Author Topic: ข้อมูลประเทศไต้หวัน  (Read 14303 times)

mr_a

  • Guest
ข้อมูลประเทศไต้หวัน
« on: June 03, 2010, 11:39:56 AM »
Taiwan, Amazing Island 


ธงชาติของไต้หวันหรือ Republic of China
ไต้หวันไม่ใช่แค่เกาะที่มีผู้คนอาศัยอยู่เท่านั้น แต่มีสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ วัฒนธรรมของคนไต้หวันเองที่ประกาศเต็มปากเต็มคำว่าพวกเขาเป็น"คนไต้หวัน" ไม่ใช่คนจีน พวกเขาพูดภาษาไต้หวัน(Taiwanese) ไม่ใช่ภาษาจีนกลาง(Mandarin)ของจีนแผ่นดินใหญ่ นับเป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับหลายประเทศ รวมทั้งไทยเรา ที่กำลังถูกรุกรานด้วยวัฒนธรรมทางภาษาของคนชาติอื่น
 
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ระหว่างทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ ห่างจากจีนแผ่นดินใหญ่
ประมาณ 160 ก.ม. (ตรงข้ามมณฑลฝูเจี้ยนของจีน) ประกอบด้วยเกาะหลักๆ ได้แก่ เกาะไต้หวัน หมู่เกาะเผิงหู (Penghu) จินเหมิน (Kinmen) และหมาจู่ (Matsu) และเกาะเล็กเกาะน้อยอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง

พื้นที่ 36,000 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะทอดยาวจากเหนือสู่ใต้ โดยมีแนวเขาอยู่ที่ส่วนกลางของเกาะ จัดอยู่ในเขตภูเขาไฟและแผ่นดินไหว

เมืองหลวง ไทเป (ประชากรประมาณ 2.627 ล้านคน)

ประชากร  22.605 ล้านคน (ปี 2546) เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 3.7 ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮั่น โดยมีชาวเขาพื้นเมืองที่สำคัญ 9 เผ่า ได้แก่ Ami, Atayal, Paiwan, Bunun, Puyuma, Rukai, Tsou, Saisiyat และ Yami

โครงสร้างประชากร อายุระหว่าง 0-14 ปี ร้อยละ 19.8 อายุระหว่าง 15-64 ปี ร้อยละ 70.9 อายุ 65 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 9.2

ภูมิอากาศ ร้อนชื้นแบบใกล้เขตร้อน ฤดูร้อน (พ.ค.-ก.ย.) อุณหภูมิเฉลี่ย 27 - 35 C ฤดูหนาว (ธ.ค.-ก.พ.) อุณหภูมิเฉลี่ย 10 C

ภาษา จีนกลาง (Mandarin) เป็นภาษาราชการ ฮกเกี้ยน (หมิ่นหนาน) เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้ทั่วไปคู่กับจีนกลาง ข้าราชการระดับสูงทั่วไปสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้

ศาสนา พุทธมหายาน ขงจื้อ เต๋า และคริสต์

หน่วยเงิน เหรียญไต้หวัน (New Taiwan Dollar : NT$) 35.06 NT$ = $1 US หรือ 1 เหรียญไต้หวัน = 1.2168 บาท

GDP 286,213 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2546) เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 3.24 โดยร้อยละ 1.8 ของ GDP มาจากเกษตรกรรม ร้อยละ 30.4 มาจากอุตสาหกรรม และร้อยละ 67.8 มาจากอุตสาหกรรมด้านบริการ

ไต้หวันได้รับการจัดอันดับจาก Business Environment Risk Intelligence (BERI) Research Organization ว่าเป็นแหล่งลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจาก สวิสเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น

ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2545) มากเป็นอันดับที่ 3 รองจากญี่ปุ่น และจีน

รายได้เฉลี่ยต่อหัว 13,157 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2546)

อัตราการว่างงาน     ร้อยละ 4.99 ลดลงจากปี 2546 ร้อยละ 0.18

การค้าต่างประเทศ   ในปี 2546 มีมูลค่าการค้าต่างประเทศ 271,498.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 11.6 โดยไต้หวันได้ดุลการค้า 16,981.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าการส่งออกสินค้า 144,240.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และนำเข้าสินค้า 127,258.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1

