Author Topic: โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือคนทั่วไปเรียกกันติดปากว่า โรคกระเพาะอาหาร  (Read 19720 times)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือคนทั่วไปเรียกกันติดปากว่า โรคกระเพาะอาหาร เกิด จากสาเหตุหลายประการ และมีกลไกการเกิดโรคที่ซับซ้อนมาก สาเหตุมาจากกรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยจะเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ร่วมกับมีความบกพร่องของเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดไม่ดี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้แก่ ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ ความเครียด อาหารเผ็ด สุรา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้

[010709_1.jpg]

‘เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร’ อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ปัจจุบันพบว่าเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร มีรูปร่างเป็นเกลียวและมีหาง มีความทนกรดสูงเนื่องจากสามารถสร้างสารที่เป็นด่างออกมาเจือจางกรดที่อยู่ รอบๆตัวมัน  ทำให้สามารถอาศัยอยู่ในชั้นผิวเคลือบภายในกระเพาะอาหารได้ และยังสร้างสารพิษทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดการอักเสบและเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร จึงนับเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ขณะที่ทำการรักษาแผลในกระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นต้นเหตุทำให้แผลหายช้า และทำให้แผลที่หายแล้วกลับเป็นซ้ำได้อีก รวมถึงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย

อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ปวด หรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่หรือช่องท้องช่วงบน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด มักเป็นในช่วงท้องว่างหรือหิว โดยอาการดังกล่าวมักไม่เป็นตลอดทั้งวัน

อาการปวดแน่นท้องที่บรรเทาลง ได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมากขึ้นหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด เป็นต้น

อาการปวด มักเป็นๆ หายๆ นานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์และหายไป หลายๆ เดือนจึงกลับมาปวดอีกครั้ง

ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้วจนต้องตื่นขึ้นมา

ใน ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการปวดท้องแต่จะมีอาการแน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายในท้อง มักจะเป็นบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือกลางท้อง รอบสะดือ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังกินอาหารจะมีท้องอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโกรกกราก ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อหรือช่วงเช้ามืด ผู้ป่วยอาจมีอาการอิ่มง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อย และน้ำหนักลดลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพทั่วไปมักไม่ทรุดโทรม น้ำหนักไม่ลด รวมถึงไม่มีภาวะซีดร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลใน กระเพาะอาหาร พบได้ประมาณร้อยละ 25-30 อาทิ ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเหลวสีดำ เหนียว คล้ายน้ำมันดิน หรือมีหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นลม
กระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลัน รุนแรง หน้าท้องแข็ง ตึง กดเจ็บมาก กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะรับประทานได้น้อย อิ่มเร็ว อาเจียนหลังอาหารเกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง

[010709_2.jpg]

การวินิจฉัยโรค แผลในกระเพาะอาหารในปัจจุบันถือว่าการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เป็นวิธีที่เป็นมาตรฐานและดีที่สุด ในทางการแพทย์ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกระเพาะอาหารและได้รับการรักษาด้วยยา ลดกรดแล้วอย่างน้อย 1 เดือนแล้วอาการไม่ทุเลาควรได้รับการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เนื่องจากแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยได้ทันที

การรักษาในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1.การรักษาสาเหตุ
ใน กรณีตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้การรักษาโดยมีสูตรยา 3-4 ชนิดร่วมกัน รับประทานนาน 1-2 สัปดาห์ สูตรยาส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะร่วมกับยาลดกรด เพื่อรักษาแผลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อซ้ำภายหลังจากได้รับประทานยาปฏิชีวนะครบแล้ว โดยอาจเป็นการตรวจโดยการส่องกล้องกระเพาะอาหารอีกครั้งเพื่อทำการพิสูจน์ ชิ้นเนื้อซ้ำ หรือทดสอบโดยการรับประทานยาสำหรับทดสอบเชื้อแบคทีเรียโดยตรง และตรวจวัดสารที่ถูกปล่อยออกมาทางลมหายใจ ทั้ง 2 วิธีถือเป็นวิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน  หลังตรวจพิสูจน์แล้วว่าไม่พบเชื้อแบคทีเรีย โอกาสการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กซ้ำจะมีน้อยกว่า 10% ภายใน 1 ปีหลังได้รับการรักษา  ส่วนการรักษาโดยยาลดกรด PPI เพียงอย่างเดียวอาจทำให้แผลหายได้เช่นกันแต่มีผลเสียคือ มีโอกาสเกิดแผลซ้ำได้สูง และทำให้มีโอกาสที่เชื้อแบคทีเรียจะทำลายเยื่อบุผิวกระเพาะอาหารลุกลามมาก ขึ้นได้ จึงน่าเป็นห่วงสำหรับผู้ป่วยที่มักจะรับประทานยาลดกรดเอง แล้วมีอาการเป็นๆหายๆโดยไม่เคยได้รับการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจเป็น สาเหตุของโรคที่ไม่หายขาดและส่งผลเสียต่อไปในอนาคตได้

