Author Topic: กรน  (Read 5920 times)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
กรน
« on: February 08, 2011, 03:01:36 PM »
กรน ธรรมดา ผู้ป่วยอาจจะไม่รู้สึกผิดปกติ แต่จะมีผลต่อคนรอบข้าง เช่น เสียงดังรำคาญ หรืออาจถูกรังเกียจจากคนอื่นไม่อยากร่วมห้องนอนด้วย อีกชนิดคือ กรนอันตราย จะมีการหยุดหายใจขณะหลับด้วย ซึ่งการขาดออกซิเจนจะทำให้เกิดปัญหาตามมา อาจทำให้หัวใจขาดเลือด เต้นผิดจังหวะ หรืออาจเป็นโรคปอด โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น นอกจากนี้ สมัยก่อนยังเชื่อว่าโรคใหลตายส่วนหนึ่งมาจากกรนอันตราย
     
ผศ.นพ.ปาร ยะ กล่าวว่า การกรน อันตรายจะมีผลทำให้ง่วงเหงาหาวนอน เวลาขับรถอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย คนทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เพราะคนที่มีปัญหาการนอนหลับจะหลับไม่ได้ลึก แม้หลับจริงแต่ร่างกายจะรู้สึกว่าเหมือนไม่ได้นอนทั้งคืน เพราะเมื่อใดที่หลับลึกจะมีการอุดกั้นทางเดินหายใจลงไปมากขึ้น ร่างกายจึงต้องปลุกให้ตื่นอยู่ตลอดเวลา 
     
“ในการสังเกตอาการ นั้น หากกรนธรรมดามักไม่มีอาการอะไร แต่ถ้ากรนอันตรายจะง่วงมาก   ผิดปกติในเวลากลางวัน ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น ปวดศีรษะ ทำงานได้ไม่เต็มที่ สมรรถภาพทางเพศลดน้อยลง ในเด็กก็อาจมีปัญหาเรื่องการเรียน ขาดสมาธิ ส่วนการกรนเสียงดังแสดงว่าทางเดินหายใจตีบแคบมาก มีแนวโน้มเป็นกรนอันตรายสูงกว่า สำหรับคนอ้วนไขมันจะพอกรอบคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงจึงนอนกรน แต่คนผอมก็กรนได้หากลิ้นไก่ยาวผิดปกติ”ผศ.นพ.ปารยะ กล่าว
     
ใน ต่างประเทศ พบว่า ร้อยละ 5-10 ของประชากร มีปัญหานอนกรน โดยผู้ชายร้อยละ 4 และผู้หญิงร้อยละ 2 ของกลุ่มนี้มีปัญหาหยุดหายใจขณะหลับ และการนอนกรนจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยในวัย 30-35 ปี จะพบคนนอนกรนเป็นผู้ชายร้อยละ 40 ผู้หญิงร้อยละ 20 เนื่องจากอายุมากขึ้นอวัยวะทุกอย่างจะหย่อนยาน รวมทั้งโครงสร้างในคอด้วย ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจมากขึ้นด้วย

“การรักษาจะต้องวินิจฉัยให้ได้ก่อนว่าเป็นการกรนแบบ ใด โดยจะให้คนไข้มานอนโรงพยาบาล 1 คืน เพื่อตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test วินิจฉัยว่า มีการหยุดหายใจหรือไม่ อาการมากน้อยเพียงใด การ รักษามีทั้งแบบผ่าตัด และไม่ผ่าตัด แบบไม่ผ่าตัด ได้แก่ การลดน้ำหนักใน คนไข้ที่มีน้ำหนักเกิน การปรับเปลี่ยนท่านอน เช่น นอนตะแคง นอกจากนี้ ยังมีการรักษาโดยใช้เครื่องเป่าลม เพื่อเป่าลมเข้าไปในทางเดินหายใจ เพื่อทำการขยายทางเดินหายใจให้กว้าง ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องนี้ก่อนนอนไปตลอดชีวิต แต่ถ้าทนไม่ได้ก็จะมีเครื่องครอบฟันใส่เวลานอน ช่วยยึดไม่ให้ขากรรไกรล่างตกลง ทำให้ลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งส่วนมากจะเลือกวิธีนี้” ผศ.นพ.ปารยะ กล่าว
     
สำหรับการ รักษาการนอนกรนโดยผ่าตัดนั้น เป็นการผ่าตัดขยายทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ส่วนใหญ่แนะนำกับผู้ป่วยที่รับไม่ได้กับวิธีไม่ผ่าตัด การผ่าตัดมีหลายวิธีทำได้หลายจุด เช่น มีการอุดกั้นที่จมูกก็ผ่าปรับขยายได้ หรือกรณีมีเพดานอ่อนยาวเกินไป ซึ่งกล่าวถึงกันมาก คือ การฝังวัสดุเข้าไปที่เพดานอ่อน ทำให้เพดานอ่อนมีการเคลื่อนที่น้อยลง การใช้คลื่นความถี่วิทยุลดขนาดโคนลิ้นที่โตอุดกั้น การผ่าตัดเจาะกระดูกขากรรไกร เพื่อเลื่อนลิ้นมาด้านหน้า แม้แต่การเปลี่ยนโครงสร้างกระดูกใบหน้า เพราะคนที่นอนกรนอันตราย ส่วนใหญ่คางจะสั้น ทำให้ขากรรไกรล่างจะยุบลงไปมาก จึงผ่าตัดเพื่อเลื่อนขากรรไกรมาด้านหน้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าในการรักษามีนวัตกรรมใหม่ๆ ค่อนข้างมาก
     
“แนะ นำผู้ที่นอนกรน ไม่ควรรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เบียร์ ไวน์ ก่อนนอน เพราะพวกนี้จะทำให้กล้ามเนื้อหย่อนมากขึ้น ทำให้กรนดังมากขึ้น รวมทั้งเลี่ยงการรับประทานยาชนิดทำให้ง่วง เช่น ยาแก้แพ้ชนิดง่วง หรือยานอนหลับ ซึ่งทำให้คนนอนกรนมีโอกาสเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากขึ้น นอกจากนี้ ควรเลี่ยงสูบบุหรี่หรือควันบุหรี่ เพราะจะทำให้ทางเดินหายใจบวม”ผศ.นพ.ปารยะ กล่าว
     
ผศ.นพ.ปารยะ กล่าวถึงการป้องกันการนอนกรนด้วยว่า ป้องกันได้ตั้งแต่เป็นเด็กรวมถึงผู้ใหญ่ โดยเลี่ยงปัจจัยเหตุ เช่น อย่าให้กินมากจนอ้วน ป้องกันโรคจมูก เช่น หวัด ภูมิแพ้ ถ้ามีอาการทางจมูกต้องรีบรักษา ออกกำลังกายสม่ำเสมอไม่ให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรทานยาที่ทำให้นอนหลับ ซึ่งผู้ใหญ่ส่วนมากจะมีปัญหาเรื่องไม่คุมการกิน


จาก http://www.needssale.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html