Author Topic: การโอนรถ ขั้นตอนแบบละเอียด ทำอย่างไร การโอนรถ ขั้นตอนแบบละเอียด ทำอย่างไร  (Read 5820 times)

Ralphbut

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile

การโอนรถ ขั้นตอนแบบละเอียด ทำอย่างไร
http://asnbroker.co.th/news.php?id=408&t=

 

สวัสดียามเที่ยงวันพฤหัส อีกแค่วันเดียวทุกท่านก็จะได้หยุดยาวๆ พักผ่อน 3 วันแล้วนะครับ อิอิ ใครเดินทางไปพักผ่อนต่างจังหวัด ก็ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะครับ ช่วงนี้อากาศร้อนมาก ระวังสุขภาพกันหน่อยเน้อ อะ ทักทายกันยาวละ มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับวันนี้กระผม นาย Asn Broker จะมานำเสนอวิธีการโอนรถยนต์มาให้ผู้อ่านทุกคนได้ทำความเข้าใจ ว่ามีวิธีการ และขั้นตอนการโอนรถอย่างไร เอกสารที่ใช้ประกอบในการโอน และค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการโอนรถมีอะไรกันบ้าง เชิญทุกท่านอ่านกันได้เลยครับ !!
การโอนรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

คำจำกัดความ และความหมายตาม พ.ร.บ.รถยนต์ ปี 2522
รถ หมายความว่า รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
นายทะเบียน หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียน
การโอนรถ ตามความหมายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 17 ที่ผู้โอนและผู้รับโอนมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในรถและเป็นรถที่จดทะเบียนแล้ว ส่วนการโอนสิทธิครอบครองรถที่จดทะเบียนแล้ว เช่นการเปลี่ยนผู้เช่าซื้อจากคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งนั้น ในระบบทะเบียนรถถือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนรถโดยการแก้ไขเปลี่ยนในรายการผู้ครอบครอง คือ ผู้เช่าซื้อเท่านั้น
เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง และรับผิดชอบ ระหว่างการโอนรถ
นายทะเบียน : ลงนามในเอกสารการโอนรถ ใบคู่มือจดทะเบียน ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายทะเบียนรถ และรายการจดทะเบียนรถ หัวหน้างานทะเบียน หรือผู้ได้รับคำสั่งมอบหมาย
นายช่างตรวจสภาพ : ตรวจสอบ/ตรวจสภาพรถ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียน : ตรวจสอบหลักฐานประกอบการโอน, คำนวณภาษีและค่าธรรมเนียมออกใบเสร็จรับเงิน ตรวจสอบก่อนเสนอนายทะเบียนลงนาม
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล : บันทึกรายการทางทะเบียน
ขั้นตอนทั่วไปในการให้บริการการโอนรถ
1. ใช้แบบคำขอโอน และรับโอน ยื่นคำร้องขอโอนรถ พร้อมหลักฐาน ณ ส่วนทะเบียนรถยนต์
2. นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ
3. ชำระเงินค่าธรรมเนียม และเสียภาษีรถ
4. รับใบคู่มือจดทะเบียนรถ
รูปแสดงขั้นตอนการให้บริการ

รอบระยะเวลามาตรฐานในการให้บริการ เฉลี่ยที่ประมาณ 2 ชั่วโมง หรืออาจจะเร็วกว่านั้น แต่ไม่เกิน 3 ชั่วโมง 30 นาที
หมายเหตุ
1. เฉพาะรถของประชาชนที่ติดต่อเป็นรายคัน
2. ไม่รวมกรณีเอกสารไม่ครบถ้วน และกรณีตรวจสภาพรถไม่ผ่าน
อัตราค่าธรรมเนียมใน การโอนรถยนต์
การโอนรถ ตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2531 กำหนดให้ยื่นคำขอตามแบบคำขอโอนและรับโอนพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามลักษณะการโอนที่จะกล่าวต่อไป โดยมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าคำขอ 5 บาท**
2. ค่าธรรมเนียมโอน 100 บาท**
3. ค่าอากรแสตมป์ซื้อขายยานพาหนะตามประมวลรัษฎากร (กรณีไม่มีใบกำกับภาษี จึงต้องประเมินราคารถ เพื่อติดอากรแสตมป์) ในอัตราร้อยละ 0.50 บาท ของราคาที่เจ้าหน้าที่ประเมิน เช่น
หากเจ้าหน้าที่ประเมินราคารถ 300,000 บาท จะต้องชำระค่าอากรแสตมป์ เท่ากับ 1,500 บาท
***ค่าตรวจสภาพรถ (ค่าตรวจสอบรถ) ไม่ต้องเรียกเก็บ***
ดังนั้นผมขอสรุปอัตราค่าธรรมเนียมที่กล่าวมาด้านบนว่า
1.ค่าอากร 10,000 ละ 50 บาท(10,000 คือ ราคารถที่เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพที่ขนส่งตีประเมิน แต่ละคันราคาไม่เท่ากัน และจะต่ำกว่าราคาซื้อขายอยู่พอสมควร)
2.**ค่าธรรมเนียมโอน 105 บาท (ค่าคำขอ + ค่าธรรมเนียมการโอน)
***กรณีมีค่าบริการเพิ่มเติมด้านอื่นๆ ก็จะมี***
3.ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท
4.ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 100 บาท(กรณีที่เป็นรถหลายมือ หรือเล่มชำรุด ก็ให้เปลี่ยนเล่มใหม่)
เอกสาร และหลักฐานในการโอนรถ
เอกสารและหลักฐานการโอนรถ ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐาน ประกอบคำขอในแต่ละกรณี ดังนี้
1.การโอนกรรมสิทธิ์รถ
     1.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
     1.2 หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข หรือ สัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน เป็นต้น
     1.3 หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้ แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการ จดทะเบียนนิติบุคคล

