Author Topic: การใช้หน้ากากดำน้ำตื้น 07/05/2011 View: 558 คู่มือการใช้หน้ากากดำน้ำ (Used to D  (Read 23517 times)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
การใช้หน้ากากดำน้ำตื้น
07/05/2011 View: 558

คู่มือการใช้หน้ากากดำน้ำ (Used to Diving Mask)

เป็น อุปกรณ์พื้นฐานในการดำน้ำผิวน้ำ (Skin Diving) และดำน้ำลึก (Scuba Diving) เนื่องจากหากเราทดลองลืมตาในน้ำก็จะพบว่าภาพที่เห็นจะไม่ชัดหรือเบลอไปหมด สาเหตุมาจากตาของเราไม่สามารถปรับโฟกัสให้ชัดเจนได้ในสภาวะที่มีน้ำหรือของ เหลวล้อมรอบอยู่ ดังนั้นหน้ากากดำน้ำจึงเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ขณะดำน้ำ

  เพราะเมื่อสวมหน้ากากดำน้ำจะทำให้เกิดช่องอากาศขึ้นระหว่างนัยน์ตาของเรากับน้ำที่ล้อมรอบอยู่ภายนอกหน้ากากดำน้ำ ทำให้ตา สามารถปรับโฟกัสได้ เราจึงมองเห็นทัศนียภาพต่าง ๆ ใต้ท้องทะเลได้อย่างชัดเจน แต่กรณีที่แสงจะต้องเดินทางผ่านน้ำ และผ่านช่องอากาศที่อยู่ภายในหน้ากากเข้ามายังนัยน์ตานี่เอง ความเร็วของแสงที่เดินทางผ่านทั้ง 2 อย่าง จะไม่เท่ากัน ทำให้เกิดการหักเหของแสงขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้เรามองเห็นภาพใต้น้ำมีขนาดใหญ่ขึ้นและใกล้กว่าความเป็นจริงประมาณ 25% ปัจจุบันหน้ากากดำน้ำมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ เลนส์เดียว เลนส์คู่ มีวาล์วไล่น้ำหรือไม่มี ฯลฯ   ข้อแตกต่างของหน้ากากดำน้ำที่มีวาล์ว และไม่มีวาล์ว หน้ากาก ดำน้ำแบบมีวาล์วสามารถไล่น้ำออกจากหน้ากากได้ง่าย โดยการก้มหน้าให้น้ำมาคั่งอยู่ที่บริเวณวาล์วกดหน้ากากให้กระชับแน่นกับใบ หน้าแล้วหายใจออกทางจมูกก็สามารถไล่น้ำออกจากหน้ากากดำน้ำได้อย่างง่ายดาย แต่ข้อเสียของหน้ากากที่มีวาล์วก็มีเช่นกัน ดังนี้

1.
   

หากมีวัตถุเล็ก ๆ เช่น กรวด ทราย ฯลฯ เข้าไปอุดตันบริเวณวาล์วก็จะทำให้น้ำไหลซึมเข้าหน้ากากดำน้ำได้ง่าย และไม่สามารถเคลียร์หรือไล่น้ำออกได้

2.
   

กรณีที่วาล์วไล่น้ำเป็นยางซิลิโคนแผ่นเล็กและบาง หากเกิดหลุดหายหรือฉีกขาดก็จะทำให้วาล์วเสียและมีน้ำไหลซึมเข้าหน้ากากดำน้ำอยู่ตลอดเวลา โดยไม่สามารถเคลียร์หรือไล่น้ำออกได้

3.
   

หน้ากากดำน้ำที่มีวาล์วทำให้นักดำน้ำจะไม่สามารถบีบจมูกเพื่อปรับความดันขอร่างกายให้เท่ากับแรงดันของน้ำได้ถนัด

