[/color][/size][/font] [/t] | [/color]ตักน้ำเกลือจากบ่อเกลือใส่ในโอ่งพัก[/font] | [/t] |
|
| |
|
เกลือ อันมีลักษณะขาวสะอาดบริสุทธิ์ เป็นสิ่งที่หาพบได้ในธรรมชาติ ในเกลือมีสารเคมีซึ่งประกอบด้วยโลหะหรือหมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะกับอนุมูลกรด เกลือสามารถพบเจอเจือปนในน้ำทะเล และยังพบเกลืออยู่ตามดิน หิน ใต้พื้นพิภพ หากพบเกลือในน้ำทะเลก็เรียก เกลือสมุทร พบเกลืออยู่ในดินเค็ม ก็เรียก เกลือสินเธาว์ ในสมัยโบราณเกลือเป็นสิ่งมีค่ามาก จึงมิใช่เรื่องแปลกที่ในหน้าประวัติศาสตร์ของหลายชนชาติ จะพบว่ามีสงครามการแย่งชิงเกลือเกิดขึ้น เส้นทางเกลือในเมืองไทย เราจะพบว่ามีอยู่หลายแห่งที่ทำเกลือเป็นอาชีพ จังหวัดที่มีการผลิตเกลือสมุทร ได้แก่ สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และเพชรบุรี ผู้ผลิตเกลือสมุทร เราคุ้นเคยกันดีในชื่อของ ชาวนาเกลือ
[/t][/color][/color][/size] [/t] | [/color]น้ำเกลือถูกต้มเดือดในกระทะใบบัว |
|
|
|
|
| | ในเมืองไทยเคยเกิดวิกฤตเกลือแพงอักโข ในช่วงปลายปี พ.ศ.2513-2514 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในแหล่งโกดังเก็บเกลือทะเลของกรุงเทพฯ จากเกลือตันละ100 บาทพุ่งสูงถึงตันละ1,000 บาท จากเหตุการณ์นี้เป็นจุดพลิกผันที่ทำให้ผู้ผลิตหลายราย ย้ายฐานการผลิตเกลือเข้าสู่ดินแดนอีสานที่ในปัจจุบันเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์ขนาดใหญ่ของไทย มีอยู่ด้วยกันหลายแห่ง อาทิ จ.อุดรธานี จ.หนองคาย จ.สกลนคร เป็นต้น [/color]ขุนเขานี้มี...บ่อเกลือ ขึ้นไปทางภาคเหนือของไทยกันบ้าง ดูเหมือนว่าหากเอ่ยขานเรื่องเกลือในเมืองเหนือ จุดศูนย์กลางของความคิดหนึ่งเดียวแน่นอนว่าต้องอยู่ที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่านอย่างมิอาจปฏิเสธได้ เพราะแต่ไหนแต่ไรมาเมืองน่านเป็นแหล่งเกลือขนาดใหญ่ บ่อเกลือ ตั้งอยู่ใน อ. บ่อเกลือ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 80 กิโลเมตร เกลือเป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อชุมชนคนเมืองน่านและบ้านเมืองโดยรอบเป็นอย่างมากทั้งสุโขทัย ล้านช้าง และล้านนา เพราะพื้นที่เหล่านี้อยู่ห่างไกลจากทะเล ด้วยเหตุนี้เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้พระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนาเสด็จมาตีเมืองน่าน เพื่อมุ่งหวังครอบครองบ่อเกลือซึ่งถือเป็นยุทธปัจจัยสำคัญสมัยนั้น เมืองน่าน จึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา
[/t][/color][/color][/size] [/t] | [/color]ไข่ไก่ต้มน้ำเกลือ |
|
|
|
|