ในกลุ่มผู้ ป่วยที่รับประทานยาที่มีผลทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ควรจะหยุดยาและหลีกเลี่ยงการรับยาในกลุ่มนี้ซ้ำอีก ยกเว้นในกรณีที่ยานั้นจำเป็นต่อการรักษาโรค ผู้ป่วยควรได้รับยาลดกรดควบคู่ไปกับยาที่รับประทานอยู่เพื่อรักษาแผล ลดโอกาสการเกิดแผลขึ้นใหม่ และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากแผล ส่วนในกรณีผู้ป่วยที่ตรวจพบภาวะกรดเกินจากเนื้องอกควรได้รับการผ่าตัด

2.การรักษาแผล
ผู้ป่วยจะได้รับยาลดกรดเพื่อยับยั้งการหลั่งกรดและส่งเสริมการสมานแผล โดยเฉลี่ยเป็นเวลานาน 6-8 สัปดาห์ รวมทั้งผู้ป่วยควรจะงดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ควบคุมอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดดังกล่าว รวมทั้งลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งการดูแลตัวเองดังนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นได้โดยเร็ว

ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างไรบ้าง?
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง อาหารแข็งย่อยยาก อาหารประเภททอด หรือมีไขมันมาก เพราะไขมันเป็นสารที่ย่อยยากกว่าสารอาหารชนิดอื่น รวมถึงสังเกตอาหารหรือผลไม้ที่รับประทานแล้วทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น บางคนรับประทานฝรั่งหรือสับปะรดจะปวดท้องมากขึ้น เป็นต้น ควรรับประทานอาหารอ่อน อาหารที่ย่อยง่าย เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยกลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติ ได้

การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง มีผลต่อการเพิ่มความรุนแรงของโรคกระเพาะอาหาร กล่าวคือ ถ้ารับประทานอาหารรสจัดจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อแผลมากขึ้น มีอาการปวดมากขึ้น นอกจากนี้ ถ้ารับประทานอาหารที่ย่อยยากหรือรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป จะยิ่งกระตุ้นให้กระเพาะอาหารขยายตัวมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการปวดมากขึ้นเช่นกัน

โรคแผลในกระเพาะอาหารจะหายขาดได้หรือไม่?
โรคแผลในกระเพาะอาหารหายได้ แต่มีโอกาสกลับเป็นใหม่ได้อีกร้อยละ 70-80 ในระยะเวลา 1 ปีหลังให้การรักษา ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นธรรมชาติของโรค คือจะมีลักษณะเรื้อรังและกลับเป็นซ้ำได้ หลังได้รับยาอาการปวดมักจะทุเลาลงในระยะ 7 วันแต่แผลจะยังไม่หาย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน 8-12 สัปดาห์ แผลจึงจะหาย เมื่อหายแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวังเรื่องการปฏิบัติตัว ให้ถูกต้อง หรือถ้ายังไม่สามารถกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรให้หมดไปได้

ข้อมูลโดย ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวชธานี

www.vejthani.com

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

สาเหตุของ โรคดังกล่าวยังไม่ชัดเจน ปกติจะมีสารเมือก (mucin) หลั่งออกจากต่อมในส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและส่วนบนของลำไส้เล็ก เพื่อป้องกันเยื่อบุกระเพาะจากฤทธิ์กัดของน้ำย่อยที่เป็นกรดอย่างแรง แต่มีปัจจัยบางอย่างที่คาดว่าจะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง เกิดการอักเสบและเป็นแผลได้ง่าย เช่น ภาวะขาดอาหาร ภาวะเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานยาหรือสารบางชนิดที่กัดกระเพาะ สูบบุหรี่จัด ดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีนมากหรือเนื่องจากกรรมพันธุ์

อาการระยะแรก คือ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ อาจมีความรู้สึกอิ่มแน่นหรือหิวร่วมด้วย แผลในกระเพาะอาหารมักปวดท้องหลังอาหารประมาณ 1-ชั่วโมงครึ่ง ส่วนแผลในลำไส้มักปวดท้องหลังอาหารประมาณ 2-4 ชั่วโมง และช่วงดึกหลังเที่ยงคืนด้วย
     