เมืองสำคัญ
-เกาสง (Kaohsiung) เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางธุรกิจทางภาคใต้และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของ ไต้หวัน และเป็นท่าเรือใหญ่อยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก
- จีหลง (Keelung) เป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดทางภาคเหนือ
 

การศึกษา
                  จำนวนประชากรที่อ่านออกเขียนได้ในไต้หวันนั้นสูงกว่าร้อย ละ 93 ส่วนผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้นั้นก็มาจากเหตุผลที่ส่วนใหญ่คนเหล่านี้เป็นผู้สูงอายุที่ขาด โอกาสทางการศึกษาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ชาวไต้หวันเป็นผู้ที่อยากจะได้รับการศึกษาสูงๆ ดังนั้นการจะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจึงเป็นเรื่องชี้เป็น ชี้ตายคล้ายๆ กับบ้านเรา การจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยจึงมีการแข่งขันกันสูงมาก ก็อย่างว่า การแข่งขันสูงๆ อย่างนั้นจึงเป็นโอกาสของโรงเรียนกวดวิชาเอกชนต่างๆ ที่ผุดกันขึ้นเป็นดอกเห็ดคล้ายๆ บ้านเราอีกเช่นกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กๆ ที่ทางบ้านรายได้ไม่ดีนักก็ยังต้องใช้เวลาในตอนเย็น วันหยุดหรือช่วงโรงเรียนปิดเทอมไปกวดวิชากันอย่างบ้าคลั่ง

การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในไต้หวันนั้นมุ่งเน้นการเรียนการสอนไปที่ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่ากันว่ามีนักศึกษาของไต้หวันประมาณร้อยละ 35 จากจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยของไต้หวันทั้งสิ้นประมาณ 350,000 คนนั้นเรียนสาขาวิศวกรรม

ชาวต่างชาติที่อยากจะเรียนมหาวิทยาลัยในไต้หวันก็จะต้องพูดและใช้ภาษาจีน ได้คล่อง เพราะไม่อย่าสงนั้นแล้วก็ไม่สามารถฟังการบรรยายที่เป็นภาษาจีน(แมนดริน)ได้

 พลเมืองและประชากรของไต้หวัน


 จำนวนประชากรที่อ่านออกเขียนได้ในไต้หวันนั้นสูงกว่าร้อยละ 93 ส่วนผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้นั้นก็มาจากเหตุผลที่ส่วนใหญ่คนเหล่านี้เป็นผู้สูงอายุที่ขาด โอกาสทางการศึกษาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ชาวไต้หวันเป็นผู้ที่อยากจะได้รับการศึกษาสูงๆ ดังนั้นการจะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจึงเป็นเรื่องชี้เป็น ชี้ตายคล้ายๆ กับบ้านเรา การจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยจึงมีการแข่งขันกันสูงมาก ก็อย่างว่า การแข่งขันสูงๆ อย่างนั้นจึงเป็นโอกาสของโรงเรียนกวดวิชาเอกชนต่างๆ ที่ผุดกันขึ้นเป็นดอกเห็ดคล้ายๆ บ้านเราอีกเช่นกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กๆ ที่ทางบ้านรายได้ไม่ดีนักก็ยังต้องใช้เวลาในตอนเย็น วันหยุดหรือช่วงโรงเรียนปิดเทอมไปกวดวิชากันอย่างบ้าคลั่ง

การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในไต้หวันนั้นมุ่งเน้นการเรียนการสอนไปที่ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่ากันว่ามีนักศึกษาของไต้หวันประมาณร้อยละ 35 จากจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยของไต้หวันทั้งสิ้นประมาณ 350,000 คนนั้นเรียนสาขาวิศวกรรม

ชาวต่างชาติที่อยากจะเรียนมหาวิทยาลัยในไต้หวันก็จะต้องพูดและใช้ภาษาจีน ได้คล่อง เพราะไม่อย่าสงนั้นแล้วก็ไม่สามารถฟังการบรรยายที่เป็นภาษาจีน(แมนดริน)ได้
 

