Author Topic: ข้อมูล จังหวัดเลย  (Read 13410 times)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
ข้อมูล จังหวัดเลย
« on: January 04, 2011, 05:01:37 PM »
จังหวัดเลย  tao9)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
รอการตรวจสอบ
จังหวัดเลย
ตราประจำจังหวัดเลย    ตราผ้าพันคอลูกเสือจังหวัดเลย
ตราประจำจังหวัด    ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png    เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม[1]    Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย    เลย
ชื่ออักษรโรมัน    Loei
ผู้ว่าราชการ    นายพรศักดิ์ เจียรณัย
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2    TH-42
สีประจำกลุ่มจังหวัด    ███ สีฟ้า
ต้นไม้ประจำจังหวัด    สนสามใบ
ดอกไม้ประจำจังหวัด    พุด (อินถะหวา)[2]
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่    11,424.612 ตร.กม.[3]
(อันดับที่ 14)
ประชากร    620,780 คน[4] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 39)
ความหนาแน่น    54.34 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 71)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง    ศาลากลางจังหวัดเลย ถนนมลิวรรณ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 42000
โทรศัพท์    (+66) 0 4281 2142
โทรสาร    (+66) 0 4281 1746
เว็บไซต์    จังหวัดเลย
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดเลย

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดเลย เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 520 กิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศที่งดงาม อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย
เนื้อหา
[ซ่อน]

    * 1 อาณาเขต
    * 2 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
    * 3 ประวัติศาสตร์
    * 4 ภูมิศาสตร์
    * 5 ที่ตั้งและภูมิประเทศ
    * 6 ลักษณะทางภูมิอากาศ
    * 7 ลักษณะทางสังคม
    * 8 กลุ่มเชื้อชาติประชากร
          o 8.1 ชาวไทเลย
          o 8.2 ชาวไทดำ
          o 8.3 ชาวไทพวน
          o 8.4 ชาวไทใต้
    * 9 ภาษาของคนจังหวัดเลย
    * 10 หน่วยการปกครอง
    * 11 ระยะทางจากตัวจังหวัด
    * 12 การคมนาคม
    * 13 สถานที่ท่องเที่ยว
    * 14 ประเพณีและเทศกาลรื่นเริง
    * 15 สถาบันการศึกษา
    * 16 บุคคลมีชื่อเสียงของจังหวัด
    * 17 อ้างอิง
    * 18 ดูเพิ่ม
    * 19 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] อาณาเขต

    * ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงไซยะบูลีและแขวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดนระหว่างกัน
    * ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองบัวลำภู
    * ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดเพชรบูรณ์
    * ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

    * ต้นไม้ประจำจังหวัด: สนสามใบ (Pinus kesiya)
    * ดอกไม้ประจำจังหวัด: พุด (อินถะหวา)
    * คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม
    * คำขวัญประจำอำเภอภูเรือ: ดอกไม้งามสามฤดู

[แก้] ประวัติศาสตร์

มีหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาว่า ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนกเชียงแสนที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้าง ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้ายในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่ เป็น "เมืองด่านซ้าย" อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยางในที่สุด โดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้าย เป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง

นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขต ล้านนา ต่อแดนล้านช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบ เมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นมาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พาผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไลถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตก แม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า "บ้านแห่" (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน"

ในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่า หมู่บ้านแฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยน้ำหมาน และอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมือง เพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นเมืองเรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า เมืองเลย ต่อมา พ.ศ. 2440 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลยออกเป็น 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกุดป่อง อำเภอท่าลี่ อำเภอนากอก (ปัจจุบันอยู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) อำเภอที่ตั้งเมืองคือ อำเภอกุดป่อง ต่อมา พ.ศ. 2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็น บริเวณลำน้ำเลย พ.ศ. 2449-2450 เปลี่ยนชื่อบริเวณลำน้ำเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และใน พ.ศ. 2450 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหือง ให้คงเหลือไว้เฉพาะ "เมืองเลย" โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็น "อำเภอเมืองเลย"
[แก้] ภูมิศาสตร์

สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดเลยเป็นที่ราบสูง มีภูเขาสูงกระจัดกระจาย โดยเฉพาะทางตะวันตกและทางด้านใต้ของจังหวัด ทั้งนี้ยังมีแหล่งน้ำสำคัญคือแม่น้ำโขง ในบริเวณตอนบนของจังหวัด
[แก้] ที่ตั้งและภูมิประเทศ

จังหวัดเลย งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมด 11,424,612 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,140,382 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 6.77 ของพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เทอร์มอมิเตอร์ยักษ์ที่หน้าอำเภอภูเรือ

จังหวัดเลยตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูงโคราช หรือที่เรียกกันว่า แอ่งสกลนคร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิวเขาในแนวทางทิศเหนือใต้ และจะมีพื้นที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาที่ไม่ใหญ่มากนัก สลับกันอยู่ในแนวเทือกเขา
[แก้] ลักษณะทางภูมิอากาศ

จังหวัดเลยเป็นจังหวัดที่เรียกได้ว่าหนาวที่สุดของประเทศ เคยมีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ -1.3 องศาเซลเซียส (2 มกราคม พ.ศ. 2517) อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 43.5 องศาเซลเซียส (25 เมษายน พ.ศ. 2517) อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 26.1 องศาเซลเซียส และจะมีอุณหภูมิที่หนาวจัดในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม โดยช่วง 12 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 2.7 องศาเซลเซียส (พ.ศ. 2542) อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 42.5 องศาเซียลเซียส (พ.ศ. 2541)
[แก้] ลักษณะทางสังคม

จังหวัดเลยมีโครงสร้างทางสังคมแบบประเพณีนำ คนพื้นเมืองส่วนใหญ่ต่างจากคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วๆ ไปซึ่งเป็นคนไทยเผ่าพวน แต่เป็นคนไทยเผ่าลื้อจากลานช้างและหลวงพระบาง เช่นเดียวกับคนพื้นเมืองของอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และบางส่วนของอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

ประชาชนส่วนใหญ่มีนิสัยรักสงบ ขยันหมั่นเพียรในการสร้างฐานะความเป็นอยู่ของตนให้สูงขึ้น ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง เช่น งานบุญพระเวสซึ่งมีการแห่ผีตาโขน
[แก้] กลุ่มเชื้อชาติประชากร
[แก้] ชาวไทเลย

ไทเลย เป็นชื่อเรียกคนเมืองเลย ในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า คนเมืองเลยคือกลุ่มชนที่อพยพจากชายแดนตอนเหนืออาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากไทหลวงพระบาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเซไล (บ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง ปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2396 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านแห่ (บ้านแฮ่ปัจจุบัน) ได้ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าเมืองเลย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองเลยก็รวมตัวกันเป็นเมืองใหญ่ โดยการรวมตัวของ อำเภอกุดป่อง อำเภอท่าลี่ ซึ่งขึ้นกับมณฑลอุดร อำเภอด่านซ้าย ซึ่งขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก เมืองเชียงคาน ซึ่งขึ้นกับเมืองพิชัย อำเภอต่าง ๆ เหล่านี้จึงโอนขึ้นกับเมืองเลยทั้งหมดตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา

ชาวไทเลยจะมีนิสัยใจคอเหมือนกับชนเชื้อชาติโบราณซึ่งไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ไปจากดั้งเดิม มีสำเนียงพูดที่แปลกและนิ่มนวล พูดสุภาพและไม่ค่อยพูดเสียงดัง กิริยามารยาทดีงาม อารมณ์เยือกเย็นไม่วู่วาม มีนิสัยรักความสงบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักถิ่นที่อยู่ไม่ค่อยอพยพไปอยู่ที่อื่น ส่วนทางด้านวัฒนธรรมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา ได้แก่ “ฮีตสิบสอง–คองสิบสี่” คือการทำบุญตามประเพณีทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี

บ้านชาวไทเลยเป็นเรือนหลังใหญ่ ยกพื้นสูงมีระเบียงหรือชานยื่นออกมาหน้าเรือน มีเรือนครัวซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างแยกต่างหากโดยมีชานต่อเชื่อมติดกัน สำหรับหลังคาของเรือนนอนมุงด้วยหญ้าคาหรือไม้แป้นเก็ด ฝาเรือน พื้นเรือนนิยมทำด้วยไม้แผ่นเรียกว่า ไม้แป้น ส่วนเสาจะใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นต้นๆ หรืออิฐก่อเป็นเสาใหญ่ มีบันไดไม้พาดไว้สำหรับขึ้นลง ส่วนเรือนครัวมุงด้วยหญ้าคา ฝาและพื้น จะนิยมทำด้วยฟากไม้ไผ่สับแผ่ออกเป็นแผ่น และเสาจะทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่นกัน

จังหวัดเลย มีคนพื้นเมืองที่มีเชื้อชาติไทย ซึ่งเรียกตัวเองว่า ไทเลย เป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ก็มีคนเชื้อชาติจีน ชาวเขา ไทดำ ไทพวน
[แก้] ชาวไทดำ