การรักษาจะไม่หายขาด ผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองคล้ายกับผู้ป่วยท้องอืด ท้องเฟ้อ ระยะที่ปวดท้องควรดื่มนมถั่วเหลืองทุก 3-4 ชั่วโมงพร้อมทั้งใช้สมุนไพรที่แนะนำ รับประทานอาหารอ่อน ทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่ทานบ่อยๆ งดอาหารรสจัดและสิ่งต้องห้ามข้างต้น และหาทางคลายเครียดด้วย จะมีสมุนไพรที่ช่วยรักษาเยื่อบุทางเดินอาหารให้แข็งแรงขึ้น และควรใช้สมุนไพรขับลมร่วมด้วย
กล้วยน้ำว้ารับประทานผลดิบสดครั้งละครึ่งถึง 1 ผล อาจใช้ผลดิบหั่นบางๆตากแห้ง บดเป็นผงชงน้ำดื่ม ใช้ผงยาเท่ากับครึ่งถึง 1 ผล
     
ข้อควรระวัง อาจมีอาการท้องอืดหลังรับประทานยานี้ แก้ได้โดยดื่มน้ำต้มขิงหรือสมุนไพรขับลมอื่นๆ
ขมิ้นชันผงขมิ้นครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอนหรือปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2 เม็ด

ขอบคุณที่มา : halalthailand.com

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
    ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโรคแผลเป็นติค หรือโรคกระเพาะอาหารในความหมายของประชาชนทั่วไป นั้น จริง ๆ แล้วในทางการแพทย์หมายถึง โรคที่เกิดแผลขึ้นที่บริเวณกระเพาะอาหาร รวมถึงลำไส้เล็กส่วนต้น

    ดังนั้น เราจึงแบ่งโรคเป็นติคออกเป็น 2 ชนิดตามตำแหน่งที่เกิดแผลคือ

    1. แผลในกระเพาะอาหาร (Gartris ulcer)
    2. แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal ulcer)

    โรคแผลกระเพาะและลำไส้เกิดขึ้นได้อย่างไร

    กระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำย่อยและกรดเข้มข้นที่ใช้ในการย่อยอาหาร

    ดังนั้นผนังเยื่อบุของกระเพาะและลำไส้จึงต้องมีกลไกในการปรับสภาพให้ทนต่อกรดและน้ำย่อยได้ จึง ไม่เกิดแผลในภาวะปกติ จึงทำให้เกิดแผลขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผลได้แก่ การติดเชื้อ เอช.ไพโลไร (H.pylori), ยาแก้ปวดข้อและกระดูก, ยาแอสไพริน, ความเครียด, เหล้าและบุหรี่ เป็นต้น

    เชื้อ H. Pylori คืออะไร

    Hpylori เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่บริเวณผนังเยื่อบุกระเพาะอาหาร ในประชากรไทยมีโอกาสพบ เชื้อได้ถึง 60-70% เชื้อนี้จะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดในปริมาณที่สูงกว่าปกติและเชื้อจะทำลายผนัง เยื่อบุ จึงทำให้เกิดแผล

    นอกจากนี้เชื้อ H.pylori ยังเป็นสารก่อมะเร็งในกระเพาะอาหารอีกด้วย เชื้อนี้จะทำให้แผลกระเพาะอาหารไม่ หายขาด มีอัตราการเกิดแผลซ้ำได้มากกว่า 90%

    ดังนั้นในการรักษาแผลเป็นติค ต้องตรวจหาและกำจัดเชื้อโรคตัวนี้ แผลจึงจะหายขาด

    อาการของโรคแผลกระเพาะอาหารและลำไส้

    จะมีอาการปวดจุกแน่นท้องที่บริเวณลิ้นปี่ อาจมีคลื่นไส้อาเจียน อาการปวดอาจจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น หิวแล้วปวด อิ่มแล้วปวด บางรายมีอาการปวดแสบท้องตอนกลางคืนบ่อย ๆ หรืออาจมา โรงพยาบาลด้วยอาหารแทรก แทรกซ้อนจากแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เช่น มีถ่ายดำ อาเจียนเป็นเลือก กระเพาะอาหารทะลุ

    การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้นมีประโยชน์อย่างไรในผู้ป่วยในแผลกระเพาะอาหารและลำไส้

    โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้ารักษาอย่างถูกวิธี การตรวจโดยการส่องกล้องฯ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่สงสัยโรคนี้ เพราะการส่องกล้องฯ จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยแผลว่ามีจริงหรือไม่ จาก ที่เมื่อก่อนมักใช้วิธีการเอกซเรย์กลืนแป้ง ซึ่งมักไม่สามารถยืนยันตำแหน่งและขนาดของแผลที่ตรวจพบได้เท่ากับ ผลจากการตรวจด้วยการส่องกล้อง และถ้ามีแผลจริงขนาดและตำแหน่งของแผลจะเป็นตัวกำหนดระยะเวลาใน การรับประทานยาลดกรด อีกทั้งการตรวจด้วยวิธีนี้ยังสามารถตรวจหาเชื้อ H.pylori โดยการคีบชิ้นเนื้อเล็ก ๆ ขนาด 2-3 มิลลิเมตร มาตรวจหาเชื้อ หรือตรวจชิ้นเนื้อส่งตรวจพยาธิสภาพได้ ในกรณีที่สงสัยมะเร็งกระเพาะอาหาร