พรรคการเมืองไต้หวัน
พรรคก้าวหน้าประชาธิปไตย (Democratic Progressive Party)
 

พรรค DPP อยู่ในฐานะเป็นทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล (ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นของฝ่ายพรรค DPP ขณะที่ฝ่ายสมาชิกสภาฯเสียงส่วนใหญ่เป็นของพรรค KMT) พรรคนี้ไม่ได้มุ่งเน้นนโยบายกลับไปรวมกับแผ่นดินใหญ่ แต่จะมุ่งเน้นไปที่การปกครองในไทเปเอง ในปี พ.ศ. 2537 เมื่อนายเฉิน สุ่ยเปียนผู้สมัครของพรรค DPP เข้าลงสมัครชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรี ต่อมานายเฉินพ่ายแพ้การเลือกตั้งในตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองไทเปให้แก่พรรค KMT เมื่อ พ.ศ. 2541 อย่างไรก็ตาม ในพ.ศ. 2543 เขาแก้มือได้สำเร็จเมื่อเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของไต้หวัน

พรรค DPP เป็นพรรคเอียงซ้ายของไต้หวัน บรรดานักการเมืองของพรรคมักจะให้สัญญากับประชาชนว่าจะเน้นในเรื่องสวัสดิการ สังคม (โดยเฉพาะเงินเกษียณ) แต่นโยบายดังกล่าวก็ทำไม่ได้ดังที่ให้สัญญาไว้และกลายเป็นว่าการนำเงิน เกษียณมาใช้นี้ทำให้ต้องขึ้นเงินภาษีกันขนานใหญ่

พรรค DPP ใช้กลยุทธหาเสียงโดยการปกป้อง พิทักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ก็อย่างว่า นโยบายนี้ทำให้บรรดากลุ่มนักธุรกิจไม่พอใจ แต่ทำให้พรรคได้รับการชื่นชมมากมายจากการที่พรรคคัดค้านการลงทุนจากบริษัท เคมียักษ์ใหญ่อย่างไบเออร์ในไต้หวัน ประธานาธิบดีเฉิน สุ่ยเปียนเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้ยกเลิกการสร้างเขื่อนเหมียน-อึงที่ว่ากันว่า เขื่อนนี้เป็นแหล่งน้ำสำคัญในการหล่อเลี้ยงนิคมอุตสาหกรรมใหญ่แห่งหนึ่งทาง ตอนใต้ของไต้หวัน ที่เป็นข่าวใหญ่โตอีกเรื่องหนึ่งได้แก่การที่พรรคDPP คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โรงที่สี่ของไต้หวัน จนเป็นเหตุให้พรรค KMT พรรค PPP และพรรค NP ขู่จะล่ารายชื่อเพื่อเข้ากระบวนการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีในข้อหายยกเลิก โครงการโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ดังกล่าว

พรรค DPP ได้ให้สัญญากับประชาชนไว้มากมายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม สวัสดิการสังคม ไม่มีภาษีใหม่ ลดชั่วโมงทำงานให้น้อยลง ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นหรือแม้แต่การประกาศอิสระของไต้หวัน อย่างไรก็ตาม ลงท้ายก็จบลงด้วยการโกงกินของนักการเมืองในรัฐบาลพรคนี้

นอกจากนั้น ยังมีพรรคการเมืองเล็กๆ อีกสี่พรรค ได้แก่
พรรค New Party
พรรค People's First Party
พรรคTaiwan Independant Party
และพรค Green Party
 พรรคก๊กมินตั๋ง (Kuomintang)


 

พรรค KMT ปกครองประเทศไต้หวันนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคอย่างเป็นทางการ เมื่อพ.ศ.2454 และพรรคนี้ยังคงควบคุมสภาของไต้หวันอยู่ อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้พรรคเสียรางวัดไปมากเพราะพ่ายแพ้การเลือกตั้ง ประธานาธิบดีให้กับพรรคคู่แข่ง

พรรคนี้พยายามที่จะกลับไปรวมกับจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ผู้ที่อยากจะรวมกับจีนนี้ได้แก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ KMT ที่บางคนย้ายครอบครัว ย้ายบัญชีเงินฝากหรือบางคนเปลี่ยนสัญชาติไปอยู่อเมริกาหมดแล้ว