2.การโอนสิทธิการใช้รถ
    2.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
    2.2 หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชี ขส.บ.11 ของผู้โอน เฉพาะในกรณีที่ผู้โอนมีใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
    2.3 หลักฐานการโอนสิทธิการใช้รถ เช่น สัญญาเช่าซื้อ หนังสือโอนสิทธิการเช่าซื้อ สัญญาเข้าร่วมกิจการ หรือหลักฐานการเป็นสมาชิกสหกรณ์เดินรถ ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมกิจการกับสหกรณ์เดินรถ เป็นต้น
    2.4 หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทน บัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

3.การโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิการใช้รถ
   3.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
   3.2 หลักฐานการถอนรถออกจากบัญชี ขส.บ.11 ของผู้โอน เฉพาะในกรณีที่ผู้โอนมีใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
   3.3 หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน เป็นต้น
   3.4 หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้ แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
4.การโอนรถโดยการรับมรดก หรือโดยศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
   4.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
   4.2 สำเนาหรือภาพถ่ายใบมรณบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก แล้วแต่กรณี
   4.3 หลักฐานประจำตัวผู้รับมรดก และหรือผู้จัดการมรดก ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือ บัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือ รับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

5.การโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
   5.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
   5.2 สำเนาใบมรณบัตรของเจ้าของรถซึ่งเป็นเจ้ามรดก
   5.3 หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้ แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

6.การโอนรถโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
   6.1 หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ
   6.2 คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล หรือหนังสือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายให้โอนรถให้กับ ผู้รับโอน พร้อมทั้งรายละเอียดของรถคันดังกล่าว
   6.3 หลักฐานประจำตัวผู้รับโอน ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
   เมื่อได้รับคำขอ (ยกเว้นการโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และไม่มีคำสั่งศาล แต่งตั้งผู้จัดการมรดก) และได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
   1. ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชี ขส.บ.11
   2. ตรวจสอบว่าผู้โอนได้รับอนุญาตให้ถอนรถออกจากบัญชี ขส.บ.11 แล้วหรือไม่ หากปรากฎว่ายังมิได้ ถอนรถ ก็ให้ดำเนินการให้เรียบร้อยเสียก่อน
   3. (ก) ออกหนังสือนำรถไปตรวจสอบ (ออก ทก.1) พร้อมประเมินราคารถ เพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
(ข) ออกหนังสือนำรถไปตรวจสอบ (ออก ทภ.1) สำหรับกรณีการโอนรถ โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือผู้โอน อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องประเมินราคารถเพื่อเสียอากรตามประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
   4. ตรวจสอบรถ
   5. ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอ พร้อมทั้งตรวจสอบการลงลายมือชื่อของผู้ประกอบการขนส่ง หรือ เจ้าของรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ ผลการตรวจสอบรถและการเสียอากรตามประมวลรัษฎากร (ถ้ามี) เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้ว ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมการโอน
   6. บันทึกรายการโอนรถในหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ สำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และ ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (กรณีเปลี่ยนชื่อผู้ประกอบการขนส่ง) เสนอนายทะเบียนลงนาม
   7. จ่ายหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี (กรณีเปลี่ยนชื่อ ผู้ประกอบการขนส่ง)
การโอนรถโดยการรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อได้รับคำขอโอนและได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้
1. จัดทำหนังสือไปถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือพนักงานสอบสวนท้องที่ตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดก เพื่อขอความร่วมมือให้สอบปากคำบรรดาทายาทของเจ้ามรดก พร้อมทั้งขอให้ดำเนินการประกาศรับโอน มรดกนั้นด้วย ถ้าปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่อาจดำเนินการสอบปากคำบรรดาทายาท และประกาศรับ
มรดกตามที่ขอความร่วมมือไปได้ ให้นายทะเบียนแจ้งผู้รับโอนนั้นไปยื่นคำร้องต่อศาลให้มีการแต่งตั้ง ผู้จัดการมรดก แล้วนำคำสั่งศาลมาเป็นหลักฐานประกอบการโอนรถ โดยให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการ โอนรถโดยศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
2. เมื่อได้รับแจ้งผลการดำเนินการตามข้อ 1 แล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกับการโอนรถ
หมายเหตุ ในการโอนรถ ผู้โอนและผู้รับโอนต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันโอน (วันซื้อ-ขาย) ในกรณีไม่แจ้งภายในกำหนด ต้องเสียค่าปรับตามอัตราที่กำหนดไว้ก่อน
เรื่องหลักฐาน และเอกสารการโอน ถ้าจะลงสาระสำคัญตามกฎหมายจริงๆ มันค่อนข้างเยอะมาก ผู้สนใจอ่านจริงๆ ผมได้แนบไฟล์ PDF ให้แล้วด้านล่างบทความนี้นะครับ Download ไปอ่านได้เลยครับ หรือ กดที่นี่ เพื่อเข้าไปอ่านผ่านระบบ Document Online นะครับ