    การรักษาแผลเป็นติคให้หายขาดและการกำจัดเชื้อ H.pylori สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้

    การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

    หากมีการตรวจพบเชื้อ H.pylori จะต้องทำการรักษากำจัดเชื้อ หากไม่มีการกำจัดเชื้อตัวนี้ก็จะทำให้ไม่สามารถ รักษาโรคแผลในกระเพาะและลำไส้ให้หายขาดได้

    ควรรับประทานยารักษาแผลเป็นติคตามคำแนะนำของแพทย์และอย่าหยุดยาเองเมื่ออาการปวดท้องดีขึ้น เพราะ อาการปวดท้องมักดีขึ้นก่อนการหายของแผล

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
แนะเลี่ยงอาหารรสจัด-บุหรี่-ชากาแฟ

 

 

           ‘เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร’ หรือ โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือคนทั่วไปเรียกกันติดปากว่า โรคกระเพาะอาหาร เกิดจากสาเหตุหลายประการ และมีกลไกการเกิดโรคที่ซับซ้อนมาก สาเหตุมาจากกรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยจะเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ร่วมกับมีความบกพร่องของเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดไม่ดี

 

          นอก จากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้แก่ ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ ความเครียด อาหารเผ็ด สุรา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้

 

          ‘เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร’ อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

 

          ปัจจุบันพบว่าเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) เป็น เชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร มีรูปร่างเป็นเกลียวและมีหาง มีความทนกรดสูงเนื่องจากสามารถสร้างสารที่เป็นด่างออกมาเจือจางกรดที่อยู่ รอบๆ ตัวมัน ทำให้สามารถอาศัยอยู่ในชั้นผิวเคลือบภายในกระเพาะอาหารได้ และยังสร้างสารพิษทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดการอักเสบและเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร จึงนับเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

 

          นอก จากนี้ขณะที่ทำการรักษาแผลในกระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นต้นเหตุทำให้แผลหายช้า และทำให้แผลที่หายแล้วกลับเป็นซ้ำได้อีก รวมถึงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย

 

          อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

 

          ปวดหรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่หรือช่องท้องช่วงบน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด มักเป็นในช่วงท้องว่างหรือหิว โดยอาการดังกล่าวมักไม่เป็นตลอดทั้งวัน

 

          อาการปวดแน่นท้องที่บรรเทาลงได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมากขึ้นหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด เป็นต้น

 

          อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ นานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1 - 2 สัปดาห์และหายไป หลายๆ เดือนจึงกลับมาปวดอีกครั้ง

 

          ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้วจนต้องตื่นขึ้นมา ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการปวดท้องแต่จะมีอาการแน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายในท้อง มักจะเป็นบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือกลางท้อง รอบสะดือ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังกินอาหารจะมีท้องอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโกรกกราก ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

 

          โดย เฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อหรือช่วงเช้ามืด ผู้ป่วยอาจมีอาการอิ่มง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อย และน้ำหนักลดลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพทั่วไปมักไม่ทรุดโทรม น้ำหนักไม่ลด รวมถึงไม่มีภาวะซีดร่วมด้วย

 

          ภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลในกระเพาะอาหาร พบได้ประมาณร้อยละ 25 - 30 อาทิ ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเหลวสีดำ เหนียว คล้ายน้ำมันดิน หรือมีหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นลม

 

          กระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลัน รุนแรง หน้าท้องแข็ง ตึง กดเจ็บมาก กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะรับประทานได้น้อย อิ่มเร็ว อาเจียนหลังอาหารเกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง

 

          การวินิจฉัยโรคแผลในกระเพาะอาหาร ในปัจจุบันถือว่าการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เป็นวิธีที่เป็นมาตรฐานและดีที่สุด ในทางการแพทย์ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกระเพาะอาหารและได้รับการรักษาด้วยยา ลดกรดแล้วอย่างน้อย 1 เดือนแล้วอาการไม่ทุเลาควรได้รับการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เนื่องจากแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยได้ทันที

 

          การรักษาในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

 

          1. การรักษา / สาเหตุ

 

          ใน กรณีตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้การรักษาโดยมีสูตรยา 3 - 4 ชนิดร่วมกัน รับประทานนาน 1 - 2 สัปดาห์ สูตรยาส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะร่วมกับยาลดกรด เพื่อรักษาแผลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ

 