ส่วน หน้ากากดำน้ำแบบธรรมดาหรือไม่มีวาล์วจะต้องรู้จักฝึกการไล่น้ำออกจากหน้ากาก ดำน้ำให้เกิดความชำนาญ หากอยู่บนผิวน้ำก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพียงแต่เงยศีรษะขึ้นให้พ้นน้ำแล้วเปิดหน้ากากดำน้ำให้น้ำไหลออกมาก็เป็นอัน เรียบร้อย แต่หากเราอยู่ใต้น้ำแล้วขี้เกียจขึ้นมาผิวน้ำเพื่อเทน้ำออกจากหน้ากากดำน้ำ เราก็สามารถเอาน้ำออกจากหน้ากากดำน้ำได้เช่นเดียวกันด้วยการเงยศีรษะ หรือแหงนหน้าขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้น้ำไหลลงมาอยู่ตรงบริเวณขอบหน้ากากดำน้ำ ทางตอนล่าง แล้วจึงค่อย ๆ เผยอส่วนล่างของหน้ากากดำน้ำ หรือเอามือกดส่วนบนของหน้ากากดำน้ำเอาไว้ เพื่อทำให้ส่วนล่างของหน้ากากคลายความกระชับกับใบหน้าและเผยอเล็กน้อย จากนั้นหายใจออกทางจมูกเบา ๆ ก็สามารถไล่น้ำออกจากหน้ากากดำน้ำได้ ขอย้ำว่า "เผยอ" ไม่ใช่เปิด

 

ลักษณะของหน้ากากดำน้ำที่ดี

1.
   

โครงหน้ากากดำน้ำทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงทนทาน

2.
   

ยางที่ใช้เป็นส่วนประกอบของหน้ากากดำน้ำ ต้องเป็นยางที่มีคุณภาพดีที่สามารถทนทานต่อการใช้งานในทะเล และ ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังขณะสวมใส่ เช่น ซิลิโคน ฯลฯ

3.
   

ควรมีซีลกันน้ำอยู่รอบหน้ากากดำน้ำถึง 2 ชั้น ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำซีลมี 2 แบบ คือ พีวีซี (PVC) และยางเทียมหรือยางแท้

4.
   

กระจกเลนส์สำหรับหน้ากากดำน้ำต้องเป็นกระจกนิรภัยที่ผ่านการอบความร้อนมาแล้ว ซึ่งจะมีภาษาอังกฤษติดอยู่ที่กระจกว่า "Safty Glass" หรือ "Tempered Glass" มีคุณสมบัติไม่เป็นฝ้าง่ายและแตกยาก นอกจากนี้หากหน้ากากดำน้ำหล่นลงพื้นจนกระจกแตกมัน มันก็จะไม่เกิดส่วนคม แต่มีลักษณะเหมือนเม็ดทรายที่เกาะรวมตัวกันแน่นเช่นเดียวกับกระจกรถยนต์ทั่ว ๆ ไป

5.
   

ต้อง มีที่ครอบปิดจมูก ซึ่งทำเป็นรูปสันจมูกขึ้นมา หรือเว้าเข้าทางด้านข้างของจมูกทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้ปรับความดันของร่างกายให้เท่ากับแรงดันของน้ำ โดยการใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งของมือข้างใดข้างหนึ่งบีบจมูกให้แน่น แล้วหายใจออกแรง ๆ ลมหายใจที่ถูกปิดกั้นทางจมูกจะถูกผลักดันให้ไหลไปออกทางช่องหูแทน ทำให้อาการปวดหูขณะดำน้ำหายไป

6.
   

กระจกของหน้ากากดำน้ำที่มีระยะชิดกับใบหน้ามากที่สุด (ในขณะสวมใส่) จะทำให้มองเห็นได้มุมกว้างมากที่สุดและปริมาตรของอากาศในหน้ากากดำน้ำมีน้อย ทำให้การเคลียร์หรือขับไล่เอาน้ำออก (ขณะดำน้ำ) ทำได้ง่ายขึ้น ต่างกับกระจกของหน้ากากดำน้ำที่มีระยะห่างจากใบหน้า (ขณะสวมใส่) ที่มีมุมมองแคบกว่าและต้องใช้แรงหายใจอย่างมากในการไล่น้ำออกจากหน้ากากดำน้ำ

7.
   

สายรัดที่คาดอยู่ด้านหลังศีรษะ ควรเป็นแถบกว้างและแยกออกเป็น 2 ส่วนเพื่อสวมใส่ได้กระชับคล่องตัว นอกจากนี้ตัวล็อคสายรัดต้องล็อคได้แน่น ไม่เลื่อน และปรับเลื่อนเพื่อให้กระชับกับศีรษะได้ง่ายแม้ขณะสวมใส่ รวมทั้งจะต้องมีที่เก็บปลายสายและกันสายหลุดออกมาขณะปรับ (Strap Keeper)

  หลักการเลือกซื้อหน้ากากดำน้ำ

สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ "ต้องสวมใส่ได้พอดีและสบาย" ดังนั้นควรเลือกหน้ากากดำน้ำที่ใส่แล้วกระชับพอดีกับใบหน้า ไม่บีบรัดหรืออึดอัด วิธีการเลือกก็มีดังนี้