จุดอ่อนของพรรคที่ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดแก่นโยบาย “ทองคำทมิฬ” พรรคนี้มีเครือข่ายติดต่อกับแก้งค์อาชญากรรมและถูกกล่าวหาว่าโกงกินบ้าน เมือง คอรัปชั่นมากมายและซื้อเสียง (ทำไมช่างบังเอิญมาคล้ายกับพรรคการเมืองพรรคหนึ่งในบ้านเราเลย) พรรคนี้พยายามล้างภาพที่ไม่สู้ดีของตนเองโดยการปฏิรูปองค์กรการต่อต้านการ โกงกินบ้านกินเมืองและรณรงค์ต่อต้านอาชญากรรม อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเห็นว่าการกระทำอย่างนั้นมันสายเกินไปแล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวประเทศไต้หวัน
ไต้หวัน เป็นประเทศที่มีภูเขาตั้งตระหง่านสูงเสียบเมฆซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลกจึง ถูกเรียกว่า “เกาะภูเขาสูง” ภูเขาที่สูงเกินกว่า 3,000 เมตร มีอยู่ทั่วทุกแห่งความสูงของภูเขาแยกเกือบ 4,000 เมตร ซึ่งเป็นยอดเขาสูงระดับหนึ่งในแถบเอเชีย เนื่องจากทรัพยากรภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้ไต้หวันมีลักษณะภูมิประเทศพิเศษทัศนียภาพที่แปลกและมหัศจรรย์มากมาย นอกจากภูเขาแล้วยังมีทัศนียภาพตามฝั่งทะเลที่สวยงาม

เริ่มจากภาคเหนือ เป็นเขตทิวทัศน์แห่งชาติตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นฝั่งทะเล ซึ่งเขตทิวทัศน์แห่งชาติริมฝั่งทะเลตะวันออกและเขตทิวทัศน์แห่งชาติฮวาตงจง กู่ มีทิวทัศน์สวยงามทอดลงไปสู่ทิศใต้ ซึ่งมีความสวยงามเมื่อแสงแดดได้สาดส่องไปทั่วเขตทิวทัศน์แห่งชาติอ่าวต้าผิง ที่เต็มไปด้วยสีสันของภาคใต้หากเดินตามแนวภูเขายังสามารถเที่ยวชมเขต ทิวทัศน์แห่งชาติเม่าหลิน จะได้เห็นประเพณีและวัฒนธรรมของบ้านท้องถิ่นทั้งยังได้สำรวจโลกแห่งผีเสื้อ ไต้หวันและชมทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามไปด้วย

ในอดีตมีเทพนิยายอันสวยงามที่ได้เล่าลือกันมา เกี่ยวกับเขตทิวทัศน์แห่งชาติอาหลี่ซันว่าหากได้ชมดูความสวยงานของทะเลเมฆ และพระอาทิตย์โผล่ออกจากแนวระดับพื้นผิวโลก จะทำให้ผู้ที่มาท่องเที่ยวมีจิตใจเบิกบานร่าเริงตลอดไป สถานที่เที่ยวได้แก่ วิวภูเขาหูกวางของยื้อแยะ ถาน อยู่บนภูเขาป๋ากว้า จำด้ชมนกอินทรี ชิมลูกหลีภูเขาจากหมู่บ้านแหล่งผลไม้และอยู่บนภูเขาซือโถวซาน ชมดินแดนแห่งความศักดิ์สิทธิ์ศาสนาพุทธสามารถให้คุณรู้สึกว่า ไต้หวันเป็นแหล่งท่องเที่ยวมากมายต่างก็มีจุดเด่นของแต่ละแห่ง

