เศรษฐกิจ
อัตราการเจริญการเติบโตของเศรษฐกิจจีนโดยธนาคารโลก
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศในปี พ.ศ. 2492 จนถึงปลาย พ.ศ. 2521 สาธารณรัฐประชาชนจีนใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางเหมือนโซเวียต ไม่มีภาคเอกชนหรือระบอบทุนนิยม เหมา เจ๋อตง เริ่มใช้นโยบายก้าวกระโดดไกล เพื่อผลักดันประเทศให้กลายเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่ทันสมัยและก้าวหน้าทาง อุตสาหกรรม แต่นโยบายนี้กลับถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวทั้งทางเศรษฐกิจและมนุษยธรรม[1] หลังจากที่เหมาเสียชีวิตและสิ้นสุดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เติ้ง เสี่ยวผิง และผู้นำจีนรุ่นใหม่ได้เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจและใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบผสมที่ให้ความสำคัญกับทุนนิยมมากขึ้น
อาคารตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ในย่านธุรกิจเขตผู่ตง เซี่ยงไฮ้
ตั้งแต่เริ่มมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในปี 2521 เศรษฐกิจของจีนซึ่งนำโดยการลงทุนและการส่งออก[2] เติบโตขึ้นถึง 70 เท่า[3] และกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุด[4] ปัจจุบัน จีนมีจีดีพี (nominal) สูงเป็นอันดับสามของโลกที่ 30 ล้านล้านหยวน (4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่รายได้ต่อหัวมีค่าเฉลี่ยเพียง 3,300 ดอลลาร์สหรัฐ จึงยังคงตามหลังประเทศอื่นอีกนับร้อย[5] อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และ ตติยภูมิ มีอัตราส่วนร้อยละ 11.3, 48.6 และ 40.1 ตามลำดับ และหากวัดด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ จีนจะมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นที่สองรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น[6] จีนเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกและ เป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการค้าสูงเป็นอันดับสามรองจาก สหรัฐอเมริกาและเยอรมนีด้วยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 2.56 ล้านล้านดอลลาร์ มูลค่าการส่งออก 1.43 ล้านล้านดอลลาร์ (อันดับสอง) และมูลค่าการนำเข้า 1.13 ล้านล้านดอลลาร์ (อันดับสาม) จีนมีมูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก (มากกว่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์) [7] และเป็นหนึ่งในประเทศยอดนิยมของการลงทุนจากต่างชาติ โดยสามารถดึงเงินลงทุนมากกว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2550 เพียงปีเดียว[8]
[แก้] การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีน
เส้นทางรถไฟในประเทศจีน
เส้นทางรถไฟความเร็วสูง HSR ของประเทศจีน
รถไฟใต้ดินในเซี่ยงไฮ้
เมื่อราวๆ กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการวิพากษ์ในหนังสือพิมพ์จีนว่าด้วย การทบทวนและประเมินการพัฒนาอุตสาหกรรมจีนตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 จนปัจจุบัน และเปรียบเทียบกับการพัฒนาอุตสาหกรรมหลังเปิดประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งมีหลากหลายความเห็นที่น่าสนใจที่ไทยอาจต้องศึกษา เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ในการพัฒนา อุตสาหกรรมและการลงทุนของประเทศ
