รีวิวสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม โชว์ภาพเล่าเหตุการณ์ ต่างๆ > ลาว

พระราชวัง หลวงพระบาง

(1/1)

ontcftqvx:
พระราชวังหลวงพระบาง (พิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง)
 
 
                                       
 
 
ที่ตั้ง  ถนนสักกะลิน  ตรงข้ามทางขึ้นพระธาตุพูสี
เปิดให้เข้าชมทุกวันยกเว้นวันอังคาร
 
โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาคือ
ตอนเช้า  8.00 น. - 11.30 น.
 
ปิดขายบัตรเข้าชมสำหรับภาคเช้าเวลา  11.00 น.
 
ตอนบ่าย 13.30 น. - 16.00 น.
ปิดขายบัตรเข้าชมสำหรับภาคบ่ายเวลา 15.30น.
 
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม  30.000 กีบ
 
 
                                                   
 
 
พระราชวังหลวงพระบางเป็นอาคารแบบฝรั่งแต่หลังคาเป็นแบบทรงลาว
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง หันหน้าเข้าสู่พระธาตุพูสี ตัวพระราชวังเป็นหมู่อาคาร
 
เตี้ยๆชั้นเดียว ตั้งอยู่บนพื้นยกสูง มีความงดงามลงตัวของศิลปะยุคอาณานิคม
ผสมกับศิลปะแบบล้านช้าง สภาพโดยรอบมีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ที่ไม่หนาจนเกินไป
 
การจะเข้าชมภายในตัวอาคารพระราชวังจะต้องนุ่งชุดสุภาพ
สำหรับสุภาพบุรุษห้ามนุ่งกางเกงขาสั้นหรือใส่เสื้อกล้าม
 
สุภาพสตรีห้ามนุ่งกางเกงขาสั้นหรือเสื้อแขนกุดในการเข้าชม
และห้ามถ่ายรูปภายในตัวอาคารพระราชวังโดยเด็ดขาด
 
 
                     
 
 
ประวัติของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2447 สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์
สืบทอดต่อมาถึงสมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว
 
ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือที่ชาวลาวเรียกว่า “การปลดปล่อย”
รัฐบาลลาวได้เปลี่ยนพระราชวังหลวงมาเป็น  “หอพิพิธภัณฑ์”
 
 
                                             
 
 
ในปี พ.ศ. 2519 หลังจากที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ที่นี่อีกต่อไปแล้ว
ลักษณะแผนผังของตัวพระราชวังประกอบด้วยอาคารขวางด้านหน้า หลังคามุงกระเบื้อง
 
ตรงกลางมีมุขยื่นออกมา มีหน้าบันเป็นรูปช้าง 3 เศียร มีฉัตรกางอยู่ตรงกลางข้างบน
อันเป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรลาวล้านช้างในระบอบเดิมตรงเข้าไปเป็น
 
ห้องฟังธรรมของเจ้ามหาชีวิตและท้องพระโรง เบื้องหลังท้องพระโรงเป็นอาคารที่มี
หลังคาเป็นยอดปราสาทหลังเดียวมองเห็นเป็นสง่าเด่นชัดจากภายนอกตัวอาคาร
 
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ปีกทางด้านซ้ายมือเป็นห้องรับแขกของพระมเหสี
 
 
                                             
 
 
ปัจจุบันมีของขวัญจากประเทศต่างๆจัดแสดงให้ชมอยู่ ทั้งจากประเทศ
สังคมนิยมคอมมิวนิสต์, ประเทศทางตะวันตก, เอเชีย รวมทั้งของประเทศไทย
 
ส่วนปีกทางด้านขวามือเป็นห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิต
มีความสวยงามบรรยากาศเป็นแบบฝรั่งเศสปนลาว
 
มีภาพเขียนบนผ้าใบผืนใหญ่กรุเต็มผนังขึ้นไปจรดเพดาน เขียนขึ้นในปีพ.ศ. 2473
แสดงถึง ฮีตครอง(จารีตประเพณี) ของคนลาว ในช่วงเวลาต่างๆของแต่ละวัน
 
รูปขบวนเจ้ามหาชีวิตเสด็จไปสรงน้ำพระที่วัดเชียงทองและวัดใหม่
รูปประเพณีบุญปีใหม่ลาว รูปตลาดตอนแลง (ตลาดเย็น)
 
ซึ่งภาพเหล่านี้ถ่ายด้วยด้วยเทคนิคแบบ Impressionism
ทั้งยังมีรูปหล่อครึ่งตัวอีก 4 องค์คือ เจ้ามหาชีวิตอุ่นคำ
 
 เจ้ามหาชีวิตสักรินทร์  เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์
และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งหล่อมาจากประเทศฝรั่งเศสทั้งสิ้น
 
 
                                                 
 
 
ส่วนของห้องสุดท้ายของปีกด้านนี้ได้ถูกจัดให้เป็นห้องพระโดยเฉพาะ
ภายในเป็นที่ประดิษฐานของ “พระบาง” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบาง
 
อันศักดิ์สิทธิ์  มีลักษณะประทับยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างขึ้น
หันฝ่าพระหัตถ์ออกทั้งสองข้าง ซึ่งชาวลาวเรียกกันว่า “ปางประทานอภัย”
 
หรือที่คนไทยเรียกว่า “ปางห้ามสมุทร” เป็นศิลปะเขมรสมัยหลังบายน
อายุราว 300 ปี มาแล้ว หล่อด้วยทองคำบริสุทธิ์ 90%
 
หนัก 54 กิโลกรัม สูงราว 40 – 50 ซม. ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เมืองหลวงพระบาง”
อันหมายถึงเมืองที่มี “พระบาง” ประดิษฐานอยู่นั่นเอง
 
ทุกวันขึ้นปีใหม่ลาว (ราวเดือนเมษายน) จะมีการอัญเชิญ “พระบาง”
ลงมาประดิษฐานที่ “วัดใหม่” เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำสักการบูชา
 
เพื่อความเป็นสิริมงคลของชาวหลวงพระบางและชาวลาวทั้งประเทศ
ภายในห้องพระนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก สลักด้วยหิน
 
ในรูปแบบศิลปะเขมรอีก 4 องค์ และมีกลองมโหระทึกอีกหลายใบ
ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่ามาจากที่ใดนอกจากนั้นยังมีพวงมาลา
 
ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งถวายเป็นพุทธบูชาไว้เมื่อครั้งเสด็จ
มายังประเทศลาวและเมืองหลวงพระบาง เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533
 

Navigation

[0] Message Index

Go to full version