Author Topic: ไหว้พระ  (Read 9234 times)

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile
ไหว้พระ
« on: December 01, 2010, 06:13:47 AM »

“วัดทุ่งศรีเมือง” (อ.เมือง) เป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ประจำจังหวัด เป็นศิลปะภาคกลางสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2
สถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของวัดนี้ ก็คือ “หอไตรกลางน้ำ” ที่เป็นอาคารทรงไทย สร้างด้วยไม้มีลักษณะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว หลังคามีมีช่อฟ้าใบระกาแบบไทยแต่ซ้อนกันหลายชั้นแบบพม่า ส่วนลวดลายแกะสลักที่หน้าบันเป็นศิลปะแบบสถาปัตยกรรมของอีสานที่สวยงามและ สมบูรณ์ ภายในมีตู้เก็บพระธรรมลงรักปิดทอง ด้านข้างหอไตรมีอุโบสถที่สวยงามเช่นกัน ภายในมีพระประธานปางมารวิชัย อาจจะดูแปลกตาสักหน่อยเพราะพระประธานองค์นี้เป็นศิลปะอินเดีย นามว่า “พระเจ้าใหญ่องค์เงิน” เป็นพระเนื้อเงินแท้ อัญเชิญมาจากฝั่งเวียงจันทน์ และยังประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองที่จำลองมาจากวัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ เพื่อให้พุทธบริษัทที่อุบลราชธานีได้กราบไหว้บูชา นอกจากนี้ภายในอุโบสถยังมีภาพวาดจิตกรรมฝาผนังเรื่องเวชสันดรชาดก กุมารชาดก พุทธประวัติ และวิถีชีวิตของชาวท้องถิ่นในสมัยนั้น
     
      ถัดจากวัดทุ่งศรีเมืองไม่ไกล คือ “วัดศรีอุบลรัตนาราม” (อ.เมือง) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดศรีทอง” เนื่องจากในอดีตได้เกิดนิมิตประหลาดมีแสงสว่างพวยพุ่งขึ้นเป็นสีเหลืองทอง ภายในบริเวณวัด จึงตั้งชื่อวัดว่าวัดศรีทอง ต่อมาในปี พ.ศ.2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จมาประกอบพิธีฉลอง สมโภชฝังลูกนิมิตและยกช่อฟ้าพระอุโบสถ จึงได้ทูลเกล้าถวายพระอุโบสถหลังนี้ให้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้า ลูกยาเธอเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และทรงขอพระราชทานนามพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดศรีอุบลรัตนาราม” ตามนามขององค์อุปถัมภ์
วัดศรีอุบลรัตนารามแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี หากใครไปเยือนวัดนี้แล้วจะเห็นรูปแบบของพระอุโบสถดูคุ้นตาเป็นอันมาก เพราะสร้างตามแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ที่กรุงเทพฯ ภายในประดิษฐาน “พระแก้วบุษราคัม” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบล
     
      ด้านข้างของพระอุโบสถมีศาลา “พิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม” ภายในเก็บสิ่งของเก่าแก่มากมายอาทิ ช่อฟ้าใบระกาหัวพญานาคเรียงซ้อนกันสวยงามเก่าแก่ ตู้เก็บพระไตรปิฎกได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 พระพุทธรูป และข้าวของเครื่องใช้โบราณ
     
      ไปเสริมบุญกันต่อที่ “วัดมหาวนาราม” (อ.เมือง) เดิมวัดนี้เป็นสำนักสงฆ์ชื่อ วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดมหาวัน หรือ วัดป่าใหญ่ และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “วัดมหาวนาราม” แต่ยังคงความหมายว่า ป่าใหญ่ เช่นเดิม
ภายในวัดมหาวนารามนี้มีปูชนีย วัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะศิลปะแบบลาวก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง มีตำนานเล่าว่า ในขณะที่กำลังสร้างพระประธานมานานหลายเดือนจนเกือบแล้วเสร็จเหลือแต่ใบหน้า เท่านั้น ในตอนค่ำๆ ชาวบ้านละแวกนั้นเห็นตาปะขาวเดินเข้ามาในโบสถ์ เช้าวันรุ่งขึ้นชาวบ้านและช่าง เข้ามาในโบสถ์ก็ตกใจที่เห็นพระประธานเสร็จสมบูรณ์ มีใบหน้าที่สวยงาม ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่า พระอินทร์มาช่วยสร้างให้ จึงได้ตั้งชื่อพระประธานว่า “พระเจ้าใหญ่อินแปลง”
     