เนื่องจากประเทศจีนได้เริ่มพัฒนาตามแบบฉบับอุตสาหกรรมใหม่ (ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1) ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย และเกิดการชะงักงันเป็นเวลาหลายสิบปีจวบจนกลางศตวรรษที่ 20 และเกือบหยุดสนิทประมาณ 30 ปี เสร็จแล้วใช้เวลาอีก 20 ปี ในการพัฒนาแบบก้าวกระโดดจนกระทั่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในหลายๆ ด้านของโลก
นักวิชาการจีนดังกล่าวมีความเห็นว่า ที่จีนสามารถพัฒนาจนเป็นเช่นนี้ เกิดจากกระแสความคิด 2 กระแส
1. กระแสแรก จีนได้วางพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักไว้ตั้งแต่ต้นและไม่เคยละทิ้ง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักรกล เคมี จึงกลายเป็นพื้นฐานรองรับและประกันการพัฒนา
2. กระแสที่สอง ในช่วงที่จีนเปิดประเทศใหม่ๆ ว่าด้วยแนวทางที่จะนำเข้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีกลุ่มหนึ่งเห็นคล้อยตามคำแนะนำของประเทศที่พัฒนาแล้วสมัยนั้นว่า ควรที่จะพัฒนาตามขั้นตอน เนื่องจากเทคโนโลยีจีนขณะนั้นล้าหลังอยู่มาก จึงเลือกนำเข้าเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับก่อนหน้าสมัยนั้น 5-10 ปี
ถึงแม้เทคโนโลยีที่จีนใช้ในขณะนั้นจะล้าหลังในสากลโลก แต่ถือว่าทันสมัยมากสำหรับจีน ในการผลิตและจำหน่ายในตลาดของจีน ซึ่งรับความนิยมสูงมาก เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน
ขณะเดียวกัน ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่า พื้นฐานทางวิชาการและเทคโนโลยีจีนพร้อมอยู่แล้ว จึงเลือกที่จะก้าวกระโดดโดยซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ณ ขณะนั้น เช่น ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เทคโนโลยีอวกาศ อุตสาหกรรมเหล็ก ปรากฏในภายหลังว่า ทั้งสองกลุ่มได้พบจุดบรรจบกันในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 20 และนำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกระลอกดังที่เห็น กันขณะนี้
ผลและสภาพของการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของจีนที่เราได้เห็นทุก วันนี้ นักวิชาการจีนส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลเกิดจากการปูพื้นฐานทางวิชาการและการ พัฒนาอุตสาหกรรมหนักตั้งแต่สมัยแรก กลายเป็นหลักประกันสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมเบา เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ให้พัฒนาอยู่บนขาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่น เหล็กและโลหะอื่นๆ พลาสติก และเคมี ที่เป็นพื้นฐานนำไปแปรรูปต่อจนจีนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับสูงดังที่เป็น อยู่ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีและสิทธิบัตรตราสินค้าของตนเอง
[แก้] เมืองใหญ่
ดูรายชื่อทั้งหมดที่รายชื่อเมืองในจีนเรียงตามจำนวนประชากร อันดับเมืองขนาดใหญ่ 20 เมืองแรก จัดอันดับตามจำนวนประชากร
อันดับ เมือง มณฑล ประชากร อันดับ เมือง มณฑล ประชากร
Shanghai
เซี่ยงไฮ้
ปักกิ่ง
ปักกิ่ง
Shenzhen
ฉงชิ่ง
1 เซี่ยงไฮ้ - 14,530,000 11 เฉิงตู เสฉวน 3,750,000
2 ปักกิ่ง - 10,300,000 12 ฉงชิ่ง - 3,270,000
3 เซินเจิ้น กวางตุ้ง 11,820,000 13 ชิงเต่า ซานตง 3,200,000
4 กวางโจว กวางตุ้ง 7,050,000 14 ถางซาน เหอเป่ย์ 3,200,000
5 ฮ่องกง - 6,840,000 15 นานกิง เจียงซู 3,110,000
6 ตงกว่าง กวางตุ้ง 6,450,000 16 ซีโบ ซานตง 2,900,000
7 เทียนจิน - 5,190,000 17 ฝูโจว ฝูเจี้ยน 2,600,000
8 อู่ฮั่น หูเป่ย์ 1,105,289 18 ฉางซา หูหนาน 2,520,000
9 ฮาร์บิน เฮย์หลงเจียง 4,754,753 19 หนานชาง เจียงซี 2,440,000
10 เฉิ่นหยาง เหลียวหนิง 4,420,000 20 อู๋ซี เจียงซู 2,400,000
ข้อมูลปี 2550
แม่แบบ • พูดคุย • แก้ไข
