๆลงทีละขา ไม่งั้นจะโดดออกจากอ่างไม่ทัน อ้อ..อย่าลืมเอาผ้าเช็ดตัวผืนเล็กผืนนั้นไปด้วย เพราะ เวลานั่งแช่นํ้าคนญี่ปุ่นจะเอามาปกไว้ที่หัวเพื่อความเท่ห์ ความจริงอันนี้ก็ไม่มีอะไรมาก คือผ้าเช็ดตัวผืนเล็กอันนั้นจะเอาติดตัวไปตลอดเวลาเดินไปเดินมาในเซ็นโต เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ แต่ถ้าเข้าไปในอ่างเมื่อไหร่ ไม่ควรเอาแช่ไว้ในอ่าง เพราะผ้าเช็ดตัวผืนนั้น อาจจะยังมีสบู่ติดค้างอยู่ ก็เป็นมารยาทเกี่ยวกับความสะอาดอันนึงที่ต้องจําไว้
11.
พอ เห็นว่าหนังเริ่มเปื่อย ก็ขึ้นมานั่งที่ขอบอ่าง พักครึ่งซักชั่วครู่ ถ้าเริ่มรู้สึกหนาว ก็ลงไปแช่อีก ทําอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะพอใจ
12.
ก่อนออกไปเปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างเนื้อล้างตัวให้สะอาดอีกซักครั้ง
13.
ออกไปเปลี่ยนชุดแล้วกลับบ้าน
14.
พรุ่งนี้มาเข้าต่อ
ขอ แนะนําอย่างนึงว่าถึงแม้ว่าจะหนาว หน้าหนาวก็ควรเข้าทุกวันเพราะการได้แช่นํ้าร้อนๆหน้าหนาว เวลาออกมาจะอุ่นและสดชื่นมาก หน้าร้อนแน่นอน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นคนที่ไม่มีห้องอาบนํ้าในห้องควรเข้าทุกวัน เพราะเซ็นโตส่วนมากจะไม่เปิดตอนเช้า
เซ็นโตทุกที่จะมีทางเข้าออกสองทาง แบ่งเป็นฝั่งชายและหญิง กําแพงที่กั้นก็ไม่ใช่กําแพงทึบถึงเพดาน ถ้าอยากจะปีนข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร.... ถ้าไม่กลัวถูกจับ