เกาะเผิงหู ( The Penghu lslands ) ได้กระจัดกระจายไปทั่วในช่องแคบทะเลไต้หวัน ซึ่งประกอบด้วยเกาะ 64 แห่ง เป็นพื้นที่ราบเรียบ ลักษณะภูมิประเทศของเกาะนี้ไม่เหมือนเกาะไต้หวัน เป็นที่ชมทิวทัศน์ที่สวยงามเป็นพิเศษในบริเวณเขตเกาะไต้หวัน เกาะหลันกับเกาะลิ เป็นเกาะโดดเดี่ยวที่ตั้งอยู่ในแปซิฟิกด้านตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเปิดให้ชมเกี่ยวกับวิเวศน์วิทยา ดูปลาวาฬและสิ่งต่างๆอย่างสนุกสนาน ทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการท่องเที่ยวจะได้ยังอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ปัจจุบันในเขตไต้หวันได้สร้างสวนสาธารณะแห่งชาติ ทั้งหมด 6 แห่ง คือ

สวนสาธารณะแห่งชาติ หยังหมิงซัน ตั้งอยู่ที่ชานเมือง ของนครไทเป ซึ่งลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่มากใช้เนื้อที่ส่วนหนึ่งของอำเภอซินจู๋กับอำเภอซิ นจู๋กับอำเภอเหลียวลี่ และยังได้สะสมพันธุ์ปลาพิเศษของไต้หวันที่นี่ด้วย

สวนสาธารณะแห่งชาติแสะป้า ซึ่งมีชื่อเสียงของการแสดงตะขอต้นเชอรี่ตะวันออก ( Oriental cherry ) ตกปลาแซลมอล ( Salmon )

สวนสาธารณะแห่งชาติไท่หลู่เกอะ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของอำเภอเหลียนฮวาลักษณะภูมิประเทศเป็นหุบเขาอันลึก มีหมอกอยู่ริมลำธาร ทิวทัศน์ซึ่งเป็นความงามที่สร้างชื่อไปทั่วโลก

สวนสาธารณะแห่งชาติยิซัน ตั้งอยู่ภาคกลางในเขตหลาย อำเภอ และสวนสาธารณะแห่งชาติเขิ่นติง ตั้งอยู่ทิศใต้ของเกาะใต้หวัน ซึ่งเต็มไปด้วยสีสันของชาวทะเลใต้ มีชื่อเสียงด้วยทิวทัศน์อันสวยงามที่ได้เห็นเปล่งแสงแวววาวของพระอาทิตย์

สวนสาธารณะแห่งชาติจินหมิน ที่มีชื่อเป็นแหล่งโบราณทางด้านวัฒนธรรมที่ยังเหลืออยู่ในสถานที่สู้รบสมัย ก่อนสวนสาธารณะแห่งชาติทั้งหกแห่งนี้ ยีงมีทิวทัศน์วิทยาที่อุดมสมบูณร์ด้วย

พิพิธภัณฑ์พระราชวังเดิมที่อยู่ชานเมืองไถไป่ เป็นสถาน ที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง และเป็นสิ่งยอดเยี่ยมและอุดมสมบูรณ์ของวัฒนธรรมจีนที่ตกทอดมาเป็นเวลา 5,000 ปีแล้ว ทุกคนก็ต้องชื่นชมวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของจีนถ้าท่านมาท่องเที่ยวไต้หวันจะ ต้องให้คำชื่นชมแน่นอนว่ากาะไต้หวันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทิวทัศน์สวย วิจิตรตระการตามากที่สุด

นครไทเป     “นครไทเป”เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในไต้หวัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒธรรม เศรษกิจและการเมือง ซึ่งการพัฒนาของนครไทเปได้เจริญรุ่งเรืองไปด้วยทุกด้านและเต็มไปด้วยพลังอัน มีชีวิตชีวา รูปแบบศิลปะการก่อสร้างก็มากมายและสวยงาม มีทั้งรูปแบบศิลปะโบราณและแบบสมัยใหม่ ถ้าชอบสถานวัตถุโบราณ ก็เชิญไปชมที่ถนนตีฮว้าที่ต้าต้าวเฉิ่ง วัดหลงซานที่เหมิงเจี่ยและเข้าชมฝีมือกาะสลักอันประณีตของช่างผู้เชี่ยวชาญ ถ้าชอบสิ่งโบราณก็อย่าพลาดโอกาศที่จะไปเข้าชมคลังเก็บรักษาวัฒนธรรม 5,000 ปี ถูกรักษาไว้อย่างถนุถนอมที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังเดิม นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และห้องจิตรกรรม เป็นต้น

