Author Topic: สถานที่ไม่ควรถลาดเชียงใหม่  (Read 5527 times)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
    
วัดสวนดอก
วัด สวนดอก หรือวัดบุปผาราม ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ ในเขตอำเภอเมือง พญากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในล้านนา

วัดนี้แต่เดิม เป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์ล้านนาไทยสมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่ และวิหารโถง นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้น เป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย

หมวดหมู่: วัด

ภาษาที่มีให้บริการ: ไทย, อังกฤษ


โดยรถยนต์

ไป ทางถนนสุเทพ มุ่งหน้าไปทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านโรงพยาบาลมหาราช แล้วเลี้ยวซ้ายตรงโรงพยาบาลประสาท วัดสวนดอกอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาล
   
วัดเชียงมั่น



วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00
   

วัด เชียงมั่น อยู่ถนนราชภาคินัย อำเภอเมือง เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่เมื่อพญามังรายสร้างเมือง เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 พระองค์ทรงยกพระตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอารามให้ชื่อว่า วัดเชียงมั่น

วัดนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปสำคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่ มีสถาปัตยกรรมสำคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช้างล้อม พระอุโบสถ และหอไตร และที่สำคัญคือ เจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม และมีช้างล้อมที่ฐานหมายความว่าคำจุนพระพุทธศาสนาไว้

หมวดหมู่: วัด

ภาษาที่มีให้บริการ: ไทย, อังกฤษ
   
วัดพระสิงห์วรวิหาร
 วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00
   

อยู่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดินล้านนามานับแต่อดีต พญาผายูกษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์มังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น ในปีพ.ศ. 1888 พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา มีพระพุทธรูปที่สำคัญอยู่องค์หนึ่งคือพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปาง มารวิชัยขัดสมาธิเพชร

ตามประวัติของพระพุทธสิหิงส์นั้นเล่าไว้ว่า พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เม็งราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงรายเพื่อไปประดิษฐานไว้ยัง วัดสวนดอก แต่พอราชรถมาถึงวัดลีเชียง ก็ปรากฎว่าติดขัดไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก ดังนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดลีเชียงนี้ ประชาชนนิยมเรียกพระพุทธสิงหิงค์สั้น ๆ ว่า พระสิงห์ จึงได้เรียกชื่อวัดพระสิงห์

เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้แห่ไปตามถนน รอบเมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วกัน ในวิหารลายคำซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ยังมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง สุพรรณหงส์ และสังข์ทองซึ่งพบเพียงที่นี่แห่งเดียว ยังมีศิลปกรรมอื่นๆ ที่น่าชม ได้แก่ พระอุโบสถตกแต่งแบบศิลปะล้านนา หอไตรประดับด้วยรูปปูนปั้นเทวดา และเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา

ความเชื่อและวิธีการบูชา พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง (งูใหญ่) หากได้มานมัสการอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งแล้ว จะเป็นมงคลสูงสุดทำให้อายุมั่นขวัญยืน มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ทางลาด: ทางวัดจัดทางลาดสำหรับเข้าห้องส้วมไว้ คนที่ใช้ Wheel Chair สามารถใช้งานได้
ป้ายสัญลักษณ์: ในวัดที่จัดไว้เป็นป้ายห้องส้วมสาธารณะ
ห้องส้วม: สร้างไว้ 2 ห้องแยกชายหญิง รวมถึงมีห้องผู้สูงอายุ และห้องเด็กอีกด้วย
   
วัดปราสาท
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00
   

วัด ปราสาท ตั้งอยู่บนถนนอินทวโรรส ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองใกล้กับวัดพระสิงห์ เป็นวัดที่มีความเป็นมาทางประวัติสาสตร์อย่างยาวนาน และเป็นวัดที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม โดยหลวงพ่อพระประธานแห่งวัดปราสาทนั้นเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยสี ขาว ที่มีพระพักตร์อิ่มเอิบน่าเลื่อมใสศรัทธา นับเป็นพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่กับวัดแห่งนี้มานานหลายสมัย ประดิษฐานอยู่ในซุ้มปราสาทแบบล้านนาโบราณ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนท้ายพระวิหาร มีประตูซุ้มโขงเชื่อมเข้าสู่องค์ปราสาทลักษณะคล้ายกับเจดีย์หรือที่เรียกว่า กู่พระเจ้า อยูติดกับหลังพระวิหารอันหาชมได้ยากยิ่ง เชื่อกันว่าองค์พระประธานนี้มีความเก่าแก่ เพราะสร้างขึ้นมาในคราวเดียวกับการสร้างพระวิหาร หากใครได้เข้ามาสักการะ ขอพรจากองค์พระประธานในซุ้มปราสาทแห่งนี้ จะรู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์และความเงียบสงบราวกับมีมนต์ขลัง