ลอง ใช้มือจับหน้ากากดำน้ำทาบกับใบหน้าโดยให้ครอบทั้งตาและจมูก แต่ระวังอย่างให้เส้นผมสักเส้นเข้าไปในหน้ากากดำน้ำ และไม่ต้องใช้สายรัดศีรษะ จากนั้นหายใจเข้าทางจมูกตามปกติ แล้วกลั้นหายใจไว้ พร้อม ๆ กับค่อยๆปล่อยมือออก เพื่อทดสอบดูว่าซีลของหน้ากากแนบแน่นกับใบหน้าพอดีหรือไม่ และยังสามารถช่วยบอกถึงปริมาตรภายในหน้ากากดำน้ำได้อีกด้วย หากหน้ากากดำน้ำยึดติดอยู่กับใบหน้าโดยไม่หลุดร่วง ก็เป็นอันว่าหน้ากากดำน้ำนั้นมีขนาดพอดีกับใบหน้า ในกรณีเดียวกันหากต้องหายใจเข้าแรงขึ้นหรือหน้ากากดำน้ำติดอยู่กับใบหน้าได้ เพียงชั่วครู่ แล้วค่อย ๆ คลายหลุดออกทั้งที่ยังมิได้หายใจออก แสดงว่าหน้ากากดำน้ำนั้นมีขนาดใหญ่เกินใบหน้า กรณีหน้ากากดำน้ำไม่หลุดร่วง แต่รู้สึกเจ็บตามขอบใบหน้า แสดงว่าหน้ากากดำน้ำนั้นมีขนาดเล็กเกินไป อนึ่งขณะทดลอง ควรใช้มือรองไว้เพื่อป้องกันหน้ากากดำน้ำหลุดร่วงหล่นจนกระจกเลนส์แตก มิฉะนั้นเราต้องจำใจซื้อหน้ากากดำน้ำอันนั้นไปใช้งาน (ไม่ได้) อย่างไม่เต็มใจเลย

 

 
   

เมื่อ ทดลองจนได้หน้ากากดำน้ำที่พอดีกับใบหน้าแล้ว ลองใช้นิวชี้กับนิ้วโป้งของมือข้างใดก็ได้บีบที่จมูกซึ่งมีหน้ากากดำน้ำทาบ ใบหน้าอยู่ หากทำได้ถนัดก็ถือว่าเป็นหน้ากากดำน้ำที่ดีที่สามารถใช้ปรับความดันของร่าง กายให้เท่ากับแรงดันของน้ำได้อย่างสะดวก

 

  สำหรับ ผู้ที่มีสายตาสั้นไม่มากก็ไม่ต้องพะวงอะไร ในเมื่อการหักเหของแสงที่เดินทางผ่านน้ำและผ่านช่องอากาศที่อยู่ภายใน หน้ากากดำน้ำ จะทำให้เราเห็นวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำมีขนาดใหญ่กว่าความเป็นจริงถึง 25% แต่ถ้ามีสายตาสั้นมาก ๆ สมัยก่อนก็จะใช้วิธีพับขาทั้ง 2 ข้างของแว่นสายตาแล้ววางลงในหน้ากาก ก่อนสวมใส่อีกทีหนึ่ง แต่ก็ทำให้การมองไม่ชัดเจนดีพอ และยังถูกแบ่งช่องการมองออกเป็น 4 ช่องจากขาทั้ง 2 ข้างของแว่นสายตาที่วางพาดอยู่บนตัวแว่น ปัจจุบันได้มีการผลิตเลนส์สายตาสำเร็จรูปที่ใช้กับหน้ากากดำน้ำขึ้นมามากมาย หลายรูปแบบและหลายขนาด เพื่อใช้กับหน้ากากดำน้ำรุ่นที่สามารถถอดเปลี่ยนใส่เลนส์สายตาได้ ส่วนประกอบอื่น ๆ อันได้แก่ รูปทรงและสีสัน ถือว่าเป็นเพียงเฟอร์นิเจอร์ที่จะต้องตัดสินใจจ่ายเงินเพิ่มกันเอาเอง   วิธีการสวมใส่หน้ากากดำน้ำ (ก่อนลงดำน้ำ)

 
   