ลักษณะภูมิประเทศของเมืองไทเปส่วนพื้นที่เป็นภูเขาไฟในชานเมืองนครไทเป ปัจจุบันได้สร้างเป็นสวนสาธารณะแห่งชาติหยังหมิงซาน ได้ปลูกต้นไม้ไว้ทั่วบริเวณ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์มากมายได้แก่ นก,ผีเสื้อ และพืชต่างๆ เช่น ต้นจิวไฉ่ไต้หวัน โดยมีเส้นทางเดินขึ้นภูเขาหลายสาย ในสมัยก่อนได้สร้างถนนเดินทางบนภูเขาเพื่อทำการค้าและขุดแร่ซัลเฟอร์ ( sulphur ) ถ้าเป็นวันหยุดก็มีกิจกรรมขึ้นเขาซีซิงซานหรือต้าถุนซาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูใบไม้ผลิมีคนมาเที่ยวสวนสาธารณะแห่งชาติหยังหมิงซาน มากมาย ทั้งได้เห็นนกแขกเต้าและดอกต้นเชอรี่ตะวันออกเต็มไปหมดนอกจากนี้ยังมีแหล่ง ทรัพยากรน้ำพุร้อนที่ได้ตกทอด เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาไฟที่โดดเด่นเป็นพิเศษ นักท่องเที่ยวจะได้ลงไปแช่น้ำพุร้อนอย่างสนุกสนาน และได้ผ่อนคลายความเครียดไปด้วย

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการของฝากก็สามารถเดินเล่นและซื้อของในห้าง สรรพสินค้าได้ เช่น ในเมืองจิงหัวที่ห้างสรรพสินค้าโซโกหรือไปรัปทานอาหารว่างช่วงกลางงคืนที่ ทื่อหลิน ถนนหัวซี หากต้องการเดินตลาดกลางคืนก็ต้องที่ถนนหยาว เหอ ส่วนการเดินทาง นครไทเปมีระบบการขนส่งมวลชนที่ได้บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวอย่าง สะดวกสบาย ปลอดภัย ซึ่งให้ท่านมีดอกาศร่วมสนุกด้วยการดื่อมและเที่ยวเล่นอย่างสบาย ดังนั้นนครไทเปจึงถือว่าเป็นเมืองหนึ่งที่น่าท่องเที่ยวสำหรับท่านทุกคน

อำเภอกาวสวง

อำเภอกาวสวงอยู่ภาคใต้ของไต้หว้น ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับแรกของภาคใต้ มีเขตทิวทัศน์ที่สวยงามมากมาย เช่นทัศนียภาพอันสวยงามของหนานเหิง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูผาน่าหวาดเสียวและหาดูยาก มีรังนกนางแอ่นที่ลิ่วกวยที่เรียกว่า “โลกแห่งพระจันทร์” ของเถียนเหลียวมีภูเขาดินแลนเป็นต้นและยังมีป่าที่เขียวชอุ่มเป็นดง ยังมีหุบเขาผีเสื้อสีเหลืงอาศัยอยู่เป็นฝูงจะเห็นทัศนียภาพที่งดงามไปด้วย สีสันอย่างมหัศจรรย์แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยว ทำให้ผู้เที่ยวรู้สึกเพลิดเพลินและชื่นชมอย่างไม่ขาดปากกับทะเลสาบน้ำใส โปร่งที่ได้ชมกันว่าเป็น “ซีหู” แห่งไต้หวันซึ่งเป็นทิวทัศน์สวยมากของสถานท่องเที่ยวอันเลืองชื่อลือนามมา เป็นเวลานานของไต้หวันภาคใต้แห่งหนึ่ง