ชาวไทดำ อพยพมาจากแคว้นพวน ในประเทศลาวปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2417 เมื่อพวกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองเชียงขวาง ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญในแคว้นพวน จึงได้เริ่มอพยพลงมาตามเส้นทางเรื่อยๆ จนได้มาพักที่บ้านน้ำกอใหญ่ อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมามีชาวไทยดำกลุ่มหนึ่ง ได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขง ไปยังบ้านน้ำกุ่ม แขวงเวียงจันทน์ แต่ในขณะนั้นเขตเวียงจันทน์มีปัญหาการเจรจากับฝรั่งเศส ไทดำจึงข้ามแม่น้ำโขงกลัวมาตั้งหมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน ซึ่งเป็นถิ่นฐานดั้งเดิม และถาวรจนถึงปัจจุบัน ที่หมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน เมื่อปี พ.ศ. 2438 มี 15 ครัวเรือน ปัจจุบันชาวไทดำ มีจำนวน 825 ครัวเรือน มีอาชีพส่วนใหญ่ทางการเกษตรกรรม
[แก้] ชาวไทพวน

ชาวไทพวน ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านบุฮมและบ้านกลาง อำเภอเชียงคาน จากถิ่นฐานเดิมที่เมืองเตาไห หลวงพระบาง ประเทศลาว เมื่อครั้งพวกจีนฮ่อ กลา เวียง รุกรานเมืองเตาไห
[แก้] ชาวไทใต้

ชาวไทใต้ อพยพมาจากภาคอีสานเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเลย ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดยโสธร เมื่อ พ.ศ. 2506 จะพบชาวไทใต้จำนวนมากที่อำเภอเอราวัณ และอำเภอนาด้วง ภาษาพูด แตกต่างจากภาษาไทเลย เพราะได้สืบทอดมาจากถิ่นเดิมของตน เช่น ภาษาไทยอีสาน ภาษาถิ่นอุบล ภาษาไทยโคราช
[แก้] ภาษาของคนจังหวัดเลย

มีสำเนียงภาษาแตกต่างจากภาษาพูดของคนในจังหวัดภาคอีสานอื่น ๆ เพราะกลุ่มคนที่อาศัยปัจจุบันนี้มีประวัติการอพยพเคลื่อนย้ายจากเมืองหลวงพระบางแห่ง อาณาจักรล้านช้าง ต่อมาต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ชาวหลวงพระบางและชาวเมืองบริเวณใกล้เคียงที่อพยพมาเมืองเลยได้นำวัฒนธรรม ด้านภาษาอีสานถิ่นอื่นเข้ามาด้วย โดยภาษาเลยนั้นจัดอยู่ในกลุ่มหลวงพระบางอันประกอบด้วยภาษาเมืองแก่นท้าว ภาษาอำเภอด่านซ้าย และภาษาอำเภอเมืองเลย ดังนั้นสำเนียงพูดของชาวไทเลยจึงมีลักษณะการพูดเหมือนชาวหลวงพระบาง แต่บางพยางค์ออกเป็นเสียงสูงคล้ายสำเนียงพูดของชาวปักษ์ใต้ ฟังดูไพเราะนุ่มนวลจึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคนเมือง ส่วนคนในวังสะพุงจะพูดเสียงห้วนกว่าชาวเลยถิ่นอื่น
[แก้] หน่วยการปกครอง
แผนที่อำเภอในจังหวัดเลย

การปกครองแบ่งออกเป็น 14 อำเภอ 89 ตำบล 839 หมู่บ้าน

   1. อำเภอเมืองเลย
   2. อำเภอนาด้วง
   3. อำเภอเชียงคาน
   4. อำเภอปากชม
   5. อำเภอด่านซ้าย
   6. อำเภอนาแห้ว
   7. อำเภอภูเรือ
   8. อำเภอท่าลี่
   9. อำเภอวังสะพุง
  10. อำเภอภูกระดึง
  11. อำเภอภูหลวง
  12. อำเภอผาขาว
  13. อำเภอเอราวัณ
  14. อำเภอหนองหิน

[แก้] ระยะทางจากตัวจังหวัด

    * อำเภอวังสะพุง 23 กิโลเมตร
    * อำเภอนาด้วง 32 กิโลเมตร
    * อำเภอเชียงคาน 47 กิโลเมตร
    * อำเภอท่าลี่ 47 กิโลเมตร
    * อำเภอภูหลวง 49 กิโลเมตร
    * อำเภอภูเรือ 50 กิโลเมตร
    * อำเภอผาขาว 70 กิโลเมตร
    * อำเภอภูกระดึง 73 กิโลเมตร
    * อำเภอด่านซ้าย 82 กิโลเมตร
    * อำเภอปากชม 90 กิโลเมตร
    * อำเภอนาแห้ว 125 กิโลเมตร
    * อำเภอเอราวัณ 42 กิโลเมตร
    * อำเภอหนองหิน 45 กิโลเมตร

