Author Topic: ละครหุ่น Bunraku ละครหุ่นเก่าแก่กว่า 300 ปี National Bunraku Theater in Osaka  (Read 10108 times)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
National Bunraku Theater in Osaka เป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุน ให้คนในชาติทำนุบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทางด้านการแสดงเชิดหุ่นกระบอกบุราคุ (Bunraku)  โดยก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1684 พันธกิจหลักของ National Bunraku Theater in Osaka นั้น ก็จะมีในเรื่องของการจัดแสดงหุ่นเชิดบุราคุ การบำรุงรักษา ซ่อมแซม การสร้างสรรค์หุ่นเชิด การออกแบบเสื้อผ้าของหุ่นเชิด

ในการแสดงเชิดหุ่นบุราคุภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “นิงเคียว” (ningyō) จะต้องแสดงเป็นทีม ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญของการแสดงอยู่ 3 ส่วน คือ 1) ผู้ร้องเรื่องราว ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ทะยู” (tayu) ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการแสดงหุ่นเชิดบุราคุ 2)  คนเล่นซามิเซง ซึ่งซามิเซงเป็นเครื่องดนตรีที่กำหนดจังหวะของคนร้องและคนเชิดหุ่น 3) คนเชิดหุ่นกระบอกและตุ๊กตาหุ่นเชิด ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “นิงโยซึคัย หรือ นิงโยซูคัย” (Ningyōtsukai or Ningyōzukai) ซึ่งในส่วนของหัวหรือหน้าตาของหุ่นมีประมาณ 40 แบบ ในหัวของหุ่นแต่ละตัวจะมีหน้าตาหลายๆ แบบ

นักแสดงหุ่นเชิดบุราคุนั้นต้องเริ่มเรียนรู้ฝึกฝนตั้งแต่อายุน้อยๆ ซึ่งระดับของความชำนาญและการยอมรับของนักแสดงนั้น สามารถจำแนกได้ตามอายุ ตัวอย่างเช่น ผู้ร้องอายุประมาณ 50 ปี จะถือว่าเป็นนักแสดงในระดับที่ยังไม่ชำนาญนัก ต้องแสดงมาจนถึงอายุ 70 ปีขึ้นไปแล้ว จะถือว่าเป็นนักแสดงบุราคุที่อยู่ในระดับแถวหน้าที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งในปัจจุบันนักแสดงบุราคุที่มีชื่อเสียงที่สุดอายุ 75 ปี

การไปเยี่ยมชมที่ National Bunraku Theater in Osaka ในครั้งนี้นั้น ผู้เขียนจะขออธิบายด้วยภาพ ซึ่งผู้เขียนเข้าใจว่าภาพจะสามารถสื่อความหมายได้ดีกว่าคำบรรยายร้อยๆ พันๆ คำ ดังสุภาษิตที่ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ”

ละครหุ่น Bunraku
ละครหุ่นเก่าแก่กว่า 300 ปี

Bunraku เป็นละครหุ่นที่ถือกำเนิดขึ้นในโอซาก้า และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในค.ศ.2003 ความโดดเด่นของละครหุ่นดังกล่าวอยู่ที่ขนาดของหุ่นที่ใหญ่โต และการบังคับด้วยคน 3 คนพร้อมๆกัน โดยแต่ละคนจะทำหน้าที่บังคับส่วนที่ต่างกันของหุ่น ทำให้ท่าทีในการแสดง และใบหน้าของหุ่นสามารถขยับได้เหมือนคนจริงมาก
ประวัติของละครหุ่น Bunraku เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 16

Bunraku พัฒนามาจากละคร Joruri ซึ่งเป็นละครเล่าเรื่อง เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 ต่อมาในศตวรรษที่ 16 นักแสดงละคร Joruri บางคณะได้นำเอาพิณญี่ปุ่นหรือชามิเซนเข้ามาปรับใช้กับบทร้องของ Joruri ทำให้ละคร Joruri เริ่มแพร่หลายไปยังเกียวโตและเอโดะอย่างรวดเร็ว