การสวมใส่หน้ากากดำน้ำมักมีปัญหาในเรื่องเส้นผมเข้าไปในหน้ากากดำน้ำ ทำให้น้ำไหลซึมเข้าไปตามเส้นผมสู่หน้ากากดำน้ำ ดังนั้นควรใช้มือหนึ่งเสยผมขึ้นไปแล้วคาไว้อย่างนั้น ขณะที่อีกมือหนึ่งวางหน้ากากดำน้ำลงบนใบหน้า เมื่อหน้ากากดำน้ำอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ก็เอามือที่จับผมอยู่นั้นปล่อยออก แล้วมาดึงสายรัดศีรษะแทน ซึ่งอาจปล่อยมือข้างที่จับหน้ากากอยู่มาช่วยจัดสายรัดศีรษะให้เข้าที่ด้วยก็ได้ โดยให้สายรัดอยู่เหนือใบหูของผู้สวมใส่

 

  การปรับสายรัดหน้ากากดำน้ำไม่ควรให้แน่นเกินไป เพราะจะทำให้ซีลรอบหน้ากากดำน้ำกดรอบใบหน้าของผู้ใช้จนเป็นร่องลึก และเป็นรอยรูปของหน้ากากดำน้ำ อันก่อให้เกิดความเจ็บปวดบนใบหน้าไม่น้อย แต่ถ้าปรับไม่กระชับพอดี น้ำก็จะซึมเข้าหน้ากากดำน้ำได้ง่าย   วิธีป้องกันไม่ให้หน้ากากดำน้ำเกิดฝ้าขณะดำน้ำ

การดำน้ำผิวน้ำหรือดำน้ำลึกมักมีปัญหาเกี่ยวกับฝ้าที่เกิดขึ้นบริเวณกระจกด้านในของหน้ากากดำน้ำขณะใช้งาน ซึ่งเกิดขึ้นจากอุณหภูมิของร่างกายเราแตกต่างกับน้ำทะเลที่อยู่ล้อมรอบตัว ลักษณะเช่นเดียวกับการขับรถยนต์ขณะมีฝนตกโดยปิดกระจกหมด แต่ไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ นั่นคือกระจกเลนส์ด้านนอกจะสัมผัสกับน้ำซึ่งเย็น ส่วนกระจกเลนส์ด้านในจะได้ไออุ่นจากตัวเรา สาเหตุดังกล่าวจึงทำให้กระจกเลนส์ภายในหน้ากากดำน้ำเกิดเป็นฝ้าหรือมีไอน้ำเกาะตัว เราจึงมองอะไรไม่ค่อยเห็นหรือเห็นแต่เป็นภาพเบลอ ๆ ไม่ชัดเจน

ดังนั้นวิธีป้องกันไม่ให้ฝ้าเกิดขึ้นภายในหน้ากากดำน้ำ ก็โดยใช้วิธีทำฟิลม์ที่กระจกด้านในเสียก่อน แต่ก่อนทำฟิลม์จะต้องให้กระจกด้านในแห้ง หากเปียกน้ำก็จะไม่ได้ผล อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำฟิล์มป้องกันฝ้ามีอยู่ด้วยกันหลายอย่างได้แก่

1.
   

ใช้น้ำยาป้องกันฝ้าที่บรรจุขายเป็นขวด ๆ ตามร้านขายอุปกรณ์ดำน้ำทั่วไป เช่น Sea Drop ฯลฯ ซึ่งได้ผลดีที่สุด

2.
   

ใช้แชมพูสระผมอย่างอ่อน ๆ ที่ไม่แสบตา

3.
   

ใช้ครีมกันแดด แต่วิธีนี้จะรู้สึกแสบตา เมื่อสวมใส่หน้ากากดำน้ำ

4.
   

ใช้น้ำลายของเราหรือของเพื่อนสนิท (หรือไม่สนิท) วิธีนี้สะดวกที่สุด และไม่ต้องหาซื้อให้เปลืองเงิน

 

 
   

หลังจากทาอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งบริเวณกระจกเลนส์ด้านในของหน้ากากดำน้ำเพื่อทำฟิล์มเรียบร้อยแล้ว จึงปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งสนิท หากใช้น้ำยากันฝ้าทำฟิลม์ก็ไม่ต้องล้างน้ำ แต่หากใช้อุปกรณ์ชนิดอื่นก็ต้องเอาไปล้างน้ำ โดยนำหน้ากากดำน้ำลงจุ่มน้ำแกว่งไปมา หรือเอาน้ำเทใส่หน้ากากดำน้ำแล้วเอียงไปทางซ้ายทีขวาทีเพื่อให้น้ำไหลกรอกไปมาได้อย่างทั่วถึง ก่อนเททิ้ง อนึ่งขณะล้างน้ำ..ห้ามใช้มือถูฟิล์มที่เราทำขึ้นอย่างเด็ดขาด