          ผู้ ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อซ้ำภายหลังจากได้รับประทานยาปฏิชีวนะครบแล้ว โดยอาจเป็นการตรวจโดยการส่องกล้องกระเพาะอาหารอีกครั้งเพื่อทำการพิสูจน์ ชิ้นเนื้อซ้ำ หรือทดสอบโดยการรับประทานยาสำหรับทดสอบเชื้อแบคทีเรียโดยตรง และตรวจวัดสารที่ถูกปล่อยออกมาทางลมหายใจ

 

          ทั้ง 2 วิธีถือเป็นวิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน หลังตรวจพิสูจน์แล้วว่าไม่พบเชื้อแบคทีเรีย โอกาสการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กซ้ำจะมีน้อยกว่า 10% ภายใน 1 ปีหลังได้รับการรักษา ส่วนการรักษาโดยยาลดกรด PPI เพียง อย่างเดียวอาจทำให้แผลหายได้เช่นกัน แต่มีผลเสีย คือ มีโอกาสเกิดแผลซ้ำได้สูง และทำให้มีโอกาสที่เชื้อแบคทีเรียจะทำลายเยื่อบุผิวกระเพาะอาหารลุกลามมาก ขึ้นได้ จึงน่าเป็นห่วงสำหรับผู้ป่วยที่มักจะรับประทานยาลดกรดเอง แล้วมีอาการเป็นๆ หายๆ โดยไม่เคยได้รับการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคที่ไม่หาย ขาดและส่งผลเสียต่อไปในอนาคตได้

 

          ใน กลุ่มผู้ป่วยที่รับประทานยาที่มีผลทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ควรจะหยุดยาและหลีกเลี่ยงการรับยาในกลุ่มนี้ซ้ำอีก ยกเว้นในกรณีที่ยานั้นจำเป็นต่อการรักษาโรค ผู้ป่วยควรได้รับยาลดกรดควบคู่ไปกับยาที่รับประทานอยู่เพื่อรักษาแผล ลดโอกาสการเกิดแผลขึ้นใหม่ และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากแผล ส่วนในกรณีผู้ป่วยที่ตรวจพบภาวะกรดเกินจากเนื้องอกควรได้รับการผ่าตัด

 

          2. การรักษาแผล

 

          ผู้ ป่วยจะได้รับยาลดกรดเพื่อยับยั้งการหลั่งกรดและส่งเสริมการสมานแผล โดยเฉลี่ยเป็นเวลานาน 6 - 8 สัปดาห์ รวมทั้งผู้ป่วยควรจะงดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ควบคุมอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดดังกล่าว รวมทั้งลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งการดูแลตัวเองดังนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นได้โดยเร็ว

 

          ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างไรบ้าง?

 

          อาหาร ที่ควรหลีกเลี่ยง คือ ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง อาหารแข็งย่อยยาก อาหารประเภททอด หรือมีไขมันมาก เพราะไขมันเป็นสารที่ย่อยยากกว่าสารอาหารชนิดอื่น รวมถึงสังเกตอาหารหรือผลไม้ที่รับประทานแล้วทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น บางคนรับประทานฝรั่งหรือสับปะรดจะปวดท้องมากขึ้น เป็นต้น ควรรับประทานอาหารอ่อน อาหารที่ย่อยง่าย เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยกลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติ ได้

 

          การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง มีผลต่อการเพิ่มความรุนแรงของโรคกระเพาะอาหาร กล่าวคือ ถ้ารับประทานอาหารรสจัดจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อแผลมากขึ้น มีอาการปวดมากขึ้น นอกจากนี้ ถ้ารับประทานอาหารที่ย่อยยากหรือรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป จะยิ่งกระตุ้นให้กระเพาะอาหารขยายตัวมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการปวดมากขึ้นเช่นกัน

 

          โรคแผลในกระเพาะอาหารจะหายขาดได้หรือไม่?

 

          โรค แผลในกระเพาะอาหารหายได้ แต่มีโอกาสกลับเป็นใหม่ได้อีกร้อยละ 70 - 80 ในระยะเวลา 1 ปีหลังให้การรักษา ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นธรรมชาติของโรค คือ จะมีลักษณะเรื้อรังและกลับเป็นซ้ำได้ หลังได้รับยาอาการปวดมักจะทุเลาลงในระยะ 7 วันแต่แผลจะยังไม่หาย

 

          ส่วน ใหญ่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน 8 -12 สัปดาห์ แผลจึงจะหาย เมื่อหายแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวังเรื่องการปฏิบัติตัว ให้ถูกต้อง หรือถ้ายังไม่สามารถกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรให้หมดไปได้

 

 

 

 

 

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
โรคแผลในกระเพาะอาหารและอีกหนึ่งสาเหตุที่น่ารู้
…....การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไล ( Helicobacter Pylori )
 
 
“ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไล มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มากกว่าคนทั่วไปถึง 3-6 เท่า”
 