ตามหลักฐานที่ปรากฎในหลักศิลาจารึกของวัดตะโปธารามได้จารึกไว้ว่า วัดปราสาทมีมาตั้งแต่ครั้งที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองเมื่อปี พ.ศ. 2035 ในสมัยที่พระยายอดเชียงรายนั้นครองเมืองเชียงใหม่ ด้วยเหตุที่วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตที่ประทับของเจ้านายและฝ่ายขุนนาง ทำให้ได้รับการทำนุบำรุงสืบต่อกันมา แม้กระทั่งในสมัยที่เชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านั้น พระยาหลวงแสนคำก็ยังได้หล่อพระเจ้าหมื่นทอง พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยถวายไว้ที่วัดปราสาทในปี พ.ศ 2133 และได้จารึกข้อความไว้ที่ฐานพระองค์นี้ด้วย

วัดปราสาทมีความโดดเด่นและทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม พระวิหารซึ่งมีลักษณะแบบล้านนาดั้งเดิมที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี มีโครงสร้างแบบม้าต่างไหม คือลักษณะหลังคาและไม้ขื่นคานมี่ลดหลั่นกันขึ้นไปเหมือนต่างบนหลังม้าสำหรับ บรรทุกสิ่งของ มีบันไดนาคนำขึ้นสู่ตัวอาคารด้านหน้าวิหารมีลวดลายปูนปั้นประดับกระจกสี อย่างวิจิตร ภายในพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังลายคำบนพื้นรักสีแดงอย่างล้านนา ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ และซุ้มปราสาทที่ประดิษฐานพระประธานซึ่งหลงเหลืออยู่ไม่กี่แห่งในปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นวัดที่สำคัญทางพุทธศาสนา ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของคนรุ่นหลังสืบไป


   
วัดเจดีย์หลวงวิหาร
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00
   

วัด เจดีย์หลวงวรวิหาร อยู่ที่ถนนพระปกเกล้า วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1913-1954) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2024 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.2011-2091 นานถึง 80 ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร
 
วิหาร หลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุด ของภาคเหนือ

ในวัดเจีย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็กๆ เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม 12 ค่ำเดือน 8 (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง
   
วัดพันเตา
วลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00
   

วัด พันเตา ถนนพระปกเกล้า ติดกับวัดเจดีย์หลวง วิหารเดิมเป็นหอคำหรือท้องพระโรงหน้าของพระเจ้ามโหตรประเทศ เป็นอาคารเครื่องไม้แบบพื้นเมือง ซุ้มประตูประดับไม้แกะสลักรูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือซึ่ง มองดูวิจิตรและสง่างาม

หมวดหมู่: สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์, วัด

ภาษาที่มีให้บริการ: ไทย, อังกฤษ

   
เวียงกุมกาม
   เป็น เมืองโบราณที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้านเพื่อไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง โบราณสถานที่ปรากฎอยู่ในเวียงกุมกาม และใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ แต่ละแห่งอยู่กระจัดกระจายกัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22

ปัจจุบัน เวียงกุมกาม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณกิโลเมตรที่ 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก การเดินทาง เข้าทางตู้ยามหนองหอยและตรงมาจนทะลุแยกเกาะกลางป่ากล้วยตรงต่อไปจนถึงตู้ยาม เจดีย์เหลี่ยม

ชาวบ้านจัดบริการรถราง และรถม้า เพื่อพานักท่องเที่ยวชมโบราณสถานเวียงกุมกามจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดธาตุน้อย วัดช้างค้ำ วัดธาตุขาว วัดพญามังราย วัดพระเจ้าองค์ดำ กู่ป้าด้อม วัดปู่เปี้ย วัดหนานช้าง และวัดอีก้าง ใช้เวลานำชมประมาณ 45 นาที ค่าบริการรถม้า 250 บาท รถรางคนละ 15 บาทหรือเหมาคันประมาณ 400 บาท นอกจากนี้ยังรับจัดกิจกรรมเลี้ยงขันโตกและสาธิตภูมิปัญญาพื้นบ้านบริเวณ เวียงกุมกาม สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. +668 6193 5049, +668 1027 9513

ประวัติวัดเจดีย์เหลี่ยม
วัด เจดีย์เหลี่ยม หรือ เจดีย์กู่คำ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพญามังราย เมื่อปี พ.ศ. 1831 กล่าวคือ หลังจากที่พระองค์ได้ยกทัพมาตีเมืองลำพูนแล้วทรงมอบเมืองลำพูนให้อำมาตย์คน สนิทชื่อ อ้ายฟ้า ครองเมืองแทน ส่วนพระองค์ก็ยกทัพไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ได้ 5 ปี จึงยกทัพไปสร้างเมืองใหม่อยู้ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อปี พ.ศ. 1820 ให้ชื่อเมืองนี้ว่าเวียงกุมกาม จนถึงปี พ.ศ. 1830 พระองค์ทรงให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์มาจากวัดจามเทวีลำพูน เพื่อนำมาสร้างให้เป็นที่สักการะแก่คนทั้งหลาย