      ถัดไป คือ “วัดใต้” หรือ “วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” (อ.เมือง) ที่นี่มี “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเมตตรัยสัทโธ” เป็นพระประธาน มีลักษณะเป็นเนื้อทองเก้าสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 85 นิ้ว หนักถึง 3,850 กิโลกรัม
     
      เมื่อกราบไหว้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อในพระอุโบสถแล้ว ต้องไปกราบไหว้ “พระพุทธมงคลรัตนสิริรัญสถิต” พระประธานในวิหารเฉลิมพระเกียรติกันต่อ นอกจากนี้แล้วภายในวิหารยังมีพระสร้าง พระเสริม และพระสำเร็จ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเนื้อไม้ทั้งหมด ผู้คนนิยมมาขอพรให้สำเร็จมรรคผลกันที่นี่
“วัดหนองบัว” (อ.เมือง) สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2498 สิ่งที่โดดเด่นเป็นง่าของวัดแห่งนี้คือ “พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์” ดูแปลกตา เนื่องจากได้จำลองเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย องค์พระธาตุนี้สร้างขึ้นในภายหลัง ครอบองค์พระธาตุเดิม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากกรุงเทพฯ และเกล็ดชิ้นส่วนของพระธาตุพนมซึ่งถือว่าเป็นเสมือนหนึ่งบรมครูของพระธาตุ ทั้งปวงในภาคอีสาน
     
      จากนั้นไปกราบไหว้พระประธานในศาลาการเปรียญที่อยู่ใกล้ๆกัน ศาลาการเปรียญนี้ก็ได้จำลองมาจากเมืองกุสิดารา ประเทศอินเดีย ภาพวาดบนเพดานมีลายดอกบัวดาวสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบล และเรื่องราวพุทธประวัติ สำหรับพระประธานเป็นพระพุทะรูปสำริดสมัยเชียงแสน และพระสังกัจจายน์ ที่สร้างด้วยดินประทาย ซึ่งพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ ได้อัญเชิญมาจากวัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ
จากนั้นเราเดินทางต่อมายัง “วัดสระประสานสุข” หรือ “วัดบ้านนาเมือง” (อ.เมือง) เมื่อผ่านซุ้มประตูทางเข้าวัด จะเห็น พระพิรุฬทรงช้างเอราวัณ 3 เศียร ซึ่งไม่เคยเห็นที่วัดใดมาก่อน และเมื่อผ่านพ้นซุ้มประตูเข้าไปจะพบ เรือสุพรรณหงส์มาเกยอยู่บนบก ไม่เพียงแค่นั้นบนเรือสุพรรณหงส์ลำใหญ่ยังมีพระอุโบสถตั้งอยู่ด้วย     
      แต่ น่าเสียดายยิ่งสำหรับสุภาพสตรี ที่สามารถชมความสวยงามของเรือได้แต่ห้ามเข้าไปภายใน พระอุโบสถนี้สร้างด้วยกระเบื้องดินเผาแกะสลักลาย หน้าบันเป็นธรรมจักร ลวดลายประจำยามก้ามปู ช่อฟ้าใบระกาก็เป็นเซรามิกทั้งหมด หลังคาลดหลั่นแบบศิลปะภาคกลางในกรุงรัตนโกสินทร์
     
      ใน วัดสระประสานสุขแห่งนี้นอกจากจะมีเรือเกยตื้นแล้ว ยังมีเรือที่อยู่ในน้ำด้วย โดยด้านหลังของวัดมีวิหารกลางน้ำ ที่มีรูปทรงเป็นเรือธรรมนาคราช เป็นวิหารกลางน้ำที่สมจริงที่สุดและสวยงามที่สุดด้วย โดยหลักการสร้างเรือของวัดนี้เปรียบเสมือน เรือลำนั้นได้พาเราออกจากมหาสมุทรวัฏสงสาร ข้ามมหานทีศรีทันดร มาถึงยังฝั่งปรินิพาน นั้นเอง ช่างมีแนวคิดและรูปแบบที่ผสมผสานกลมกลืนกันเป็นอย่างดีเยี่ยมทีเดียว

ontcftqvx

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Posts: 0
    • View Profile