 
         เมื่อพูดถึงโรคแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer) ในความเป็นจริงแล้วยังต้องพูดรวมไปถึงโรคแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal ulcer) ด้วย เพราะสามารถก่อให้เกิดอาการได้เหมือนกับอาการอันเนื่องมาจากแผลในกระเพาะ อาหาร รวมทั้งการรักษาก็ยังใช้ยาในกลุ่มเดียวกันอีกด้วย ดังนั้นโดยทั่วไปแพทย์จึงสื่อสารกับผู้ป่วยโดยใช้คำรวมว่าแผลในกระเพาะอาหาร เพื่อให้เข้าใจง่ายครับ
         ผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารอาจมีอาการได้หลายรูปแบบ ได้แก่ อาการปวดจุกแน่นหรือแสบร้อนบริเวณท้องส่วนบน อาการท้องอืดท้องเฟ้อเหมือนอาหารไม่ย่อย ทานอาหารแล้วอิ่มเร็วกว่าปกติ อาการคลื่นไส้อาเจียน ร่วมกับเบื่ออาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เรามักจะคิดว่าอาการเหล่านี้เกิดจากการทานอาหารรสจัด การทานอาหารผิดประเภทหรือผิดเวลา แต่จริงๆแล้วถ้าเราสามารถตรวจพบสาเหตุได้ว่าเกิดเนื่องมาจากโรคแผลในกระเพาะ อาหาร การให้ยารักษาร่วมกับการแก้ไขที่สาเหตุจะทำให้แผลหายและลดโอกาสการเกิดเป็น ซ้ำได้
         หมออยากจะแนะนำผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกระเพาะอาหารว่าควรจะสังเกตอาการผิด ปกติบางอย่างซึ่งเป็นอาการเตือนถึงโรคร้ายแรง โดยอาการดังกล่าวเรียกว่าเป็น สัญญาณเตือนภัย ซึ่งได้แก่ อาการปวดท้องร่วมกับท้องอืดท้องโตเป็นเวลานาน คลำได้ก้อนในท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด กลืนอาหารติด กลืนลำบาก มีอาการอาเจียนบ่อยๆ มีประวัติครอบครัวของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มีอายุเกิน 40 ปีหรือมีประวัติเคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารมาก่อน ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าว แสดงว่าผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer)
         ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารมานาน แต่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อันเนื่องมาจากแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่

   1. ภาวะเลือดออกใน ทางเดินอาหาร (Hemorrhage) ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเป็นเนื้อเละๆสีดำ หรืออาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ในกรณีที่เลือดออกมากอุจจาระอาจมีสีออกดำปนแดงและผู้ป่วยอาจมีอาการหน้ามืด เป็นลม หรือมีความดันโลหิตต่ำจนเกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว

   2. ภาวะกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ (Perforation) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อาจมีอาการปวดร้าวทะลุไปที่หลัง หรือปวดท้องบริเวณลิ้นปีและลุกลามไป มีอาการปวดทั่วท้องในเวลาต่อมาซึ่งแสดงถึงภาวะทะลุของกระเพาะอาหาร และมีการรั่วของกรดในกระเพาะอาหารออกไปสู่ช่องท้อง
      มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากถึง 10-25% ที่มีภาวะกระเพาะอาหารทะลุโดยไม่เคยมีอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารมาก่อน เลยก็ได้

   3. ภาวะทางเดินอาหารส่วนบนตีบตัน (Obstruction) อันเนื่องมาจากการมีแผลในกระเพาะอาหารบริเวณทางออกของกระเพาะอาหาร (Pyloric ulcer)
      หรือลำไส้เล็กส่วนต้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อึดอัดแน่นท้อง ทานอาหารได้น้อย ทานแล้วอิ่มเร็วกว่าเดิม น้ำหนักลด มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังทานอาหารไปแล้ว1/2 -1 ชั่วโมง โดยเฉพาะหลังอาหารเย็นหรือหลังอาหารมื้อใหญ่

แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร...และจะรักษาได้อย่างไร?

         ความจริงแล้ว แผลในกระเพาะอาหารเกิดขึ้นเนื่องจากมีการทำลายกลไกป้องกันตนเองของกระเพาะ อาหาร ซึ่งทำให้มีการเสียการทำงานของชั้นสารเคลือบปกป้องผิวเยื่อบุภายในกระเพาะ อาหาร การเสื่อมสภาพของเซลล์เยื่อบุผิว การลดปริมาณการคัดหลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งทำหน้าที่เจือจางกรดใน กระเพาะอาหาร รวมทั้งการที่มีเลือดไหลเวียนไปยังเซลล์เยื่อบุผิวลดลง การสูญเสียกลไกป้องกันตนเองดังกล่าวของกระเพาะอาหารมีสาเหตุที่สำคัญ ดังนี้ครับ