 

  นอก จากนี้ยังมีวิธีการทำฟิลม์อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในการทำฟิลม์กันฝ้า วิธีการก็ง่าย ๆ โดยนักดำน้ำจะสวมใส่หน้ากากดำน้ำก่อนลงน้ำ แล้วเมื่อลงน้ำก็จะเปิดให้น้ำเข้าทางตอนล่างของหน้ากากดำน้ำเพียงเล็กน้อย จากนั้นเคลียร์เอาน้ำออก เพียงแค่นี้หน้ากากดำน้ำก็จะปราศจากฟ้ามารบกวนให้ขุ่นข้องหมองใจ   การดูแลรักษาและทำความสะอาด

1.
   

ขณะเดินทางไปดำน้ำและยังไม่ถึงเวลาใช้งาน ควรคล้องหน้ากากดำน้ำไว้ที่คอ หรือเก็บไว้ในสถานที่ที่จะไม่ถูกเหยียบหรือถูกสิ่งของหนัก ๆ วางทับ

2.
   

ก่อนลงน้ำควรสวมหน้ากากดำน้ำให้เรียบร้อย อย่าคาดไว้บนศีรษะเพื่อความเท่หรือเก๋ไก๋แล้วกระโดดลงน้ำ เพราะอาจจะทำให้หน้ากากดำน้ำหล่นจมหายลงไปในน้ำ หรืออาจหล่นลงพื้นจนกระจกเลนส์แตกได้

3.
   

ไม่จำเป็นต้องล้างหน้ากากดำน้ำด้วยน้ำจืดทุกครั้งที่ขึ้นจากน้ำทะเล แต่ต้องแช่หรือล้างน้ำจืดทุกครั้งที่เลิกจากการดำน้ำ แล้วผึ่งให้แห้งในที่ร่มและมีอากาศถ่ายเทสะดวก จากนั้นใช้แป้ง (ทาตัว) โรยทาตรงส่วนของหน้ากากดำน้ำที่เป็นยางหรือซิลิโคน เพื่อให้แป้งช่วยซับน้ำที่ค้างอยู่ตามร่องหรือซอกเล็ก ๆ ให้แห้งสนิท รวมทั้งยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของยาง หรือซิลิโคลนให้ทนทานได้นานอีกด้วย

4.
   

การ เก็บหน้ากากดำน้ำขณะที่ยังชื้นอยู่ ไม่แห้งสนิท หน้ากากดำน้ำนั้นจะกลายเป็นอาหารอันโปรดปรานของแมลงต่าง ๆ มากัดกินโดยเฉพาะแมลงสาบ (กรณีไม่มีกล่องใส่) แต่ถ้าเก็บหน้ากากดำน้ำที่ยังชื้นอยู่ใส่กล่องเพื่อป้องกันแมลง จะทำให้เกิดเชื้อราสีดำบริเวณยางหรือซิลิโคนตามหลืบหรือร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ และทำให้อายุการใช้งานของยางหรือซิลิโคลนเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ดังนั้นควรเก็บหน้ากากดำน้ำเมื่อแห้งสนิทแล้วรวมทั้งควรมีกล่องบรรจุใส่ อย่างมิดชิด

5.
   

ห้ามนำหน้ากากดำน้ำตากแดด เพราะแสงแดดจะทำให้ยางหรือซิลิโคนมีสีเหลือง และมีความแข็งกระด้างรวมทั้งเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
ข้อ1-2 ราคาถูกแพง จะเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ทำหน้ากากค่ะ ถ้าได้เป็นหน้ากากที่ขอบเป็นซิลิโคน ก็จะดีกว่าเป็นยาง เพราะจะสบายหน้ากว่า
กระจกก็ต้องเป็น Tempered Glass ก็โอเคแล้ว

ส่วนราคาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับกระเป๋าสตางค์ตัวเองค่ะ เป๋าหนัก จะให้ซื้อไม่กี่ร้อยก็คงว่าถูกไป แต่ถ้าเป๋าบางหน่อยราคาสอง-สามพันก็อาจจะมากเกินไป

ข้อ 3 หน้ากากควรจะมี purge valve หรือเปล่าอันนี้แล้วแต่ความชอบค่ะ มี valve ก็จะเคลียร์น้ำง่ายหน่อย แต่หน้าตาก็จะไม่ค่อยสวยงามเท่าแบบไม่มี valve