[แก้] การคมนาคม

    * การเดินทางโดยทางเครื่องบิน สามารถนั่งเครื่องบินมาลงที่อุดรธานี หรือขอนแก่น แล้วต่อรถโดยสารมาที่จังหวัดเลย
    * การเดินทางโดยรถโดยสาร รถโดยสารจากกรุงเทพมหานคร สายกรุงเทพฯ-เมืองเลย มีบริษัท ขนส่ง จำกัด แอร์เมืองเลย ขอนแก่นทัวร์ ชุมแพทัวร์ ภูกระดึงทัวร์ แอร์เมืองเลยพัฒนา ศิขรินทร์ทัวร์ และสายกรุงเทพ - ภูเรือ บริษัท เพชรประเสริฐ จำกัด และมีรถโดยสารระหว่างภาค สายนครราชสีมา-เชียงคานและสายเลย-ระยอง-พัทยาของบริษัทนครชัยขนส่ง และสายเชียงใหม่-อุดรธานีของบริษัทจักรพงษ์ทัวร์ อ.ศึกษาทัวร์ สายเชียงราย-นครพนมของบริษัทสมบัติทัวร์ และจักรพงษ์ทัวร์ และมีสายอุดรธานี-พิษณุโลก
    * การเดินทางโดยรถไฟ จังหวัดเลยไม่มีเส้นทางรถไฟ ต้องเดินทางมาลงที่อุดรธานีแล้วต่อรถโดยสารมาจังหวัดเลย

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว
พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย
ภาพเมืองเชียงคาน
ภาพเมืองเชียงคาน

    * อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
    * อุทยานแห่งชาติภูเรือ
    * เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
    * อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (ชื่อเดิมคืออุทยานแห่งชาตินาแห้ว)
    * สวนหินผางาม อำเภอหนองหิน
    * สวนรุกขชาติ 100 ปี (กรมป่าไม้) อำเภอวังสะพุง
    * วนอุทยานน้ำตกห้วยเลา อำเภอภูหลวง
    * แก่งคุดคู้ อำเภอเชียงคาน
    * ศูนย์ศิลป์สิรินธร โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะพุง
    * พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย
    * ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
    * ห้วยกระทิง อำเภอเมืองเลย
    * วัดพระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย

[แก้] ประเพณีและเทศกาลรื่นเริง

    * งานประเพณีผีตาโขน
    * งานนมัสการพระธาตุศรีสองรัก
    * งานดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย
    * งานแสดงไม้ดอกเมืองหนาว
    * งานออกพรรษาเชียงคาน
    * งานแห่ผีขนน้ำ
    * งานบุญบั้งไฟล้าน(อำเภอเอราวัณ)

[แก้] สถาบันการศึกษา

    * มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
    * มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    * มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    * วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย
    * วิทยาลัยเทคนิคเลย
    * วิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย
    * วิทยาลัยการอาชีพวังสะพุง
    * ผาอินทร์แปลงวิทยา

[แก้] บุคคลมีชื่อเสียงของจังหวัด

    * หลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่
    * หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่
    * อัสนี โชติกุล นักร้อง, นักดนตรี ชื่อดัง
    * วสันต์ โชติกุล นักร้อง, นักดนตรี ชื่อดัง
    * ครูสังคม ทองมี ครูสอนศิลปะที่มีชื่อเสียง
    * รุ้งลาวัลย์ โทนะหงษา นักแสดง
    * ยุทธเลิศ สิปปภาค (ต้อม) ผู้กำกับหนัง ชื่อดัง
    * เชิดชัย สุวรรณนัง นักฟุตบอลทีมชาติไทย

[แก้] อ้างอิง

   1. ^ กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดเลย. "ข้อมูลทั่วไป" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.loei.go.th/loei_data.html [ม.ป.ป.]. สืบค้น 21 เมษายน 2553.
   2. ^ ประวัติจังหวัดเลย.
   3. ^ กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดเลย. "ข้อมูลจังหวัดเลย: สภาพทั่วไป สิ่งแวดล้อม และการวิเคราะห์." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.loei.go.th/data/POP40.DOC [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
   4. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

    * รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเลย
    * โรงเรียนผาอินทร์แปลงวิทยา
    * รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดเลย
    * รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดเลย

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

    * เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
    * ท่าอากาศยานเลย

พิกัดภูมิศาสตร์: 17°29′N 101°44′E / 17.49°N 101.73°E / 17.49; 101.73

    * แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดเลย
          o แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแมปส์
          o ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
          o ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย

narukjungrai

  • Guest
Re: ข้อมูล จังหวัดเลย
« Reply #1 on: September 08, 2011, 04:25:49 PM »
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