[แก้] กองทัพ
ธงกองทัพบกจีน
ธงกองทัพอากาศจีน
ธงกองทัพเรือจีน
ตั้งแต่ก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี พ.ศ. 2492 กองทัพของประเทศจีนได้เติบโตอย่างรวดเร็วกองทัพเรือ ตำรวจมีอาวุธในข้อตกลงที่แท้จริงของกองทัพแดง ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งอาวุธที่มีนั้นส่วนใหญ่จะมาจากประเทศรัสเซีย จีนเพิ่มกำลังทางทหารสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 4 ของโลก หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้สถานะของยุคหลังสงครามโลก หรือที่เรียกกันว่ายุคสงครามเย็นได้ยุติลง ได้ส่งผลให้ขั้วของการเป็นมหาอำนาจได้เปลี่ยนแปลงไปสหรัฐอเมริกาเอง ปรารถนาที่จะเป็นขั้วอำนาจขั้วเดียวในโลกโดยดำเนินยุทธศาสตร์ที่มุ่งไปสู่ ความเป็นมหาอำนาจชาติเดียว ในขณะเดียวกันประเทศที่ศักยภาพอย่างจีนได้พยายามที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ประเทศ มหาอำนาจ โดยการเร่งพัฒนาหลาย ๆ ด้าน และที่ขาดไม่ได้นั่นคือ การพัฒนาให้กองทัพมีศักย์ในการดำเนินสงครามโดยการปรับปรุงให้กองทัพให้มี ความทันสมัยในช่วง 10 ปี แรกนั้น ภัยคุกคามหลักของจีนนั้น
มุ่งไปที่สหภาพโซเวียต ในขณะที่ปัญหาไต้หวันยัง เป็นเรื่องที่มีความสำคัญในระดับต่ำ ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2538 – 2539 (ค.ศ. 1995 – 1996) ปัญหาเกิดขึ้นบริเวณเกาะไต้หวัน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงภายใน ทำให้ทิศทางของการพัฒนากองทัพมุ่งไปสู่การรองรับภัยคุกคามที่เกิดจากการ พยายามแยกตัวของไต้หวันตั้งแต่ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) เป็นต้นมา กองกำลังทางบกได้รับอาวุธและยุทโธปกรณ์พิเศษที่ใหม่ และหลากหลายที่จีนผลิตเองเข้าประจำการ เช่น รถถังหลัก รถถังสะเทินน้ำสะเทินบก รถสายพานลำเลียงพล ปืนใหญ่อัตตาจร อาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ กล้องมองกลางคืน อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าอาวุธจากรัสเซีย เช่น อากาศยานปีกหมุน และ ระบบนำวิถี โดยอาวุธที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นได้มีการนำมาสวนสนามแสดงแสนยานุภาพ เมื่อ 1 ตุลาคม 2542 ที่ผ่านมา ปัจจุบันสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ “Chinese Defense Today Website” อย่างไรก็ตามเนื่องจาก PLA เป็นเป็นกองทัพที่ใหญ่ ดังนั้นการนำเอาอาวุธใหม่เข้าประจำการพร้อมกันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลา ทำให้หลายหน่วยยังคงใช้อาวุธเก่าอยู่จนกว่าจะได้รับของใหม่เข้าประจำการ นอกจากนี้ทางกองทัพยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักนิยมการรบร่วม (Joint Operations Doctrine) จากที่กล่าวนั้นจะเห็นได้ว่ากองทัพจีนนั้นมีการปรับปรุงกองทัพให้มีความทัน สมัยซึ่งได้พัฒนากันมานานนับ 10 ปี แต่ก็เป็นการพัฒนาแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะเป็นกองทัพที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังพลจำนวนมากถึง 2.3 ล้านคน มีขอบเขตหรือดินแดนที่ต้องรับผิดชอบอันกว้างใหญ่ไพศาล ทั้งทางบกและทางทะเล การพัฒนาต่างๆ คงจะต้องดำเนินต่อไป โดยมีหน่วยงานเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนาคือ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Forces: SOF) การพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกล การพัฒนากองกำลังทางเรือ การพัฒนาหน่วยสะเทินน้ำสะเทินบก ในปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีกองทัพใหญ่ที่สุดในโลก