ข้อ 4 Nose Pocket คือส่วนของหน้ากากตรงจมูกเรา ที่มันจะเป็นรูปร่างจมูกน่ะค่ะ  มีไว้สำหรับเวลาเคลียร์หหูปรับความดันจะบีบจมูกแล้วหายใจออกทางหู

ส่วน purge valve จะเป็นช่องสำหรับให้เคลียร์น้ำออกค่ะ ในรูปส่วนของ purge valve คือส่วนด้านล่างของตาที่เป็นรูปครึ่งวงกลมค่ะ
(รูปจากกระทู้ หน้ากากดำน้ำแบบมุมกว้าง เวบ siamscubadiving.com ค่ะ)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
ที่มา www.savekohsurin.com
ขอบคุณเจ้าของบทความด้วยค่ะ

1.2. หน้ากากดำน้ำ (Mask or B)
หน้ากากดำน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เรามองเห็นวัตถุใต้น้ำได้อย่างชัดเจน แต่เนื่องจากมีช่องว่างของอากาศระหว่างตาของนักดำน้ำกับน้ำ ทำให้การมองเห็นมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง คือ วัตถุใหญ่ขึ้น และใกล้กว่าความเป็นจริงประมาณ 33 % อันเนื่องมาจากการหักเหของแสงที่เดินทางผ่านน้ำ และอากาศก่อนเข้าสู่สายตา นอกจากนี้ หน้ากากยังช่วยป้องกันไม่ให้น้ำทำความระคายเคืองต่อตาและจมูกอีกด้วย
ชนิดของหน้ากากดำน้ำ มีการแบ่งหน้ากากดำน้ำเป็น 2 ประเภท คือ
- ชนิดมีวาล์ว ช่วยในการขับน้ำออกจากหน้ากาก แต่จะกันไม่ให้น้ำไหลย้อนเข้าหน้ากาก ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้ คือ เมื่อมีวัตถุเล็กๆ เช่นทรายเข้าไปอุดอยู่ จะทำให้น้ำซึมเข้าหน้ากากตลอดเวลา
- ชนิดไม่มีวาล์ว เป็นแบบที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
o แบบเลนส์เดี่ยว (Single lent) เป็นแบบปกติที่ใช้กันทั่วไป เหมาะกับผู้ที่ไม่มีปัญหาทางด้านสายตา
o แบบเลนส์คู่ (Two lent) เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา เช่น สายตาสั้น ยาว โดยที่กระจกเลนส์ สามารถเปลี่ยนให้เหมาะกับสภาพของสายตาได้
การเลือกซื้อหน้ากากดำน้ำ มีข้อควรสังเกต ต่างๆ คือ
- วัสดุที่ใช้ผลิตหน้ากากจะต้องทำจากวัสดุที่ไม่เป็นสนิม ตัวกระบัง (Skirt) ทำจากซิลิโคนซึ่งไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้กับผิวหนังของผู้ใช้ ยกเว้นักดำน้ำบางคนที่จะมีอาการแพ้ซิลิโคน ซึ่งควรที่จะพิจารณาหน้ากากดำน้ำที่ทำจากวัสดุชนิดอื่นๆ แทน
- กระจก ต้องเป็นกระจกนิรภัย ที่กระจกมีคำว่า “TEMPERED” หรือ “SAFETY GLASS” ติดอยู่ โดยกระจกชนิดนี้มีคุณสมบัติ คือ ไม่มีรอยคมในกรณีที่เกิดการแตกออกมา และทนทานกว่ากระจกธรรมดาถึง 6 เท่า
- ปริมาตรภายในหน้ากากน้อย หน้ากากที่ใหญ่กว่า แต่ปริมาตรภายในน้อยกว่า จะเป็นหน้ากากที่เหมาะสมในการใช้งานมากกว่า การที่ปริมาตรภายในน้อยจะทำให้การเอาน้ำออกจากหน้ากากขณะที่อยู่ใต้น้ำได้ง่ายขึ้น
- มีทัศนะวิสัยที่กว้าง เพื่อช่วยให้การมองเห็นได้มากขึ้น หน้ากากลักษณะนี้ เมื่อใส่เข้ากับใบหน้า กระจกเลนส์จะอยู่ใกล้กับใบหน้ามากกว่าหน้ากากที่มีมุมมองแคบกว่า นอกจากนี้หน้ากากบางชนิดยังมีช่องมองด้านข้าง (Side View) ทั้งสองข้าง และด้านล่าง เพื่อเพิ่มมุมมองที่กว้างขึ้น
- มีที่ครอบจมูก (Nose Pocket) เพื่อใช้ในการปรับความกดดันในหู และปรับความกดดันภายในหน้ากาก หน้ากากบางรุ่นจะมีที่ครอบปิดจมูกอยู่ด้านข้างกระบัง (Skirt) เรียกว่า Finger Pocket
- ขอบยางที่แนบกับในหน้า จะต้องมี 2 ชั้น เพื่อช่วยให้หน้ากากกระชับพอดี ป้องกันการรั่วซึมของน้ำ ขอบนี้กว้างประมาณ 1/4; นิ้ว ตามแนวของขอบกระบังหน้ากาก
- สายรัดศีรษะจะต้องปรับได้สะดวก เพื่อให้เหมาะสมกับกับผู้ใช้แต่ละคน และจะต้องเป็นแผ่นกว้าง หรือแยกเป็นสองสายด้านหลัง เพื่อสามารถยึดหน้ากากให้กระชับกับศีรษะ
- นักดำน้ำที่มีปัญหาเรื่องสายตา ในปัจจุบันมีหน้ากากหลายยี่ห้อที่ออกแบบมาสำหรับเปลี่ยนกระจกให้เป็นเลนส์สายตา หน้ากากนี้จะเป็นแบบกระจกคู่ และเป็นรุ่นที่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์สายตาได้เท่านั้น