   1. การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไล ( Helicobacter pylori ) เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มีรูปร่างเป็นเกลียวและมีหาง มีความทนกรดสูงเนื่องจากสามารถสร้างสารที่เป็นด่างออกมาเจือจางกรดที่อยู่ รอบๆตัวมัน  มันจึงสามารถอาศัยอยู่ในชั้นผิวเคลือบภายในกระเพาะอาหารได้ และยังสร้างสารพิษไปทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร แบคทีเรียนี้เป็นสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารคิดเป็นสัดส่วน 60% ของสาเหตุทั้งหมด และยังเป็นสาเหตุของการเกิดแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 80% นอกจากนี้มีการศึกษาวิจัยซึ่งสมาคมแพทย์ทั่วโลกและองค์การอนามัยโลก พบว่าเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโรไล เป็นสารก่อมะเร็ง ( Carcinogen group 1) ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งของกระเพาะอาหาร มากกว่าประชากรทั่วไปถึง 3-6 เท่า  และยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่บริเวณกระเพาะอาหารได้เช่นกัน

      เชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1979 และทำให้แพทย์ผู้ค้นพบได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์เมื่อปี ค.ศ.2005 ส่วนสาเหตุของการติดเชื้อมีความเชื่อว่าอาจติดมาจากการปนเปื้อนอยู่ในอาหาร และอุจจาระ ซึ่งเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางปาก โดยส่วนมากจะพบอัตราการติดเชื้อตั้งแต่ในวัยเด็ก แต่การแสดงออกทางอาการส่วนมากจะพบได้เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว และจะพบมากในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป  มีการศึกษาประชากรในกรุงเทพฯพบว่ามีความชุกของการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ สูงถึง 37% เห็นมั้ยครับว่าแบคทีเรียนี้มีอยู่ใกล้ตัวเรามากทีเดียวนะครับ

   2. การรับประทานยา บางชนิด โดยเฉพาะยาในกลุ่มแก้ปวดที่เป็นยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal antiinflammatory drugs-NSAIDs)  ซึ่งพบว่ามีการใช้ยาชนิดนี้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีฤทธิ์บรรเทาอาการ ปวดกล้ามเนื้อและโรคข้อได้เป็นอย่างดี  รวมทั้งยาแอสไพรินที่เป็นยาในกลุ่มเดียวกันนี้ซึ่งมีประโยชน์ในการป้องกัน เส้นเลือดแดงตีบตัน แต่ก็พบว่ามีผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้นอกจากนี้ยังมียาในกลุ่มอื่น เช่น ยารักษาอาการกระดูกพรุนในกลุ่มที่เรียกว่า Bisphosphonate ยาโปแตสเซียมชนิดเม็ด เป็นต้น การทานยาต่างๆเหล่านี้จึงเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องรับประทานยาหลายอย่าง ทั้งโรคกระดูกและโรคหัวใจ

   3. ภาวะมีกรดมากเกิน ในกระเพาะอาหาร ทำให้กลไกการป้องกันตนเองไม่สามารถทนต่อสภาวะกรดรุนแรงได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากเนื้องอกบางชนิด หรือกลไกการควบคุมการหลั่งกรดสูญเสียไป

         นอกจากนี้พบว่ามีอีกหลายปัจจัยที่เป็นตัวส่งเสริมให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ความเครียด พันธุกรรม และโรคร่วม เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคตับแข็ง โรคไตวายเรื้อรัง  ส่วนการรับ ประทานอาหารที่หลายคนเข้าใจว่าทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารนั้นยังไม่มีการ ศึกษาที่ยืนยัน  แต่พบว่าการรับประทานอาหารรสจัด ชา กาแฟ น้ำอัดลม จะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง การวินิจฉัยโรคแผลในกระเพาะอาหารในปัจจุบันถือว่าการตรวจส่องกล้องทางเดิน อาหารส่วนบน ( Esophagogastroduodenoscopy-EGD ) เป็นวิธีที่เป็นมาตรฐานและดีที่สุด ในทางการแพทย์ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกระเพาะอาหารและได้รับการรักษาด้วยยา ลดกรดแล้วอย่างน้อย 1 เดือนแล้วอาการไม่ทุเลา ควรได้รับการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งแพทย์สามารถตรวจพิสูจน์โดยนำตัวอย่างเนื้อเยื่อขนาดเล็ก 1-2 มิลลิเมตรจากบริเวณแผลและเนื้อเยื่อใกล้เคียงไปตรวจหาแบคทีเรียโดยนำ ตัวอย่างชิ้นเนื้อใส่บนแผ่นทดสอบทางเคมี ซึ่งถ้ามีเชื้อแบคทีเรียจะสามารถสร้างสารที่มีสภาพเป็นด่างและเปลี่ยนสีของ แผ่นทดสอบให้เห็นได้ นอกจากนี้ตัวอย่างชิ้นเนื้อจะถูกส่งไปให้พยาธิแพทย์ทำการตรวจเพื่อหาเชื้อ แบคทีเรียซ้ำอีกครั้ง ในกรณีตรวจเบื้องต้นด้วยแผ่นทดสอบทางเคมีแล้วได้ผลลบ รวมทั้งตรวจเพื่อแยกโรคระหว่างแผลในกระเพาะอาหารกับโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร หรือโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่กระเพาะอาหารที่มีลักษณะเป็นแผลได้  ดังนั้นการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารจึงถือว่าเป็นการตรวจที่สำคัญมากที เดียวเลยนะครับสำหรับผู้ป่วยโรคนี้
การรักษาในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