| | เรื่องเกลือของบ่อเกลือยังได้ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามพงศาวดารเมืองน่านซึ่งพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชอดีตเจ้าหลวงเมืองน่านได้แต่งรวบรวมขึ้นไว้ มีข้อความกล่าวถึงแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญแห่งนี้ว่า เดิมทีเขตอำเภอบ่อเกลือเป็นป่าดงพงไพร ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ มีหนองน้ำ ซึ่งพวกสัตว์ต่าง ๆ ชอบมากินน้ำในหนองน้ำแห่งนี้เป็นประจำ และยังมีนายพรานผู้หนึ่งมาล่าสัตว์ และเห็นพวกเหล่าสัตว์ทั้งหลายมักจะกินน้ำที่นี่เป็นประจำ เมื่อลองชิมดูจึงรู้ว่ามีรสเค็ม ข่าวได้ล่วงรู้ไปถึงเจ้าหลวงภูคาและเจ้าหลวงบ่อ จึงได้มาดูบ่อน้ำเกลือ และต่างก็ต้องการครอบครอง จึงคิดหาวิธีการโดยทั้งสองพระองค์ขึ้นไปอยู่ที่ยอดดอยภูจั๋น เพื่อแข่งขันกันพุ่งสะเดา(หอก) แสดงการครอบครองบ่อน้ำเกลือ เจ้าหลวงภูคาพุ่งหอกไปตกทางตะวันตกของลำน้ำมาง ตรงที่ตั้งหอนอกในปัจจุบัน เจ้าหลวงบ่อพุ่งหอกไปตกทางตะวันออกของลำน้ำมาง ตรงที่ตั้งหอเจ้าพ่อบ่อหลวงในปัจจุบัน ผู้คนที่พากันมาดูการแข่งขันพุ่งหอก ได้นำเอาก้อนหินมาก่อไว้เป็นที่สังเกต แล้วตั้งเป็นโรงหอทำพิธีระลึกตอบแทนเจ้าหลวงทั้งสององค์ทุกปี
[/t][/color][/color][/size] [/t] | [/color]เกลือที่ตกผลึกแล้วถูกนำมาแขวนไว้ในตะกร้าเพื่อสะเด็ดน้ำ |
|
|
|
|
| | ภายหลังทั้งสองพระองค์คิดกันว่า จะนำคนที่ไหนมาอยู่ เมื่อปรึกษากันแล้ว เจ้าหลวงภูคาจึงไปทูลขอประชาชนที่อยู่เมืองเชียงแสนจากเจ้าเมืองเชียงรายมาหักร้างถางพงทำเกลืออยู่ที่นี่ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบ่อหลวงในปัจจุบันนั่นเอง เจ้าหลวงน่านจะต้องให้คนส่งส่วยเกลือเป็นจำนวน 5 ล้าน 5 แสน 5หมื่น 5 พัน(ประมาณ 7,395 กิโลกรัมต่อปี) การส่งส่วยเหล่านี้เริ่มเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแต่กระทำเรื่อยมาจนถึงสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเป็นเจ้าผู้ครองนคร ในยุคคอมมิวนิสต์ อ.บ่อเกลือยังเป็นพื้นที่สีแดง เต็มไปด้วยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอีกด้วย [/color]ประเพณีของคนทำเกลือ สมรบ ปิติกะวงษ์ นายอำเภอบ่อเกลือ ได้บอกเล่าถึงวิถีชีวิตของคนทำเกลือบนภูเขาให้ฟังว่า อำเภอบ่อเกลือมีประชากรอยู่ประมาณ14,000 กว่าคน คนที่ทำเกลือจริงๆมีไม่กี่ราย บ่อเกลือที่นี่มาจากน้ำที่ชาวบ้านตักขึ้นมาไว้ดื่มไว้กินกัน แต่น้ำนั้นเป็นน้ำที่มีรสชาติเค็ม ชาวบ้านเอาน้ำไปเคี้ยวจนตกผลึก แล้วบ่อที่มีน้ำเค็มมันมีไม่กี่ที่ ทั้งอำเภอมีไม่ถึง 10 บ่อนายอำเภอบ่อเกลือเล่า
[/t][/color][/color][/size] [/t] | [/color]คนทำเกลือกำลังตักเกลือใส่ตะกร้า |
|
|
|
|
| | เกลือภูเขาที่นี่แตกต่างจากเกลือทะเล เพราะเกลือสินเธาว์ไม่มีไอโอดีน แต่ทางสาธารณสุขก็เข้ามาช่วยโดยเอาไอโอดีนผสม รับรองกินได้คอไม่พอก ความพิเศษบ่อเกลือที่นี่ คือ เป็นบ่อเกลือสินเธาว์บนภูเขาแห่งเดียวของโลกตรงนี้สำรวจแล้วว่าไม่มีที่ไหนอีก บ่อเกลือเดินทางมาค่อนข้างยาก แต่สวยงามมาก หากพูดในด้านการท่องเที่ยว มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวในเรื่องของธรรมชาติสูง ปัจจุบันชาวบ้านยังคงต้มแกลือด้วยวิธีแบบดั้งเดิม จะตักน้ำเกลือจากบ่อส่งผ่านมาตามลำไม้ไผ่สู่บ่อพักการทำเกลือของ ชาวบ้านบ่อเกลือ นำน้ำเกลือที่ตักจากบ่อมาต้มในกระทะประมาณ 4 - 5 ชั่วโมงให้น้ำเกลือระเหยแห้ง จากนั้นก็จะนำไม้พายมาตักเกลือใส่ตะกร้าที่แขวนไว้เหนือกระทะเพื่อให้น้ำเกลือไหลลงมาในกระทะทำอย่างนี้ไปเรื่อยจนน้ำในกระทะแห้ง หมดแล้วจึงตักน้ำเกลือจากบ่อมาใส่ลงไปใหม่ หลังจากนั้นใส่ถุงวางขายกันหน้าบ้าน