การเลือกซื้อหน้ากากดำน้ำนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึง คือ หน้ากากที่พอดีกับใบหน้า ใส่สบาย ไม่บีบ หรือรัดจนเกินไป ซึ้งจะทำให้อึดอัด โดยมีวิธีทดสอบว่าหน้ากากเหมาะสมกับในหน้าของนักดำน้ำหรือไม่ โดยการ ทาบหน้ากากให้เข้ากับในหน้า โดยไม่ต้องใช้สายรัดศีรษะ จากนั้นค้อมศีรษะลงเล็กน้อย หายใจเข้าทางจมูกในระดับปานกลาง จากนั้นค่อยๆ ปล่อยมือจากหน้ากากดำน้ำ ถ้าหน้ากากพอดีกับใบหน้าของนักดำน้ำ หน้ากากจะยังคงอยู่ในตำแหน่งที่นั้นนานเท่าที่นักดำน้ำจะสูดหายใจเข้าอยู่ แต่ถ้าต้องหายใจแรงขึ้น หรือใช้มือกดให้หน้ากากติดกับใบหน้าในขณะที่หายใจเข้าไปด้วย แสดงว่าหน้ากากนั้นใหญ่เกินไป ไม่พอดีกับใบหน้า ควรที่จะทดลองใส่หน้ากากหลายๆ อันจนกว่าจะได้หน้ากากอันที่เหมาะสมที่สุด
การจัดการก่อนการใช้งาน สำหรับหน้ากากที่ได้ซื้อมาใหม่นั้น ก่อนจะมีการนำไปใช้งานจะต้องมีการปรับสายรัดศีรษะให้ได้ขนาดที่พอดี คือแนบกับศีรษะ และไม่ควรรัดจนเกินไป นอกจากนี้ หน้ากากใหม่ใหม่ๆ ยังมีการเคลือบน้ำมัน หรือน้ำยาเคลือบเอาไว้บางๆ ที่กระจกนักดำน้ำจะต้องทำการเช็ดน้ำยา หรือกำจัดน้ำยาเหล่านี้ออกให้หมดเสียก่อน โดยการล้างด้วยน้ำสบู่ ทั้งด้านใน และด้านนอก และห้ามใช้แปรงเพราะจะทำให้กระจกเป็นรอย หรืออาจจะใช้ยาสีฟันที่มีลักษณะเป็นครีมสีขาว ทาทั้งด้านใน และด้านนอก จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว จึงใช้เล็บของนักดำน้ำค่อยๆ ขูดยาสีฟันที่แห้งนั้นออกจากกระจกทั้ง 2 ด้าน จากนั้นใช้น้ำสบู่ล้างอีกครั้งหนึ่ง ก่อนการที่จะนำไปใช้จะต้องมีการเคลือบด้วยน้ำยากันฝ้า หรือน้ำลายในขณะที่กระจกนั้นแห้งอยู่ ก่อนที่จะนำไปใช้ในการดำน้ำ
สำหรับแว่นตาว่ายน้ำ (Goggle) จะนำมาใช้แทนหน้ากากดำน้ำไม่ได้ เพราะไม่สามารถที่จะปรับความกดดันภายใน และภายนอกให้เท่ากันในขณะที่ดำน้ำลงไปลึกไม่ได้