เมืองไถหนาน

300 ปีก่อนชาวเนเธอร์แลนด์ยึดครองไต้หวันในเวลานั้น เมืองอันผิงได้เรียกว่า “ไถวอวาน” อยู่ฝั่งตรงข้ามของไถวอวานได้เรียกว่า “เช่อเชี่ยน” หลังจากชาวเนเธอร์แลนด์สร้างเมือง “เยอะหลานเจอ” แล้วจึงให้ “เช่อเชียน” ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามเปลี่ยนเป็น “ไถเหยียน” กับไต้หวันคล้ายๆกันในราชวงศ์ชิง ได้ตั้งสถานที่ราชการไต้หวันอยู่ที่เมืองไถหมาย จึงเรียกไถหนานว่า “ไต้หสัน” มาตลอด ถึงสมัยราชวงศ์หมิงวีรบุรุษเจิ้งเฉิงกงได้ขับไล่ชาวเนเธอร์แลนด์ออกจาก ไต้หวัน หลังจากเจิ้งเฉิงกงถึงแก่กรรม เจิ้งจิงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งต่อ และเริ่มสร้างศาลบูชาขงจื้อ (ขงจื่อ) ซึ่งไต้ตั้งโรงเรียนแห่งแรกของไต้หวัน ในปี 1685 หลังจากราชวงศ์ชิงได้มาควบคุมไต้หวันทำการค้าเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้อพยพมาไต้หวัน เพื่อมาทำการบุกเบิกที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีผู้อพยพมาไต้หวันเป็นจำนวนมากและเนื่องจากสถานที่ ราชการไถหนานกับแผ่นดินใหญ่ ต่างก็มีท่าเรือสัญจรไปมาจึงทำให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น แต่ต่อมาเนื่องจกดินเลนหรือทรายในทะเลได้ตกตะกอนหมักหมมจนทำให้ทะเลในไถ เจียงท่าเรืออันผิง และท่าเรือลุเอ่อเหมิน ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทางเศรษฐกิจการค้าจึงตกต่ำไปตลอด ปัจจุบันเมืองไถหนานยังคงเห็นร่องรอยการบุกเบิกที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า ตั้งแต่ 300 ปี ที่ผ่านไป ปรากฏว่าทางศิลปะพื้นเมืองทางด้านประวัติศาสตร์และมนุษยศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ของเมืองแห่งนี้ยังได้รักษาสภาพไว้อย่างครบสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเมืองวัฒนธรรมแห่งเดียวเป็นพิเศษ และเป็นพิพิภัณฑ์ประวัติศาสตร์ตัวอย่างที่เป็นจริงที่ได้เห็นในปัจจุบัน

อำเภอฮาเหลียน

“ฮาเหลียน” ชื่อเดิมเรียกว่า “โตลอหมั่น”สมัยราชวงศ์หมิงระหว่างปี 1488-1506 ชาวโปตุเกตุ (Portogal) ได้เดินเรือผ่านช่องแคบทะเลไต้หวัน แล้ววนไปทิศตะวันออกของกาะไต้หวัน โดยพบเม็ดทองที่ปนอยู่ในทราย จึงเอาชื่อแม่น้ำลำธารที่ผลิตทองในประเทศดปรตุเกตุมาใช้เรียกว่า “ฮวาเหลียน” ก่อนที่ชาวฮั่นจะอพยพมาอยู่เกาะไต้หวัน, ชาวเขาก็ตั้งชื่อสถานที่ต่างๆด้วยแหล่งธรรมชาติ ลักษณะภูมิประเทศที่มีความพิเศษ

เมืองฮวาเหลียนเป็นเมืองใหญ่อันดับแรกขอภาคตะวันออกของไต้หวันถ้าเราเอา เมืองจงเหิง, ซูฮวา, ริมทะเลฮวาตงกับฮวงตง หุบเขามาเทียบเสมือนเชือกเส้นหนึ่ง ฮวาเหลียนก็ต้องเป็นหัวเงื่อน ซึ่งเป็นเมืองที่ยังรักษาประเพณีที่ซื่อสัตย์ดั้งเดิม

อำเภออี๋หลาน

เมืองอี๋หลาน ตั้งอยู่ที่เขตศูนย์พื้นที่ราบหลานหยางซึ่งเป็นลักษณะภูมิประเทศราบเรียบที่ ดีแห่งหนึ่ง มีแม่น้ำลำธารมากมายไหลสลับกัน เป็นแหล่งทรัพยากรในการทดน้ำเข้านาที่อุดมสมบูรณ์ ให้ชาวบ้านเมืองอี๋หลานที่อยู่ศูนย์พื้นที่ราบแห่งนี้ได้ที่ดินมีปุ๋ยมาก และแหล่งน้ำที่เพียงพอ ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของผลิตผลการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ ภายในหลายปีที่ผ่านมา เมืองอี๋หลานได้เป็นจุดสำคัญทางด้านเศษฐกิจการเมืองวัฒนธรรมและการศึกษาของ เขตศูนย์พื้นราบหลานหยางโดยตลอด และยังเป็นเส้นทางสำคัญการคมนาคมด้วย