Bunrakuต่อมา ในปลายศตวรรษที่ 16 ได้มีผู้นำหุ่นกระบอก (Ningyo) มาร่วมแสดงกับละคร Joruri ด้วย ในปี 1684 Takemoto ซึ่งเป็นผู้เล่า (Gidayu) ละคร Joruri ชื่อดังในเวลานั้นได้แยกตัวออกมาตั้งโรงละคร Takemoto-za ของตนเองที่ Dotombori โดยใช้เครื่องดนตรีชามิเซนและหุ่นกระบอกประกอบการแสดง หลังจากนั้นไม่นานนัก เมื่อเขานำเอาบทประพันธ์ของ Chikamatsu Monzaemon มาประกอบการแสดงด้วย ก็ปรากฏว่าละครหุ่นของเขาเป็นที่เลืองลื่อไปทั่วประเทศในนามของ Ningyo Joruri ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของละครหุ่น Bunraku ในทุกวันนี้
กำเนิดของละครหุ่นแนวใหม่

ก่อนหน้าที่ Chikamatsu จะเข้ามาร่วมผลิตบทละครนั้น ละครหุ่น Joruri ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักรบในอดีต หรือ "Jidai -mono" Chikamatsu ได้เปลี่ยนบทละครไปเป็นแนว "Sewa-mono" หรือเรื่องเล่าของชาวบ้านทั่วไป โดยเน้นเฉพาะเหตุการณ์ที่เป็นที่สนใจของผู้คนในสมัยนั้น พร้อมใส่ความรู้สึกและวิญญานลงไปในบทละครที่หุ่นแสดง

Bunraku Puppetsบทละครสไตล์ "Sewa-mono" ที่มีชื่อเสียงของเขาชิ้นหนึ่งคือ Sonezaki Shinju เรื่องชีวิตรักที่ผิดหวังของหนุ่มสาวคู่หนึ่งที่จบลงด้วยการฆ่าตัวตายตามกันที่ตำบล Sonezaki กลางเมืองโอซาก้า เขาเขียนเรื่องนี้ขึ้นในปีค.ศ.1703 และไม่นานนัก ทุกคนก็รู้จักเรื่องราวของชายหญิงคู่นี้และละครหุ่น Ningyo Joruri
โรงละครคู่แข่งและความเสื่อมโทรมในเวลาต่อมา

ในปี 1703 นอกจากโรงละครของ Takemoto-za แล้ว ยังมีโรงละครคู่แข่งของ Toyotake-za เปิดแสดงใกล้ๆอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่าโรงละครหุ่น Ningyo Joruri ทั้งสองแห่งเป็นผู้ที่สร้างวิวัฒนาการของละครหุ่นที่สำคัญของญี่ปุ่นก็ว่าได้ หุ่นกระบอกเริ่มสามารถแสดงอารมณ์เข้ากับบทละครด้วยการขยับปาก คิ้ว ตา และมือได้อย่างคล่องแคล่วขึ้น ช่วงที่ละครหุ่นเป็นที่นิยมมากๆนั้น ว่ากันว่ามีผู้ชมมากยิ่งกว่าละคร Kabuki เสียอีก

The National Bunraku Theaterอย่างไรก็ตาม ไม่นานนัก ละครหุ่น Ningyo Joruri ก็เริ่มเสื่อมความนิยมลง จนกระทั่งทั้ง Takemoto-za และToyotake-za ต้องปิดตัวเองลงในเวลาต่อมา
ละครหุ่นฟื้นคืนชีพอีกครั้งในนามของ "Bunraku"

Bunraku Puppetsในปี 1872 Uemura Bunrakuken เจ้าของโรงละครหุ่นได้สร้างโรงละครของตนขึ้นที่บริเวณที่เป็นโรงละครหุ่น Bunraku ในปัจจุบันนี้ และเปิดการแสดงขึ้นในนามของโรงละคร Bunraku-za ตามมาด้วยโรงละครคู่แข่งชื่อ Hikoroku-za ใกล้ๆกันไม่นานหลังจากนั้น ทำให้ละครหุ่นเริ่มกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งหนึ่ง โรงละคร Bunraku-za ได้ดึงนักแสดงจากโรงละคร Hikoroku-za มาร่วมด้วย และกลายเป็นโรงละครเดียวที่แสดงละครหุ่นในโอซาก้า มีการแต่งตัวให้หุ่นอย่างงดงาม ประกอบการพัฒนาเทคนิคการแสดง การจัดเวทีใหม่ๆขึ้นจนละครหุ่นพัฒนาไปมากกว่าเดิม นับแต่นั้นมา ทุกคนจึงเรียกละครหุ่นว่า Bunraku มาจนทุกวันนี้
UNESCO ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