1.3. ท่อหายใจ (SNORKEL or C)
นักดำน้ำสามารถลอยตัวอยู่บนผิวน้ำในขณะที่ก้มหน้าลงกับน้ำโดยไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถทำได้โดยใช้ท่อหายใจ (Snorkel) ซึ่งจะช่วยให้นักดำน้ำหายใจได้โดยไม่ต้องยกศีรษะขึ้นมาหายใจ เป็นวิธีที่จะประหยัดพลังงาน และอากาศในในถังดำน้ำขณะที่อยู่ที่ผิวน้ำ
ท่อหายใจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ชนิดมีวาล์ว (Purge Valve) ช่วยในการไล่น้ำที่ตกค้างอยู่ในท่อได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่มีแรงเป่าน้ำออกจากท่อไม่แรงพอ
-ชนิดไม่มีวาล์ว (Non - Purge Valve) เป็นท่อหายใจที่ใช้กันอยู่ทั่วไป โดยมีลักษณะต่างๆ กัน คือ
o แบบตัว J (Simple “J”) มีรูปร่างเหมือนตัวอักษร “J” ในภาษาอังกฤษ
o แบบ Contour ลักษณะเหมือนตัว J แต่มีส่วนปลายท่อโค้งเข้าด้านใน
o แบบ Flex hose ส่วนล่างของตัวท่อมีความยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอได้ตามต้องการ

คุณสมบัติของท่อหายใจที่ควรนำมาพิจารณา คือ
- ขนาดความยาวของท่อไม่เกิน 12 -14 นิ้ว (30 – 40 ซม.)
- ท่อควรมีขนาดใหญ่ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เส้นผ่านศูนย์กลางไม่ควรเล็กกว่า 3/4; นิ้ว (2 ซม.)
- ท่อหายใจชนิดมีลูกปิงปองปิดปลายท่อไม่ควรนำมาใช้
- ท่อหายใจที่ดีจะต้องมีส่วนที่โค้งงอเล็กน้อย
- ที่คาบ (Mouth piece) จะต้องไม่แข็งจนเกินไป
- วัสดุที่ใช้ผลิต ในปัจจุบันใช้ซิลิโคนเป็นส่วนใหญ่
- มียาง หรือห่วงพลาสติกสำหรับยึด
- เมื่อคาบท่อหายใจนั้นแล้วรู้สึกสบาย ไม่รั้งปาก และหายใจสะดวก
- น้ำหนักเบา
การจัดการก่อนการใช้งาน
- ติดท่อหายใจทางด้านซ้ายของหน้ากาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสับสนกับเรกกูเลเตอร์ ซึ่งอยู่ทางด้านขวา โดยคล้องยาง หรือตัวยึดพลาสติกเข้ากับสายรัดของหน้ากาก
- จากนั้นสวมหน้ากากแล้วปรับให้ตัวท่ออยู่ด้านหน้าของหูด้านซ้าย ปลายที่คาบจะอยู่ระดับเดียวกับปาก
- เมื่อนักดำน้ำคาบที่คาบ ให้ใช้ฟันขบตุ่มที่ติดอยู่กับที่คาบ (Mouth piece) เพื่อป้องกันไม่ให้ท่อหายใจหลุดออกจากปาก

การบำรุงรักษาอุปกรณ์ดำน้ำ (Basic Set)
ขอให้โปรดจำไว้ว่า อุปกรณ์ดำน้ำทุกชนิดไม่ถูกกับ แสงแดด ความร้อน และขโมย ดังนั้นวิธีการดูแลรักษาที่ดีที่สุด คือ
- ระวังไม่ให้ถูกของหนักๆ กดทับ ควรเก้บรักษาไว้ในกล่องโดยเฉพาะ
- ล้างด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งหลังจากการใช้งานแล้ว ไม่ว่าจะใช้ในทะเล หรือในสระ เนื่องจากในสระน้ำมีคลอรีนเจือปนอยู่สูง
- ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ห้ามนำไปตากแดด
- เก็บไว้ในที่แห้ง และอากาศถ่ายเทสะดวก

เพิ่มเติมเรื่องท่อหายใจถ้าจะซื้อควรซื้อแบบมี valve purge น้ำออกด้วยก็จะดีค่ะ ราคาเพ่มนิดหน่อย แต่ใช้งานง่ายกว่าเยอะ ตอนน้ำเข้าจะได้ไม่ต้องใช้แรงมากในการไล่น้ำออก