[/t][/color][/color][/size] [/t] | [/color]ภูมิทัศน์ของอ.บ่อเกลือ |
|
|
|
|
| | อนงค์ เขื่อนเมือง อายุ 48 ปี เป็นลูกหลานชาวบ่อเกลือคนหนึ่งที่มีรายได้เสริมมาจากการทำเกลือได้เล่าให้ฟังว่า คนบ่อเกลือมีอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำนาก็คือการทำเกลือขาย เกลือที่นี่มีขายตั้งแต่ราคา 5 -20 บาท เป็นราคามาตรฐานไม่เคยเปลี่ยนแปลง บ่อเกลือหนึ่งบ่อ ต้มแบบวนกันไปกันมา 14-15 เจ้า เป็นเจ้าของร่วมกันอนงค์เล่า อนงค์ยังเล่าต่อไปถึงประเพณีเกี่ยวกับเกลือของที่นี่ว่า ราวช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ในวันแรม 8 ค่ำของเดือน 5 จะมีงานบวงสรวงเจ้าหลวง หมู่บ้านบ่อหลวงจะปิดกั้นไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าออกหมู่บ้านด้วยยานพาหนะทุกชนิด ยกเว้นการเดินเท้าเข้ามาเป็นเวลา 3 วัน ชาวบ้านจะต้องทำพิธีเลี้ยงผีเมืองและเจ้ารักษาบ่อเกลือคือ เจ้าซางคำ ซึ่งจะมีหน้าที่รักษาปากบ่อ เวลาใครมาจะบ่อเกลือจะเห็นข้อความเขียนเตือนว่าไม่ให้ใครขึ้นเหยียบปากบ่อโดยเฉพาะบุคคลภายนอกขึ้นไปข้างบน เพราะมีเจ้ารักษาอยู่ ถ้าใครจะขึ้นตักน้ำเกลือ ก็ต้องเลี้ยงเจ้าก่อน เลี้ยงด้วยไก่ 1-2 ตัว เหล้าขาว 1 ขวด ทำพิธีเลี้ยง เลี้ยงเสร็จแล้วถึงขึ้นตักน้ำเกลือได้อนงค์เล่า
[/t][/color][/color][/size] [/t] | [/color]ลึกลงไปจากปากบ่อนี้เป็นแหล่งน้ำเกลือ |
|
|
|
|
| | ที่บ้านบ่อหลวงซึ่งเป็นหมู่บ้านของป้าอนงค์นั้น ตามประเพณีจะสามารถต้มเกลือไปประมาณแปดเดือน ช่วงเข้าพรรษาจะหยุด ลอยกระทงเสร็จถึงจะกลับมาต้มอีกที ประเพณีเกี่ยวกับเกลือของคนทำเกลือใน อ.บ่อเกลือ อาจจะแตกต่างกันไปบ้างตามหมู่บ้าน เช่นบางหมู่บ้านสามารถต้มเกลือได้เฉพาะเดือนมีนาคมเดือนเดียวเท่านั้น ทางหมู่บ้านจะมาต้ม แต่จะเป็นของบ้านใครบ้านมัน ต้มแบบเปลี่ยนกันมาต้ม เสร็จแล้วจะเก็บเอาไว้กิน ไม่ได้ทำขายถึงทำขายก็ได้ไม่เยอะ เพราะเขามีสิทธิ์ต้มได้เพียงเดือนเดียว มันเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมา
[/t][/color][/color][/size] [/t] | [/color]โรงเก็บเกลือที่รอการบรรจุ |
|
|
|
|
| | แม้วิธีการทำเกลือแบบดั้งเดิมนี้ยังคงสืบทอดอยู่ แต่สิ่งที่ชาวบ่อเกลือเป็นกังวล คือ ปัจจุบันเกลือไม่ต้องแย่งชิงกันอีกต่อไป รวมทั้งราคาเกลือถูกอย่างเหลือเชื่อ ทำให้ชาวบ้านบางกลุ่มมองว่าในบางครั้งการเสียเวลามานั่งหลังคดหลังแข็ง อดหลับอดนอนไม่คุ้มค่า ซึ่งจุดนี้ทางนายอำเภอบ่อเกลือเองได้กล่าวว่า ปัจจัยทางการตลาดอาจมีผลให้คนทำเกลือภูเขาลดน้อยลง อย่างไรก็ตามขณะนี้ทางอำเภอกำลังจะเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและถือว่าเป็นการต่อลมหายใจให้คนทำเกลือภูเขาแห่งบ่อเกลือด้วย.
[/t][/color][/color][/size] [/t] | [/color]ขั้นตอนการสาวเชือกเพื่อตักเอาน้ำเกลือที่อยู่ลึกลงไปในบ่อ |
|
|
|
|
| | [/t]
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table][/td][/tr][/table]