Bunraku ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2003 ในฐานะของศิลปะการแสดงที่ทรงคุณค่าของโลก นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาโอซาก้าควรหาโอกาสเข้าชมการแสดงละครหุ่น Bunraku ที่โรงละคร Bunraku แห่งชาติ ซึ่งสร้างขึ้นในปี 1984 ในย่าน Minami สักครั้งหนึ่ง ละครหุ่น Bunraku ได้พยายามนำเอาเทคนิคการแสดงใหม่ๆมาใช้เพื่อทำให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายมากขึ้น สำหรับผู้ชมชาวต่างชาติ มีบริการเช่าหูฟังคำบรรยายภาษาอังกฤษด้วย
ส่วนประกอบสามอย่างที่สำคัญของ Bunraku

Bunraku เป็นละครหุ่นที่มีส่วนประกอบสำคัญ 3 อย่างคือ การเล่า ดนตรีชามิเซน และหุ่น
Tayu (การเล่า)

A showcase at The National Bunraku Theaterผู้เล่า (Gidayu) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของละครหุ่น Bunraku เพราะจะต้องเป็นผู้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร พร้อมๆกับการถ่ายทอดเนื้อเรื่องให้กับผู้ชมไปด้วย ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่จะมาทำหน้าที่ Gidayu จะต้องผ่านการฝึกฝนในสามจุดหลักๆคือ Kotoba, Jiai และ Fushi "Kotoba" หมายถึงบทละคร ภาษาเฉพาะของละครหุ่น และวิธีเล่าเรื่อง "Jiai" หมายถึงจังหวะในการเล่าที่จะต้องรับกับดนตรีชามิเซน ซึ่งเล่นเพื่อทำให้ละครมีรสชาติยิ่งขึ้น ส่วน "Fushi" นั้นเป็นจังหวะของดนตรี
Shamisen (พิณสามสายของญี่ปุ่น)

Shamisenชามิเซนที่ใช้ประกอบละครหุ่น Bunraku มีขนาดใหญ่และหนักกว่าชามิเซนทั่วไป ทำให้สามารถถ่ายทอดเสียงและจังหวะที่เร้าใจได้ ชามิเซนไม่ได้มีหน้าที่นำผู้เล่าเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก สร้างความระทึกใจให้กับบทละคร ผู้เล่นชามิเซนกับผู้เล่าจะต้องสัมพันธ์กัน ไม่เช่นนั้น ละครอาจขาดรสชาติไปได้
Ningyo (ละครหุ่น)

A puppet's faceถึงแม้ว่าจะมีหุ่นบางตัวที่สามารถบังคับด้วยคนๆเดียวได้ แต่โดยหลักเกณฑ์แล้ว หุ่นของละคร Bunraku ส่วนใหญ่จะถูกบังคับโดยผู้ชายสามคนพร้อมๆกัน โดยหัวหน้าทำหน้าที่บังคับส่วนหัว และการแสดงอารมณ์จากใบหน้าและการใช้มือด้านขวา (Omo-zukai) คนที่สองทำหน้าที่บังคับมือซ้าย (Hidari-zukai) และส่งอุปกรณ์เช่นพัดหรือเครื่องดนตรีให้กับตัวหุ่นถือ คนสุดท้ายหรือคนที่สามทำหน้าที่บังคับขาทั้งสองข้าง (Ashi-zukia) ผู้ช่วยชักหุ่นทั้งสองคนจะต้องชักหุ่นให้เข้ากับจังหวะของหัวหน้า พร้อมๆกับการร่ายรำที่เข้ากับจังหวะของชามิเซนด้วย
« Last Edit: March 09, 2011, 02:06:22 PM by webdesign »