น้ำแกงแพะ “หยางเกิง” ที่ทำด้วยน้ำพุที่เย็น “ซูอ้าว” มีรสชาติหอมหวานเป็นพิเศษ นอกจากรสชาติที่ชอบรับประทานกันโดยตลอดแล้วยังมีรสชาติที่ผสมด้วยช็อกโกแลต สตรอเบอรี่ ชา ลูกจ๊อ อาหารเนื้อเป็นที่ใช้กากอ้อยกับถ่านไม้เผาอม และอาหารอบ “ถุงน้ำดีกับตับ” ผลไม้เชื่อมที่หมักด้วยลูกจ๊อและลูกพลัม สี่อย่างดังกล่าวเรียกว่าสิ่งล้ำค่าของเมืองอี๋หลาน ผักที่รดด้วยน้ำพุร้อน เช่น ผักบุ้งต้มน้ำเต้า หน่อไม้อ่อน เป็นต้น มีรสชาติที่ไม่เหมือนผักธรรมดา นอกจากนี้ยังมีน้ำอัดลม “ดีดไข่มุก” ที่ทำด้วยน้ำพุที่เย็น “ซูอ้าว” ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วไป

เทศกาลวันเล่นของเด็กซึ่งได้จัดขึ้นที่ “สวนสาธารณะชินส่วย” ของตงเทียนเหอในปี 1996 หลังจากที่ว่าการอำเภออี๋หลานตกลงเริ่มจากเทศกาลประจำปี 2000 ให้ขยายเวลาการจัดกิจการจาก 23 วัน เป็น 44 วันแล้ว ทำให้จำนวนผู้เที่ยวงานได้เพิ่มมากขึ้น จนถึงปีที่แล้วจำนวนผู้เที่ยวงานได้ทำลายสถิติถึง 8 แสน 1 หมื่นคน ซึ่งเป็นหนึ่งใน “กิจกรรมเทศกาลท้องถิ่น 12 รายการขนาดใหญ่เขตไต้หวัน” ของการท่องเที่ยวกระทรวงคมนาคม เป็นการเลือกสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เย็นสบายและสดชื่น มีความสุขในฤดูร้อนที่ดีมากสำหรับทุกคน

 
  เอกสารในการขอวีซ่า ไต้หวัน

1. Passport ตัวจริง + สำเนา (ถ้ามีหนังสือเดินทางเล่มเก่า ให้นำมาแสดงด้วย)
2. แบบฟอร์มในการขอวีซ่า + รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 รูป
3. สำเนาทะเบียนบ้าน + สำเนาบัตรประชาชน
4. หนังสือเชิญจากบริษัทคู่ค้าในประเทศไต้หวัน (เฉพาะวีซ่าธุรกิจ)
5. จดหมายรับรองการทำงาน
(ระบุ วันที่เริ่มทำงาน ตำแหน่ง เงินเดือน จุดประสงค์การเดินทาง)
6. หลักฐานทางการเงิน
สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
กรณีที่บริษัทรับรองค่าใช้จ่าย ต้องมี
จดหมายรับรองค่าใช้จ่าย
หนังสือจดทะเบียนบริษัท
สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารย้อนหลัง 3 เดือน ของบริษัทที่รับรองค่าใช้จ่าย
7. ค่าธรรมเนียมวีซ่า

ขนิดของวีซ่า
Single Multiple
ยื่นธรรมดา (2 วัน) 1,800 3,500
ยื่นด่วน (1 วัน) 2,700 5,300


* หมายเหตุ
- กรณีที่มีวีซ่าต่อไปนี้ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และ
กลุ่มเชงเก้น ไม่ต้องแสดงหลักฐานการทำงานและหลักฐานทางการเงิน
- สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี ให้นำไปแสดงทางสถานฑูตด้วย)