 
มีอีกคำหนึ่ง ที่ผู้อ่านทุกท่านเคยได้ยินคือคำว่า "โอนลอย" ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึง เรามาดูกันนะครับว่ามันคืออะไร และมีผลดี ผลเสียอย่างไร
การโอนลอย
โอนลอย คือ การที่ผู้ขายรถ ทำการขายรถโดยส่งมอบรถให้ผู้ซื้อ พร้อมมอบแบบ "คำขอโอน และรับโอนรถ" ที่ได้ ทำการลงลายมือชื่อในช่องผู้โอน(โดยไม่กรอกรายละเอียดอะไร) แล้วมอบให้ผู้ซื้อไป พร้อมกับเอกสารอื่นของผู้ขาย คือ เล่มทะเบียน ,สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขาย และหนังสือมอบอำนาจที่ผู้ขายลงลายมือชื่อไว้(โดยไม่กรอกรายละเอียดอะไร) โดยไม่ไปจดทะเบียนโอนที่สำนักงานขนส่งแต่อย่างใด จึงไม่ถือว่าเป็นการโอนตามความหมายของทางราชการแต่อย่างใด
ผลดีของการโอนลอย
1.สะดวกเหมาะกับการซื้อขายในธุรกิจซื้อขายรถยนต์มือสอง เพราะสามารถถือเอกสารไว้รอใครที่มาซื้อรถ ก็สามารถส่งรถ-ส่งเอกสารต่อไปให้คนที่ซื้อได้เลย
2.สามารถเปลี่ยนตัวผู้รับโอนได้เสมอ
ผลเสียของการโอนลอย
1.หากบัตรประชาชนของผู้ขายสิ้นอายุ จะมีปัญหาในการโอนกับนายทะเบียนกรมการขนส่ง ต้องตามตัวคนขาย หาเอกสารใหม่ที่ไม่สิ้นอายุมาให้ได้ ถ้าเขาตายละ จะไปหาที่ไหน ขอเอกสารใหม่ไม่ได้ จะโอนไม่ได้ตามมา ยุ่งยากและหนักใจมาก
2.ในระหว่างที่ยังไม่ไปจดทะเบียนโอนที่สำนักงานขนส่ง หากคนที่เอาไปเกิดขับไปชนคนแล้วหนีไป หรือเอาไปขนยาบ้า ตำรวจเขาจะตรวจสอบทางทะเบียนว่าใครเป็นเจ้าของรถ ซึ่งยังมีชื่อคุณอยู่ เขาก็อาจจะต้องเชิญคุณไปให้ปากคำ หรือตั้งข้อหา .......ทำให้ยุ่งยาก กว่าจะพิสูจน์ตนเองว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง
3.หากเขาไม่ไปโอน มิหนำซ้ำไม่เคยไปต่อทะเบียนเสียภาษีเลย ดังนั้น ในทางเอกสารราชการจะถือว่า คุณเป็นคนค้างภาษีป้ายวงกลม
หวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านทุกท่านเข้าใจการโอนรถไม่มาก ก็น้อยนะครับ และขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน ที่เข้ามาอ่านบทความของกระผมด้วยนะครับ อาจจะดูไม่เนียนเรียบสวยรู้ เพราะผมกำลังหัดใช้งาน Blog อยู่ แต่ในอนาคตผมจะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ
สุดท้าย ขอขอบคุณ กรมการขนส่งทางบก ทั้งส่วนกลาง และภูมิภาค ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลมา ณ ที่นี้ ครับ



[/t]