หลังจากนั้นมาเป็น เวลาหลายร้อยปี วัดนี้ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีคหบดีชาวพม่าคนหนึ่งได้มาเห็นเข้า เกิดความเลื่อมใส ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยให้ช่างชาวพม่าเป็นผู้ดำเนินการ จึงมีศิลปแบบพม่าเข้ามาแทนที่ศิลปแบบขอม ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม คงมีแต่โครงสร้างที่ยังเป็นรูปเดิมอยู่เท่านั้น

หมวดหมู่: สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์

ภาษาที่มีให้บริการ: ไทย


โดยทางอื่น

จากแยกดอนจั่นตรงมาทางสนามบิน เลี้ยวซ้ายไปวัดศรีบุญเรือง มีป้ายบอกทางชัดเจน


วัดเจดีย์เจ็ดยอด
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00
   

เจดีย์ เจ็ดยอด ลักษณะคล้ายกับมหาวิหารโพธิที่พุทธคยาในประเทศอินเดีย ที่ฐานเจดีย์ประดับปูนปั้นรูปเทวดา ด้านนอกพระเจดีย์ก็เช่นกันประดับงานปูนปั้นรูปเทวดาทั้งนั่งขัดสมาธิและยืน ทรงเครื่องที่มีลวดลายต่างกันไปดูงามน่าชม สถูปเจดีย์พระเจ้าติโลกราช เมื่อพระเจ้าติโลกราชสวรรคตในปี พ.ศ.2030 พระยอดเชียงราย ราชนัดดาได้สืบราชสมบัติแทน และโปรดให้สร้างสถูปใหญ่บรรจุอัฐิของพระอัยกาธิราช และ สัตตมหาสถาน คือสถานที่สำคัญในพุทธประวัติเจ็ดแห่ง ได้แก่ โพธิบัลลังก์ อนิมิตเจดีย์ รัตนจงกรมเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ อชปาลนิโครธเจดีย์ ราชายตนเจดีย์ ปัจจุบันเหลืออยู่ที่วัดเจ็ดยอดเพียงสามแห่ง คือ อนิมิตเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ มุจจลินทเจดีย์

ที่วัดนี้เป็นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ ในรัชสมัยพระยาติโลกราช พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ทรงสนับสนุนคณะสงฆ์นิกายสิงหล (ลังกาวงศ์) ทรงส่งเสริมการเล่าเรียนทางด้านปริยัติธรรม ทำให้ภิกษุล้านนามีความเชี่ยวชาญภาษาบาลี และในปีพ.ศ. 2020 โปรดให้ประชุมพระเถระชั้นผู้ใหญ่เพื่อชำระพระไตรปิฎก ณ วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอดในปัจจุบัน) ใช้เวลา 1 ปีจึงเสร็จ นับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก เป็นครั้งแรกของไทย และถือเป็นหลักปฏิบัติของสงฆ์ในล้านนา

หมวดหมู่: วัด

   
สวนสัตว์เชียงใหม่

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile



วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 21.00
   

ตั้ง อยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ใกล้กับสวนรุกขชาติ เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่มีสัตว์มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีอยู่ในเมืองไทยและนำมาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มีหมีแพนด้า ฑูตสันถวไมตรีเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน หมีโคอาล่าจากออสเตรเลีย

เชียงใหม่ ซู อควาเรียม ศูนย์แสดงสัตว์น้ำมีอุโมงค์ยาว 133 เมตร สวนนกเพนกวินและสวนนกฟิ้นช์ ซึ่งเป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันสวยงามจนได้รับการขนานนามว่าเป็น อัญมณีบินได้ มีรถไฟฟ้ารางเดี่ยวพร้อมระบบปรับอากาศ บริการรับผู้โดยสารได้ครั้งละ 50-70 คน/ เที่ยว ระยะทางวิ่ง 2 กิโลเมตร จอดรับส่งผู้โดยสาร 4 สถานี เปิดทุกวัน เวลา 8.00-18.00 น. เปิดขายบัตรถึงเวลา 17.00 น.

นอกจากนั้นยังมี ทัวร์ชมสัตว์ป่ายามค่ำคืน Twilight Zooโดยรถยนต์นำชมพฤติกรรมสัตว์ต่าง ๆ ที่ออกหากินยามกลางคืน พร้อมวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ตั้งแต่เวลา 18.30-21.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและจองทัวร์ได้ที่ โทร. +66 5321 0374, +66 5322 1179, +66 5322 2283 www.chiangmaizoo.com

หมวดหมู่: สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ

ภาษาที่มีให้บริการ: ไทย, อังกฤษ