   1. การรักษาสาเหตุ ใน กรณีตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้การรักษาโดยให้ยารับประทาน 3-4 ชนิดร่วมกัน นาน 1-2 สัปดาห์ สูตรยาส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 2 ชนิดร่วมกับยาลดกรดในกลุ่มที่เรียกว่า Proton Pump Inhibitor ซึ่งมีชื่อย่อว่า PPI ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดได้เป็นอย่างดี ใช้เพื่อรักษาแผลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อซ้ำภายหลังจากได้รับประทานยาปฏิชีวนะครบแล้ว โดยอาจเป็นการตรวจโดยการส่องกล้องกระเพาะอาหารอีกครั้งเพื่อทำการพิสูจน์ ชิ้นเนื้อ(Tissue Biopsy)ซ้ำ หรือทดสอบโดยการรับประทานยาสำหรับทดสอบเชื้อแบคทีเรียโดยตรง และตรวจวัดสารที่ถูกปล่อยออกมาทางลมหายใจ ( Urea Breath Test-UBT ) ทั้ง 2 วิธีถือเป็นวิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน  หลังตรวจพิสูจน์แล้วว่าไม่พบเชื้อแบคทีเรีย โอกาสการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กซ้ำจะมีน้อยกว่า 10% ภายใน 1 ปีหลังได้รับการรักษา ส่วนการรักษาโดยยาลดกรด PPI เพียงอย่างเดียวอาจทำให้แผลหายได้เช่นกัน แต่มีผลเสียคือมีโอกาสเกิดแผลซ้ำได้สูง และทำให้มีโอกาสที่เชื้อแบคทีเรียจะทำลายเยื่อบุผิวกระเพาะอาหารลุกลามมาก ขึ้นได้ จึงน่าเป็นห่วงสำหรับผู้ป่วยที่มักจะรับประทานยาลดกรดเอง แล้วมีอาการเป็นๆหายๆโดยไม่เคยได้รับการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคที่ไม่หายขาดและส่งผลเสียต่อไปในอนาคตได้นะครับ

               ในกลุ่มผู้ป่วยที่รับประทานยาที่มีผลทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารก็ควรจะหยุด ยาและหลีกเลี่ยงที่จะต้องรับยาในกลุ่มนี้ซ้ำอีก ยกเว้นในกรณีที่ยานั้นจำเป็นต่อการรักษาโรคผู้ป่วยควรจะได้รับยาลดกรดรับ ประทานต่อเนื่องควบคู่ไปกับยาที่ทานอยู่เพื่อรักษาแผล ลดโอกาสการเกิดแผลขึ้นใหม่ และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากแผล  ส่วนในกรณีผู้ป่วยที่ตรวจพบภาวะกรดเกินจากเนื้องอกควรได้รับการผ่าตัดครับ

   2. การรักษาแผล ผู้ป่วยจะได้รับยาลดกรด PPI ทานเพื่อยับยั้งการหลั่งของกรดและส่งเสริมการสมานแผล โดยเฉลี่ยเป็นเวลานาน 6-8 สัปดาห์ รวมทั้งผู้ป่วยควรงดสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ควบคุมอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดดังกล่าว รวมทั้งลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งการดูแลตัวเองดังนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นได้โดยเร็ว

 
         ถึงตอนนี้หมอว่าทุกคนคงเข้าใจโรคแผลในกระเพาะอาหารกันดีแล้วใช่มั้ยครับ ดังนั้นเราสามารถสังเกตและแสดงความห่วงใยต่อคนรอบข้างเราได้ว่ามีอาการของ โรคกระเพาะอาหารหรือไม่ แล้วได้รับประทานยาลดกรดร่วมกับดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นอย่างดีแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นสัญญาณเตือนภัยถึงโรคร้าย ก็อย่านิ่งนอนใจนะครับ ควรมาพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา เพราะหมออยากให้ทุกคน ปราศจากโรค ดังคำภาษาบาลีที่ว่า อโรคา ปรมา ลาภา ...ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ นะครับ
 
 
 
โดย นพ.กฤษฎา จำนงค์กิจพานิช อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